Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์6 สิงหาคม 2550
จี้รัฐจัดการปัญหานอมินีก่อนฮุบตลาดอสังหาริมทรัพย์             
 


   
search resources

Real Estate




- กระทุ้งรัฐเร่งแก้ปัญหาต่างชาติลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในไทย ก่อนเงินทุนไหลเข้าประเทศเพื่อนบ้าน
- แนะกลเม็ดดึงทุนข้ามชาติลงทุนในไทย กำหนดกรอบการลงทุนชัดเจน และยืดระยะเวลาให้เช่าที่ดินนาน 90 ปี
- แฉต่างชาติแอบถือครองอสังหาริมทรัพย์ถึง 35%

ปัญหาการถือครองกรรมสิทธิ์แทนหรือนอมินี ดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่ภาครัฐไม่ให้ความสนใจที่จะแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ปล่อยให้นักลงทุนข้ามชาติ และนักเก็งกำไรเข้ามากอบโกยผลประโยชน์จากการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างไม่มีความผิด ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมหาศาลให้กับเศรษฐกิจโดยรวม เพราะลักษณะการเข้ามาลงทุนของนักเก็งกำไรจะเข้ามาลงทุนระยะสั้น เมื่อได้ผลตอบแทนในระดับที่พอใจแล้วจะขายอสังหาริมทรัพย์ทิ้ง ทำให้เกิดความผันผวนในระบบเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

จี้รัฐควรจริงในในการแก้ปัญหา

มานพ พงศทัต อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นการลงทุนโดยนักลงทุนข้ามชาติถึง 35% ในลักษณะถือครองที่ดิน หรือถือหุ้นแทน(นอมินี)โดยคนไทย เป็นการถือครองที่ไม่ถูกต้อง โดยอาศัยช่องว่างทางกฎหมายเป็นตัวแปรในการเข้ามาลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเข้ามากอบโกยผลประโยชน์จากการลงทุน ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องและเอาเปรียบทุนไทย เพราะต่างชาติจะได้เปรียบในแง่ที่มีแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำกว่าคนไทย รวมถึงมีเม็ดเงินจำนวนมหาศาล

ภาครัฐจึงควรเร่งแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยการออกมาตรการ หรือแก้ไขกฎหมาย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานอมินีขึ้นมาอีก ก่อนที่ประเทศจะเสียหายมากกว่านี้ ซึ่งควรจะเปิดโอกาสให้นักลงทุนข้ามชาติเข้ามาลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในไทยในลักษณะเช่าระยะยาว แทนการเข้ามาลงทุนผ่านนอมินี และควรจะกำหนดเงื่อนไขการลงทุนให้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องเวลาที่ควรจะปล่อยให้นักลงทุนข้ามชาติเช่าแบบระยะยาว เพื่อดึงดูดเงินทุนจากต่างชาติ

หากรัฐบาลไม่ต้องการเกิดปัญหานอมินี ควรมีมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมและชัดเจนรวมถึงสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุน เช่น กรอบระยะเวลาในการถือครองซึ่งปัจจุบันชาวต่างชาติสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ได้เพียง 30 ปีเท่านั้น เป็นระยะเวลาที่ไม่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน เพราะบางประเทศมีการให้สิทธิ์การถือครองได้นาน 90 ปี ซึ่งไทยควรจะเปิดโอกาสให้ต่างชาติเช่าระยะยาว 90 ปี บ้าง เพื่อให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนมากขึ้น

“ หากภาครัฐต้องการแก้ปัญหานอมินี ควรมีการแก้กฎหมายการถือครองกรรมสิทธิ์ของนักลงทุนต่างชาติ เพื่อเป็นการดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนอย่างถูกกฎหมาย ไม่ใช่สนใจแต่การแก้ปัญหาคอรัปชั่นและการเลือกตั้งเท่านั้น แต่ควรให้ความสนใจกับปัญหาเศรษฐกิจด้วย”มานพ กล่าว

ส่วนผลกระทบต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในกรณีที่มีตัวแทนเข้ามาถือครองกรรมสิทธิ์แทนเจ้าของที่แท้จริงนั้นโดยภาพรวมได้รับผลกระทบไม่มากนัก เพราะนักลงทุนข้ามชาติไม่สนใจลงทุนในโครงการระดับกลางและระดับล่าง ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด แต่นิยมลงทุนในโครงการระดับไฮเอนด์ ซึ่งมีจำนวนน้อยหากเทียบกับมูลค่าตลาดรวม หรือลงทุนเพียง 5% ของตลาดไฮเอนด์ทั้งหมด

ยอมรับไทยหนีทุนต่างชาติไม่พ้น

กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ กรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คซี่ จำกัด กล่าวว่า ปัญหานอมินีต้องมอง 2 ด้าน และต้องมองเจตนารมณ์ของผู้กระทำด้วย โดยด้านดีของการมีนอมินี คือ เป็นการเพิ่มสภาพคล่องในตลาดทุน และเป็นการทำให้บริษัทต่างๆมีสภาพคล่องทางการเงินไปด้วย

ส่วนด้านไม่ดี คือ เป็นช่องโหว่ให้นักลงทุนไทยซื้อขายผ่านใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยหรือเอ็นวีดีอาร์ เพื่อสร้างราคาหุ้น นอกจากนี้การซื้อขายผ่านเอ็นวีดีอาร์ ยังเป็นช่องทางหลีกเลี่ยงให้กลุ่มผู้ลงทุนที่ซื้อขายรวมกันเกิน 5% ไม่ต้องรายงาน หรือไม่ต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นจากนักลงทุนทั่วไปหรือเทนเดอร์ ออฟเฟอร์

“ไทยไม่สามารถปฏิเสธทุนจากต่างชาติได้ เพราะยังต้องอาศัยเงินทุนจากต่างชาติ และปัจจุบันนี้ มีทุนจากต่างชาติเข้ามาลงทุนถึง 49%ผ่านทางกองทุน และในตลาดหลักทรัพย์”

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกฎหมายหลายเรื่องยังมีช่องว่างเพื่อให้มีการหลีกเลี่ยงภาษี สำหรับแนวทางการอุดช่องว่างการหลีกเลี่ยงภาษี นั้น ภาครัฐควรจะเร่งปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับภาษี เพื่อลดช่องโหว่ในการหลบหลีกภาษี เช่น การหาทางให้ประชาชนในประเทศสามารถนำค่าใช้จ่ายต่างๆเช่น ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ นำใบเสร็จมาหักภาษีในอัตราที่เหมาะสม เพื่อดึงดูดให้เกิดการลงทุน นอกจากนี้ อาจมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมของกลุ่มที่เป็นตัวแทนหรือนอมินีที่เข้ามาลงทุน หรืออาจมีการเพิ่มบทลงโทษแก่คนกลุ่มนี้ เช่น เพิ่มโทษจำคุกจาก 3 ปีเป็น 5 ปีหรือปรับ 5 ล้านบาท เป็นต้น เพื่อให้เกิดความเกรงกลัว

แฉนอมินีฮุบตลาดหุ้นไทย 21%

ด้านวิศิษฎ์ องค์พิพัฒนกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรินิตี้ จำกัด กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ประเทศไทยปฏิเสธทุนจากต่างชาติไม่ได้ ซึ่งทุนต่างชาติไม่ได้ไหลเข้ามาเฉพาะประเทศไทยแต่กระจายไปทั่วภูมิภาคเอเชีย สำหรับนอมินีต่างชาติในตลาดหุ้นไทยปัจจุบันมีประมาณ 21% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด(Marketcap) จากตลาดหลักทรัพย์ในปัจจุบันที่มีมูลค่ามากกว่า 6 ล้านล้านบาท โดย14%ใช้ธนาคารต่างประเทศและผู้รับฝากหลักทรัพย์เป็นนอมินีและไม่เปิดเผยชื่อ ซึ่งพบว่าบริษัทในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์มีถึง 6 บริษัทที่มีนอมินีเข้ามาถือหุ้นแทน

แต่อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สามารถเข้าไปตรวจสอบการเป็นนอมินีของกลุ่มบุคคลที่เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ ควรเข้ามาควบคุมผู้ที่อยู่เบื้องหลังการถือครองผ่านนอมินี เนื่องจากนักลงทุนอาจใช้ช่องทางดังกล่าวผ่านนอมินีเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี และบังคับให้มีการเปิดเผยตัวในการเข้ามาซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ด้วย เพื่อความโปร่งใสและสามารถเข้าไปตรวจสอบได้

ในขณะที่ สมเชาว์ ตันฑเทอดธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น. ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ NCH กล่าวว่า ในความเห็นส่วนตัวอยากให้ภาครัฐมีมาตรการในการควบคุมการขายที่ดินให้กับนักลงทุนต่างชาติ โดยจากการซื้อก็เปลี่ยนมาให้เช่าระยะยาวแทนเพื่อให้ผู้ประกอบการในประเทศมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้น เพราะปัจจุบันผู้ประกอบการไทยมีข้อเสียเปรียบในหลายๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น เงินลงทุน เทคโนโลยี และการสร้างเครือข่ายที่นักลงทุนต่างชาติที่กว้างกว่านักลงทุนไทย ซึ่งการลดช่องว่างการได้เปรียบในเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นต่อผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจไทย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us