Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 กรกฎาคม 2550
6 เดือนโฆษณาไทย "ถึงเวลาถอยหลัง"             
 


   
search resources

Advertising and Public Relations




แม้เหล่าบริษัทเอเยนซี่โฆษณาส่วนใหญ่จะรับรู้ถึงความตกต่ำของอุตสาหกรรมโฆษณามาตั้งแต่เดือนแรกของปี จากบิลลิ่งงบโฆษณาของลูกค้าที่น้อยลงไปกว่าปีที่ผ่านมา แต่ในภาพรวมของอุตสาหกรรมที่นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช ทำการสำรวจตัวเลขการใช้งบโฆษณาประจำเดือน ก็ยังแสดงให้เห็นเป็นมุมบวกในแต่ละเดือนมาโดยตลอด ประคองมูลค่าการใช้สื่อให้เดินมาอย่างต่อเนื่อง จวบจนกระทั่งมาถึงครึ่งปีพอดีที่อุตสาหกรรมโฆษณาไทย ต้องพลิกมาอยู่ในแดนถดถอยตามที่หลายคนคาดไว้จนได้

มูลค่าการใช้สื่อในปีหมูทอง ถูกคาดการณ์ไปในแนวทางเดียวกันว่า คงไม่สามารถเติบโตไปได้ไกลกว่าปี 2549 ที่มีการใช้เงินอยู่ราว 8.9 หมื่นล้านบาท ขยายตัวจากปี 2548 ราว 4% แต่เมื่อเปิดปี 2550 ขึ้นมา มูลค่าการใช้สื่อโฆษณามีการขยายตัวเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้าในเดือนมกราคมอยู่ที่ 1.67% เพิ่มเป็น 3.95% ในเดือนกุมภาพันธ์ และเติบโตสูงสุด 4.39 ในเดือนมีนาคม จากนั้นจึงเริ่มอ่อนแรงลง 3.15 และ 0.76 ในเดือนเมษายน และพฤษภาคมเป็นลำดับ ส่งผลให้ตัวเลขการใช้สื่อโฆษณาเปรียบเทียบระยะเวลา 4 เดือน และ 5 เดือน กับปี 2549 ตกลงอยู่ในแดนลบ -1.16 ในเดือนเมษายน และเพิ่มขึ้นเป็น -2.15 ในเดือนพฤษภาคม

จวบจนกระทั่งนีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช เปิดเผยตัวเลขการสำรวจการใช้สื่อโฆษณาประจำเดือนมิถุนายน มูลค่าการใช้สื่อก็ถดถอยลงทั้งการใช้งบประจำเดือน และการใช้งบรวม 6 เดือน

สื่อโฆษณาโดยรวมมีมูลค่าการใช้ในเดือนมิถุนายนอยู่ราว 7,270 ล้านบาท เป็นมูลค่าที่ลดต่ำลงจากมิถุนายน 2549 อยู่ราว -6.16% โดยสื่อหลักอย่างโทรทัศน์ มีเงินงบประมาณไหลเข้า 4,080 ล้านบาท ตกต่ำจากเดือนเดียวกันของปีก่อน -11.84% ตามมาด้วยสื่อหนังสือพิมพ์ รายได้ 1,327 ล้านบาท ที่แม้จะเป็นแนวโน้มการใช้สื่อที่ดีขึ้นกว่าเดือนก่อน ๆ แต่ก็ยังเป็นตัวเลขติดลบอยู่ที่ -1.85% ด้านสื่อโรงภาพยนตร์ที่เป็นดาวรุ่งแห่งปี ยังคงร้อนแรงด้วยการเติบโตอยู่ในหลักร้อยต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ในเดือนมิถุนายนมีการเติบโต 116.23% แต่มูลค่าการตลาดที่ต่ำเพียง 300 กว่าล้านบาทต่อเดือน จึงไม่สามารถฉุดให้มูลค่าการใช้สื่อโฆษณาโดยรวมของเดือนมิถุนายนมายืนอยู่ในแดนบวกได้

ความตกต่ำของการใช้สื่อโฆษณานับตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา ที่ติดลบในระดับ 1 -2 % จนถึง -6.16% ในเดือนมิถุนายน ได้ส่งผลให้มูลค่าการใช้สื่อโฆษณาหลักครึ่งปีแรกของปีนี้ ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี มูลค่าการใช้งบประมาณสื่อ 43,603 ล้านบาท ในครึ่งปีแรกของปีนี้ ตกต่ำลง -0.48% จากมูลค่าสื่อช่วง 6 เดือนแรกของปีก่อน โดยสื่อหลักทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสื่อกลางแจ้ง ล้วนแต่มีตัวเลขติดลบอยู่ในระดับ 3-5% ทั้งสิ้น เหลือเพียงสื่อโรงภาพยนตร์ และสื่ออินสโตร์ ที่ยังมีการเติบโตอยู่ได้

ในส่วนของเจ้าของสินค้าที่ใช้สื่อโฆษณา สินค้าดาวรุ่งแห่งปี วัตถุมงคล องค์จตุคามรามเทพ ยังคงเป็นสินค้าที่มีการใช้งบโฆษณาสูงสุดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยในเดือนมิถุนายน มีหน่วยงานที่จัดสร้างองค์จตุคามรามเทพนับร้อยนับพันราย ร่วมกันใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์วัตถุมงคลของตนรวม 118 ล้านบาท ตามด้วยเอไอเอส และระบบโทรศัทพ์จีเอสเอ็ม แอดวานซ์ ที่ตั้งหลักจากวิกฤตทางการเมืองได้ กลับมาใช้งบโฆษณาอย่างเป็นกอบเป็นกำถึง 64 ล้านบาท และ 41 ล้านบาทตามลำดับ

เมื่อมองถึงผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้งบโฆษณาสูงสุดครึ่งปีแรก พอนด์ สกินแคร์ จากยูนิลีเวอร์ แม้จะลดงบประมาณจากช่วงเดียวกันของปีก่อนลงเหลือเพียง 372,485 ล้านบาท แต่ก็ยังครองตำแหน่งผู้นำไปได้ โดยมีวัตถุมงคล ที่โหมใช้สื่อช่วง 3 เดือนสุดท้าย เข้าป้ายที่อันดับ 2 ด้วยมูลค่า 354 ล้านบาท ตามด้วยโค้ก 312 ล้านบาท ออย ออฟ โอเล่ สกินแคร์ 301 ล้านบาท คู่ต่อกรในวงการสื่อสาร ระบบโทรทัศน์แฮปปี้ ใช้งบโฆษณาสูงเป็นอันดับ 5 ด้วยเงิน 283 ล้านบาท ขณะที่เอไอเอส ใช้งบสื่อสารองค์กรผ่านสื่อ 261 ล้านบาทในครึ่งปีแรก ตามมาเป็นอันดับ 7 ผงซักฟอกบรีส ที่มีการใช้งบโฆษณาเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 100 ล้านบาท เข้าป้ายเป็นสินค้าที่มีการใช้งบโฆษณาสูงเป็นอันดับ 10 ด้วยมูลค่า 231 ล้านบาท

แนวโน้มสื่อที่ประคองตัวให้อยู่ในแดนบวกมาเป็นเวลา 5 เดือน แม้ในเดือนมิถุนายนจะขยับมาอยู่ในแดนลบไปไม่มาก เพียง -0.48% แต่หากสถานการณ์รอบด้านยังส่อแววน่าเป็นห่วง ทั้งด้านเศรษฐกิจ ค่าเงินบาท ราคาน้ำมัน จนถึงด้านการเมือง การปกครอง ที่ยืดเยื้อไม่มีที่สิ้นสุด ก็มีความเป็นไปได้ว่า อุตสาหกรรมโฆษณาคงต้องถอยหลังสู่แดนลบลึกลงไปยิ่งขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us