Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 กรกฎาคม 2550
โอกาสทางการตลาดต่างจังหวัดจากประชากรสัดส่วน 89% ของประเทศ             
 


   
search resources

Marketing
ยังก์ แอนด์ รูบิแคม แบรนด์, บจก.




วายแอนด์อาร์ ประเทศไทย จัดทำวิจัยเกี่ยวกับผู้บริโภคในต่างจังหวัด ซึ่งนำเสนอมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อประเด็นที่เกี่ยวกับ กิจกรรม ความสนใจ และความคิดเห็น (AIO : Active Interest & Opinions) ที่ตีแผ่ความจริง วิถีชีวิต และความเชื่อในวิถีไทยในแบบของพวกเขาที่มีต่อตนเองและสิ่งต่างๆรอบๆตัวที่เกิดขึ้นในสังคม โดยมีผู้ให้สัมภาษณ์ทั้ง 1,152 ตัวอย่าง เป็นคนท้องถิ่นโดยกำเนิด อายุตั้งแต่ 15 – 55 ปี อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล และเขตสุขาภิบาล(ห่างจากอำเภอเมือง 30 กิโลเมตร) ใน 14 จังหวัดทั่วประเทศ สอบถามเกี่ยวกับทัศนคติและการใช้ชีวิต 10 อันดับแรก และ 10 อันดับสุดท้ายของประเด็นที่พวกเขาเห็นด้วย

ทั้งนี้ที่มาของการสำรวจทัศนคติ ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในพื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่งแตกต่างจากที่ผ่านมานั้น จะเน้นวิจัยเกี่ยวกับผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพฯ นั่นเป็นเพราะว่า ผู้บริโภคในกรุงเทพฯ เป็นประชากรเพียงส่วนหนึ่ง ที่คิดเป็นสัดส่วนเพียง 11% ของประชากรกว่า 65 ล้านคนทั่วประเทศเท่านั้น ขณะที่คนต่างจังหวัดมีจำนวน 58 ล้านคน หรือ 89% ของประชากรทั้งประเทศ โดยการวิจัยการใช้ชีวิตของคนไทยทั่วประเทศ วิจัยเกี่ยวกับทัศนคติการใช้ชีวิตของคนไทยทั่วประเทศในแง่การใช้ชีวิตในสังคมและครอบครัว การบริโภคสื่อ กิจกรรมส่วนตัว สินค้าที่สนใจ พฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้า

สำหรับในมุมมองจากภายนอกที่ส่วนใหญ่แล้วต่างจังหวัดมักถูกมองว่าเป็นตัวแทนของความยากจนและด้อยพัฒนา แต่สำหรับคนท้องถิ่น พวกเขากลับเห็นว่า วิถีชีวิตในต่างจังหวัด คือความลงตัวทางสังคม ความปลอดภัย และภูมิปัญญาชาวบ้านที่ยังสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ทัศนคติทางสังคมของคนไทยต่างจังหวัดโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี ค่านิยมในเรื่องครอบครัวยังคงอยู่ และคนต่างจังหวัดยังภูมิใจในถิ่นกำเนิดของตนอีกทั้งวิถี “เศรษฐกิจพอเพียง” กลายเป็นหลักในการดำเนินชีวิตที่ผู้คนต่างนำมาปรับใช้โดยทั่วกัน

ทั้งนี้ พบว่าทัศนคติทางสังคมของคนไทยในต่างจังหวัดโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และมองว่าผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง รวมถึงความไม่สงบไม่มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

ส่วนประเด็นที่เห็นด้วยมากที่สุด 10 อันดับแรก คือ คนเราเกิดมาเท่ากัน ความสำเร็จขึ้นอยู่กับความพยายาม 97%, ความสุขของครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด 97%, พอมีพอกินก็มีความสุข 96%, ภูมิใจและชื่นชมขนบธรรมเนียมประเพณีไทยมากกว่าขนบธรรมเนียมของต่างประเทศ 97%, ยอมลำบากเพื่อให้พ่อแม่อยู่อย่างมีความสุข 96%, สื่อทำใหคนต่างจังหวัดมีความรู้ และฉลาดขึ้น 97%, อยากช่วยเมืองที่อาศัยอยู่ตอนนี้เจริญขึ้น 96%, ผู้หญิงทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ถ้าสามารถทำให้ครอบครัวอยู่อย่างเป็นสุข 95%, หมู่บ้านหรือสังคมจะเข้มแข็งถ้าคนในสังคมรักส่วนรวมมากกว่ารักตัวเอง 95% และสังคมในชนบทสงบและน่าอยู่อย่างในเมือง 90%

พฤติกรรมการใช้จ่าย ในครัวเรือน 3 อันดับแรกคือ อาหารและเครื่องดื่ม 16% ค่าใช้จ่ายในบ้าน 10% การเดินทาง 9% ส่วนช่องทางจำหน่ายที่นิยมซื้อสินค้าในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มอันดับแรกคือตลาดสดใกล้บ้าน ขณะที่สินค้าอุปโภคและกลุ่มเครื่องใช้ส่วนบุคคล (Personal & House Hold Product) จะนิยมซื้อที่ช่องทางร้านขายของชำใกล้บ้าน ซึ่งเมื่อโฟกัสการซื้อสินค้าอุปโภคและกลุ่มเครื่องใช้ส่วนบุคคลนั้น ช่องทางการขายในท้องถิ่นคือเทรดดิชันนัลเทรดยังมีความได้เปรียบเช่นกัน ขณะที่ช่องทางโมเดิร์นเทรดนั้นจะได้รับความนิยมมากจากกลุ่มคนรุ่นใหม่และวัยทำงาน (Young Adult) ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 20-29 ปีจะเป็นกลุ่มที่เข้าไปใช้บริการมากที่สุด

ส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลในการใช้จ่าย อันดับหนึ่ง คือ ภรรยา รองลงมา คือ ครอบครัว ตามมาด้วยคนใกล้ชิด ขณะที่กลุ่มเด็กและเยาวชนให้ความสำคัญกับการศึกษา วัยรุ่นรวมถึงวัยเริ่มทำงานโดยเฉพาะผู้ชายจะเป็นเรื่องของการสังสรรค์ ท่องเที่ยวและการเข้าสังคม ส่วนผู้ใหญ่จะเป็นเรื่องของการทำบุญต่างๆ

กิจกรรมที่คนในพื้นที่ต่างจังหวัดมักทำในยามว่างเรียงตาม 3 อันดับแรกคือ ดูทีวี ฟังเพลงที่บ้าน และตั้งวงสนทนากับคนข้างบ้าน เป็น 3 อันดับแรกของ นอกจากนี้ยังพบว่า ทางด้านเทคโนโลยีนั้นคนต่างจังหวัดจะให้ความสำคัญกับเครื่องใช้ไฟฟ้า อินเทอร์เน็ต และยานพาหนะเป็นหลัก

โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตนั้น พบว่า กว่า 35% ของผู้สำรวจ มีคอมพิวเตอร์ที่บ้าน และมีการใช้อินเทอร์เน็ต ในช่วงอายุ 15-30 ปีมากที่สุด ดังนั้นมองว่ามีโอกาสการทำตลาดสูงสำหรับผู้ประกอบการทางด้านคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต เพราะกำลังเป็นตลาดที่ใหม่และมีอัตราการเติบโตสูง

ส่วนทางด้านแฟชั่น พบว่า 90% ของผู้สำรวจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มองว่า เชื่อในการดูดีจากการแต่งกาย แต่ขณะเดียวกันมี 61% เชื่อว่าการดูดีไม่จำเป็นต้องวิ่งตามแฟชั่น นอกจากนี้มีเพียง 20 % เท่านั้น ที่ซื้อเสื้อผ้าที่เป็นแบรนด์เนม และที่สำคัญสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ ถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญต่อทัศนคติต่างๆ อันจะทำให้เกิดการทำตลาดยังกลุ่มคนต่างจังหวัดค่อนข้างสูง เนื่องจากพบว่า กว่า 67% มีความเพลิดเพลินในการรับชมโฆษณาทางโทรทัศน์ โดยกว่า 97% เชื่อว่าสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ ทำให้โลกทัศน์กว้างมากขึ้น และกว่า 56% มองว่าโฆษณาทางโทรทัศน์มีความน่าเชื่อถือมากกว่าการขายสินค้าแบบมาแนะนำถึงบ้าน

ทั้งนี้ การที่คนต่างจังหวัดเปิดกว้างในการรับสื่อต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็ส่งผลทำให้ผู้บริโภคเหล่านี้เป็นกลุ่มที่ฉลาดขึ้นและหาข้อมูลสินค้าก่อนซื้อเพิ่มมากขึ้น โดยเหตุผลหลักในการตัดสินใจซื้อของคนต่างจังหวัดคือ "คุ้มค่า คุ้มราคา" ดังนั้นแคมเปญลด แลก แจก แถม ยังมีผลต่อการซื้อสินค้าด้วยเช่นกัน ส่วนกิจกรรมการตลาดหรือภาพยนตร์โฆษณาที่มีดารา นักแสดง มาเป็นพรีเซนเตอร์นั้นไม่ได้โน้มน้าวใจทำให้เกิดความเชื่อถือซื้อสินค้าตาม แต่เป็นการสร้างการรับรู้ในตราสินค้าเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น เพราะคนที่มีอิทธิผลต่อการตัดสินใจซื้อนั้นคือ ผู้นำความคิดในท้องถิ่น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us