Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 กรกฎาคม 2550
บาทแข็งลามกระทบทุกวงการรากหญ้าตายสนิทนายทุนดิ้นพล่าน!             
 


   
search resources

Economics
Currency Exchange Rates




มาตรการแก้ปัญหาค่าบาทไร้ประสิทธิภาพ บาทเดินหน้าแข็งต่อเนื่อง กระทบไม่เฉพาะภาคส่งออก แต่ลามไปถึงรากหญ้าที่ผลิตวัตถุป้อน อาจถึงขึ้นเปลี่ยนอาชีพ พร้อมเตือนหาทางรับมือบาทอ่อนเร็วหากเงินร้อนต่างชาติย้ายตลาดหนีเมืองไทย

เหลือเวลาอีกไม่ถึง 2 เดือนก็จะครบรอบการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลชุดก่อนของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) แต่สถานการณ์ในประเทศยังอยู่ในอาการทรงกับทรุด หลังจากกลุ่มอำนาจเดิมเร่งเครื่องโชว์ผลงานปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ(นปก.)เมื่อ 22 กรกฎาคม 2550 และมีแนวโน้มว่ามีการปะทะกันอีกในไม่ช้า

ขณะที่ด้านเศรษฐกิจก็ถูกกระหน่ำด้วยค่าเงินบาทแข็ง จากการไหลเข้ามาของเม็ดเงินต่างชาติ ทั้งจากนโยบายความต้องการของเจ้าของสกุลเงินดอลลาร์ที่ต้องการเห็นดอลลาร์อ่อน เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ หรือผลตอบแทนจากการลงทุนในประเทศแถบเอเชียรวมถึงประเทศไทย

จากเงินบาทที่ระดับ 36 บาทเมื่อต้นปีแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง จนลงมาทดสอบแถว ๆ 32 บาทเศษ เม็ดเงินที่ไหลเข้าเฉพาะในส่วนของตลาดหุ้นมียอดซื้อสุทธิกว่า 1.32 แสนล้านบาท ดันให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นมากว่า 200 จุด หรือปรับเพิ่มขึ้นมาเฉียด 30% ไม่สนใจว่าสภาพเศรษฐกิจและบรรยากาศทางการเมืองจะคุกรุ่นแค่ไหน

ฟันกำไรหุ้น-อนุพันธ์

แม้รัฐบาลและทีมเศรษฐกิจรวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทยจะพยายามหาทางสกัดกันการไหลเข้ามาของเงินดอลลาร์ ด้วยมาตรการต่าง ๆ แต่ก็ไม่สามารถสกัดกั้นเม็ดเงินมหาศาลที่ไหลเข้ามาได้

"ต้องยอมรับว่าเงินส่วนใหญ่ไหลเข้ามาในตลาดหุ้นเป็นหลัก ส่วนหนึ่งคือตลาดหุ้นบ้านเรายังถูกกว่าเพื่อนบ้าน ซึ่งพวกเขาได้กำไรจากตลาดหุ้นในประเทศเพื่อนบ้านเรามาแล้ว จึงหาตลาดอื่นที่ยังสามารถลงทุนได้นั่นคือตลาดหุ้นของไทย"นักเศรษฐศาสตร์มหภาคกล่าว

ทั้งนี้เนื่องจากในตลาดพันธบัตรนั้นมีเรื่องของมาตรการกันสำรอง 30% ที่ออกเมื่อปลายปี 2549 ยังบังคับใช้อยู่ ทำให้เงินร้อนเหล่านี้ต้องมาที่ตลาดหลักทรัพย์เพราะไม่ติดขัดในเรื่องการกันสำรอง

ดังนั้นหุ้นขนาดใหญ่จึงถือเป้าหมายหลักในการเข้าซื้อ ซึ่งพวกเขาไม่ได้เข้าไปซื้อเฉพาะหุ้นรายตัวเท่านั้น บางกลุ่มเพิ่มช่องทางทำกำไรอีกหนึ่งช่องทางด้วยการเข้าไปซื้ออนุพันธ์ในตลาดอนุพันธ์หรือ TFEX ที่จำนวนสัญญาที่ทำการซื้อขายนั้นสูงจนทำลายสถิติกันเป็นว่าเล่น

หุ้นในกลุ่มพลังงานที่มีน้ำหนักในการคำนวณดัชนีราว 30% กระชากให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว

หลายคนอาจจะรู้สึกดีที่ตลาดหุ้นคึกคัก แต่ภายใต้ความคักคักของตลาดหุ้นนั้นจะพบว่าหุ้นอย่าง ปตท.หรือ PTT และอีกหลายตัวในกลุ่มพลังงานนั้นปรับตัวขึ้นจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นเหล่านี้

แต่การที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเกิดผลดีกับเศรษฐกิจของประเทศไทยหรือไม่ คำตอบคือไม่ ราคาน้ำมันเบนซินในปีนี้เคยปรับขึ้นเกินกว่าลิตรละ 30 บาทไปช่วงหนึ่งแล้ว แต่โชคดีที่ค่าเงินบาทแข็งช่วยลดความแพงของราคาน้ำมันไปในตัว

หากค่าเงินบาทเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ขณะที่ราคามันยังอยู่ในระดับสูงเท่าเดิมแล้ว ราคาน้ำมันในประเทศจะเป็นเท่าไหร่ จะกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยมากน้อยแค่ไหน ตรงนี้ผู้ที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องมองถึงประเด็นเหล่านี้ด้วย

ลามถึงรากหญ้า

ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลานี้ทำให้เกิดผลกระทบกับภาวะเศรษฐกิจ เห็นได้จากโรงงานไทยศิลป์ฯ ที่แม้จะพยายามเปิดโรงงานแต่สุดท้ายก็ต้องปิดตัวลงไปในที่สุด และยังมีผู้ผลิตอีกหลายหลายที่ประสบปัญหาเรื่องนี้เช่นกัน

เห็นได้จากข้อมูลที่สมาคมบริษัทจดทะเบียน เปิดเผยถึงการหารือกับบริษัทจดทะเบียนจำนวน 120 บริษัท เพื่อหาทางรับมือกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นว่า จากการสอบถามบริษัทจดทะเบียนจำนวน 40 บริษัท ผู้ตอบแบบสอบถามในสัดส่วนร้อยละ 90 ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทั้งรายได้และค่าใช้จ่าย แต่ในสัดส่วนร้อยละ 80 ระบุว่าได้ปรับตัวด้วยการทำสัญญาซื้อขายค่าเงินบาทไว้ล่วงหน้า และต้องลดต้นทุนในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ให้ต่ำลง

กรณีนี้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ยังพอมีช่องทาง และมีเงินทุนเพียงพอที่จะประคองสถานการณ์ได้ แต่บริษัททั่วไปที่ปิดตัวจากผลของค่าเงินบาทก่อนโรงงานไทยศิลป์ฯ ก็มี ดังนั้นเมื่อประเมินจากมาตรการของทางการที่มีประสิทธิภาพในการสกัดค่าเงินบาทได้น้อย จึงเป็นห่วงว่าภาคการผลิตเพื่อส่งออกอาจจะต้องปิดตัวลงอีกในไม่ช้า

ผลกระทบที่ตามมาเป็นลูกโซ่นั่นคือผู้ผลิตรายอื่นที่ป้อนวัตถุดิบให้กับภาคการผลิตเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาคเกษตรกรรมจะต้องได้รับผลกระทบตามไปด้วย เริ่มแรกอาจจะต้องถูกกดราคาที่โรงงานนั้นรับซื้อให้ต่ำลงเพื่อให้โรงงานอยู่ได้ เมื่อผลิตแล้วไม่คุ้มกับต้นทุน เกษตรกรเหล่านั้นก็อาจต้องเลิก กลายเป็นผู้ไม่มีรายได้ รวมถึงพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมเหล่านั้นถ้าบริษัทไม่สามารถอยู่ได้พวกเขาก็ต้องตกงาน

ระวังไหลออก-บาทอ่อนเร็ว

ในทางกลับกันหากเงินร้อนของนักลงทุนต่างชาติเหล่านี้ สามารถสร้างผลตอบแทนได้ตามเป้าหมายแล้ว และเคลื่อนย้ายไปลงทุนในตลาดอื่นแทน เราจะได้เห็นดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลง นั่นหมายถึงค่าเงินบาทของเราก็จะอ่อนค่า แม้จะเป็นผลดีต่อภาคการส่งออก แต่ถ้าราคาน้ำมันในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูงแล้ว ย่อมกระทบต่อกำลังซื้อของคนในประเทศตามมาอีกในไม่ช้า

เงินที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นช่วงที่ผ่านมาถือเป็นเงินระยะสั้นที่พร้อมจะเคลื่อนย้ายออกได้ตลอดเวลา หากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไม่ดี มีความรุนแรง หรือเจอแหล่งอื่นที่สร้างผลตอบแทนสูงกว่า

เงินเหล่านี้ไม่ใช่เงินที่เข้ามาสร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศ เหมือนกับเงินลงทุนโดยตรงในกิจการหรือภาคอุตสาหกรรม ที่เป็นการลงทุนระยะยาว ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ประเทศไทยอยากให้เงินประเภทนี้เข้ามา

แม้ว่าดัชนีตลาดหุ้นจะปรับเพิ่มขึ้นมาเกือบ 30% ในช่วง 7 เดือน แต่เม็ดเงินเหล่านี้ไม่ได้เข้ามาสร้างหรือกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ดีขึ้น เห็นได้จากตัวเลขการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในช่วง 5 เดือนมียอดจำหน่ายลดลง 13.9% และ 22.6% หรือสังเกตุจากการปรับตัวของห้างโมเดิร์นเทรดรายใหญ่ที่ต้องออกโปรโมชั่นการผ่อนชำระเพื่อซื้อสินค้า ด้วยการให้ผ่อนชำระได้ยาวขึ้น

เดิมพวกเครื่องใช้ไฟฟ้ามักจะให้ผ่อนดอกเบี้ย 0% แค่ 6 เดือนหรือ 12 เดือนเท่านั้น แต่ขณะนี้เราได้เห็นการยืดระยะเวลาการผ่อนชำระให้ยาวออกไปเป็น 24 เดือนหรือ 36 เดือนกันแล้ว นั่นเป็นการสะท้อนถึงบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยของภาคประชาชนลดลงไปค่อนข้างมาก

แม้กระทั่งตัวเลขการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในรอบ 5 เดือน เมื่อคิดเฉลี่ยต่อบัตรแล้วมียอดการใช้จ่ายที่ลดลง ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากเกณฑ์ใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่อีกส่วนหนึ่งเกิดจากความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภค อย่างไรก็ตามในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นพบว่าคนไทยเริ่มเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศมากขึ้นเห็นได้จากยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรที่ใช้จ่ายในต่างประเทศที่อยู่ในทิศทางที่เพิ่มขึ้น

สิ่งที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบไปยังภาครัฐหลังจากที่กรมสรรพากรออกมายอมรับว่า รายได้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในรอบ 8 เดือน จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 4,104 ล้านบาท เนื่องจากการบริโภคที่ชะลอตัวลงและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น สถานการณ์อย่างนี้นับว่าไม่เป็นผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจในประเทศ

แม้ประเทศไทยจะเจอปัญหาเรื่องค่าเงินบาทมาตั้งแต่ปี 2540 แต่ถึงวันนี้มาตรการที่จะลดความผันผวนของค่าเงินบาทของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องยังไม่มีเครื่องมือที่ดีพอที่จะมาจัดการให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ ส่วนใหญ่เป็นเพียงการเข้าไปแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตามสถานการณ์เท่านั้น

มาตรการแก้บาทสกัดไม่อยู่

มาตรการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาททั้ง 6 มาตรการ ที่ได้รับความเห็นชอบในหลักการจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ 24 กรกฎาคม 2550 ประกอบด้วย

1. ให้ธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพและกำกับดูแลจากหน่วยงานของรัฐอยู่แล้ว สามารถซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อลงทุนโดยตรงในต่างประเทศได้ไม่เกินจำนวน 100 ล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อปี ทั้งนี้ ธุรกิจที่จดทะเบียนดังกล่าวต้องเป็นธุรกิจที่มีส่วนของผู้ถือหุ้นในปีบัญชีที่ผ่านมาเป็นบวก และไม่อยู่ในกลุ่มบริษัทที่เข้าข่ายถูก เพิกถอนการจดทะเบียน (Rehabilitation)

2. ให้บุคคลไทย ทั้งที่เป็นนิติบุคคล และบุคคลธรรมดามีความคล่องตัวในการฝากเงินที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศไว้กับสถาบันการเงินในประเทศมากขึ้น โดยมีรายละเอียด 2 ประการ คือ

2.1 ผู้ที่มีเงินตราต่างประเทศอันมีแหล่งที่มาจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะได้มาด้วยวิธีการใด อาทิ รับชำระค่าสินค้าออก หรือกู้ยืมจากต่างประเทศ สามารถฝากเงินตราต่างประเทศกับสถาบันการเงินในประเทศไทยได้ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ ก. ประเภทที่มีภาระผูกพันที่จะต้องใช้เงินตราต่างประเทศในอนาคต : นำฝากได้ไม่เกินภาระที่มีในช่วง 12 เดือนข้างหน้า แต่ยอดคงค้างรวมต้องไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับบุคคลธรรมดา และ 100 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับนิติบุคคล ข. ประเภทไม่มีภาระผูกพัน : ยอดคงค้างรวมทุกบัญชีไม่เกิน 100,000 ดอลลาร์ สรอ. สำหรับบุคคลธรรมดา และ 5 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับนิติบุคคล

2.2 ผู้ที่มีเงินตราต่างประเทศอันมีแหล่งที่มาจากในประเทศ โดยการนำเงินบาทซื้อหรือแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ หรือกู้ยืมจากสถาบันการเงินภายในประเทศไทย แล้วนำเงินตราต่างประเทศดังกล่าวฝากไว้กับสถาบันการเงินในประเทศไทย มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

ก. ประเภทที่มีภาระผูกพันที่จะต้องใช้เงินตราต่างประเทศในอนาคต : นำฝากได้ไม่เกินภาระที่มีในช่วง 12 เดือนข้างหน้า แต่ยอดคงค้างรวมต้องไม่เกิน 500,000 ดอลลาร์ สรอ. สำหรับบุคคลธรรมดา และ 50 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับนิติบุคคล

ข. ประเภทไม่มีภาระผูกพัน : ยอดคงค้างรวมทุกบัญชีไม่เกิน 50,000 ดอลลาร์ สรอ. สำหรับบุคคลธรรมดา และ 200,000 ดอลลาร์ สรอ. สำหรับนิติบุคคล

3. ปรับวงเงินที่บุคคลในประเทศไทยประสงค์จะโอนไปต่างประเทศในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การโอนเงินให้ญาติที่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในต่างประเทศ หรือการบริจาคให้แก่สาธารณประโยชน์ รวมถึง การโอนเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ ให้อยู่ในเกณฑ์เดียวกัน คือ โอนเงิน แต่ละวัตถุประสงค์ได้ไม่เกิน 1 ล้าน ดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่าต่อรายต่อปี

4. ปรับข้อกำหนดให้บุคคลในประเทศที่มีรายรับเงินตราต่างประเทศจากเดิมที่ต้องนำเงินดังกล่าวเข้าประเทศภายใน 120 วัน (หากเกิน 120 วัน แต่ไม่เกิน 360 วัน สถาบันการเงินสามารถอนุญาตแทนเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน) เป็นต้องนำเงินดังกล่าวเข้าประเทศภายใน 360 วัน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ซึ่งจะทำให้ธุรกิจไทยคล่องตัวมากขึ้นในการให้สินเชื่อทางการค้าแก่ลูกค้าในต่างประเทศ

5. ยกเลิกข้อกำหนดให้บุคคลในประเทศที่ได้รับเงินตราต่างประเทศต้องขายหรือฝากภายใน 15 วัน ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ได้รับเงินตราต่างประเทศมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศที่ตนได้รับแล้ว ยังเอื้อให้สถาบันการเงินสามารถกำหนดวิธีปฏิบัติให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของตนอีกด้วย ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องแจ้ง โดยประกาศกำหนดให้ลูกค้าทราบเป็นการทั่วไป ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการจากสถาบันการเงินได้ตามที่เห็นสมควร

6. ปรับระเบียบการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของผู้ลงทุนประเภทสถาบันให้สามารถลงทุนในรูปของเงินฝากกับสถาบันการเงินต่างประเทศได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก เจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน โดยเงินฝากดังกล่าวให้นับรวมในวงเงินที่สามารถลงทุนในหลักทรัพย์ได้ตามที่ระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินกำหนดไว้ เพื่อให้ผู้ลงทุนประเภทสถาบันมีความคล่องตัวมากขึ้นในการบริหารการลงทุนได้ผลน้อย

นักเศรษฐศาสตร์รายหนึ่งกล่าวว่า มาตรการที่แก้ปัญหาค่าเงินบาทของรัฐบาลนั้นน่าจะได้ผลค่อนข้างน้อยหากเทียบกับเม็ดเงินของนักลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาในประเทศไทย เนื่องจากจำนวนธุรกรรมที่ทางการเปิดโอกาสให้นั้นถือว่าเป็นวงเงินที่ไม่มาก โดยเฉพาะเรื่องการฝากเงินในสกุลดอลลาร์ หรือการนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศก็มีไม่กี่บริษัทที่มีศักยภาพพอที่จะไปลงทุนในต่างประเทศ

เพราะการไปลงทุนในต่างประเทศนั้นจะต้องมีการเตรียมการที่รอบคอบ ทั้งในเรื่องความเสี่ยงในด้านการลงทุนรวมถึงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนหากสามารถสร้างรายได้แล้วนำกลับประเทศ

นอกจากนี้ในเรื่องการอนุญาตให้ผู้ส่งออกสามารถถือครองเงินดอลลาร์ได้นานขึ้นนั้น คงไม่สามารถทำได้ทั้งจำนวน เนื่องจากผู้ส่งออกเหล่านี้ต้องมีภาระหน้าที่ในการต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าแรง ค่าวัตถุดิบหรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แม้ทางการจะอนุญาตให้ถือครองเงินดอลลาร์ได้นานขึ้น แต่ในทางปฎิบัติพวกเขาก็ต้องแปลงดอลลาร์เป็นเงินบาทอยู่ดี เพื่อนำมาจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

เมื่อเม็ดเงินที่มีโอกาสออกไปน้อย และความจำเป็นที่ต้องแปลงดอลลาร์เป็นเงินบาทย่อมทำให้แนวทางแก้ปัญหาค่าเงินบาทของรัฐบาลอาจไม่ได้ผลมากนัก แม้ก่อนหน้านี้เมื่อ 18 กรกฎาคมคณะกรรมการนโยบายการเงินจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร 1 วันลง 0.25% จาก 3.5% เหลือ 3.25% เพื่อช่วยลดการแข็งค่าของเงินบาทแล้วก็ตาม

หรือแม้แต่การเปิดทางให้บริษัทหลักทัพย์จัดการกองทุนรวมออกกองทุนที่นำไปลงทุนต่างประเทศ(FIF) ที่ผ่านมากองทุน FIF ส่วนใหญ่แม้จะให้ผลตอบแทนที่ดี แต่มักจะเกิดจากส่วนต่างของค่าเงินบาทเป็นหลัก ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจากการลงทุนจริง ๆ ถือว่าไม่สูงนัก

หากทางการจะแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งให้ได้อย่างได้ผลน่าจะเป็นการให้รัฐวิสาหกิจเร่งชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศที่มีอยู่ประมาณ 8.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่เมื่อพิจารณาลงไปจะพบว่าหนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว มีระยะสั้นค่อนข้างน้อย และต้องไปสำรวจความพร้อมของรัฐวิสาหกิจเหล่านั้นว่าสามารถชำระหนี้เหล่านี้ได้ก่อนกำหนดหรือไม่

ที่สำคัญรัฐบาลจะพร้อมหรือไม่หากรัฐวิสาหกิจนั้นจ่ายหนี้คืนก่อนกำหนด แต่ไม่สามารถนำส่งรายได้เข้ารัฐ ที่อาจจะทำให้มีปัญหาเรื่องงบประมาณตามมา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us