Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์30 กรกฎาคม 2550
"ประกันชีวิตไทย-เทศ"เจรจาสงบศึกสมานฉันท์เบรกจ่ายค่าต๋งองค์กรอิสระ             
 


   
search resources

Insurance




ธุรกิจประกันชีวิตโลกตะวันออก และทุนตะวันออก เปิดโต๊ะ"เจรจาสงบศึก"ชั่วคราว ผนึกกำลังภายในเบรกจ่ายค่าต๋ง "องค์กรอิสระ" หน่วยงานที่จะเข้ามามีบทบาทแทน "กรมการประกันภัย" ในอนาคตชนิดถึงลูกถึงคน ตั้งคำถาม ปัญหาคือ ใครสมควรจ่าย?..." ....ฝ่ายธุรกิจ หรือ ฝั่งผู้บริโภค.... เดินเกมวิ่งเต้นต่อรองเฮือกสุดท้าย ก่อนจะถูกบังคับใช้เป็นกฎหมาย แต่ท้ายที่สุดบทสรุปคือ ผู้บริโภคก็ต้องจ่ายทั้งขึ้นทั้งล่อง...

การจ่ายเงินสมทบให้กับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัยหรือ (คปภ.) องค์กรอิสระ ที่จะเข้ามาแทนที่กรมการประกันภัย ตามกฎหมายฉบับใหม่ที่ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือ (สนช.) กลายเป็นหัวข้อร้อนที่ธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ต้องนำขึ้นมาถกเถียงอยู่นานหลายเดือน และดูเหมือนจะเป็นเหตุการณ์เดียวที่ทำให้ "ศัตรู" กลายมาเป็น "มิตร"

ฝั่งสมาคมประกันชีวิตไทย ที่เคยออกโรงตั้งหัวข้อโต้แย้งเกี่ยวกับตัวเลขสมทบหรือ ค่าตั๋ง มาก่อนชุดแรกมีทั้ง นายกสมาคมประกันชีวิตไทยและกรรมการแทบทั้งคณะ แต่ก็มีเสียงตอบกลับยังไม่เป็นที่น่าพอใจของแต่ละฝ่าย

เพราะกฎหมายตั้งเพดานสูงสุดระดับ 0.5% ของเบี้ยรวม ยังไม่นับรวมรายได้จากค่าธรรมเนียมอีก ซึ่งหลังมีการเรียกร้องอยู่ระยะหนึ่ง ก็มีการหั่นตัวเลขลงมาที่ 0.35% กระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นระยะ

...แต่ดูเหมือน การคิดค่าต๋งไม่ว่าจะอยู่ระดับใด ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิตก็มักจะทิ้งปริศนาไว้ให้ขบคิดว่า มันคือต้นทุนที่จำเป็นต้องผลักไปให้ผู้บริโภควันยังค่ำ ไม่ว่ารูปใดรูปหนึ่ง...

.....ซึ่งจะให้ดีที่สุด ทุกบริษัทก็คงไม่ต้องการจ่ายค่าต๋งด้วยซ้ำ...

สมาคมประกันชีวิตไทย ถึงกับกางตารางเปรียบเทียบให้ดูในอัตราตัวเลขที่ภาครัฐกำหนดคือ 0.35% และตัวเลขที่เอกชนต้องการคือ 0.05% รวมถึงค่าเผื่อในอัตราไม่เกิน 0.1% ซึ่งพบว่า เงินที่จ่ายเข้าไปสนับสนุนองค์กรอิสระยังมีเหลือเป็น สิบๆถึงหลัก เกือบ 1 พันล้านบาท หากเอารายได้หักจากค่าใช้จ่าย เหลือเป็นดอกผล รวมกับดอกเบี้ยทบต้นอีก 5%

ว่ากันว่า ตัวเลขที่สูงติดเพดานคือ 0.5% จะสร้างความเสี่ยง จนหลายบริษัทอาจต้องเพิ่มทุน และถ้าลูกค้าซื้อกรมธรรม์กับบริษัทเหล่านี้ ก็จะเกิดความเสี่ยงพอๆกัน

ในขณะที่มุมหน่วยงานรัฐยังคงตกเป็นเป้าโจมตีถึงการวิ่งไม่ทันเกม ไม่ติดตามใกล้ชิดธุรกิจที่บริหารงานผิดพลาดในอดีตจนเกิดความเสียหายเรื้อรังถึงปัจจุบัน

ผู้บริหารธุรกิจปะกันชีวิตรายหนึ่ง ถึงกับลงความเห็นว่า ถ้าหน่วยงานรัฐเกาะติดความผิดพลาด และทันเวลา ธุรกิจและอุตสาหกรรมก็คงเสียหายไม่มาก จนต้องมาตั้งกองทุนจัดเก็บค่าต๋ง ซึ่งสุดท้ายผู้บริโภคจะต้องรับภาระจากการคิดราคาเบี้ยที่สูงขึ้น แบบไม่มีทางเลี่ยง

การเจรจาที่ออกจะยืดเยื้อ ทำให้มีการผนึกกำลังเรียกร้องออกมาเป็นระลอก จนมาถึงคิวนายทุนจากโลกตะวันตก ซึ่งการออกโรงคราวนี้กำลังจะสื่อข้อความไปถึงฝั่งรัฐบาลว่า ค่าตั๋งที่คิดคำนวณไว้ในใจ ใครจะเป็นผู้จ่ายระหว่าง ผู้ซื้อ ซึ่งก็คือ ผู้บริโภค หรือ ผู้ขาย ฝั่งผู้ประกอบการ

วิลฟ์ แบร็คเบิร์น กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.อยุธยา อลิอันซ์ ซีพี ประกันชีวิต (เอเอซีพี) อ้างถึงประเทศทั่วโลก ใช้วิธีจัดเก็บภาษีเพื่อสนับสนุนหน่วยงานนี้ โดยไม่เลือกว่าจะสังกัด กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลังหรือจะเป็นองค์กรอิสระ ที่พยายามจะให้ปลอดการเมือง

" ผู้กระทบมากที่สุด ก็คือ ผู้บริโภค ส่วนผู้ถือหุ้น และตัวแทนก็ยังเข้มแข็งเช่นเดิม ดังนั้นก็ต้องหันมาคิดว่า ควรจะผลักภาระให้ผู้ซื้อหรือจะเป็นทางออกอื่นคือ สนับสนุนให้ซื้อประกันชีวิต เป็นการออม และได้รับการลดหย่อนภาษีมากขึ้นแทน"

วิลฟ์ ถึงกับบอกว่า การเก็บค่าต๋งจากเบี้ยเท่าไร ธุรกิจก็จะมีต้นทุนมากเท่ากัน ดังนั้นบริษัทใหญ่ๆอาจเลือกจะรับภาระเอาไว้ได้จากกำไรที่ไหลเข้ามา แต่บริษัทขนาดเล็กคงมีปัญหา และวิธีเดียวก็คือ การให้ผู้ซื้อประกันภัยและประกันชีวิตแบกรับเอาไปเต็มๆ

นอกจากนั้น การจัดเก็บค่าต๋งก็ยังถูกมองว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนของทุนจากต่างประเทศ รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กที่จะมีสภาพไม่ต่างจาก "ตกนรกทั้งเป็น" เพราะสถานะทางการเงินไม่แข็งแกร่งพอจะจ่ายได้

โดนัลด์ คาร์ดีน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต เห็นด้วยกับการเตรียมจัดตั้ง "องค์กรอิสระ" ที่จะช่วยให้เกิดความคล่องตัวในทุกด้าน แต่ก็ต้องมาหยุดอยู่ที่ ปัญหาคือ ใคร?...จะเป็นคนจ่ายค่าต๋งที่ว่านี้

นายฝรั่งจาก นิวยอร์ค แนะนำว่า ในประเทศต่างๆ ทุกบริษัทจะถูกจัดเก็บภาษีอยู่แล้ว และภาครัฐก็สามารถเจียดเอาเงินส่วนนั้นมาเป็นค่าใช้จ่ายให้หน่วยงานใหม่ได้ เพราะถ้าจะดึงเอาเงินจากธุรกิจก็มองว่าสูงเกินกำลังจะจ่ายได้ ส่วนหนึ่งก็เพราะผลประกอบการกำไรเป็นตัวเลขเพียงหลักเดียว ซึ่งหากหมดทางเลือกจริงๆ ธุรกิจก็คงต้องผลักค่าใช้จ่ายไปที่ผู้ซื้อแบบไม่มีทางเลือก

" ในบางประเทศ หรือยกตัวอย่างในอเมริกา ที่รัฐจะบริหารกันอย่างเอกเทศ จะให้หน่วยงานนั้นตั้งงบขึ้นมา โดยให้ภาครัฐพิจารณาค่าใช้จ่ายจากภาษีที่จัดเก็บจากธุรกิจ"

โดนัลด์บอกว่า ระหว่างที่ยังไม่มีข้อสรุป ก็ยังพอมีช่องทางจะเจรจากันได้ โดยแนะนำว่า ควรตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อพิจารณา ก่อนจะตัดสินใจในขั้นสุดท้าย

" ตราบใดที่ยังคงหารือกันได้ ถึงแม้กฎหมายจะเข้าสภาไปแล้ว ธุรกิจก็ยังมีความหวัง ยังมีโอกาสแก้ไขเปลี่ยนแปลง จนกว่าจะถึงวันสุดท้ายที่กฎหมายประกาศบังคับใช้"

ปัญหาใครจะเป็นผู้จ่ายค่าต๋ง ซึ่งเคยถูกมองเป็นเรื่องไกลตัวผู้บริโภค ในที่สุดก็ถูกดึงเข้ามาเป็นเรื่องใกล้ตัว ผู้ซื้อกรมธรรม์

ถ้าเปลี่ยนวิธีจัดเก็บ ผู้ซื้อก็คงรอดตัว ในทางตรงกันข้ามหาก ตัวเลขค่าต๋งวิ่งไปมาไม่แน่นอน และสุดท้ายต้องใช้อัตราใดอัตราหนึ่ง ถึงวันนั้นผู้ซื้อก็คงต้องรับผลของชะตากรรมแบบไม่มีทางเลือก

"องค์กรอิสระ" ที่ควรจะปลอดจากอำนาจการเมือง จึงเป็นประเด็นรองไปในทันที เพราะประเด็นหลักคือ ผู้บริโภคมักจะเสียเปรียบวันยังค่ำ....   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us