Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 เมษายน 2546
"ประชัย"แฉ"อีพีแอล" สมคบเจ้าหนี้โกงทีพีไอ-คลังหาทางแก้ด่วน             
 


   
search resources

เอ็ฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ส
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์




"ประชัย เลี่ยวไพรัตน์" ผู้บริหารแผน "ทีพีไอ" ชั่วคราว เปิดใจ หลังศาลล้มละลายกลางมีคำพิพากษาให้ "อีพีแอล" พ้นจากการเป็นผู้บริหารแผนฯ ทีพีไอ แฉแหลกผู้บริหารแผนสมคบแบงก์เจ้าหนี้ โกงทรัพย์สินทีพีไอสารพัดรูปแบบ ขณะที่กระทรวงการคลังหารือด่วนกับนายกรัฐมนตรี เพื่อหาแนวทางยุติปัญหา ด้าน "ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" หวั่นปัญหาบานปลาย ส่งผลกระทบกับความเชื่อมั่นของนักลงทุน

เจ้าหนี้ระงับเครดิต 80 ล้านดอลล์ บีบทีพีไอขาดภาพคล่องการเงิน

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ในฐานะผู้บริหารแผนทีพีไอคนใหม่ ร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามคำพิพากษาของศาลล้มละลายกลาง กล่าวถึง กรณีที่กลุ่มธนาคารเจ้าหนี้ระงับสินเชื่อเงินทุน หมุนเวียนจำนวน 80 ล้านเหรียญสหรัฐ ว่าเจ้าหนี้ต้องการบีบให้ทีพีไอ ไม่มีเงินทุนหมุนเวียน จากเดิมที่ ทีพีไอไม่เคยต้องขอวงเงินเพิ่ม จากธนาคาร จนกระทั่งอีพีแอลเข้า ไปใช้เงินจำนวนมาก ทำให้ทีพีไอขาดสภาพคล่อง จึงจำเป็นต้องขอวงเงินกู้เงิน 80 ล้านเหรียญสหรัฐ

เขากล่าวว่า การขอวงเงินเครดิตเพิ่ม เป็นการสมคบกันระหว่างเจ้าหนี้และอีพีแอล ด้วยการนำทรัพย์สินของทีพีไอที่เหลือ กว่า 60,000 ล้านบาท ไปจำนองไว้กับเจ้าหนี้ ซึ่งตามแผนฟื้นฟูกิจการ สามารถกระทำได้ แต่อีพีแอลและเจ้าหนี้ได้บิดเบือนความจริง โดยใน แผนฟื้นฟูฯ ระบุว่า 60,000 ล้านบาท จะต้องแบ่ง 20,000 ล้านบาท ออกมาค้ำประกันให้กับผู้ให้กู้วงเงินกู้ใหม่ 20,000 ล้านบาท หรือประมาณ 250-500 ล้านเหรียญ ในกรณีที่ทีพีไอเกิดปัญหาขัดข้องทางการเงิน

ในความเป็นจริงเจ้าหนี้ทั้ง 5 ราย ได้แก่ แบงก์ กรุงเทพ บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอฟซี) แบงก์เคเอฟดับบลิว ของเยอรมัน ซิตี้แบงก์และแบงก์อเมริกา ร่วมกับอีพีแอล ได้เอาทรัพย์สิน 60,000 ล้าน ไปจำนำจำนองกับเจ้าหนี้ 5 รายนี้ ทำให้ไม่เหลือวงเงินค้ำประกันกับผู้ที่จะให้วงเงินกู้ใหม่เข้ามา ดังนั้นเวลาเจ้าหนี้ซึ่งควบคุมอีพีแอล อยู่เห็นว่าไปไม่รอด อีพีแอลเลยต้องขอวงเงิน 80 ล้านเหรียญ โดยวงเงิน 41.5 ล้านเหรียญ จากแบงก์กรุงไทย และ 38.5 ล้านเหรียญมาจากแบงก์กรุงเทพ

ขออำนาจศาลยกเลิกจำนอง

สำหรับแผนการหาแหล่งเงินทุนเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการต่อไปนั้น นายประชัย กล่าวว่า คงจะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เพราะทีพีไอยังมีทรัพย์สินที่ยังไม่ได้ค้ำประกันก่อนเข้าแผนฟื้นฟูฯ อีก 60,000 ล้าบาท ซึ่งบริษัทจะยื่นขออำนาจศาลให้ยกเลิกการจำนองทั้งหมด และให้เหลือแค่ 40,000 ล้าน อีก 20,000 ล้านจะต้องใช้สำรองให้กับผู้ที่ปล่อยเงินกู้ใหม่

นายประชัย รัฐบาลก็ควรจะเช้ามาช่วยเหลือทีพีไอให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เพราะทีพีไอมียอดขายเกือบแสนล้านบาท เท่ากับประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี หรือประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณแผ่นดิน โดยรัฐบาลจะต้องรีบแก้กฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้วุฒิสภาได้รับหลักการเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งรัฐบาลจะต้องคอยตรวจสอบการดำเนินงานของแบงก์ไม่ให้รังแกลูกหนี้

แฉ"อีพีแอล"ถลุงเงินทีพีไอเละ

นายประชัย กล่าวเพิ่มเติมถึง พฤติกรรมของอีพีแอลว่า การบริหารอีพีแอลในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คิดค่าบริหารแผนไปกว่า 1 พันล้านบาท และทำให้รายรับก่อนหักภาษี และดอกเบี้ย ลดลงเหลือเพียง 400 ล้านบาทต่อเดือน จากเดิมที่สูงกว่า 800 ล้านบาท

รวมทั้งยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จ่ายจากบัญชีของทีพีไอ เช่น ค่าบอดีการ์ดของผู้บริหารกับลูกน้อง อีก 2 คน ตกเดือนละกว่า 5 ล้านบาท และยังมีค่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างๆ เป็นต้น

"ค่าใช้จ่ายต่างๆ ของอีพีแอลสูงมาก เมื่อเทียบ กับที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูฯ ที่กำหนดไว้เพียงเดือนละประมาณ 20 ล้านบาทเท่านั้น"

นายประชัย ชี้ว่าประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การขายทรัพย์สินที่ไม่ใช่ทรัพย์สินหลัก (Non Core Assets) โดยหวังค่านายหน้า 3% จากมูลค่าทรัพย์สินที่ขายทั้งหมด ซึ่งคิดเป็นมูลค่ามหาศาล หากอีพีแอลสามารถขายโรงไฟฟ้าทีพีไอได้

สำหรับการแปลงหนี้เป็นทุนให้กับเจ้าหนี้นั้น ก็เป็นการแปลงหนี้ที่ไม่เป็นธรรม เพราะทรัพย์สินของบริษัทตอนนั้นหุ้นละ 17.50 บาท (ราคาตามมูลค่า ทางบัญชี) แต่มาแปลงหนี้เป็นทุนในราคา 5 บาท จึงทำให้ราคาในตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วงจากเดิมที่เคย อยู่ที่กว่า 20 บาท

แม้ว่าในแผนฟื้นฟูกิจการ กำหนดราคาแปลงหนี้เป็นทุนไว้ที่หุ้นละ 5.50 บาท แต่เจ้าหนี้ต้องการเข้ามาถือหุ้นในสัดส่วน 75% จึงได้เอาดอกเบี้ยค้างชำระ 700 ล้านเหรียญมาคูณด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา และมีเป้าที่ 75 เปอร์เซ็นต์ เมื่อคำนวณออกมาจนทำให้ราคาเหลือหุ้นละ 5 บาท

"นี่ถือเป็นจุดอ่อนของกฎหมายอีกประการหนึ่ง คือตามกฎหมาย ถ้าผู้บริหารแผนและเสนอแผน ถ้าเจ้าหนี้เห็นชอบ ก็อนุมัติได้ จึงเป็นกฎหมายไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง เพราะว่าผู้บริหารแผนตั้งโดยเจ้าหนี้ และเสนอให้เจ้าหนี้อนุมัติมันก็คือสมคบกัน ก็ฮุบบริษัทได้"

ร้องรัฐบาลแก้ไขกม.ฟื้นฟูฯ

ส่วนขั้นตอนการดำเนินการต่อไปนั้น นายประชัย เผยว่า จะต้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลให้ช่วยแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ให้เป็นสากล ให้เหมือนกับประเทศสหรัฐอเมริกา ตาม chapter 11 ซึ่งบอกชัดว่า ผู้ที่จะตั้งผู้ทำแผน ผู้บริหารแผน คือลูกหนี้ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์ เพราะถ้าเจ้าหนี้มีสิทธิ์เมื่อไร เจ้าหนี้ก็มายึดบริษัทได้ก่อนล้มละลายด้วยซ้ำไป

สำหรับประเด็นที่นายกรัฐมนตรีพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ให้ความเห็นว่า รัฐบาลจะเป็นตัวกลางในการไปเจรจาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ เพราะแต่ละฝ่ายยืนอยู่คนละมุมมากเกินไป นั้น นายประชัย กล่าวว่า ตนเห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะรัฐบาลยุคก่อน พยายามบีบและพยายามแยกลูกหนี้กับเจ้าหนี้ออกจากกัน

พร้อมกันนี้ นายประชัย ยังได้กล่าวถึง เหตุผล ที่แบงก์เจ้าหนี้ พยายามบีบทีพีไอ ว่า เกิดจากแรงกดดันจากบุคคลในรัฐบาลเพราะถ้าเขาไม่ทำ แบงก์เขา ก็ถูกปิด แม้แต่วันนี้ก็เหมือนกัน แผลตรงนั้นยังเห็นชัดนะครับ จากมาตรฐานบีไอเอส ในวันนั้นบีไอเอสของเขาไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลและแบงก์ชาติขณะนั้น ยอมผ่อนผันให้ โดยให้นับตราสาร "แคปส์" ถือเป็นกองทุนชั้นที่ 1 ได้ด้วย

"รัฐบาลขู่แบงก์ ให้มาบีบลูกหนี้ให้ตาย ถ้าแบงก์ไม่ทำแบงก์ก็ต้องถูกปิด แต่วันนี้การผ่อนผัน ก็ยังมีผลอยู่ ถ้าวันนี้เขาเลิกผ่อนผันแบงก์ก็เจ๊ง เพราะเกองทุนชั้นที่ 1 ของแบงก์ที่ว่านี้ ขณะนี้ไม่ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ ถ้าหักแคปส์ออกจะไม่ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ ตามมาตรฐานสากล ทั้งๆ ที่ระดับที่กำหนดไว้แบงก์แห่งนั้นต้อง 4.25 ถ้าไม่ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ ก็ต้องเจ๊งแล้ว ถ้าใช้มาตรฐานแบบเดียวกับที่ปิดธนาคารศรีนครเพราะฉะนั้นการที่เขาผ่อนผันถึงปี 2547 ก็ทำ ให้ยืดอายุแบงก์ไปได้"

นายประชัย กล่าวว่า หากได้รบการฟื้นฟูอย่าง ถูกต้องแล้ว และมีเงินทุนหมุนเวียนเข้ามาทีพีไอจะสามารถเดินต่อไปได้ และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยเฉพาะบุคลากรที่มีในบริษัทก็เป็นระดับปัญญาชนชั้นนำด้วย
"ประชัย"มั่นใจรัฐอุ้ม"ทีพีไอ"

ส่วนแผนการดำเนินงานขั้นต่อไป หลังจากที่ได้ เข้ามาเป็นผู้บริหารแผนชั่วคราวร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น ก็ต้องเริ่มเจรจากับเจ้าหนี้ ซึ่งจะสามารถสรุปได้ภายในระยะเวลาไม่ถึง 1 เดือน ถ้ารัฐบาลมาเป็นตัวกลางช่วยเจรจาให้ โดยการใช้มาตรการที่รัฐบาลก่อนเคยใช้คือ การผ่อนผันระดับเงินกองทุนตามมานฐานบีไอเอส เพราะฉะนั้น เมื่อใช้อาวุธเดียวกัน ย้อนรอยของเก่าเรื่องก็จะจบ

"ผมคิดว่าท่านนายกฯ ทักษิณ ต้องมาช่วยเรื่องนี้นะครับ ต้องขอขอบพระคุณท่านมาก ถ้าท่านเข้ามาช่วย เราก็ต้องคุยกับรัฐบาล และผมคิดว่าดี เพราะเป็นการใช้วิธีการแบบสร้างสรรค์ ซึ่งจะได้ผลดีทุกฝ่าย หรือที่เรียกว่าวิน-วินเกม นะครับ ถ้าธุรกิจ เราฟื้นขึ้นมาได้ รัฐบาลก็เก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย แบงก์ก็ได้หนี้คืน หลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ก็แข็งขึ้น ไม่มีผู้ใดเสียหาย" นายประชัย กล่าวทิ้งท้าย อย่างมั่นใจ

การให้สัมภาษณ์ของนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ข้างต้นผ่านรายการ "สภาท่าพระอาทิตย์" คลื่นสามัญประจำบ้าน เอฟเอ็ม 97.5 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อเช้าวานนี้ (23 เมษายน)

คลังหารือ"ทักษิณ"ยุติปัญหาทีพีไอ

ในวันเดียวกันนี้ (23 เม.ย.) ร.อ.สุชาติ เชาว์-วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ตนได้หารือกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายก รัฐมนตรี เพื่อเร่งหามาตรการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างทีพีไอ กับเจ้าหนี้แล้ว หลังจากที่ศาล ล้มละลายกลางตัดสินให้อีพีแอล ออกจากการ เป็นผู้บริหารแผนธุรกิจของทีพีไอ

ขณะที่นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า การศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งปลด อีพีแอลออกจากการเป็นผู้บริหารแผนทีพีไอ อาจจะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างเจ้าหนี้ และ ผู้บริหารเดิมที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารแผนคนใหม่ และอาจจะส่งผลต่อการดำเนินงานของ ทีพีไอในอนาคต รวมถึงอาจจะส่งผลต่อบรรยากาศการลงทุนของไทยในระยะยาวได้ หากความขัดแย้งยังยืดเยื้อออกไป

"นักลงทุนต่างจับตาดูความคืบหน้าการปรับโครงสร้างหนี้ทีพีไอมาตลอด เพราะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ จึงเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ"

ส่วนการที่รัฐบาลจะเข้ามาเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยนั้น นายประสาร กล่าวว่า ไม่ถือว่าเป็น การแทรกแซงจากระบบการเมืองแต่อย่างใด เพราะเป็นการเข้ามาดำเนินการอย่างโปร่งใสและเป็นกลาง ส่วนการที่คณะกรรมการเจ้าหนี้ของทีพีไอ นำโดยธนาคารกรุงเทพ ระงับความช่วยเหลือทางการเงินแก่ทีพีไอ ด้วยการยกเลิกวงเงินสินเชื่อหมุนเวียน และยึดหลักทรัพย์ค้ำประกันต่างๆ ของทีพีไอนั้น ก็คงต้องมีการเจรจาหาทางออกกันต่อไป แต่เรื่อง ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยหรือไม่นั้น คงไม่สามารถให้ความเห็นได้ในขณะนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us