Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 สิงหาคม 2550
ตลท.เล็งรื้อระบบค่าคอมฯ ขาใหญ่ขู่ต้นทุนพุ่งหยุดเทรด             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
กัมปนาท โลหเจริญวนิช
Funds




ตลท.ให้สมาคม บล.ศึกษาแยกเก็บค่าธรรมเนียมธุรกรรม “เคลียริ่ง-รีเสิร์ช-เทรดหุ้น” รองรับการเปิดเสรีค่าคอมฯ ในอนาคต คาด 2-3 เดือนได้ข้อสรุปเบื้องต้นก่อนเสนอให้ตลท.พิจารณาอีกครั้ง “กัมปนาท” เผย ตลท.ขอความร่วมมือให้สมาคม บล.ผลักดันโบรกเกอร์เปิดสาขาย่อย หรือ Cyber Brance วงการชี้การปฎิบัติจริงอาจจะยาก แม้ว่าทฤษฎีจะดีก็ตาม ด้านนักลงทุนรายใหญ่โวยต้นทุนปัจจุบันสูงอยู่แล้ว หากเก็บเพิ่มอีกเชื่อมีหลายคนหยุดเทรดหุ้นแน่

นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการอำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ เปิดเผยถึงการหารือระหว่างตัวแทนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสมาคม บล.ว่า ตลท.ได้ให้สมาคม บล.ศึกษาทบทวนเกี่ยวกับการวางหลักทรัพย์ค้ำประกัน ในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเทรดดิ้ง จากเดิมที่ต้องวางค้ำประกันทั้ง 100% ซึ่งจะครบกำหนดภายในสิ้นปี 2550

นอกจากนี้ ได้หารือเพื่อให้สมาคมตั้งทีมงานศึกษารายละเอียด ในการแยกเก็บค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับธุรกรรมต่างๆ เช่น ระบบหักบัญชี ค่าใช้บทวิจัย รวมถึงค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ จากปัจจุบันที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมเพียงแค่การซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้น ซึ่งการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเป็นไปเพื่อรองรับการเปิดเสรีค่าคอมมิชชัน และใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

สำหรับขั้นตอนในการศึกษาคาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนเพื่อหาข้อสรุปในเบื้องต้นก่อนจะเสนอตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป

“ตลท.อยากให้ศึกษาในเรื่องการแยกการเก็บค่าธรรมเนียมในธุรกรรมแต่ละประเภท ส่วนหนึ่งเป็นการรองรับการเปิดเสรีในอนาคต และเป็นการเพิ่มช่องให้มีการแข่งขันในธุรกิจได้อย่างเต็มที่” นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์กล่าว

นายกัมปนาท กล่าวอีกว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯอยากให้สมาคมบล.ร่วมผลักดันให้บริษัทหลักทรัพย์หันมาเปิดสาขาย่อย (Cyber Brance) โดย ตลท.ตั้งเป้าให้บริษัทหลักทรัพย์เปิดสาขาออนไลน์ 100 สาขาในปีนี้ โดยในเรื่องดังกล่าวบริษัทที่มีธนาคารเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่จะได้เปรียบ เนื่องจากสามารถนำสาขาออนไลน์เข้าไปเปิดในพื้นที่ของธนาคารได้ทันที

ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่มีบริษัทแม่หรือผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นธนาคาร การเปิดสาขาในศูนย์การค้า หรือ สถานที่ที่มีประชาชนที่สนใจลงทุนเป็นจำนวนมากก็เป็นอีกช่องทางในการเพิ่มรายได้และสร้างนักลงทุนหน้าใหม่

“กลุ่มที่มีธนาคารพาณิชย์ถือหุ้นใหญ่คงได้เปรียบ เพราะหากพร้อมเปิดสาขาก็จะมีสาขาเพิ่มอีกค่อนข้างมาก แต่กลุ่มที่ไม่มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นธนาคารพาณิชย์ ก็คงต้องหาแหล่งที่มีประชาชนเข้าไปใช้บริการ อย่างเช่น ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น” นายกัมปนาทกล่าว

แหล่งข่าวจากผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า การแยกค่าธรรมเนียมการซื้อขายกับธุรกรรมอื่นๆ ในทางทฤษฎีถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่จะทำให้บริษัท เร่งหาความแข็งแกร่งของบริษัท เนื่องจากการกำหนดค่าธรรมเนียมที่ไม่เท่ากัน จะทำให้นักลงทุนสามารถที่จะเลือกใช้บริการในสินค้าแต่ละประเภทได้อย่างเสรี โดยขึ้นอยู่กับการบริการและความน่าเชื่อถือของบริการนั้นๆ

ทั้งนี้ ในแง่ปฎิบัติของตลาดทุนไทยเรื่องดังกล่าวอาจจะทำได้ยาก เนื่องจากนักลงทุนไม่เคยที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อขายหลักทรัพย์หลายประเภท แต่อาจทำให้เกิดความยุ่งยากในการซื้อขาย จะกลายเป็นเกราะที่ทำให้นักลงทุนไม่เข้ามาซื้อขายหรือนักลงทุนที่ซื้อขายอยู่ในปัจจุบัน เปลี่ยนการลงทุนไปในลักษณะอื่นๆแทนก็ได้

“ก็ต้องถือว่าเป็นแนวความคิดที่ดีที่จะให้มีการแยกการเก็บค่าคอมมิชชั่นในแต่ละธุรกรรม โบรกเกอร์ที่มีความเด่นในเรื่องบทวิเคราะห์และวิจัย ก็จะมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น เพราะสามารถเก็บค่าคอมมิชชันได้ในระดับที่สูงกว่าที่อื่น แต่เรื่องดังกล่าวอาจจะทำให้นักลงทุนเบื่อที่จะติดตาม จนเลือกที่ไม่ซื้อขายก็ได้” แหล่งข่าวผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์กล่าว

นักลงทุนรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า หากมีการศึกษาให้มีการเก็บค่าธรรมเนียมหลายอย่าง อาจส่งผลให้ต้นทุนในการลงทุนสูงขึ้นกว่าปัจจุบันที่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในอัตรา 0.25% เชื่อว่าอาจจะทำให้นักลงทุนจำนวนหนึ่งหยุดซื้อขายในตลาดหุ้นไทย ขณะที่เชื่อว่านักลงทุนที่มีวอลุ่มการซื้อขายจำนวนมาก อาจจะเป็นกลุ่มที่ได้รับการยกเว้นให้เสียค่าบริการในระดับที่ต่ำกว่านักลงทุนรายย่อย

“ทุกวันนี้ เราลงทุนก็มีต้นทุนหลายเรื่องอยู่แล้ว ถ้าต้นทุนที่เคยเสียอยู่ต้องเพิ่มขึ้น รายใหญ่ๆจำนวนหนึ่งคงเปลี่ยนการลงทุนไปลงทุนอย่างอื่นแทน เราหวังลึกๆ ว่าเขาน่าจะมีการยกเว้นให้แก่นักลงทุนรายใหญ่ที่มีพอร์ตลงทุนเยอะๆ ให้เสียค่าคอมมิชชันน้อยกว่าปกติ เพราะอย่างน้อยก็ช่วยให้ตลาดหุ้นเคลื่อนไหว” แหล่งข่าวนักลงทุน กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us