ต่อไปนี้คือเส้นทางการต่อสู้ของนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ที่ต้องใช้เวลากว่า 3
ปี 2 รัฐบาล พยายามปรับโครงสร้างหนี้ทีพีไอ ตั้งแต่กลางปี 2540 เป็นต้นมา ที่มูลหนี้เพิ่มมหาศาลไม่ใช่เพราะความผิดพลาดจากการบริหารงานของนายประชัย
แต่เพราะเจอพิษเงินบาทลอยตัว และคัดค้านอีพีแอลบริหารแผนฟื้นฟู ทีพีไอ ที่ฝ่าฝืน
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2543
30 มิถุนายน 2540 กลุ่มทีพีไอ ประสบกับปัญหาหนี้สินเพิ่มขึ้นมาก จากการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน
หลัง เงินบาทลอยตัว เทียบค่าเงินสกุลหลักของโลก ผลการดำเนินงานงวด ครึ่งปีแรก 2540
ทีพีไอ และทีพีไอ โพลีน ซึ่งตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ถือหุ้นใหญ่ทั้งคู่ หนี้สินรวมกันถึง
4.31 พัน ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 185.33 พันล้านบาท) เป็นหนี้ต่างประเทศ 2.58
พันล้านดอลลาร์ จนถึงสิ้นปี 2540 เมื่อ คิดเป็นเงินบาท มูลค่าหนี้เพิ่มเกือบ 50%
ของมูลค่าหนี้ทั้งหมด
กันยายน 2540 นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประกาศหยุดชำระหนี้มูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์
ของทีพีไอ และทีพีไอ โพลีน ที่มีเจ้าหนี้รวมกัน 120 ราย ที่สำคัญๆ คือไอเอฟซี (International
Finance Corporation) บริษัทเอกชนเพื่อการลงทุนในเครือธนาคารโลก และซิตี้แบงก์จากแดนมะกัน
11 ธันวาคม 2540 กลุ่มทีพีไอ เข้าพบนาย "สมศักดิ์ เทพสุทิน" รมว. อุตสาหกรรมขณะนั้น
เพื่อขอให้ รัฐบาลไทยค้ำประกันเงินกู้ KfW ธนาคารเพื่อการพัฒนาจากเยอรมนี มูลค่า
1,000 ล้านดอลลาร์ หลังสถาบัน การเงินไทยไม่ยอมค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าว
15 มกราคม 2541 กลุ่มเจ้าหนี้ สถาบันการเงินบังคับกลุ่มทีพีไอขายทรัพย์สิน รวมถึงหุ้น
ให้นักลงทุนต่างชาติ แต่นายประชัยปฏิเสธ
20 สิงหาคม 2541 เจ้าหนี้ต่างชาติประมาณ 15-20 ราย ประชุมเพื่อ หาแนวทางดำเนินการหนี้มูลค่า
3,800 ล้านดอลลาร์ของทีพีไอ ที่ครบชำระ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย แต่หนี้ดังกล่าว
ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ขณะที่ ทีพีไอส่งแผนปรับโครงสร้างหนี้ให้บรรดาเจ้าหนี้พิจารณา
ซึ่งนายประชัย คาดว่าจะได้รับคำตอบภายใน 2 สัปดาห์
แบงก์ชาติไกล่เกลี่ยปีที่ 2
9 กันยายน 2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นตัวกลางเจรจาประ- นอมหนี้กับกลุ่มเจ้าหนี้ให้กับกลุ่ม
ทีพีไอมูลหนี้ 3,800 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเจ้าหนี้รายใหญ่กว่าครึ่ง สนใจจะ แปลงหนี้เป็นทุน
3 มีนาคม 2542 ที่ประชุมคณะ กรรมการทีพีไอ และทีพีไอ โพลีน เปิด ทางบริษัท อุเบะ
อินดัสทรี จำกัด และบริษัท มารูเบนี จำกัด จากญี่ปุ่น ถือหุ้นเพิ่มทุนบริษัท คาโปรแลคตัมไทย
จำกัด เพื่อนำเงินที่ได้ ฟื้นฟูทีพีไอ-ทีพีไอโดลีน ทำให้ทีพีไอเหลือสัดส่วนหุ้นบริษัทนี้
1.28% จากเดิม 1.57% และทีพีไอ โพลีน เหลือ 31.79% จากเดิม 38.8%
1 พฤษภาคม 2542 จำนวน 99 เจ้าหนี้ทีพีไอ-ทีพีไอโพลีน มูลค่า 3.2 พันล้านดอลลาร์
กว่า 88.9% ยอมรับ แผนปรับโครงสร้างหนี้ ตามเงื่อนไขบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ
(IFC) คาดจะเพิ่มเป็น 93% หลังได้รับความ เห็นชอบจากเจ้าหนี้หุ้นกู้
12 พฤษภาคม 2542 ทีพีไอจัด ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อรับทราบแผนปรับโครงสร้างหนี้
และโหวตรับแผนยืดเวลาไถ่ถอนหุ้นกู้ เป็นปี 2548 จาก เดิม 2545 ซึ่งคาดว่าเจ้าหนี้หุ้นกู้จะรับแผนดังกล่าว
6 พฤษภาคม 2542 กลุ่มทีพีไอ ประชุมร่วมกับคณะกรรมการเจ้าหนี้ เพื่อเจรจาแผน ปรับโครงสร้างหนี้
8 พฤศจิกายน 2542 แบงก์กรุงเทพ เจ้าหนี้รายใหญ่ที่ปล่อยกู้กลุ่ม ทีพีไอ มูลค่ากว่า
10,000 ล้านบาท มั่นใจว่าจะสรุปแผนปรับโครงสร้างหนี้ได้เร็ว เพราะสถาบันการเงินเจ้าหนี้
เจรจาความคืบหน้าหมดแล้ว เจ้าหนี้ ทั้งหมดยอมรับหลักการเบื้องต้น แต่ยังติดรายละเอียดเทคนิค
ประเด็นหลักคือ บริษัทขอเพิ่มทุน โดยออกหุ้นกู้ และให้สถาบันการ เงินเจ้าหนี้รับซื้อ
ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่าง หารือว่าสถาบันการเงินแต่ละแห่งจะ รับหุ้นกู้สัดส่วนเท่าไร
บีโอไอแทรก
9 พฤศจิกายน 2542 รัฐบาลแสดงท่าทีชัดเจนที่จะเป็นตัวกลางประสานงานการเจรจาปรับโครงสร้าง
หนี้กลุ่มทีพีไอ เพราะเห็นว่า หากการ เจรจาไม่สำเร็จ อาจส่งผลกระทบภาค อุตสาหกรรมไทยโดยรวม
โดยมอบหมายสำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ประสานงาน โดยเลขาธิการบีโอไอขณะนั้น
นายสถาพร กวิตานนท์ ออกหนังสือ รับรองให้อีพีแอลบริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ ทั้งที่นายประชัยคัดค้าน
เพราะผิด พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน
16 พฤศจิกายน 2542 ที่ประชุม เจ้าหนี้หุ้นกู้ประมาณ 300-400 ล้านดอลลาร์ มีมติเห็นชอบแผนปรับโครง
สร้างหนี้ทีพีไอ โพลีน
17 พฤศจิกายน 2542 ผู้บริการ ทีพีไอ โพลีนกล่าวว่า การประชุมคณะ กรรมการเจ้าหนี้
เพื่อลงมติรับแผนปรับโครงสร้างหนี้ทีพีไอ โพลีนครั้งแรกวันรุ่งขึ้น (18 พ.ย. 2542)
เจ้าหนี้ รายใหญ่ 2 ราย มูลหนี้กว่า 40% ไม่รับแผน เพราะต้องการให้บริษัทเซ็น สัญญาร่วมทุนพันธมิตรรายใหม่
และ โอนอำนาจบริหารให้พันธมิตรรายใหม่ ก่อน ขณะที่แผนปรับโครงสร้างหนี้กลุ่มทีพีไอ
เตรียมส่งศาลล้มละลาย กลางพิจารณาฟื้นฟูกิจการบริษัท
18 พฤศจิกายน 2542 ที่ประชุม คณะกรรมการเจ้าหนี้มีมติไม่รับแผน ปรับโครงสร้างหนี้ทีพีไอ
โพลีน ด้วยคะแนนเสียงทั้งสิ้น 96.6% ของมูลหนี้ ทั้งหมด ซึ่งทีพีไอ โพลีนต้องทบทวน
แผนดังกล่าว และเสนอที่ประชุมคณะ กรรมการเจ้าหนี้พิจารณาอีกครั้ง เป็น ครั้งที่
2 ถือเป็นครั้งสุดท้าย 3 ธันวาคม 2542 ซึ่งต้องจับตาการทบทวนของทีพีไอ โพลีน จะก่อเกิดความพอใจบรรดาเจ้าหนี้หรือไม่
16 ธันวาคม 2542 ที่ประชุมคณะกรรมการเจ้าหนี้ ลงมติรับแผน ปรับโครงสร้างหนี้ทีพีไอโพลีน
ภายใต้ กระบวนการคณะกรรมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ด้วยคะแนนเสียง 95.6%
ของมูลหนี้ทั้งหมด พร้อม ยื่นเข้าสุ่กระบวนการศาลล้มละลายกลาง เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหนี้ฟ้องร้อง
ภายหลัง เพราะเจ้าหนี้ไม่รับแผน 4.4%
22 ธันวาคม 2542 คณะกรรม การเจ้าหนี้ทีพีไอ นำโดยแบงก์กรุงเทพ ออกแถลงการณ์ไม่รับพิจารณาข้อเสนอเพิ่มทุนบริษัท
ตามที่ลูกหนี้ นำโดยนายประชัย เสนอ
27 ธันวาคม 2542 นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีพีไอ ทำหนังสือถึงนายชวน
หลีกภัย นายกรัฐมนตรีขณะนั้น แสดงเจตนาพร้อมจะเซ็นสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ กับเจ้าหนี้
แต่ต้องพิจารณาประเด็นเพิ่มทุนประกอบด้วย
17 มกราคม 2543 ทีพีไอเซ็นสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับคณะกรรมการเจ้าหนี้ (Steering
Committee) มูลค่ากว่า 3,400 ล้านดอล-ลาร์ หลังจากยืดเยื้อว่า 2 ปี สัญญา ระบุว่า
เจ้าหนี้จะยอมหารือการเพิ่มทุน จดทะเบียนบริษัท หลังลงนามสัญญา และยื่นศาลล้มละลายกลางบ่ายวันเดียวกัน
21 มกราคม 2543 ทีพีไอ และคณะกรรมการเจ้าหนี้ หารือร่วมกัน แผนเพิ่มทุนจดทะเบียน
1,000 ล้านดอลลาร์ ครั้งแรก โดยบริษัทหลักทรัพย์เจเอฟ ธนาคม และบริษัทหลัก ทรัพย์เมอร์ริลล์
ลินช์ เป็นที่ปรึกษา