Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน27 กรกฎาคม 2550
เรตติ้งทีวีวุ่นไร้ข้อยุติเหตุเวลาไม่เคลียร์ รมต.ไม่ห่วงเร่งดันร่างคู่มือเข้าที่ประชุมอนุกรรมการ             
 


   
search resources

TV




สัมมนาจัดเรตติ้งทีวีวุ่น ผู้จัดรายการ ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดช่วงเวลาเช่นเดิม จี้รัฐหนุนรายการที่มีคุณภาพ ด้านคุณหญิงทิพาวดี มั่นใจทุกข้อมูลที่ได้ จะนำไปสู่การปรับปรุงคู่มือการจัดเรตติ้ง เตรียมนำ เข้าที่ประชุมของคณะกรรมการประสานงานต่อไป

วานนี้(26ก.ค.50) ในการจัดประชุมเวทีสาธารณะ เรื่องเรื่อง "การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์" จัดโดยกรมประชาสัมพันธ์ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ประธานคณะอนุกรรมการประสานการดำเนินการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ เปิดเผยว่า จัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันในการพิจารณาระดับความเหมาะสม ของสื่อโทรทัศน์ โดยใช้เกณฑ์บวก6, ลบ3 จำแนกเนื้อหาตามช่วงอายุ ของผู้ชมแต่ละวัย และร่วมกันพิจารณาในประเด็น พฤติกรรมความรุนแรง เพศ และภาษา ในรายการต่างๆ จากเดิมที่มีจัดแบ่งประเภทรายการอยู่ก่อนแล้ว

คู่มือใหม่ เพิ่มรายละเอียดประเภทรายการ

พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล นักวิชาที่ร่วมร่างคู่มือการจัดเรตติ้ง กล่าวว่า ร่างคู่มือการจัดเรทติ้งในการประชุมครั้งนี้ มีรายละเอียด การจัดเรตติ้งเพิ่มเติมไว้ ในส่วนของ 1. "ท” รายการสำหรับทุกเพศวัย โดยรายการ "ท" สามารถนำเสนอภาพที่ไม่เหมาะสมได้ในระดับน้อย หรือไม่เกิน 10% ของของเนื้อหาในช่วงที่นำเสนอ 2."น13" รายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่ผู้ชมที่มีอายุน้อยกว่า 13 ปี เป็นรายการที่มีเนื้อหา ภาพ และเสียง ที่ไม่เหมาะสมในเรื่องเพศ ภาษา พฤติกรรมและความรุนแรง ที่ผู้ชมอายุน้อยกว่า 13 ปี ไม่ควรชมตามลำพัง ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติมขึ้น คือ ได้มีการระบุรายละเอียดการนำเสนอเนื้อหาเรื่องเพศ ภาษา ความรุนแรง ให้อยู่ในระดับน้อย หรือไม่เกิน 15% ของเนื้อหาในช่วงที่นำเสนอ และเป็นรายการที่ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่ผู้ชมที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี เป็นรายการที่มีเนื้อหา ภาพ และเสียง ที่ไม่เหมาะสมในเรื่องเพศ ภาษา พฤติกรรมและความรุนแรง ที่ผู้ชมอายุน้อยกว่า 18 ปี ไม่ควรชมตามลำพัง โดยให้นำเสนอเรื่องที่ไม่เหมาะสมด้านเพศ ภาษา ความรุนแรงระดับปานกลางหรือ ไม่เกิน 50% ของเนื้อหาในช่วงที่นำเสนอ

เร่งหาข้อยุติกำหนดเวลา

ผู้สื่อข่าว รายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับคู่มือการจัดเรตติ้งครั้งนี้ ไม่ได้ลงรายละเอียดในเรื่องของการกำหนดช่วงเวลาการออกอากาศแต่อย่างไร โดยทางฝ่ายนักวิชาการ แสดงความคิดเห็นว่า กรอบช่วงเวลาเดิมบางอย่างทำให้ทางผู้จัดไม่สามารถปฏิบัติได้ จึงเสนอว่าอยากให้กำหนดช่วงเวลาในลักษณะที่กว้างขึ้น และปรับได้ ซึ่งเมื่อการประชุมสิ้นสุดลง เรื่องกำหนดช่วงเวลา คาดว่าน่าจะมีการประชุมหาข้อยุติกันต่อไป

นางจำนรรค์ ศิริตัน นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า การที่คู่มือครั้งนี้ ไม่มีรายละเอียดเรื่องของกำหนดเวลา ในรายการแต่ละประเภท เพราะต้องการให้มีการพูดคุยแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมครั้งนี้ เพื่อร่วมกันหาข้อยุติเกี่ยวกับกำหนดเวลาร่วมกัน แต่หากต้องใช้กำหนดเวลาเดิม ตนยังยืนยันว่าไม่เห็นด้วย

สมาพันธ์ฯจี้รัฐหนุนงบรายการคุณภาพ

นอกจากนี้ ในที่ประชุม นางจำนรรค์ ศิริตัน กล่าวต่อในฐานะ นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ว่า อยากให้ทางภาครัฐส่งเสริมรายการที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงานต่อไป แทนบทบาทหน้าที่ที่เป็น เจ้าของสัมปทานแต่เพียงอย่างเดียว

โดยความคิดเห็นดังกล่าว ได้สอดคล้องกับทาง นายสัญญา คุณากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดี ทอล์ก จำกัด ที่ว่า กติกาหรือคู่มือการจัดเรตติ้งที่จะออกมาให้ได้ปฏิบัติตามนั้น ยอมรับว่าเห็นด้วยและสามารถปฏิบัติได้ แต่มองว่าน่าจะทำควบคู่กับกฎกติกาอื่นๆด้วย เช่น การส่งเสริมรายการดีๆให้อยู่รอด สนับสนุนให้มีการผลิตรายการดี แทนที่จะห้ามไม่ให้ผลิตรายการที่จะมีผลต่อเยาวชนและสังคมในด้านลบแต่เพียงอย่างเดียว

เตรียมนำผลเข้าที่ประชุมหาข้อยุติ

อย่างไรก็ตาม ผลการประชุมครั้งนี้ มีทั้งความคิดเห็นที่ตรงกันและไม่ตรงกัน โดยในเรื่องของกำหนดเวลายังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ทางคุณหญิงทิพาวดี ได้กล่าวสรุปถึงการประชุมครั้งนี้ โดยเชื่อว่า จากการแสดงความคิดเห็นดังกล่าว จะนำไปสู่การจัดทำคู่มือที่จะสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงต่อไป โดยมองว่าจะนำเอาความคิดเห็นที่ตรงกันเป็นส่วนใหญ่ การจัดเรตติ้ง เพราะเป็นผลดีต่อสังคมและกลุ่มเยาวชนไทย ไปสู่การจัดคู่มือการจัดเรตติ้งต่อไป ส่วนความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน โดยเฉพาะเรื่องของการกำหนดเวลา จะต้องกลับมาหาข้อสรุปกันอีกครั้ง เริ่มจากการสร้างความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับประเภทรายการ ส่วนเรื่องเวลาจะเป็นตัวกำหนดรองลงมา

"ผลสรุปของที่ประชุมในวันนี้ จะนำเอาไปประชุมกันอีกครั้งอาทิตย์หน้า ร่วมกับทางคณะอนุกรรมการประสานการดำเนินการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ ที่ตนเป็นประธานอยู่ ซึ่งในคณะอนุกรรมการชุดนี้ฯมีทั้งฝ่ายวิชาการและทางผู้จัดรายการ ภาคโทรทัศน์ เชื่อว่าจะสามารถนำไปสู่การปรับปรุง คู่มือการจัดเรตติ้ง ที่จะสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในวาระอันใกล้นี้" คุณหญิงทิพาวดี กล่าวในที่สุด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us