Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 เมษายน 2546
ประชัยชนะศึกชิงทีพีไอ ศาลปลดอีพีแอล-บริหารพลาด             
 

   
related stories

อีพีแอลจุดหักเหทีพีไอ
เส้นทางต่อสู้"ประชัย" 2รัฐบาลทวงทีพีไอคืน

   
search resources

เอ็ฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ส
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์




"ประชัย เลี่ยวไพรัตน์"ประกาศชัยชนะหวนคืนทีพีไอ หลังต่อสู้เจ้าหนี้-ต่างชาติกว่า 3 ปี ผ่าน 2 รัฐบาล ศาลล้มละลายกลางสั่ง ปลดอีพีแอลวานนี้ จากผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการฯ โดยแต่งตั้งเขาและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์บริหารแผนชั่วคราว นักวิเคราะห์หุ้นตั้งข้อสังเกต แผนฟื้นฟูฯทีพีไอของอีพีแอลที่ผ่านมาอาจเป็นโมฆะ ขณะที่พนักงานทีพีไอกว่า 200 คนที่ร่วมฟังคำพิพากษา ต่างแสดงความดีใจ ขวัญกำลังใจหวนคืนทันที ขณะที่ราคาหุ้น TPI ตอบรับพุ่ง 6.25%

วานนี้ (21 เมษายน) นายกมล ธีรเวชพลกุล ผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งถอดถอนบริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส (อีพีแอล)ใน เครือเฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน จากออสเตรเลีย จากผู้บริหารแผนฟื้นฟูบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) ตามคำร้องเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ และนายประชัย ในฐานะลูกหนี้ผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ

ศาลพิจารณาประเด็นที่นายประชัยกล่าวว่า อีพีแอลไม่สมควรบริหารแผนฯ เนื่องจากไม่สามารถ ปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูฯ ได้ โดยแผนฟื้นฟูกิจการ ทีพีไอ ระบุว่าต้องขายสินค้าที่ไม่ใช่ทรัพย์สินหลัก (Non-Core Asset) เพื่อนำเงินชำระคืนหนี้ทีพีไอ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐปี 2544

อีพีแอลทำทีพีไอขาดทุนเพิ่ม

รวมทั้งอีพีแอลไม่ชำนาญการบริหารแผนฯ เพราะทำให้ทีพีไอขาดทุนมากขึ้น โดยทีพีไอกำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่าย ภาษี และค่าเสื่อม (EBITDA) ต่ำกว่าประมาณการที่ระบุในแผนฟื้นฟูกิจการ เช่น ปี 2543 ทีพีไอมี EBITDA 700 ล้านบาท/เดือน แต่ปี 2544 EBITDA เหลือเพียง 450 ล้านบาท/เดือน ต่ำกว่าเป้าหมายที่ประมาณการในแผนฟื้นฟูกิจการ ว่าจะมี EBITDA 933 ล้านบาท/เดือน

เหตุที่ EBITDA ต่ำกว่าประมาณการใน แผนฟื้นฟูฯ เนื่องจากทีพีไอกลั่นน้ำมัน สินค้าหลักบริษัท ต่ำกว่า 1.25 แสนบาร์เรล/วัน ซึ่งเป็นจุด คุ้มทุนการผลิต ที่จะทำให้บริษัทมีรายได้เพียงพอจะชำระคืนหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย

กลั่นน้ำมันต่ำกว่าเป้า

การสอบถามผู้สอบบัญชีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ระบุว่าทีพีไอไม่สามารถกลั่นน้ำมันได้ตามจุดคุ้มทุน เนื่องจากลูกหนี้ไม่มีเงินสดพอจะซื้อน้ำมันดิบทำให้กลั่นน้ำมันได้เพียง 6.5 หมื่นบาร์เรล/วัน ซึ่งแผนฟื้นฟูระบุว่า ต้องหาเงินกู้ระยะสั้นจากเจ้าหนี้ 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใช้ซื้อน้ำมันุดิบเพื่อกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูป

อีพีแอลในฐานะผู้บริหารแผนฯก็ไม่ขวนขวายหาแหล่งเงิน เพิ่มกำลังผลิต ทำให้บริษัทขาดเงินทุนหมุนเวียนใช้เพิ่มกำลังกลั่นน้ำมัน แต่พฤศจิกายน ปี 2544 อีพีแอลได้รับเงินกู้ระยะสั้นจากคณะกรรมการเจ้าหนี้ 80 ล้านดอลลาร์ ทำให้ทีพีไอ EBITDA ต่ำกว่าที่ประมาณการในแผนปรับโครง สร้างหนี้ จนไม่สามารถชำระดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ชั้นที่ 2 ทำให้ดอกเบี้ยจ่ายถูกโอนเป็นมูลหนี้เพิ่มขึ้น

โดยอีพีแอลกล่าวอ้างว่า เกิดจากภาวะเศรษฐกิจ และเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมที่สหรัฐฯ ปี 2544 ทำให้เศรษฐกิจโลกชะงัก ราคาปิโตรเคมีตกต่ำ ส่งผล EBITDA ต่ำกว่าประมาณการ อีกทั้งกำลังกลั่นน้ำมัน 1.25 แสนบาร์เรล/วัน ที่ระบุในแผนฟื้นฟูฯ ไม่ใช่ข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม แต่ขึ้นกับการปรับแผนผลิตให้สอดคล้องสถานการณ์ นอกจากนี้ เจ้าหนี้ ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่ต้องการปล่อยวงเงินกู้ระยะสั้นสูงกว่า 80 ล้านดอลลาร์ด้วย

การเดินทางของคณะผู้พิพากษาไปโรงงานทีพีไอที่ระยอง พบอุปกรณ์ชำรุดทรุดโทรม ขาดการซ่อมแซม ขวัญกำลังใจพนักงานไม่ดี ผู้บริหารแผน คืออีพีแอล และผู้บริหารลูกหนี้ คือนายประชัย ขัดแย้งกันรุนแรง

แต่ดุลยพินิจศาลเห็นว่า ข้อนำสืบขัดแย้งกันเอง เนื่องจากฝ่ายบริหารทีพีไอ ระบุเหตุที่โรงกลั่นน้ำมันเดินเครื่องผลิตต่ำกว่า 1.25 แสนบาร์เรล/วัน เนื่องจาก บริษัทขาดกระแสเงินสดหมุนเวียน ในฐานะอีพีแอลเป็นผู้บริหารแผนฯ ต้องรับผิดชอบตามแผนฯ

ศาลไม่เชื่อคำอ้างอีพีแอล

ผลกระทบวินาศกรรมในสหรัฐฯศาลพิจารณาแล้ว เห็นว่ากระทบไทยไม่มาก รวมถึงไม่มีผลทำให้ความต้องการน้ำมันในไทยลดลง ดังนั้นทีพีไอไม่ควรกลั่นน้ำมันต่ำกว่า 1.25 แสนบาร์เรล/วัน คำกล่าวอ้างอีพีแอล จึงไม่ใช่เหตุในการแก้ตัว

นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายบริหารแผนฯทีพีไอก็สูงกว่าที่กำหนดในแผนปรับโครงสร้างหนี้มาก ค่าใช้จ่ายบางประเภทควรปรับลดได้ เช่น การจ้างผู้เชี่ยวชาญอเมริกัน ทั้งๆ ที่ทีพีไอมีพนักงานไทยเชี่ยวชาญอยู่แล้ว

การที่อีพีแอลไม่สามารถบริหารงานตามประมาณการณ์ที่ระบุในแผนปรับโครงสร้างทีพีไอ โอกาสที่ลูกหนี้จะฟื้นฟูกิจการยาก หากปล่อยให้บริษัทฯล้มละลายย่อมส่งผลกระทบทุกฝ่าย ทั้งพนักงานบริษัท 7,000 คน และเจ้าหนี้ รวมทั้งนักลงทุน ขาดความเชื่อมั่นระบบเศรษฐกิจไทย และกระบวนการแก้ไขปัญหาของศาล

ศาลจึงมีคำสั่งถอดถอนเอฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส จากผู้บริหารแผน และแต่งตั้งผู้บริหารลูกหนี้ คือนายประชัย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ร่วม บริหารแผนชั่วคราวจนกว่าจะหาผู้บริหารแผนรายใหม่ได้

โดยผู้บริหารแผนรายใหม่ควรได้รับการยอมรับ จากลูกหนี้ หรือเป็นองค์กรหรือคณะบุคคลของรัฐ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงิน หากยินยอม เพื่อให้ผู้บริหารแผนใหม่เป็นกลาง มีความสามารถบริหารและจัดการทรัพย์สินลูกหนี้ รวมถึงทบทวนแก้ไขแผนฟื้นฯ เพื่อสอดคล้องสถานการณ์ เพื่อให้ลูกหนี้ได้รับการฟื้นฟูกิจการ ในที่สุด จะเป็นประโยชน์ทุกฝ่าย

1 เดือนตั้งผู้บริหารแผนใหม่

นายอภิชาติ พันธ์เกษร ทนายความตัวแทนธนาคารเจ้าหนี้ กล่าวว่าหลังจากนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเรียกประชุมเจ้าหนี้ทีพีไอ เพื่อโหวตแต่งตั้งผู้บริหารแผนใหม่ภายใน 1 เดือน โดยต้องเป็นที่ยอมรับของเจ้าหนี้

การเลือกผู้บริหารแผนใหม่ เจ้าหนี้จะลงมติพิเศษ โดยรวมคะแนนเสียงเกิน 50% หากภาครัฐต้องดูแลการฟื้นฟูกิจการทีพีไอในการเจรจาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เพราะเป็นการจัดการหนี้มูลหนี้ มากถึงกว่า 1.3 แสนล้านบาท และมีผลกระทบเศรษฐกิจไทย

สำหรับการตัดสินของศาลวานนี้ เขายอมรับว่าเหนือความคาดหมาย ประเด็นที่ศาลใช้พิจารณาถอดถอน คือการให้เงินสนับสนุน เพื่อเป็นเงินทุน หมุนเวียนดำเนินกิจการตามแผน 250 ล้านดอลลาร์

ที่ศาลระบุว่า ผู้บริหารแผนไม่มีความจริงใจหาเงินเข้าบริษัท ทำให้ทีพีไอไม่มีกระแสเงินสดเพียงพอ และขาดทุนหมุนเวียนดำเนินงาน โดยเฉพาะการซื้อน้ำมันดิบ เจ้าหนี้คำนึงเพียงว่า การปล่อยกู้ ต้องมีหลักประกัน แต่ทีพีไอไม่มีหลักประกัน ทำให้เจ้าหนี้ไม่กล้าปล่อยกู้เต็มที่ 250 ล้านดอลลาร์ ตามที่ระบุในแผนปรับโครงสร้างหนี้

"หากเจ้าหนี้จะยื่นอุทธรณ์ ก็คงทำพร้อมกับการสรรหาผู้บริหารแผนรายใหม่ในการประชุมเจ้าหนี้ ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจัดขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ แต่เวลามันเร็วมาก อาจไม่ทัน" เขากล่าว

เขากล่าวว่าวงเงินกู้ระยะสั้น 80 ล้านดอลลาร์ที่คณะกรรมการเจ้าหนี้ปล่อยกู้ให้ ทีพีไอสัญญาระบุว่าปล่อยกู้ในฐานะอีพีแอลบริหารแผนฯ หากเปลี่ยน แปลงผู้บริหารแผนรายใหม่ไม่ทราบว่าคณะกรรมการ เจ้าหนี้จะยกเลิกปล่อยกู้วงเงินนี้หรือไม่

อีพีแอลอ้างยังบริหารแผน 6 บ.ย่อย

ด้านนายปีเตอร์ กอทธาร์ด ผู้บริหารอาวุโส บริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส กล่าวว่าบริษัทจะร่วมพิจารณากับที่ปรึกษากฎหมาย และคณะกรรมการเจ้าหนี้ เพื่อดูนัยคำตัดสินของศาลไทย และทางเลือกกฎหมายไทยที่เป็นไปได้ก่อนตัดสินใจ ว่า จะยื่นอุทธรณ์คำตัดสินคดีดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม เขาอ้างว่าอีพีแอลยังบริหารแผนฟื้นฟูบริษัทลูกทีพีไออีก 6 แห่ง เนื่องจากบริษัทย่อยดังกล่าว ยังไม่มีคำร้องขอให้ถอดถอน อีพีแอลจากผู้บริหารแผนฯ
ดื้อแพ่งอ้างไม่จำเป็นต้องกลั่นน้ำมันได้ตามแผน

นายกอทธาร์ดกล่าวต่อไปว่า เหตุผลศาลไทยถอดถอนอีพีแอล 2 ประการ คือทีพีไอไม่สามารถทำ EBITDAได้ตามประมาณการที่ระบุในแผนฟื้นฟูกิจการ และไม่สามารถเพิ่มกำลังผลิตโรงกลั่นน้ำมันได้ 1.25 แสนบาร์เรล/วัน ถือเป็นตัวเลขประมาณการเท่านั้น ไม่ใช่ข้อบังคับที่ต้องทำให้ได้ทุกสถานการณ์

เขาอ้างว่า เพราะธรรมชาติธุรกิจปิโตรเคมี ผันผวนตลอดเวลา ตลาดที่ผันแปรต่อการดำเนินงาน สมมุติฐานที่ใช้ทำประมาณการ 4ปีก่อน จึงแตกต่างจากความเป็นจริง

จากคำพิพากษาศาลไทยเขากล่าวว่าสนับสนุนเจ้าหนี้ทีพีไอ ซึ่งผู้จะทำให้การคัดเลือกผู้บริหารแผนถาวรทีพีไอ เสนอชื่อผู้บริหารแผนที่ลูกหนี้ยอมรับได้ ให้รีบทำหน้าที่ดังกล่าว

"ขณะนี้ เราให้ความเคารพการตัดสินของศาลไทย โดยจะโอนมอบอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบให้ผู้บริหารแผนชั่วคราว เรารู้สึกผิดหวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคำตัดสินหลังจากทีพีไอเพิ่งแจ้งบันทึกผลกำไรสุทธิในไตรมาสแรกของปีนี้ ที่มีผลกำไรครั้งแรกในหลายปีที่ผ่านมา และ EBITDA ของเดือนมีนาคม เป็นตัวเลขที่สูงสุด ที่บริษัทเคยทำมาด้วย" นายกอมธาร์ดกล่าวด้วยสิหน้าเคร่งเครียด

ส่วนแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอหลังจากนี้ เขาอ้างว่าต้องปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูเดิม ช่วงที่นายประชัย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ บริหารแผนชั่วคราว

ด้านนายศิลปิน บูรณศิลปิน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีไอโพลีน (TPIPL) ซึ่งเป็นบริษัทที่นายประชัยก่อตั้ง และถือหุ้นใหญ่ เช่นเดียวกับทีพีไอ กล่าวว่า การที่ศาลมีคำสั่งปลดอีพีแอล จากผู้บริหารแผนทีพีไอ ถือว่าเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ที่นายประชัยเชื่อมั่นกระบวนการศาลยุติธรรมไทยมาตลอด

ประชัยเตรียมหาเงินซื้อน้ำมันดิบ

การที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และนายประชัย เป็นผู้บริหารแผนชั่วคราว เจายืนยันว่า จะทำให้พนักงานมั่นใจการทำงานกับบริษัทมากขึ้น หลังจากนี้บริษัทจะแต่งตั้งผู้บริหารแผนใหม่ และหาเงินทุนหมุนเวียน เพื่อใช้ซื้อน้ำมันดิบเพื่อดำเนินธุรกิจ

"การตัดสินคดีครั้งนี้ เป็นนิมิตหมายดีอย่างหนึ่ง เพราะที่ผ่านมา กฎหมายล้มละลาย จะผูกมัดลูกหนี้มาก อย่างไรก็ตาม หากมีการตั้งผู้บริหารแผนรายใหม่ ตามที่เจ้าหนี้เสนอมา โดยลูกหนี้ไม่เห็นชอบด้วย ศาลคงใช้ดุลยพินิจว่าจะแต่งตั้งผู้บริหาร แผนรายนั้นหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนอีพีแอล" เขากล่าว

ส่วนกรณีจะนำทีพีไอเข้ากระบวนการฟื้นฟูของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ไม่สามารถ ทำได้ เนื่องจากทีพีไอยังอยู่ภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ภายใต้ พ.ร.บ.ล้มละลาย แต่ยกเว้นกรณีเจ้าหนี้และลูกหนี้ จะร่วมกันยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายเพื่อถอดถอนคดีออกจากศาลซึ่งเป็นไปได้ยาก

หุ้นทีพีไอพุ่ง 5.25% รับข่าวปลดอีพีแอล

ด้านราคาหุ้นTPI วานนี้ (21 เม.ย.) ปรับตัวเพิ่มขึ้นทันที หลังศาลมีคำสั่งปลดอีพีแอลจากผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ โดยปรับตัวขึ้นสูงสุด 3.46 บาท ก่อนอ่อนตัวปิดตลาดฯ 3.40 บาท เพิ่มขึ้น 20 สตางค์ เพิ่มขึ้น 6.25% มูลค่าซื้อขายทั้งสิ้น 79.92 ล้านบาท

ราคาหุ้น TPI ปรับตัวขึ้น เนื่องจากนักลงทุน มองว่าอาจเป็นประโยชน์ผู้ถือหุ้นเดิมได้ เมื่อนายประชัยกลับมาบริหารแผนฟื้นฟูบริษัท

แผนฟื้นฟูฯ ของอีพีแอลอาจโมฆะ

นายสาธิต วรรณศิลปิน ผู้จัดการฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ในประเทศ บริษัทหลักทรัพย์ พัฒนสิน กล่าวว่าการที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งถอดถอน อีพีแอล จากผู้บริหารแผนฟื้นฟูทีพีไอ ต้องพิจารณาว่าสิ่งที่อีพีแอลดำเนินการตามแผนฟื้นฟูฯช่วงที่ผ่านมา เป็นโมฆะหรือไม่ รวมถึงเรื่องการเพิ่มทุน และแปลงหนี้เป็นทุน ให้เจ้าหนี้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และส่งผลผู้ถือหุ้นเดิม คือกลุ่มนายประชัยสัดส่วนถือหุ้นที่ลดลงในที่สุด

นอกจากนั้น ผลการตัดสินของศาลล้มละลายกลาง ส่งผลนายประชัย กลับมาบริหารแผนชั่วคราว แสดงให้เห็นว่า กระบวนการปรับโครงสร้าง การเงินทีพีไอ เริ่มต้นนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง โดยต้องขอมติที่ประชุมเจ้าหนี้เจ้าประเด็นต่างๆ อาจส่งผลโครงสร้างผู้ถือหุ้นเปลี่ยนแปลงจากปัจจุบันได้

"ขณะนี้ เร็วเกินไปที่จะตอบคำถามว่า ทีพีไอ จะเป็นอย่างไร เพราะเราก็ไม่แน่ใจว่า เมื่อครบกำหนดการเข้ามาบริหารแผนชั่วคราวของคุณประชัย แล้วนั้น คุณประชัยจะยังได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ เพื่อทำการบริหารแผนฟื้นฟูต่อไปหรือไม่ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการจับตามองคณะกรรมการเจ้าหนี้ว่า จะดำเนินการอย่างไร หรือหาผู้บริหารแผนคนใหม่ให้ถูกต้องการกฎหมายเข้ามา"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us