Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน21 เมษายน 2546
ชี้ชะตาEPLวันนี้ ประชัยยันพร้อมฟื้นฟูทีพีไอให้กำไร             
 


   
search resources

เอ็ฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ส
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์




วันนี้ศาลล้มละลายกลางเตรียมชี้ชะตาอีพีแอล ว่ามีสิทธิบริหารแผนฟื้นฟู กิจการทีพีไอต่อหรือไม่ ขณะที่เจ้าหนี้ทีพีไอเตรียมดึงอดีตมือการเงินนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ตีกันไม่ให้นายประชัยกลับมาบริหารบริษัท แต่เจ้าตัวยืนยันว่า "หากได้รับชัยชนะรอบนี้ ถือ เป็นนิมิตหมายใหม่ที่เจ้าหนี้ไม่สามารถบงการลูกหนี้ได้ทุกอย่าง"

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (ทีพีไอ) กล่าวว่า วันนี้ (21 เมษายน) ศาลล้มละลาย กลางนัดฟังคำพิพากษาตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จทพ.) ยื่น คำร้องเมื่อสิงหาคม 2545 ให้ศาลล้มละลายกลางพิจารณาเพิกถอนเอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส ในเครือ เฟอร์เรียร์ ฮอดจส์สัน จากออสเตรเลีย "จากผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจ การทีพีไอ" หลังรวบรวมข้อมูลหลัก ฐานเพิ่ม

ประกอบกับคำร้องเรียนของนายประชัยที่ขอกลับเข้าฟื้นฟูกิจ-การทีพีไอชั่วคราว เขากล่าวว่าหาก เขากลับเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูจะ เดินเรื่องให้โอนหนี้สินทั้งหมดของทีพีไอเข้าสู่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ ไทย (บสท.)

"โดยศักยภาพ หากบริหาร ทีพีไออย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทมีศักยภาพทำกำไรได้แน่นอน เขา พร้อมจะกลับไปเพิ่มขวัญกำลังใจให้พนักงานทีพีไอที่ขณะนี้ตกต่ำลงอย่างมาก หากผมได้รับชัยชนะพรุ่งนี้ (21 เมษายน) ก็ถือเป็นนิมิตใหม่ที่เจ้าหนี้ ไม่สามารถบงการลูกหนี้ได้ทุกอย่าง" เขากล่าว

เจ้าหนี้ดึงอดีตมือการเงินประชัยเสียบ

ตัวแทนทนายความฝ่ายเจ้าหนี้กล่าวว่า คณะกรรมการเจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลฯ เมื่อวัน ศุกร์ที่ 18 เมษายน ขอให้ศาลพิจารณาแต่งตั้งนายมังกร เกรียงวัฒนา อดีตผู้บริหารด้านการเงิน เครือทีพีไอ ดำรงตำแหน่งผู้บริหารแผนฯ ชั่วคราว จนกว่าจะประชุมเจ้าหนี้เพื่อแต่งตั้งผู้บริหารแผนฯ ใหม่ หากศาลมีคำสั่งปลดเอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์สจากผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ

"หนึ่งในคณะกรรมการเจ้าหนี้ เสนอนายมังกรเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูทีพีไอชั่วคราว หาก ศาลมีคำสั่งปลดเอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส (อีพี-แอล) เพื่อปิดโอกาสไม่ให้นายประชัย เป็นผู้บริหารแผนฯชั่วคราว"

หากปลดอีพีแอลคงต้องระบุสาเหตุการถอด ถอน ซึ่งอาจส่งผลกระทบความเชื่อมั่นธนาคารเจ้าหนี้ได้ แต่คณะกรรมการเจ้าหนี้ก็พยายามปิดโอกาสไม่ให้ผู้บริหารเดิมทีพีไอหวนกลับเป็นผู้บริหารแผนฯชั่วคราวได้

ก่อนหน้านี้ นายปีเตอร์ กอร์ธทาร์ด กรรม การผู้จัดการ อีพีแอล กล่าวว่า "การเลือกผู้บริหาร แผนใหม่ ทางเจ้าหนี้จะเป็นผู้เลือก ซึ่งคณะกรรม การเจ้าหนี้ไม่ต้อนรับนิติบุคคล หรือบุคคลที่เกี่ยว กับผู้บริหารชุดเดิม ดังนั้นผู้บริหารแผนคนใหม่จะเป็นผู้
บริหารแผนอิสระ" ย้อนรอย จพท.ฟ้องศาลปลดอีพีแอล

สิงหาคม 2545 ศาลล้มละลายกลางแจ้งว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จพท.) ยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาเพิกถอนบริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส จำกัด (อีพีแอล) จากผู้บริหารแผน ฟื้นฟูกิจการทีพีไอ

ตามมาตรา 90/67 แห่งพระราชบัญญัติล้ม ละลาย พ.ศ. 2543 โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้เหตุผลว่าอีพีแอลในฐานะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ ไม่สามารถดำเนินการตามแผนฟื้นฟู กิจการ ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และก่อให้เกิดความเสียหายต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้

พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2545 บัญญัติว่า กรณีที่ผู้บริหารแผนไม่ดำเนินการตามแผน หรือ ปฎิบัติหน้าที่โดยทุจริต หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ลูกหนี้ หรือขาดคุณสมบัติผู้บริหารแผนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือมีเหตุอื่นที่ไม่สมควรเป็นผู้บริหารแผนต่อไป

เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงาน หรือ คณะกรรมการเจ้าหนี้ หรือผู้บริหารของลูกหนี้มีคำขอเป็นคำร้อง ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้บริหารแผนพ้นจากตำแหน่ง หรือมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่เห็นสมควร

ประเด็นหลักฟ้องอีพีแอล

ประเด็นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็น ว่าอีพีแอลไม่เหมาะสมจะเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟู ทีพีไอต่อไป รวบรวมหลักฐานจากคำร้องนายประชัย และข้อมูลบริหารแผนอีพีแอล ที่บริหาร ทีพีไอตามคำสั่งศาลล้มละลายกลางตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2545

ประเด็นหลัก 7 ประเด็นที่ร้องศาลพิจารณา ประเด็นแรก อีพีแอล ซึ่งผู้ถือหุ้นเป็นคนต่าง ด้าวทั้ง 100% แต่ไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรม ทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ทำให้ขัดต่อข้อ กำหนดกฎหมาย เรื่องคุณสมบัติผู้ทำแผนและผู้บริหารแผน ทำให้ธุรกรรมต่างๆ ของอีพีแอลเป็นโมฆะ และไม่มีผลทางกฎหมาย

ประเด็นที่ 2 ผู้บริหารแผนไม่สามารถขายสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลัก (Non-Core Assets) ประมาณ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อ นำเงินชำระหนี้ได้ภายในระยะเวลาที่แผนกำหนด คือ 31 ธันวาคม 2544 ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย เจ้าหนี้และทีพีไอ

ประเด็นที่ 3 การบริหารแผนไม่เป็นไปตาม เป้าหมาย ทำให้กิจการทีพีไอประสบปัญหาขาด ทุนเพิ่มขึ้น คือรายได้ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และ ค่าเสื่อมราคา (EBITDA) ลดลง จากปี 2543 มี EBITDA เดือนละ 700 ล้านบาท ลดเหลือเฉลี่ย เพียงเดือนละ 450 ล้านบาทปี 2544 ขณะที่ตามแผนกำหนดว่า ปี 2544 จะมี EBITDA 11,207.09 ล้านบาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 933 ล้านบาท ทำให้ EBITDA จริงต่ำกว่าประมาณการถึงเดือน
ละ 480 ล้านบาท

ประเด็นที่ 4 การลดกำลังผลิตน้ำมันต่ำกว่า วันละ 125,000 บาร์เรล ซึ่งเป็นจุดคุ้มทุน ตั้งแต่ธันวาคม 2543 ทำให้ทีพีไอประสบภาวะขาดทุน และทำให้ทีพีไอไม่สามารถชำระหนี้ได้ ตามประมาณการการเงินระบุว่า กำลังผลิตน้ำมันขั้นต่ำ 125,000 บาร์เรล ทีพีไอจึงจะมีรายได้เพียงพอชำระหนี้

ประเด็นที่ 5 ผู้บริหารแผนปฎิบัติหน้าที่โดย ทุจริต เบิกค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และไม่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ รวมทั้งไม่ระบุในแผนฟื้นฟู กิจการ และอนุมัติจ่ายเงินก็ไม่ได้ขออนุญาต ศาล อาทิ ค่าที่ปรึกษากฎหมายผู้บริหารแผนที่เบิกกรณี สู้คดีในนามส่วนตัว

ประเด็นที่ 6 ผู้บริหารแผนถือหุ้นเพิ่มทุนแทนเจ้าหนี้ ส่งผลสัดส่วนถือหุ้นต่างด้าว 77.7% ของหุ้นทั้งหมด ทำให้ทีพีไอกลายสภาพเป็นนิติ บุคคลต่างด้าวต้องห้ามตามกฎหมายประกอบธุรกิจและถือครองที่ดิน ขณะที่แผนฟื้นฟูกิจ การกำหนดไว้ตั้ง บริษัท แบงก์โค เพื่อถือหุ้นแทน เจ้าหนี้

ประเด็นสุดท้าย มีการระบุว่า หากปล่อยให้ อีพีแอลดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการต่อไป ก็ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุตามแผนฟื้นฟูกิจการได้ รวมทั้งยังเปิดโอกาสเจ้าหนี้ครอบงำกิจการลูกหนี้ในที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us