Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2550
Eco-Shinkansen             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 


   
search resources

Environment
Innovation




ญี่ปุ่นมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและจริงจังมานานกว่าทศวรรษ ทุกวันนี้สินค้าและบริการที่ช่วยลดการทำลายชั้นบรรยากาศโลกสามารถพบเห็นได้ทั่วไป ตั้งแต่กล่องกระดาษรีไซเคิลของเครื่องอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน, เสื้อผ้า Cool-Biz, เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน ไล่ไปจนถึงระบบขนส่งมวลชนอย่างเช่น Shinkansen รุ่นใหม่ล่าสุดก็ยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม

ข้อเท็จจริงที่ประจักษ์อยู่ในปัจจุบันมิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะว่าอนุสัญญาแห่งสหประชาชาติฉบับที่ว่าด้วยการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศของโลกได้มาลงนามที่เมืองเกียวโตประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2540 ซึ่งรู้จักกันในนามของพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)

หากแต่มีกระบวนทัศน์ที่ลงลึกและเชื่อมโยงเข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมสำหรับอนาคตที่จะธำรงไว้ ซึ่งสถานภาพของประเทศญี่ปุ่น ในฐานะประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำบนเวทีโลก

แม้ว่าแนวคิดดังกล่าวอาจขัดกับทฤษฎี Cost-Benefit Analysis ที่เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์อย่างหนึ่งซึ่งรัฐบาลในหลายประเทศใช้กันอยู่บ้างก็ตาม แต่สำหรับญี่ปุ่นนั้นได้ผนวกปรัชญาอื่นประกอบเข้าไปด้วยมุมมองที่แตกต่างยกตัวอย่างเช่น แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในญี่ปุ่นนั้นประยุกต์เทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าคุณภาพสูงและประหยัดพลังงานมากกว่ามุ่งเน้นที่จะลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าราคาถูก ในภาพรวมแล้วต้นทุนการผลิตซึ่งลดลงไปเพียงครั้งเดียวไม่อาจเทียบได้กับผลต่างและความคุ้มค่าในการประหยัดพลังงานได้นับร้อยนับพันครั้งต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าหนึ่งชิ้นตลอดช่วงอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า

นี่ยังไม่ได้นับรวมถึงความพึงพอใจ ความเชื่อถือและความปลอดภัยของผู้บริโภคภายใต้แบรนด์ Made In JAPAN ซึ่งยากที่จะตีค่าออกมาเป็นตัวเงิน นอกจากนี้แนวคิดที่ว่ายังสอดรับกับเนื้อหาสาระสำคัญของพิธีสารเกียวโตซึ่งได้มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2548 เป็นต้นมา

ล่าสุดกับการเปิดตัวของ N700 series Shinkansen ตั้งแต่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งพัฒนาโดย JR Central ร่วมกับ JR West ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2004 สำหรับเป็น Next Generation Shinkansen ที่จะใช้ทดแทน 700 series ของสาย Tokaido ที่วิ่งระหว่างสถานี Tokyo กับ Shin-Osaka ต่อเนื่องกับสาย Sanyo ซึ่งวิ่งระหว่างสถานี Shin-Osaka กับ Hakata ในจังหวัดฟุกุโอกะบนเกาะคิวชู

N700 series Shinkansen ได้รับการออกแบบภายใต้คอนเซ็ปต์ 3 ประการคือ (1) High Technology-High Speed Shinkansen โดยใช้ระบบการขับเคลื่อน Automatic Train Control (ATC) แบบใหม่ในการควบคุมการทำงานเครื่องยนต์ที่มีความเร่งสูงถึง 2.6 km/h/s ซึ่งสามารถเข้าสู่ความเร็วปกติที่ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ภายในเวลาเพียง 3 นาที

สมรรถนะที่สูงขึ้นของ N700 series ยังสืบเนื่องมาจากการทำงานของระบบ Air Suspension ที่สัมพันธ์กับระบบ ATC โดยใช้แรงดันอากาศยกขบวนรถด้านหนึ่งให้เอียงไปตามทางโค้งสอดคล้องกับกฎพื้นฐานทางฟิสิกส์ทำให้สามารถรักษาความเร็วนี้ได้ในขณะเข้าโค้งรัศมี 2.5 กิโลเมตร ที่มีมากถึง 60 โค้งตลอดเส้นทางสาย Tokaido (เมื่อเทียบกับรถไฟ 700 series Shinkansen ซึ่งวิ่งที่ความเร็วปกติ 255 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและต้องลดความเร็วขณะเข้าโค้งทุกครั้ง)

ยิ่งไปกว่านั้นในช่วงของสาย Sanyo ตั้งแต่สถานี Shin-Osaka จนถึงปลายทางสถานีซึ่งข้ามไปยังเกาะคิวชูนั้นสามารถเพิ่มความเร็วขึ้นได้ถึง 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ในขณะเดียวกัน (2) ความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้นภายในห้องโดยสารเป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่อาจละเลยไปได้ ด้วยระบบควบคุมการสั่นสะเทือนซึ่งติดตั้งตลอด 16 โบกี้พร้อมที่นั่งแบบใหม่ที่สามารถเอนได้มากกว่าเดิมซึ่งไม่ว่าจะนั่งอยู่ต้นหรือท้ายขบวนก็สามารถเพลิดเพลินกับการเดินบน N700 series Shinkansen ได้อย่างสบาย

สำหรับโบกี้พิเศษที่เรียกว่า Green Car นั้นได้ติดตั้ง Synchronized Comfort Seat ที่สามารถปรับเอนที่นั่งได้จนเกือบถึงแนวราบในลักษณะเดียวกันกับที่นั่ง J-Class ของสายการบิน JAL พร้อมด้วย Leg Warmer ใต้เบาะสำหรับการเดินทางในฤดูหนาว อีกทั้งในโบกี้ที่ 11 ยังติดตั้ง Baby Seat สำหรับผู้โดยสารที่มีเด็กเล็กเดินทางมาด้วย

แม้ว่าจำนวนหน้าต่างจะลดลงเมื่อเทียบกับ 700 series แต่ได้รับการชดเชยโดยการปรับความสว่างของแสงภายในห้องโดยสารให้เหมาะสมและมีเพดานที่ดูสูงโปร่งขึ้นด้วยวัสดุประกอบตัวรถที่เบาบางแต่แข็งแกร่งทนทาน

นอกจากนี้ผู้โดยสารสามารถใช้ Wireless LAN High-speed Internet ซึ่งจะติดตั้งเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2009

และที่สำคัญที่สุด (3) Environmental Friendly เมื่อคิดคำนวณเทียบจากพลังงานที่ใช้ในขบวนของ 700 series โดยเฉลี่ยแล้วสามารถลดการใช้พลังงานลงได้ 30% ต่อการเดินทางหนึ่งเที่ยวพร้อมกับลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และร่นระยะเวลาการเดินทางระหว่าง Tokyo-Osaka ลง 5 นาที

ในส่วนของเส้นทางสาย Sanyo นั้นต่างจากสาย Tokaido ตรงที่มีทางโค้งน้อยกว่าแต่กลับมากด้วยอุโมงค์ที่เจาะทะลุผ่านภูเขาหลายลูกซึ่งส่งผลให้มีการออกแบบช่วงหน้าขบวนขึ้นมาใหม่ในลักษณะเดียวกับการออกแบบเครื่องบินเพื่อลดแรงต้านในจังหวะก่อนแล่นเข้าอุโมงค์

จากผลการวิจัยของ Komaki Research Facility การออกแบบช่วงหน้าใหม่ซึ่งหากมองจากด้านหน้าจะดูคล้ายปีกของนกอินทรีย์อันเป็นที่มาของชื่อ Aero Doublewing ที่ยาวกว่าเดิม 1.5 เมตร ซึ่งนอกจากจะช่วยลดแรงต้านลงแล้วยังประหยัดพลังงานไปได้ในตัว

ในขณะเดียวกันการเชื่อมต่อโบกี้ในแบบใหม่มีส่วนช่วยให้ขบวนรถมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในขณะเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงซึ่งส่งผลให้ลดพลังงานลงได้ 19% ในช่วง Tokaido และ 9% ในช่วง Sanyo ตามลำดับ

นอกจากนั้นเทคโนโลยีของระบบ ATC และ Air Suspension ที่ใช้ในการขับเคลื่อนยังช่วยลดมลภาวะเสียงลงตลอดเส้นทางตั้งแต่ Tokyo ถึง Fukuoka

ไม่ว่านวัตกรรมของรถไฟ Eco-Shinkansen และการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในญี่ปุ่นจะก้าวหน้าไปมากเท่าไรก็ตามพิธีสารเกียวโตไม่สามารถบรรลุถึงเป้าประสงค์ในการควบคุมปริมาณก๊าซที่ส่งผลต่อการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกลงได้ด้วยความพยายามเพียงลำพังของประเทศเล็กๆประเทศหนึ่ง

ในวันนี้ถึงเวลาที่ทุกฝ่ายจะหันมาจริงจังและจริงใจต่อการร่วมมือกันแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนแล้วหรือยัง?   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us