Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2550
"เพศที่สาม" ในเมืองจีน             
โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
 


   
search resources

Social




"เขาแต่งงานแล้ว อันนี้ผมคิดไม่ถึงจริงๆ วันนั้นผมคิดว่าจะปลีกตัวออกมา แต่เขาก็รั้งผมเอาไว้ เขาบอกว่า เขาไม่ชอบภรรยาของเขาแต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เราอยู่ด้วยกันหนึ่งคืน เขาอยากให้เราทำ 'อย่างนั้น' กันแต่ผมก็ฝืนใจปฏิเสธ แต่ก่อนที่จะจากลากัน เราแลกกางเกงในของกันและกัน"

แล้วขณะนี้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณสองคนเป็นยังไงบ้าง?

"ก็ไม่เป็นไง... ผมคาดหวังถึงความรักอันบริสุทธิ์ หลังจากนั้นเขาก็พยายามนัดผมอีก แต่ผมปฏิเสธไป... เขาเจ็บปวดมาก ผมก็เช่นกัน"

...

ข้างต้นเป็นบทสนทนาระหว่างผู้สื่อข่าว ของหนังสือพิมพ์เหวินไจ่กับชายหนุ่มวัย 23 ปี นักศึกษาชั้นปีที่สี่ของคณะภาษาจีน มหาวิทยาลัย ประชาชนแห่งประเทศจีน มหาวิทยาลัยที่ถือว่าเป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนมาแต่อ้อนแต่ออก

เมื่อเร็วๆ นี้จากการสำรวจของสำนักงานวิจัยด้านเพศศาสตร์ มหาวิทยาลัยประชาชนแห่งประเทศจีน พบว่าปัจจุบันในรั้วมหาวิทยาลัยของประเทศจีนมีนักศึกษาที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศราวร้อยละ 11.4 ทั้งนี้หากคำนวณเฉพาะในกรุงปักกิ่ง ที่ในปี 2548 มีตัวเลขนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งสิ้น 644,430 คน ก็จะมีจำนวนนักศึกษาที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศมากกว่า 7 หมื่นคน

ขณะที่เมื่อมองในภาพใหญ่กว่านั้นก็จะพบว่า 'กลุ่มผู้รักร่วมเพศ' หรือ 'เพศที่สาม' ในสังคมจีนนั้นเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมหาศาล

จางเป่ยชวน ศาสตราจารย์ด้านเพศศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยชิงเต่า ผู้ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับปัญหาของกลุ่มคนรักร่วมเพศในประเทศจีน เปิดเผยถึงจำนวนผู้รักร่วมเพศในประเทศจีนว่า ในกลุ่มประชากรจีนที่มีอายุอยู่ระหว่าง 15-60 ปี มีผู้รักร่วมเพศอยู่มากถึงราว 30 ล้านคน โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็นกลุ่มชายรัก ชาย (เกย์) ประมาณ 20 ล้านคน และหญิงรักหญิงประมาณ 10 ล้านคน

ศ.จางกล่าวว่าในอดีตกลุ่มผู้รักร่วมเพศ ของจีนหลายสิบล้านคนนี้ถือเป็นคนชายขอบในสังคมจีน ที่โดนดูถูก เหยียดหยามและปฏิเสธจากสังคมจีนมาตลอด ซึ่งหากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป คนกลุ่มนี้ก็จะกลายเป็นปัญหา ใหญ่ของสังคมจีนในอนาคตอันใกล้

ในสังคมจีนที่ตลอดระยะเวลายาวนานกว่า 2,000 ปี ผูกยึดอยู่กับความเชื่อ วัฒนธรรม คำสั่งสอนของลัทธิขงจื๊อที่ระบุว่า "ความอกตัญญู นั้นมีอยู่สามประการ ที่สุดของความอกตัญญูนั้น คือการไร้ทายาทสืบตระกูล" รวมถึงปรัชญาในการดำเนินชีวิตของลัทธิอื่นๆ อย่างเช่น หยิน-หยาง, มืด-สว่าง, เย็น-ร้อน, หญิง-ชาย เป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมาคู่กัน ดังนั้นการอุบัติและคงอยู่ของสรรพสิ่งที่อิหลักอิเหลื่อระหว่างคู่ทั้งสองจึงถูกมองว่าเป็นสิ่งผิดปกติที่ไม่จีรัง

ซึ่งจะว่าไปก็คล้ายกับการอุบัติขึ้นและสูญสลายไปของ 'ขันที' คนกลุ่มหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นโศกนาฏกรรมของมวลมนุษย์ และในประวัติศาสตร์โลกปรากฏขึ้นเฉพาะในประวัติศาสตร์จีนเท่านั้น

ในหน้าประวัติศาสตร์หลายพันปีของจีน ใช่ว่าจะไม่เคยปรากฏกลุ่มคนรักร่วมเพศมาก่อนเพราะเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จีนว่า ในอดีตฮ่องเต้จีนจำนวนไม่น้อยก็เป็นพวกรักร่วมเพศเช่นกัน อย่างไรก็ตามหลังการเรืองอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์ จีน เรื่องราวเหล่านี้ก็กลับกลายเป็นประวัติศาสตร์ ที่ "ถูกทำให้ลืม" ส่วนคนที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ ก็ถูกสังคมจัดให้เป็น "ผู้มีความผิดปกติทางจิต" หรือกระทั่งอาชญากรที่มีพฤติกรรม "เป็นอันธพาล" เลยทีเดียว

จนกระทั่งปี 2540 (ค.ศ.1997) เมื่อประเทศ จีนเปิด คนจีนเริ่มรับยอมรับเอาวัฒนธรรมของสากลมากขึ้น สังคมจีนก็หันมาทบทวนเกี่ยวกับเรื่องนี้ใหม่ เริ่มต้นจากการถอด "พฤติกรรมรักร่วมเพศ" ออกจากประมวลกฎหมายอาญาที่กำหนดโทษให้ผู้มีพฤติกรรมรักร่วมเพศมีความผิด ตามกฎหมายในฐานะเป็นอันธพาล

ต่อมาเดือนเมษายน ปี 2544 (ค.ศ.2001) ก็มีการถอน "พฤติกรรมรักร่วมเพศ" ออกจากเอกสาร "มาตรฐานการแบ่งประเภทและวินิจฉัย อาการจิตเภทของประเทศจีน" อันถือว่าเป็นก้าวย่างที่สำคัญของสังคมจีนในการแง้มประตูเปิดรับผู้ที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศให้สามารถมีที่ยืนในสังคมจีนได้อย่างสง่าผ่าเผย

กระนั้นแม้กฎหมายจะเปลี่ยนแปลงแต่ทัศนคติของคนส่วนใหญ่ในสังคมจีนก็ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปมากเท่าไรนัก อันพิสูจน์ให้เห็นได้จากผลสำรวจถึงสภาพจิตใจของกลุ่มชายผู้รักร่วมเพศในสังคมจีนที่อาศัยอยู่ในเมืองขนาดกลางและขนาดใหญ่ของประเทศจีนโดย ศ.จาง ซึ่งปรากฏออกมาว่าชายรักร่วมเพศชาวจีน ราวร้อยละ 30-35 เคยมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย เนื่องจากโดนดูถูกจากคนในสังคม, ราวร้อยละ 9-13 เคยทดลองฆ่าตัวตายมาก่อน, ร้อยละ 93 รู้สึกมีแรงกดดันทางจิตใจสูง และร้อยละ 67 รู้สึกโดดเดี่ยวอย่างรุนแรง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำรงชีวิตและการทำงาน

นอกจากปัญหาในเชิงของสภาพจิตใจที่กลุ่มผู้รักร่วมเพศชาวจีนจะต้องแบกรับอันเกิดจาก การที่สังคมจีนทำเป็นมองไม่เห็นและไม่ยอมรับคนกลุ่มนี้แล้ว ปัญหาในระดับมหภาคที่สังคมจีน กำลังเผชิญจากการไม่ยอมรับความจริงดังกล่าว ก็คือ ปัญหาเรื่องการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ที่อัตราการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในหมู่ชายรักร่วมเพศของจีนนั้นสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของบุคคลทั่วไปกว่า 5-10 เท่า จนทำให้ในสังคมจีน นั้นเมื่อพูดถึง "โรคเอดส์" ก็จะต้องนึกถึง "กลุ่มชายรักร่วมเพศ" ขึ้นมาทันที

ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเพศและโรคเอดส์ในหมู่ชายรักร่วมเพศในสังคมจีนทวีความรุนแรงมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนทำให้รัฐบาลจีนไม่อาจนิ่งนอนใจได้อีก ต่อไป และจำต้องออกมาทำการรณรงค์เผยแพร่ ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศและโรคเอดส์ผ่านสื่อมวลชน รวมถึงแหล่งชุมนุมของชายรักชายต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในผับ บาร์ หรือสถานบันเทิงตามหัวเมืองใหญ่ๆ ซึ่งเป็นแหล่ง พบปะสังสรรค์ของเหล่าชายรักร่วมเพศทั้งหลาย

ขณะที่ตัวแทนของกลุ่มชายรักร่วมเพศบางส่วนก็ออกมาให้ทัศนะถึงประเด็นอัตราการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในหมู่ชาวชายรักชายว่า สาเหตุสำคัญที่สุดประการหนึ่งนั้นเกิดจากการที่ สังคมจีนปฏิเสธคนอย่างพวกเขา ส่งผลให้เหล่าชายรักร่วมเพศนั้นได้รับแรงกดดันสูงและเมื่อต้องการจะแสดงความรักกับชายเพศเดียวกันก็ต้องทำอย่างหลบๆ ซ่อนๆ ไม่สามารถจะใช้ชีวิต อย่างปกติสุขได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองได้บีบให้เหล่าชายรักชายในเมืองจีนต้องหันไปมีพฤติกรรม "เปลี่ยนคู่นอนบ่อย" อันเป็นคำตอบว่าเหตุใดอัตราการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเพศและเอดส์ในหมู่ชายรักชายชาวจีนจึงอยู่ในระดับสูง

นอกจากนี้ในประเด็นระดับมหภาคยังมีเรื่องที่น่าตกใจกว่านั้นคือมีผลสำรวจระบุว่าร้อยละ 80 ของชายรักชายชาวจีนได้รับแรงกดดันหรือบังคับ จากบุคคลในครอบครัว คนรอบข้างและสังคมให้จำต้องแต่งงานกับผู้หญิง ทั้งนี้หลายคนเมื่อแต่งงานไปแล้วก็ยังคงพฤติกรรมรักร่วมเพศอยู่ ขณะที่หลายคนใช้วิธีการแก้ไขปัญหาอย่างอื่น เช่น แต่งงานกับผู้หญิงที่เป็น 'ทอม-ดี้' โดยมีข้อตกลงกันว่าหลังแต่งงาน แต่ละฝ่ายจะไม่ยุ่งเกี่ยวในเรื่องส่วนตัวของกันและกัน เป็นต้น

ข้างต้นคือความเปลี่ยนแปลงของจีนในมิติทางสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ที่เกิดขึ้นกับ "เพศที่สาม" ขณะที่เมื่อกล่าวในแง่มุมอื่นๆ เช่นในแง่มุมทางธุรกิจ-เศรษฐกิจ

กล่าวกันว่าทุกวันนี้มหานครเซี่ยงไฮ้เมืองที่ถือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของประเทศจีนได้กลายเป็นสรวงสวรรค์ แดนปาร์ตี้ของเหล่าเกย์ชาวจีนในการมาปลดปล่อยตัวตนที่แท้จริง โดยมีสถานบันเทิงใหญ่ยักษ์ขนาด รองรับ ลูกค้าได้มากกว่า 3,000 คน ขณะที่บรรยากาศตามแหล่งชอปปิ้ง สถานบันเทิงชั้นนำในหัวเมืองใหญ่ๆ ของจีนก็เริ่มเห็นสินค้าสำหรับ "เพศที่สาม" ออกมาวางตลาดกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดทางด้านค่านิยม ในประเทศจีนคงต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าที่ธุรกิจที่เกี่ยวพันกับเพศที่สามจะเติบโตเต็มที่

สำหรับผู้ที่เคยเดินทางไปอาศัยอยู่ที่ประเทศจีน หรือคุ้นเคยกับสังคมจีนมาบ้าง เชื่อว่า ภาพดังกล่าวเป็นภาพที่ดูออกจะแปลกตาไปบ้าง...

ครั้งล่าสุดที่ผมบินกลับมาจากกรุงปักกิ่ง ผมพบกับชายรักชายชาวจีนกลุ่มย่อมๆ หลายกลุ่มขึ้นเครื่องบินลำเดียวกัน บินตรงมายังกรุงเทพมหานคร เมืองแมนแดนสวรรค์ที่เป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลกและทั่วเอเชียว่าเป็นมิตรอย่างยิ่งกับ "ชาวเกย์" และ "เพศที่สาม"

ในเมื่อสังคมจีนยังเปิดประตูให้กับชาวรักร่วมเพศในประเทศไม่กว้างพอ พวกเขาก็คงต้องแหวกว่ายหาทางปลดปล่อยกันเอง และประเทศไทยก็อาจจะเป็นหนึ่งในทางออกของคนเหล่านี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us