|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ สิงหาคม 2550
|
|
Music Contest เป็นเครื่องมือที่ใช้กันนิยมใช้กันมานมนานและแพร่หลาย
คงไม่ใช่เรื่องน่าแปลก หากเวทีประกวดแห่งนั้นจะรับสมัครและมองหา "ดาว" ที่เป็นมือสมัครเล่นทางด้านดนตรีรุ่นเยาว์คนรุ่นใหม่ เพื่อไปพัฒนาต่อยอดทางธุรกิจทางตรงและทางอ้อม
แต่จะมีสักกี่ครั้งที่เวทีการประกวดเหล่านั้นจะเปิดโอกาสให้กับคน "รุ่นเดอะ" ผู้มีความหลงใหลในเสียงเพลง มีความสามารถทางดนตรี และมีไฟที่จะแสดงความสามารถให้ประจักษ์ไม่ต่างจากเด็กรุ่นใหม่
หลังจากจัดประกวดวงดนตรีแจ๊ซให้กับเด็กรุ่นใหม่ไฟแรงมาแล้ว 2 ปีติดต่อกัน
มาปีนี้ "Breeze FM" สถานีเพลงแจ๊ซคลื่น 98.5 จึงจับมือกับ ดิ เอ็มโพเรี่ยม ชอปปิ้ง คอมเพล็กซ์ หันมาเปิดเวทีให้นักดนตรีสมัคร เล่นรุ่นเดอะไฟแรงไม่แพ้กัน ให้ได้มาปล่อยฝีไม้ลายมือและสเต็ปเท้า บนเวทีที่ชื่อ "Flash Back" The charity Music Contest 2007
คุณสมบัติสำคัญข้อแรกของเวทีนี้ก็คือ ผู้เล่นในวงต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี
กว่า 20 วงที่ส่งใบสมัครเข้ามา มีอยู่วงหนึ่งที่สมาชิกทั้ง 6 คน มีอายุรวมกันปาเข้าไปกว่า 340 ปีเลยทีเดียว ขณะที่หลายๆ วง เมื่อลองเอาอายุนักดนตรีทุกคนมารวมกันแล้ว ได้ตัวเลขมากกว่าอายุ การสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์เป็นเมืองหลวงเสียอีก
บรรดาผู้เข้าประกวดรุ่นอาวุโสเหล่านี้มาจากหลากสาขาอาชีพ ทั้งหมอ ครูอาจารย์ ข้าราชการ บ้างก็เป็นเจ้าของกิจการ และอีกหลายคนยังประสบความสำเร็จในสายงานจนเป็นถึงผู้บริหารระดับสูง โดยทุกคนล้วนมีใจรักงานดนตรี และมีดนตรีเป็นงานอดิเรกเหมือนกัน
บางวงอินกับงานอดิเรกนี้มากถึงกับลงทุนสร้างห้องซ้อมดนตรี ไว้ในออฟฟิศเลยก็มี อย่าง 3G-String Band แห่งบริษัท Ericsson ส่วนบางวงก็เดินสายเล่นดนตรีบ่อยไม่แพ้นักดนตรีอาชีพ เช่น CUD. Band ซึ่งมีอายุวงต่อเนื่องมานานถึงกว่า 25 ปี เป็นต้น
เนื่องจากนักดนตรีส่วนใหญ่มีหน้าที่การงานมั่นคงแล้ว รางวัล จึงไม่ใช่ประเด็นหลัก ดังนั้นเงินรางวัลทั้งหมดกว่าแสนบาทที่ผู้ชนะได้รับมอบจึงถูกมอบให้แก่องค์กรการกุศลที่แต่ละวงดนตรีระบุไว้ในใบสมัคร
ขณะที่ทักษะทางดนตรีก็เป็นเพียงเรื่องรอง แต่ความสนุกที่ได้ ร้องเล่นเต้นรำ และแสดงออกบนเวทีจนสุดฤทธิ์สุดเดช เป็นเงื่อนไขสำคัญในการประกวดดนตรีผู้สูงวัยครั้งนี้ งานนี้จึงเรียกได้ว่า เป็นเวที "ปล่อยแก่" ของคนรุ่นพ่อรุ่นปู่อย่างแท้จริง
ในวันประกวดรอบชิงชนะเลิศ เต็มพื้นที่โดยรอบแฟชั่นฮอลล์ของห้างหรูอย่างเอ็มโพเรี่ยม หาใช่เฉพาะจะมีแต่นักดนตรีรุ่นเก๋าเท่านั้น แต่ผู้ชมรุ่นดึกอีกหลายคนที่มาเชียร์ก็สนุกกับดนตรีจนลืมแก่ โดยหนึ่งในนั้นมี "ศุภลักษณ์ อัมพุช" รวมอยู่ด้วยและมีกองเชียร์รุ่นลูกหลานมาคอยลุ้นและให้กำลังใจคุณปู่คุณย่าอยู่ข้างเวที
เวทีนี้จึงน่าจะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ดีว่า "เสียงดนตรีเปิดกว้างสำหรับทุกวัย"จริงๆ
|
|
|
|
|