Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543
ธนาคารไทยยุคก่อนล่มสลาย (2505-2540)             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 

 
Charts & Figures

การเติบโตของธนาคารไทย 4 แห่ง

   
related stories

เบื้องลึกความคิดบัณฑูร ล่ำซำ "ธนาคารเป็นเรื่องสากล"
Core Group ของ บัณฑูร ล่ำซำ
ธนาคาร "ไทย"
ล่ำซำกับฝรั่งใน 1 ศตวรรษ

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์
โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ
โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
ประจิตร ยศสุนทร
Banking and Finance




กรุงเทพ-กสิกรไทย โมเดลความสำเร็จ

การศึกษาความยิ่งใหญ่ของระบบธนาคารครอบครัวไทยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมานั้น ควรศึกษาจากบทเรียนพัฒนาการของธนาคารกรุงเทพ กับอาณาจักรธุรกิจตระกูลโสภณพนิช และธนาคารกสิกรไทย กับอาณาจักรธุรกิจล่ำซำ ซึ่งมีบุคลิกที่แตกต่างกันอย่างน่าสนใจ

ในช่วง 20 ปีในยุครุ่งโรจน์ของระบบธนาคารครอบครัวไทย (2505-2524) มีเพียงธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทยเท่านั้น ที่รักษาอัตราการขยายตัวของยอดเงินฝากโดยเฉลี่ยเกิน 20% ต่อปี ขณะเดียวกันสัดส่วนการครองส่วนแบ่งยอดเงินฝากทั้งระบบของธนาคารในประเทศไทย (ทั้งธนาคารไทยและต่างประเทศ) ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากระดับ 23.7% ในปี 2505 เป็น 38.5% ในปี 2515 และ 48.2% ในปี 2524

พัฒนาการธนาคารทั้งสองมีความสัมพันธ์กับบทบาทของชิน โสภณพนิช ผู้ก้าวเข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพในปี 2495 ขณะที่บัญชา ล่ำซำ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทยในปี 2505 พร้อมๆ กับการเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นในธนาคารทั้งสอง โดยตระกูลโสภณพนิชและล่ำซำเข้าถือหุ้นใหญ่ โดยโสภณพนิชเข้าถือหุ้นใหญ่ที่สุด 32% ในธนาคารกรุงเทพ ปี 2511 ขณะที่ล่ำซำถือหุ้นใหญ่เด็ดขาดในธนาคารกสิกรไทยถึง 58% ในปี 2513

การเปลี่ยนแปลงที่ถือว่า เป็นการปรับโครงสร้างการถือหุ้นกับการบริหาร ที่เด็ดขาดอยู่ในระบบครอบครัวเดียว ซึ่งถือเป็นโมเดลความสำเร็จของธุรกิจไทยในช่วงหลายทศวรรษมานี้

ชิน โสภณพนิช (2453-2531) ผู้เริ่มต้นเป็นกัมประโดธนาคารกรุงเทพ ผู้สามารถ เนื่องจากเขาเป็นผู้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับวงการค้าของพ่อค้าคนจีนย่านทรงวาด ราชวงศ์ ซึ่งถือเป็นถนนธุรกิจในช่วงหลังสงครามโลกครั้งสอง เมื่อเขาก่อตั้งบริษัทเอเชียทรัสต์ ในปี 2493 ทำธุรกิจค้าเงินที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำให้เขามีพื้นฐานในการบริหารธนาคารกรุงเทพในช่วงต่อมา โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการณ์

ข้อต่อสำคัญที่กลายเป็นบุคลิกและเงื่อนไขสำคัญในการเจริญเติบโตทางธุรกิจ ในช่วงปี 2495-2500 ที่ชิน โสภณพนิช สามารถเข้าไปกอบกู้วิกฤติธนาคารกรุงเทพสำเร็จ ด้วยการขอให้กระทรวงเศรษฐการ (กระทรวงพาณิชย์) เข้ามาถือหุ้นเพิ่มทุนครั้งใหญ่ ทำให้ธนาคารแห่งนี้มีความสัมพันธ์กับการค้าต่างประเทศอย่างเต็มตัว จากการค้าข้าว โดยมีพ่อค้าหลักๆ ที่มีอิทธิพลใช้บริการธนาคารอยู่เดิม ก็มั่นคงยิ่งขึ้นด้วยการค้าแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G ) ซึ่งเป็นระบบโควตาอยู่ในความควบคุมของกระทรวงเศรษฐการ

ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นธนาคารแรกๆ ที่ได้รับการยอมรับจากธนาคารต่างประเทศ

การขยายตัวของธนาคารกรุงเทพ หรือธุรกิจของชิน โสภณพนิช ก็เริ่มจาก Trade Financing ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประกันภัย คลังสินค้า ฯลฯ ซึ่งนับเป็นการเกื้อกูลให้ธนาคารกรุงเทพ ขยายตัวมากขึ้นระดับหนึ่ง เท่านั้นไม่พอ เมื่อกลุ่มธุรกิจค้าส่งออกรายใหญ่ ซึ่งถือเป็นธุรกิจอิทธิพลในช่วงนี้ขยายตัว ก็เริ่มขยายอาณาจักรธุรกิจออกไปอย่างกว้างขวาง พวกเขาก็ใช้บริการของธนาคารกรุงเทพ ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อเนื่องมา

ไม่เพียงเท่านั้น ในช่วงที่ชิน โสภณพนิช ต้องเดินทางไปอยู่ฮ่องกงก็ประจวบกับกลุ่มนักธุรกิจ ใหญ่ระดับภูมิภาคเพิ่งเริ่มต้น ทำให้มีความสัมพันธ์กับธุรกิจในระดับภูมิภาคเสริมให้กิจกรรม Trade Finance ขยายตัวมากขึ้น

เมื่อธนาคารกรุงเทพมั่นคง กระทรวงเศรษฐการซึ่งเคยถือหุ้น 60% ก็ค่อยๆ ลดลงเหลือ 30% จนในที่สุดก็ขายหุ้นทั้งหมดไป ตระกูลโสภณพนิชก็คือผู้ถือหุ้นใหญ่พร้อมๆ กับอาณาจักรธุรกิจ และการเจริญเติบโตของธนาคารอันดับหนึ่งของประเทศ

บัญชา ล่ำซำ (2478-2536) ผ่านการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์จาก จุฬาฯ ก่อนไปเรียนบริหารธุรกิจที่สหรัฐฯ กลับมาเมืองไทยร่วมกับอา (จุลินทร์ ล่ำซำ) ก่อตั้งบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จากนั้นเขาต้องเข้ามาบริหารธนาคารกสิกรไทย ก็นับว่าเป็นช่วงของการเริ่มต้นการเจริญเติบโตของธนาคารกสิกรไทย และเครือข่ายธุรกิจตระกูลล่ำซำ

ล่ำซำ แตกต่างจากโสภณพนิช ตรงที่มีเครือข่ายธุรกิจเดิมของตระกูลอย่างกว้างขวาง ในฐานะตระกูลเก่าแก่ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ซึ่งมีความสัมพันธ์กับต่างประเทศโดยเฉพาะตะวันตกค่อนข้างยาวนาน ธุรกิจแกนมีอยู่ 2 อย่าง นอกจากธนาคารและธุรกิจการเงินแล้วก็คือการค้า ซึ่งนำโดยกลุ่มล็อกซเล่ย์ที่บริหารโดยคุณหญิงชัชนี จาติกวณิช (น้องสาวของบัญชา)

ธุรกิจการเงิน นอกจากธนาคารจะมีการปรับปรุงการบริหารที่มีมาตรฐานมากขึ้น ก็ขยายเครือข่ายด้วยการตั้งบริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์หลายแห่ง เช่น ทิสโก้ ศรีมิตร เป็นต้น ขณะเดียวกัน ล็อกซเล่ย์ซึ่งเดิมเป็นกิจการ ค้าโดยนำสินค้าสมัยใหม่จากต่างประเทศเข้ามา ก็เริ่มขยายตัวมากขึ้น ด้วยการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมหลายแห่ง

จากฐานธุรกิจสองฐาน ก็ทำให้ธุรกิจธนาคารกสิกรไทยเติบโตอย่างมาก จากการมียอดเงินฝากอยู่ในอันดับ 7 ใน ปี 2505 ในปีที่บัญชาเข้ามาเป็นกรรมการ ผู้จัดการ มาเป็นอันดับ 3 ในปี 2515 และ อันดับสองอย่างเส้นคงวามาตั้งแต่ปี 2524

นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทยก็ขยายธุรกิจด้วยการเข้าถือหุ้น ในกิจการใหญ่ของต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นบุคลิกพิเศษของธนาคารแห่งนี้ ไม่ว่าจะกลุ่ม LEPITI, FIRESTONE, DOLE, CASTRAL ฯลฯ

ธนาคารทั้งสองจึงมีฐานที่มั่นคงกว่าธนาคารอื่นๆ

บทเรียนศรีนคร "ปรับตัวช้าเกินไป"

ความจริงแล้วธนาคารศรีนครก็คือธนาคารที่ยึดโมเดลของการพัฒนาในช่วงปี 2500-2520 เช่นเดียวกับธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงเทพ แต่ทว่าธนาคารศรีนคร มิได้พัฒนาโครงสร้างความคิดและยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่องเช่นธนาคารใหญ่ทั้งสอง จึงทำให้ธนาคารศรีนครต้องมีอันเป็นไป

ธนาคารศรีนคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อสิงหาคม 2493 มี อื้อจือเหลียงเป็นผู้นำ โดยมีแกนสำคัญได้แก่ อุเทน เตชะไพ-บูลย์, คุณ เศรษฐภักดี, เกียรติ ศรี-เฟื่องฟุ้ง โดยมีอุเทน เตชะไพบูลย์ ลูกชายคนโตของเพื่อนสนิทอื้อจือเหลียง เป็นผู้จัดการ

เริ่มแรกมีทุนจดทะเบียน 10 ล้าน บาท สัดส่วนผู้ถือหุ้นสำคัญในช่วงนั้น ตระกูลเอื้อวัฒนาสกุลของอื้อจือเหลียงถือมากที่สุด 12.5% ตระกูลเตชะไพบูลย์ 11% ตระกูลเศรษฐภักดี 9.9% และตระกูลศรีเฟื่องฟุ้ง 5.7%

ธนาคารแห่งนี้สนับสนุนธุรกิจการค้าสุราของตระกูลเตชะไพบูลย์ ต่อเนื่องมา เมื่อการขยายตัวของธุรกิจสุรา ซึ่งเป็นธุรกิจสัมปทานขยายตัว ก็ดูเหมือนว่าธนาคารศรีนครจะขยายตัวมากขึ้น ในที่สุดตระกูลเตชะไพบูลย์ก็ถือหุ้นธนาคารศรีนครมากที่สุด แต่ความสนใจของตระกูลนี้กับธุรกิจค้าสุรามีค่อนข้างมาก โดยใช้ธนาคารเป็นเครื่องมือสนับสนุนมายาวนาน ในช่วงปี 2515 ก็ลงทุนและได้บริหารธนาคารอีก 2 แห่ง (ธนาคารเอเชียและธนาคารมหา นคร) ซึ่งเป็นช่วงธุรกิจสุราเฟื่องฟู เช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ ไม่ว่าธุรกิจประกันภัย หรือที่ดินก็ขยายตัวอย่างมาก เป็นตระกูลธุรกิจที่เติบโตเทียบบารมีกับโสภณพนิช และล่ำซำ

แต่ตระกูลนี้ไม่พัฒนาให้ธนาคาร มีระบบธนาคารสมัยใหม่ (คิดและทำในช่วง 10 ปีมานี้ ก็ถือว่าสายไปแล้ว) ดังนั้นเมื่อธุรกิจสัมปทานมีปัญหา บวกกับวิกฤติครั้งนี้ ธนาคารแห่งนี้จึงถูกทาง การยึด และกำลังอยู่ในกระบวนการรวมกับธนาคารนครหลวงไทย ซึ่งมีภูมิหลังคล้ายๆ กันเชื่อว่าในที่สุด ชื่อธนาคารก็คงไม่มีอยู่ในระบบธนาคารไทย

ความล่มสลายของธนาคารศรีนคร เป็นสัญญาณของวิกฤติธนาคารครอบครัวที่อ่อนแอตามมา ซึ่งมีโมเดลการดำเนินธุรกิจที่ล้าหลังเช่นเดียวกับอีกหลายธนาคาร และเป็นจุดเริ่มต้นของการพังทลายของระบบธนาคารครอบครัวในเมืองไทย

แรงเฉื่อยที่ไทยพาณิชย์

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของธนาคารไทยพาณิชย์ สมควรบันทึกในประวัติศาสตร์เริ่มต้น ณ ปี 2516 เป็น ต้นมา

หนึ่ง - ประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจอันต่อเนื่องมาจาก oil shock ตั้งแต่ปี 2514 ธุรกิจธนาคารนั้นผนึกแน่นกับสถานการณ์ สถานการณ์คราวนั้น ผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจเปิดกว้างรับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก อย่างรุนแรงเป็นประวัติการณ์

สอง-แบงก์ไทยพาณิชย์มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจต่ำเพราะทุนจดทะเบียนน้อยมาก

ปี 2516 จำเป็นต้องเพิ่มทุนทันทีจาก 3.5 ล้านบาทเป็น 40 ล้านบาทที่สำคัญมีการเปลี่ยนตัวกรรม การผู้จัดการใหญ่ ประจิตร ยศ-สุนทร เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากแบงก์ชาติมา ดำรงตำแหน่งแทนอาภรณ์ กฤษณามระ

ในช่วงก่อนหน้านั้นนักลงทุนจากยุโรป หรือญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีการร่วมทุนเฉพาะกับสำนักงานทรัพย์สินฯ ซึ่งค่อนข้างจะแยกกันอย่างชัดเจนกับธนาคารไทยพาณิชย์ในยุคนั้น

ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เข้ามาทำงานในฝ่ายต่างประเทศ ซึ่งเป็นคนหนุ่มที่มีประสบการณ์จากแบงก์ต่างประเทศ (First National City Development) ซึ่งถือเป็นหัวขบวน และมีส่วนสำคัญในการชักนำนักบริหารรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นฐานการพัฒนาของแบงก์นี้เข้ามาเป็นระลอกๆ ปี 2518 ชฎา วัฒนศิริธรรม เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากแบงก์ชาติเข้ามาอีกคน บุกเบิกงานด้านวิจัยและวางแผน ปี 2519 ประกิต ประทีปะเสน ผู้ชำนาญด้านตลาดทุนจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงเทพธนาทรก็เข้ามาสมทบ คุมนโยบายด้านสินเชื่อและการตลาด

ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารที่สำคัญหลายประการ โดยมีผู้บริหารในยุคดังกล่าว 3 คน ซึ่งน่าศึกษาอย่างยิ่ง

ประจิตร ยศสุนทร คือคนที่มีความต่อเนื่องมากที่สุดในธนาคารแห่งนี้ และเป็นแกนของการเปลี่ยนแปลงอย่างน่าสนใจ แม้ว่าระยะหลังๆ บทบาทของเขาจะอยู่ข้างหลัง แต่ก็เป็นเพียงคนเดียวที่ยังอยู่กับธนาคารไทยพาณิชย์ยุคใหม่มาตลอด 26 ปีเต็ม

ประจิตร ยศสุนทร เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ 11 ปี (2516-2527) จากนั้นก็อยู่ในคณะกรรมการบริหารต่อเนื่องในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร (2527-ปัจจุบัน) เขามีส่วนในการชักนำทั้งธารินทร์, โอฬาร เข้ามาทำงานในธนาคารแห่งนี้ ขณะที่ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ อยู่ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ 8 ปี (2527-2535) ต่อด้วยโอฬาร ไชยประวัติ อยู่ในตำแหน่ง 7 ปี (2535-2542) ซึ่งถือเป็นการต่อเนื่องที่แตกต่างจากยุคประจิตรอย่างมาก

ยุคประจิตร ยศสุนทร เป็นยุคการสร้างธนาคารใหม่ ภายใต้การเปลี่ยน แปลงระบบธนาคารจากยุคเดิมไปสู่ Traditional Banking ถือเป็นการวางรากฐานสำคัญ โดยการปรับเปลี่ยนที่สำคัญในเรื่องบุคลากร การพัฒนาคน การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร ไปสู่การปรับตัวรับกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างมาก ในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 โดยเฉพาะการสนับสนุนกิจ การในเครือของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่เติบโตในช่วงนั้นเป็นต้นมา โดยเฉพาะเครือซิเมนต์ไทย ก็เริ่มขยายการลงทุนด้านอุตสาหกรรมอย่างขนานใหญ่ในช่วงนั้นเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ในยุคประจิตร เป็นยุคของการสะสมประสบการณ์ของทีมงานรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นธารินทร์, โอฬาร ในการเผชิญการเปลี่ยนแปลง และความไม่แน่นอนของระบบเศรษฐกิจโลก ที่เข้ามากระทบสังคมไทย ซึ่งทำให้เกิดวิกฤติ การณ์ทางเศรษฐกิจต่อเนื่องหลายช่วง ประสบการณ์ช่วงนั้นมีส่วนสำคัญมาก ที่ทำให้ยุคประจิตรสร้างรากฐานธนาคารที่ให้น้ำหนักการสร้างฐานมั่นคง มากกว่าให้ความสำคัญในการขยายตัวทางสินทรัพย์อย่างมากมายในช่วง 15 ปีถัดมาของยุคธารินทร์ และโอฬาร

ในช่วงปี 2527-2542 เป็นยุคที่มีความต่อเนื่องของการพัฒนาธนาคารไทยพาณิชย์ในเชิงขยายตัวอย่างรุนแรง เมื่อเปรียบเทียบกับระบบธนาคารพาณิชย์ไทยแล้ว ธนาคารไทยพาณิชย์ในช่วงเวลาดังกล่าวขยายตัวอย่างมาก

ความเชื่อมั่นตนเองอย่างสูง การขยายเครือข่ายในด้านอำนวยสินเชื่อกับธุรกิจอย่างกว้างขวาง ไปสู่การสร้างเครือข่ายของธนาคารไทยพาณิชย์เองอย่างมากมาย จนไม่อาจควบคุมได้ในช่วงปี 2530-2540 เป็นโมเดลของการขยายตัวใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากฐานเดิมอย่างสิ้นเชิง

การขยายตัวอย่างก้าวร้าวและรุนแรง ด้วยความมั่นใจอย่างสูงของผู้บริหารของไทยพาณิชย์ เป็นสัญลักษณ์ของความพองตัวเกินธรรมชาติของระบบเศรษฐกิจด้วย

ในปี 2530 เป็นต้นมา โมเดลการขยายตัวของธนาคารไทยพาณิชย์ มิได้จำกัดอยู่ที่บทบาทของธนาคารพาณิชย์เพียงอย่างเดียว นักบริหาร คนหนุ่มไฟแรง มองธนาคารไทยพาณิชย์เป็นเครือข่ายที่สร้างอาณาจักรธุรกิจขึ้นแวดล้อม ตามโมเดลของการเจริญเติบโตของธนาคารไทยในช่วงปี 2500-2520 โดยเฉพาะธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย

จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ยุทธศาสตร์ธนาคารไทยพาณิชย์จากนั้นขับเคลื่อนออกไปด้วยแรงจูงใจพิเศษบางประการ

หนึ่ง-ความต้องการสร้างอำนาจธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ แข็งแรงเพื่อสร้างพลังในการต่อรองกับอำนาจธุรกิจใหม่จากกลุ่มสื่อสาร กับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ทรงอิทธิพลกลุ่มใหม่ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว กำลังสั่นคลอนพลังของกลุ่มธุรกิจเดิม

สอง-กลุ่มพลังทางธุรกิจใหม่เหล่านั้นมีอำนาจมากขึ้น ข้ามพรมแดนเข้าไปสู่การเมืองอย่างน่าเกรงขาม

โดยไม่คาดคิดว่าระบบเศรษฐกิจไทยที่กำลังพองตัวนั้น กำลังมีปัญหา และในที่สุดก็ลากธนาคารไทยพาณิชย์ให้มีปัญหาหนักหนาพอสมควร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us