|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ สิงหาคม 2550
|
 |

กลุ่มอโรม่าเริ่มต้นมาจากการเป็นผู้คั่วกาแฟในชื่อ มงคลสวัสดิ์ ขายส่งกาแฟคั่วเป็นปี๊บ หรือที่รู้จักกันในชื่อของกาแฟโบราณ ซึ่งรุ่นก่อตั้งอย่างประพันธ์ วงศ์วารี ถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องกาแฟมากที่สุดคนหนึ่ง
นงนภา วงศ์วารี ลูกสาวคนที่สอง ให้นิยามพ่อของเธอว่า ทั้งตัวและหัวใจเป็นกาแฟ หากจะคุยเรื่องกาแฟกันแล้วสามารถนั่งถกเถียงพูดคุยกันได้ทั้งวัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว รุ่นที่สองทั้ง 3 คน ความเข้มข้นของกาแฟในสายเลือดก็ไม่ได้เจือจางไปกว่ากันเท่าไร
จากร้านมงคลสวัสดิ์ที่ขายส่งกาแฟทั้งทางเรือ และทางรถยนต์ ขยับขยายขึ้นมาส่งกาแฟให้กับร้านอาหาร โรงแรมต่างๆ มากขึ้น เพราะความเชี่ยวชาญและซื่อสัตย์ต่อลูกค้าทำให้ ลูกค้าเชื่อถือจนขยับขยายธุรกิจให้ใหญ่โตในภายหลัง
กาแฟคั่วในชื่อ Aroma กลายเป็นแบรนด์หลักที่ต่อยอดออกไปสู่ธุรกิจอื่นๆ ได้มากมาย ผ่านการลงมือทำงานของพี่น้อง 3 คน ที่ต้องยกประโยชน์ให้กับรุ่นพ่อที่วางรากฐานเอาไว้ให้เป็นอย่างดี
ลูกสาวคนโต วรางคณา วงศ์วารี ดูแลภาพรวมการลงทุน ของบริษัท เปรียบเหมือนแม่บ้าน ลูกสาวคนที่สอง นงนภา วงศ์วารี ดูแลเรื่องบัญชี การเงิน เหมือนกระเป๋าเงินของบ้าน และน้องชาย กิจจา วงศ์วารี ดูแลการพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ ที่แตกขยายออกมา
ธุรกิจกาแฟในมือรุ่นที่ 2 จึงเป็นการเติมส่วนที่ขาดไปให้สมบูรณ์ ไม่มีใครรู้ว่าธุรกิจกาแฟจะสามารถผลิตสินค้าอื่นๆ ประกอบได้มากมายขนาดนี้ แม้ว่ารูปแบบส่วนหนึ่งจะเห็นมาจากต่างประเทศก็ตาม แต่ผู้ประกอบการคนไทยเองยังไม่มีการ ลงทุนแบบครบวงจรอย่างนี้
อโรม่ามีโรงงานคั่วกาแฟ เนื้อที่ 10 ไร่ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีเครื่องจักรที่ทันสมัย สามารถคั่วกาแฟได้กว่า 4 ตันต่อวัน และโรงงานในประเทศเวียดนาม
จากนั้นก็มีบริษัทตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ร้านกาแฟร้านอาหาร มีร้านกาแฟ และธุรกิจอาหาร
นงนภาบอกอีกว่า เธอคลุกคลีอยู่กับกาแฟตั้งแต่เด็ก เริ่มตั้งแต่เห็นการคั่วกาแฟ บรรจุปี๊บ ช่วยส่งตามร้านหลังเลิกเรียน เวลาเล่นของเธอก็คือการช่วยงานที่บ้าน
ซึ่งน่าจะรวมความหมายถึงพี่น้องคนอื่นๆ ด้วยที่ได้สัมผัส มาตั้งแต่เล็ก
ไม่แน่ว่า หากเจาะเลือดพวกเขาทั้ง 3 คน อาจพบปริมาณ กาเฟอีนเข้มข้นก็ได้
การเติบโตของรุ่นที่สอง ส่วนหนึ่งอาจมาจากการวางรากฐานทางการศึกษา เพราะทั้งสามคนถูกส่งไปเรียนที่ University of Denver, Colorado, USA โดยวรางคณา หลังจากจบวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเครื่องกล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ไปเรียนต่อปริญญาโท เช่นเดียวกับนงนภา หลังจบจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ไปเรียนปริญญาโทด้านการเงิน ส่วนกิจจาจบมัธยมศึกษาในไทย แล้วไปต่อปริญญาตรีด้านการตลาด
เหมือนกับแบ่งงานกันดูแลไปโดยปริยาย คนหนึ่งดูโรงงาน คนหนึ่งดูการเงิน อีกคนหนึ่งดูการตลาด เท่านี้ก็สามารถเดินหน้า ธุรกิจของที่บ้านต่อได้แล้ว
ถ้าจะเปรียบพี่น้องสามคน ก็เหมือนกับคนหนึ่งเป็นแก้วกาแฟ อีกคนหนึ่งเป็นกาแฟ และอีกคนหนึ่งคือน้ำร้อนที่เมื่อนำมารวมกันแล้วกลายเป็นกาแฟหนึ่งแก้วที่รสชาติกลมกล่อม
ร้อน ขม หอม พร้อมอยู่ในกาแฟแก้วนี้
|
|
 |
|
|