Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน25 กรกฎาคม 2550
ส่งออกไม่ไว้ใจรัฐแก้บาท-บล.เฮได้วงเงินดอลลาร์หมื่นล้าน             
 


   
search resources

ธาริษา วัฒนเกส
Import-Export




ครม.ไฟเขียว 6 มาตรการ ผ่อนคลายระเบียบการฝากเงินและการโอนเงินตราต่างประเทศ หวังคุมไม่ให้เงินบาทแข็งค่า ขณะที่แบงก์ชาติอนุมัติวงเงินลงทุนต่างประเทศเพิ่มเป็น 10,000 ล้านดอลลาร์ ให้ก.ล.ต.ไปจัดสรรแก่ บล.ที่ต้องการไปลงทุนโดยตรง ขณะที่ผู้ส่งออกไม่วางใจ ขอ 2 สัปดาห์เกาะติดมาตรการรัฐดูแลค่าบาท เมื่อเห็นทิศทางชัด-บาทนิ่งค่อยรับออร์เดอร์

วานนี้ (24 ก.ค.) นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว. อุตสาหกรรม นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง และนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมแถลงถึงมติคณะที่รัฐมนตรี (ครม.) ที่เห็นชอบ มาตรการ “การผ่อนคลายระเบียบการฝากเงินและการโอนเงินตราต่างประเทศ” เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้การบริหารการผันผวนของเงินและอัตราแลกเปลี่ยนทำได้ง่ายขึ้น

นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท. เปิดเผยว่า ครม.ได้พิจารณาและอนุมัติเห็นชอบ มาตรการแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็ง ที่ทางกระทรวงการคลังและ ธปท.เสนอ โดยการผ่อนคลายการโอนเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศให้มีความสมดุลมากขึ้น และสนับสนุนให้ภาคเอกชนไทยมี ความคล่องตัวในการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย โดยมี มาตรการ 6 ข้อ ได้แก่ 1.การอนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นำเงินออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศได้ไม่เกิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐ/ปีโดยบริษัทดังกล่าวจะต้องมีส่วนผู้ถือหุ้นเป็นบวก และไม่อยู่ในกลุ่มที่เข้าข่ายถูกเพิกถอนจากการจดทะเบียน

2.การอนุญาตให้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลในประเทศไทยฝากเงินตราต่างประเทศกับสถาบันการเงินได้คล่องตัวขึ้น โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศนั้น หากเป็นผู้ที่มีภาระผูกพันเป็นเงินตราต่างประเทศ กรณีเป็นบุคคลธรรมดาสามารถฝากได้ไม่เกิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐ และนิติบุคคลฝากได้ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนผู้ทีไม่มีภาระฯ หากเป็นบุคคลธรรมดาจะสามารถฝากได้ 1 แสนเหรียญสหรัฐ และนิติบุคคล 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ส่วนผู้ที่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศจากในประเทศไทยหากเป็นผู้ที่มีภาระผูกพันเป็นเงินตราต่างประเทศ กรณีบุคคลธรรมดาสามารถฝากเงิน 5 แสนเหรียญสหรัฐ นิติบุคคล 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนผู้ที่ไม่มีภาระเป็นเงินตราต่างประเทศ บุคคลธรรมดาสามารถฝากได้ 5 หมื่นเหรียญสหรัฐและนิติบุคคล 2 แสนเหรียญสหรัฐ

3.ขยายเพดานการโอนเงินข้ามประเทศเป็นไม่เกิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐ/คน/ปี สำหรับการโอนไปให้ญาติที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศการบริจาคเงิน และการซื้ออสังหาริมทรัพย์ 4.ให้ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศถือครองเงินตราต่างประเทศภายนอกประเทศได้นานขึ้น โดยให้นำเข้ามาในประเทศภายใน 360 วัน จากเดิมกำหนดไว้เพียง 120 วัน 5. ยกเลิกระยะเวลาถือครองเงินตราต่างประเทศภายในประเทศจาก 15 วันเป็นไม่จำกัดระยะเวลา

6. การปรับปรุงเงื่อนไขการนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนประเภทสถาบันในรูปเงินฝากกับสถาบันการเงินต่างประเทศได้โดยไม่ต้องขออนุญาต โดยให้นับรวมกับวงเงินที่สามารถไปลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศ

ทั้งนี้ มาตรการที่ประกาศ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2550 ยกเว้นการขยายระยะเวลาให้นำเงินตราต่างประเทศกลับเข้าประเทศตามข้อ 4 ให้มีผลในวันถัดจากวันประกาศกฎกระทรวงใน ราชกิจจานุเบกษา ซึ่ง ธปท. จะประกาศให้ทราบอีกครั้ง และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องสามารถดูได้จาก Website ของ ธปท. ที่ www.bot.or.thภายใต้หัวข้อ "เรื่องเด่น" และข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้จากศูนย์ Hot-line ธปท. โทร. 0-2283-6000

เพิ่มวงเงิน บล.เป็นหมื่นล้านดอลล์

นางธาริษากล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของการไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ธปท.ได้เพิ่มวงเงินเป็น 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากวงเงินเดิมที่เคยอนุมติให้ 6,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขณะนี้วงเงินดังกล่าวยังใช้ไม่เต็มวงเงิน โดยมีการใช้ไปเพียง 25% เท่านั้น โดยวงเงินดังกล่าว ก.ล.ต.จะเป็นผู้จัดสรร ซึ่งการไปลงทุนในต่างประเทศประชาชนสามารถลงทุนผ่านกองทุนรวมซึ่งบริษัทหลักทรัพย์จัดตั้งขึ้น คาดว่าไม่เกิน 2 สัปดาห์ มาตรการดังกล่าวนี้น่าจะประกาศใช้ได้ ทั้งนี้ ธปท.จะไม่มีการกำหนดเวลา หากวงเงินที่ให้ไปใช้หมดหากต้องการจะขอเพิ่มอีก หากอยู่ในวิสัยทัศน์ที่ธปท.จะเพิ่มให้ได้ก็จะเพิ่มให้อีก

“ในส่วนของ บล.เท่าที่ได้คุยกัน ขณะนี้มีผู้ลงทุนในประเทศต้องการนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศประมาณ 1 แสนล้านบาท ก็แสดงให้เห็นว่าภาคเอกชนมีความต้องการที่จำนำเงินออกไปลงทุนจริง ประกอบกับในส่วนของทางการเองก็เปิดช่องทางให้แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นความเห็นที่ตรงกัน อย่างไรก็ตาม คิดว่ามาตรการที่ออกมาทั้ง 6 ข้อ เป็นมาตรการที่เป็นประโยชน์ ซึ่งได้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนแล้ว ซึ่งมาตาการนี้ก็สอดคล้องกับข้อเสนอของ กกร.เสนอมา” ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าว ***(อ่าน...ขาใหญ่คึกลงทุนหุ้นต่างประเทศ...หน้า 30)***

ในส่วนของการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี วงเงิน 5,000 ล้านบาท นั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า จะมีการตั้งเป็น 2 กองทุนย่อย โดยกองทุนแรก วงเงิน 4,500 ล้านบาท ธปท.จะสมทบเงิน 50%และธนาคารพาณิชย์ 50% ส่วนกองทุนที่ 2 วงเงิน 500 ล้านบาท ธปท.จะสมทบเงินให้ 90% และธนาคารพาณิชย์ สมทบเงิน 10% ทั้งนี้ ในส่วนของกองทุนที่ 2 วงเงิน 500 ล้านบาท นั้น ธปท.ต้องการช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีจริงๆ ซึ่งอาจจะมีปัญหาทางธุรกิจ แต่ยังมีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามา ซึ่งการที่ธปท.เข้าไปช่วยจะช่วยลดต้นทุนในการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ คือ ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องมีภาระในการกันสำรองหนี้จัดชั้น

“สำหรับการคิดอัตราดอกเบี้ย ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดชัดเจน แต่จะเป็นการปล่อยกู้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟโลนส์) ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยจะถูกกว่าท้องตลาด ซึ่งคิดว่าการตั้งวงเงินช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี คงไม่ใช่เรื่องยุงยากอะไรเพราะธปท.ก็เคยให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจมาแล้ว เช่น การให้ความช่วยเหลือแก่ภาคธุรกิจใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น” ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าว

เร่งกองทุนSMEให้เสร็จสิ้นเดือน

สำหรับ 2 มาตรการที่ต้องดำเนินการต่อไปนั้น นายโฆสิตเปิดเผยว่า ประกอบด้วย 1. การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากค่าเงินที่แข็งค่านั้น ครม.ได้เห็นชอบ ให้ตั้งกองทุน SMEs โดย ธปท.และสมาคมธนาคารไทยจะร่วมกันดำเนินการพิจารณาเงื่อนไขและรายละเอียดในวงเงิน 5,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการได้ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ กับ 2. การดูแลเงินตราต่างประเทศยังมีมาตรการทางการคลัง ที่จะสนับสนุนการส่งออก เป็นเรื่องที่คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กกร.) เสนอในเรื่องของการคืนการเร่งรัดคืนภาษีมุมน้ำเงินของกรมศุลกากร และภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากปีนี้เป็นการเปลี่ยนรหัสของสินค้า จาก 6 หลัก เป็นตัวเลข 8 จึงคืนภาษีได้ช้า กว่าในอดีตโดยจะต้องกำหนดอัตราและประกาศกระทรวงการคลังใหม่โดยเร็ว

ให้ดูเงินบาทหลังออกมาตรการ

นายฉลองภพกล่าวว่า หลังจากที่ออกไปมาตรการไปแล้ว ค่าเงินบาทได้ปรับดีขึ้นแล้ว เพราะไม่ใช่มาตราการที่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนหรือแข็ง แต่เป็นการเอื้อให้คนถือเงินตราต่างประเทศได้ง่ายขึ้น แม้จะมีมาตรการออกมา ก็จะต้องมีกระบวนการบริหารจัดการ การไหลเข้าออกของเงินจากต่างประเทศ ดังนั้นระบบการจัดการ ณ วันนี้จึงสามารถดูแลเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนไปค่อนข้าวดี จะเห็นจากการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่อ่อนลง ส่วนจะอ่อนกลับไปที่ 35 หรือ 36 บาทหรือไม่นั้น รัฐบาลคงจะพูดไม่ได้เพราะเป็นเรื่องของสภาพตลาดที่จะต้องดูกันต่อไป

นายโฆสิตกล่าวว่า การดูแลค่าเงินให้มีเสถียรภาพ เป็นค่าเงินที่เปลี่ยนได้ แต่การเปลี่ยนแปลงนี้จะดูและให้ไม่ผันผวน และดูแลประเทศคู่เทียบ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เพราะฉะนั้นไม่ประเทศคู่เทียบใดที่อยู่นิ่ง เพราะฉะนั้นจึงขอให้เข้าใจว่า เราเป็นประเทศหนึ่งในหลายๆ ประเทศที่ใช้ระบบการบริหารจัดการทางการเงินลักษณะเดียวกับประเทศเพื่อนบ้าน ถือว่าไม่ใช่วัตถุประสงค์ อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้เชื่อว่ายังจะคุมสถานการณ์ต่อไปได้

ส่งออกเกาะติดมาตรการรัฐ 2 สัปดาห์

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า มาตรการที่รัฐบาลออกมานั้นถือว่าเป็นนโยบายที่ดีที่จะสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ส่งออกได้ระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามจะได้ผลหรือไม่คงต้องขอติดตามอย่างน้อย 2 สัปดาห์จึงจะพอเห็นทิศทางซึ่งหากมีผลทำให้บาทนิ่งขึ้นเชื่อว่าจะมีผลให้ผู้ส่งออกกล้าที่จะรับยอดคำสั่งซื้อหรือออร์เดอร์การผลิตที่เริ่มเข้ามาในการรองรับเทศกาลปีใหม่มากขึ้นก็จะทำให้ภาพรวมการส่งออก 6 เดือนหลังของปีนี้ยังจะขยายตัวได้ดีอยู่

“ขณะนี้เอกชนก็ติดตามใกล้ชิดหากมาตรการที่รัฐออกมาล่าสุด 6 มาตรการนี้มีผลในทางปฏิบัติได้จริงก็จะทำให้ทุกอย่างไปได้ด้วยดีและจะทำให้ส่งออกโตมากกว่านี้เพราะขณะนี้มีออเดอร์เริ่มเข้ามาแล้วเพื่อรองรับความต้องการช่วงสิ้นปีแต่หลายรายไม่กล้ารับเพราะเกรงว่าจะขาดทุน”นายธนิตกล่าว

ไม่แน่ใจจะฝากเงินดอลล์ได้

ทั้งนี้มาตรการที่ให้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดาเปิดบัญชีฝากเงินในรูปดอลลาร์สหรัฐนั้นถือเป็นนโยบายที่ดีที่จะทำให้มีผู้เล่นมากขึ้นนอกเหนือจากธปท.แต่ก็ไม่แน่ใจว่าสุดท้ายจะมีคนฝากหรือไม่เพราะหากไม่มั่นใจว่าบาทจะนิ่งก็คงยากที่จะเสี่ยงประกอบกับผู้ส่งออกและประชาชนเองก็ไม่ได้มีเงินมากเพราะจะต้องนำมาหมุนเวียนในการทำธุรกิจด้วย

นายไพบูลย์ พลสุวรรณา รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้ก็เริ่มเห็นว่าค่าเงินบาทเริ่มอ่อนลงเล็กน้อยดังนั้นมาตรการที่รัฐออกมาล่าสุดนี้จะมีผลมากน้อยเพียงใดก็จะต้องติดตามอีกระยะหนึ่งแน่นอนว่ามาตรการดังกล่าวถือว่ามาถูกทางแล้วแต่จะได้ผลหรือไม่ก็ต้องติดตามเพราะมาตรการก่อนหน้านั้นก็ดูเหมือนจะใช้ได้ระยะหนึ่งหลังจากนั้นก็มีปัญหา

เตือนเลือกตั้งบาทจะแข็งต่อ

นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวยอมรับว่า ผู้ประกอบการไทยที่ผ่านมาได้ปรับตัวต่อภาวะค่าเงินบาทระดับหนึ่งแล้วหากค่าบาทนิ่งคงไม่เป็นปัญหาแต่ที่เป็นปัญหาที่ผ่านมาเพราะบาทแข็งค่าเร็วเกินไปดังนั้นมาตรการที่รัฐออกมา 6 ข้อตามที่เอกชนเสนอเชื่อว่าจะดูแลปัญหาค่าบาทได้อย่างดีและถือว่าตรงจุด อย่างไรก็ตามปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าจะต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติคือสะท้อนตลาดภูมิภาคซึ่งหากรัฐธรรมนูญผ่านแล้วมีการเลือกตั้งจะทำให้ค่าเงินบาทของไทยมีโอกาสแข็งค่าต่ออีก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us