Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2550
ผกายมาศ เวียร์รา ผู้ล้างอาถรรพ์แม่น้ำโขง             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ เอกรัตน์ บรรเลง
 

   
related stories

ประตู (อินโด) จีน เปิดแล้ว !!!
แพร่ธำรงวิทย์ กับก้าวกระโดดครั้งใหญ่
โอกาสของธุรกิจไทย ในแนวเส้นทางหมายเลข 9

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท แม่โขง เดลต้า ทราเวล เอเจนซี่ จำกัด

   
search resources

วัฒนา อัศวเหม
Tourism
Transportation
สมหญิง เสรีวงศ์
ผกายมาศ เวียร์รา
แม่โขง เดลต้า ทราเวล เอเจนซี่
ขนส่งเทียนต๋าสิบสองปันนา




จากประสบการณ์ค้าขายในพื้นที่มานับ 10 ปี วันนี้ ผกายมาศ เวียร์รา มองเห็นแล้วว่าช่องทางลงทุนที่ดีที่สุดในย่านสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจคืออะไร แม้ว่าช่องทางนี้เหมือนมีอาถรรพ์ เพราะมีหลายรายที่เคยเข้ามาทำแล้ว แต่ไปไม่รอด

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ผู้คนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขง ช่วงตั้งแต่หลวงพระบางของลาว ขึ้นมาถึงเชียงของ เชียงแสนของไทย ผ่านพม่าขึ้นไปถึงเชียงรุ่ง สิบสองปันนา ต้องแปลกใจที่เห็นเรือรูปร่างไม่ชินตา 3-4 ลำ อาทิ เรือสำราญขนาดใหญ่ เรือยอชต์ สปีดโบ๊ต วิ่งขึ้น-ล่องในเส้นทางนี้ โดยมีผู้โดยสารที่เป็นนักท่องเที่ยวอยู่บนเรือจำนวนมาก

เหตุเพราะความคุ้นเคยของชาวบ้านแถบนี้ เรือส่วนใหญ่ที่อาศัยลำน้ำโขง ถ้าไม่เป็นเรือพาย หรือเรือหางยาวของชาวบ้าน ก็ต้องเป็นเรือขนส่งสินค้า จะมีบ้างที่เป็นเรือขนส่งนักท่องเที่ยว แต่ก็ไม่หรูหราเหมือนเรือนำเที่ยวที่พวกเขาเพิ่งพบเห็นในช่วงนี้

"วันก่อนเราเอาเรือลำนี้วิ่งไปหลวงพระบาง ชาวบ้านตกใจกันใหญ่ เพราะไม่เคยเห็น ออกมายืนดูกันเต็มฝั่งแม่น้ำ" ผกายมาศ เวียร์ร่า กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทแม่โขง เดลต้า ทราเวล เอเจนซี่ บอกกับ "ผู้จัดการ"

เรือลำที่เธอว่า ชื่อเรือ "นกยูงทอง" เป็นเรือท่องเที่ยวที่มีห้องพักอยู่ในตัว จำนวน 22 ห้อง สามารถจุผู้โดยสารได้ถึง 76 คน และสามารถขยายได้ถึง 130 คน หากผู้โดยสารไม่พักบนเรือ

แม่โขง เดลต้า ทราเวล เอเจนซี่ ได้เปิดให้บริการเดินเรือโดยสารในลำน้ำโขงตั้งแต่เดือนธันวาคม 2549 ในเส้นทางระหว่างเชียงแสน-สิบสองปันนา กับเชียงของ-หลวงพระบาง

ปัจจุบันมีเรืออยู่ทั้งสิ้น 4 ลำ นอกจากเรือนกยูงทองที่กล่าวถึงข้างต้นแล้วยังมีเรือ "สามเหลี่ยม ทองคำ 8" ที่สามารถจุผู้โดยสารได้ 68 คน กับเรือ "เทียนต๋า" 1 และ 2 ที่สามารถจุผู้โดยสารได้ลำละ 48 คน

จุดเด่นของเรือทั้ง 4 ลำ คือได้รับการออกแบบมาสำหรับวิ่งในลำน้ำโขงเป็นการเฉพาะ โดยบริษัทต่อเรือในจีน การออกแบบเรือ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างวิศวกรที่ชำนาญ การต่อเรือในลำน้ำต่างๆ ของจีน กับ "นายน้ำ" ที่รู้จักร่องน้ำในลำน้ำโขงเป็นอย่างดี เนื่องจากแม่น้ำโขงช่วงตั้งแต่สิบสองปันนาลงมาถึงหลวงพระบาง นอกจากกระแสน้ำจะเชี่ยวกราก แล้วยังมีเกาะแก่ง โขดหินเป็นจำนวนมาก ซึ่งเคยเป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือแถบนี้มาแล้วในอดีต ดังนั้นเรือส่วนใหญ่ที่สามารถวิ่งขึ้น-ล่องบริเวณนี้ได้ นอกจากคนควบคุมเรือจะต้องรู้จัก กระแสน้ำ ร่องน้ำ เกาะแก่งต่างๆ อย่างดีแล้ว เรือจะต้องกว้าง เพื่อให้ท้องเรือกินน้ำไม่ลึก

"อย่างเรือสามเหลี่ยมทองคำ 8 นี่ กินน้ำประมาณ 80 เซนติเมตรถึง 1 เมตร"

เรือทั้ง 4 ลำเป็นเรือสัญชาติจีน กัปตัน ผู้ควบคุมเรือ ก็เป็นชาวจีน ที่เคยมีประสบ การณ์ในการคุมเรือขนส่งสินค้าในย่านนี้มาก่อนแล้ว สำหรับเส้นทางจากเชียงแสนขึ้นไปถึง สิบสองปันนา ทั้งกัปตัน ช่างเครื่อง และลูกเรือ จะใช้คนจีนทั้งหมด ส่วนเส้นทางจากเชียงของ ลงมายังหลวงพระบาง นอกจากกัปตันกับช่างเครื่องที่เป็นคนจีนแล้วยังเสริมกัปตันมือ 2 กับลูกเรือบางส่วนที่เป็นคนลาว

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้แม่โขง เดลต้า ทราเวล เอเจนซี่ กำลังสั่งต่อเรือเพิ่มอีก 2 ลำ เพื่อนำมาเสริม โดยเรือทั้ง 2 ลำ จะจดทะเบียน เป็นเรือสัญชาติไทย

แม่โขง ทราเวล เอเจนซี่ เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างผกายมาศกับบริษัทขนส่งเทียนต๋าสิบสองปันนา (CICS) รัฐวิสาหกิจทาง ด้านการท่องเที่ยวของรัฐบาลมณฑลยูนนานของจีน โดย CICS จะรับผิดชอบเรื่องเรือและการเดินเรือ ขณะที่ผกายมาศรับผิดชอบเรื่องการบริหารการตลาด

แม้จะเริ่มเปิดดำเนินการมาตั้งแต่เดือน ธันวาคมปีที่แล้ว แต่ผกายมาศเพิ่งทำพิธีเปิดตัวบริษัทอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยมี พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี เดินทางมาเป็นประธานในพิธี

ผกายมาศเป็นนักธุรกิจหญิงที่ช่ำชองการค้าในพื้นที่สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจมานานนับสิบปี

เธอไม่ใช่คนในพื้นที่ ปูมหลังของเธอเคยเป็น ผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์ดาวสยาม และบรรณาธิการ นิตยสารเปรียว ก่อนจะออกมาทำสารคดีโทรทัศน์ เกี่ยวกับพื้นที่ชายแดนในแถบประเทศอินโดจีน

งานสารคดีโทรทัศน์ทำให้เธอสามารถสร้าง สายสัมพันธ์กับคนในพื้นที่ จนถูกขอให้เป็นผู้ประสานงานให้กับนักธุรกิจที่ต้องการเข้าไปลงทุน ในย่านนี้ เริ่มจากเวียดนามเป็นจุดแรกจนเธอมอง เห็นช่องทางและออกมาค้าขายด้วยตัวเอง

ก่อนออกมาเปิดบริษัทแม่โขง เดลต้า ทราเวล เอเจนซี่ ผกายมาศเป็นผู้บริหารร้านสินค้าปลอดภาษีในเมืองท่าขี้เหล็กของพม่า 2 สาขา คือ Tachileik Inter Shop Duty Free กับ Allure Duty Free Shop และร้านค้าปลอดภาษี ในเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้วของลาว ในชื่อ Lao Duty Free Shop รวมถึงร้าน Chiang Rai Intershop ในสนามบินนานาชาติเชียงราย

เธอเล่ากับ "ผู้จัดการ" ว่าจากประสบการณ์ที่ค้าขายในย่านสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจมานานนับสิบปี ทำให้เห็นช่องทางว่าถึงที่สุดแล้วการลงทุนที่ดีที่สุดในย่านนี้ก็คือการคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะทางน้ำผ่านทางแม่น้ำโขง ซึ่งมีต้นทุนต่ำ

แต่ในอดีต คนส่วนใหญ่มักมองว่าการเดินทางในแม่น้ำโขงเป็นอันตราย ซึ่งตรงข้ามกับความเป็นจริงในปัจจุบัน เธอจึงใช้วิธีการเปิดบริษัทเดินเรือท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดให้คนทั่วไปได้เข้ามารับรู้ว่าการเดินเรือในแม่น้ำโขงทุกวันนี้มีความปลอดภัยแล้ว

กับแนวคิดที่คนส่วนใหญ่กำลังมองว่าโครงข่ายคมนาคมที่กำลังได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นรูปธรรม จะเป็นโอกาสทางการค้าของไทยที่สามารถส่งสินค้าเข้าไปขายในจีนได้นั้น เธอมีมุมมอง ที่แตกต่างและน่าสนใจว่า การค้าขายกับจีนนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือการควบคุมต้นทุนให้ต่ำ เพื่อให้เกิดข้อได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะจีนเป็นประเทศที่มีพื้นที่และประชากรจำนวนมาก หากสินค้าใดที่ส่งเข้าไปขายในจีน มีราคาแพงเกินไป จีนสามารถผลิตเองได้ก็จะผลิต

เธอยกตัวอย่างสินค้า 2 ชนิดคือน้ำมันปาล์ม และยางพารา ซึ่งเป็นสินค้าหลักที่ส่งออก จากไทยทางเชียงแสนเข้าไปในจีนเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันจีนเริ่มปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมันขึ้นมาเองแล้ว ซึ่งจะผลต่อตลาดของสินค้าทั้ง 2 ชนิดในจีนในอนาคตที่อาจเปลี่ยน ไป ถ้าไม่สามารถแข่งกับยางพาราหรือน้ำมันปาล์มที่จีนผลิตออกมาขายเองได้

"ถ้าเราไม่สามารถส่งของเข้าไปขายเขา ได้ ก็เปลี่ยนเป็นว่าทำยังไง ที่จะดึงให้เขาเดินทางเข้ามาใช้จ่ายในประเทศไทย จะดีกว่า" เธอให้แง่คิด

ปัจจุบัน ลูกค้าหลักของแม่โขง เดลต้า ทราเวล เอเจนซี่ นอกจากนักท่องเที่ยวทั่วไปแล้ว ยังมีข้าราชการและนักธุรกิจจีน ที่เดินทาง เข้าออกระหว่างสิบสองปันนากับประเทศไทย เพื่อประชุมและดูงาน ซึ่งเที่ยวหนึ่งๆ จะมีลูกค้า ในกลุ่มนี้ประมาณ 40-50 คน

แม่โขง เดลต้า ทราเวล เอเจนซี่ ใช้จุดขายที่เป็นการคมนาคมทางเลือกระหว่างสิบสองปันนากับเชียงราย ที่มีราคาถูกกว่า เพราะปัจจุบัน การเดินทางจากสิบสองปันนา มาเชียงราย มีเพียงบริษัทบางกอกแอร์เวย์สเพียงรายเดียว ที่เปิดเที่ยวบินตรงอยู่ และมีราคาแพงกว่าการเดินทางโดยเรือโดยสาร

มิเช่นนั้น คนที่จะเดินทางก็ต้องไปขึ้นเครื่องบินจากเมืองคุนหมิง ซึ่งมีสายการบินให้เลือกมากกว่า

สำหรับเส้นทางระหว่างเชียงแสนถึงสิบสองปันนานั้น แม่โขง เดลต้า ทราเวล เอเจนซี่ คิดค่าโดยสารราคาเที่ยวละ 750 หยวน หรือประมาณ 4,000 บาท แต่ถ้าไปกลับเท่ากับ 1,500 หยวน หรือประมาณ 7,500 บาท

ผกายมาศถือเป็นนักธุรกิจหญิงรายล่าสุดที่อาจหาญเข้ามาลงทุนในลำน้ำโขง ซึ่งในอดีตมีคนที่เจ็บปวดกับที่นี่ไปแล้วหลายราย อาทิ

- กลุ่ม "วัฒนา อัศวเหม" แห่ง MP กรุ๊ป ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในการลงทุนทำอู่ต่อเรือที่เชียงแสน-ห้างสรรพสินค้าห้าเชียงพลาซ่า ได้รับใบอนุญาตเดินเรือท่องเที่ยวในแม่น้ำโขง รวมมูลค่าการลงทุนหลายพันล้านบาท ตั้งแต่ 10 กว่าปีก่อน แต่ปัจจุบันกลับมีเพียงสิ่งปลูก สร้างที่ถูกทิ้งร้าง

- กลุ่ม "ตะวันอีสาน" ของ "สมหญิง เสรี วงศ์" ที่เข้ามาลงทุนต่อจากกลุ่ม MP ของวัฒนา ทั้งเช่าพื้นที่ห้าเชียงพลาซ่า เปิดเดินเรือนำเที่ยวในแม่น้ำโขงระหว่างเชียง แสน-เชียงรุ่ง สิบสองปันนา เปิดห้างสรรพสินค้าที่เมืองเชียงรุ่ง เพื่อใช้เป็นโชว์รูมสินค้าจากประเทศภาคีสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เพื่อทำตลาดในจีนตอนใต้ สุดท้ายก็ต้องม้วนเสื่อกลับเช่นกัน

- กลุ่ม "มณีต้าหมิง" ของ "กัลยาณี รุทระกาญจน์" ที่เข้าไปลงทุนเปิดศูนย์กระจายสินค้า ในมณฑลตอนใต้ของจีน รวมทั้งเปิดเดินเรือ "คอนเทนเนอร์" ระหว่างเชียงแสน-เชียงรุ่ง เพื่อขนส่งสินค้าทางตู้ผ่านมาแม่น้ำโขง แต่ก็ยังไม่สามารถแจ้งเกิดได้อย่างเต็มตัว แม้ว่าจีนจะพัฒนาท่าเรือ กวนเหล่ย เมืองเชียงรุ่ง ให้เป็นท่าเรือสำหรับการขนส่งทางตู้ พร้อมกับลงทุนทำทางด่วนจากท่าเรือกวนเหล่ย-เชียงรุ่ง แล้วก็ตาม

มีเพียงกลุ่มทุนท่องเที่ยวท้องถิ่นเชียงราย เช่น แม่สลองทัวร์ของถนอมศักดิ์ เสรีวิชยสวัสดิ์ อดีตประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย สี่เลนทัวร์ ของชูศักดิ์ ไตรศรีศิลป์ อดีตรองประธานหอการค้าเชียงราย ที่ยังคงทำทัวร์ผ่านแม่น้ำโขงมาถึงปัจจุบัน แต่เป็นลักษณะการเช่าเรือสัญชาติ จีนเป็นครั้งคราวตามกรุ๊ปทัวร์ที่มีเข้ามา ไม่เสี่ยงที่จะเข้าไปร่วมทุน หรือลงทุนในสินทรัพย์ถาวรแต่อย่างใด รวมทั้งกลุ่ม "แม่เลี้ยงติ๊บ" ทิพย์วรรณ เชื้อเจ็ดตน ทุนชายแดนแม่สายที่เติบโตมากจากการค้าพืชผลทางการเกษตรระหว่างไทย-พม่า และไทย-จีน มานานจนมีสายสัมพันธ์แนบแน่นทุกระดับ

ที่เหลือจะเป็นกลุ่มทุนจากจีนแทบทั้งสิ้น ที่ยึดครองลำน้ำโขงตอนบนอยู่ โดยเฉพาะในธุรกิจเดินเรือสินค้าที่ปัจจุบันมีมากกว่า 100 ลำนั้น ทั้งหมดล้วนแต่เป็นเรือสัญชาติจีนทั้งสิ้น

ผกายมาศเชื่อว่า การท่องเที่ยวผ่านน้ำโขงตอนบนจะขยายตัวอีกมาก เพราะปัจจุบันคนไทย สามารถเดินทางเข้าจีนได้โดยนำพาสปอร์ตไปประทับตราเข้าที่เชียงรุ่งได้เลย ขณะที่นักท่องเที่ยว ต่างประเทศที่เข้าจีนด้านอื่นๆ สามารถเดินทางออกทางเชียงรุ่ง เข้าไทยที่เชียงแสนได้เช่นกัน

นอกจากนี้ตลอดเส้นทางแม่น้ำโขงยังมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อีกมาก

ผกายมาศ และแม่โขง เดลต้า ทราเวล เอเจนซี่ จึงเป็นที่น่าจับตาว่าจะเป็นบุคคลที่สามารถ ลบภาพในอดีตของการเดินเรือท่องเที่ยวผ่านลำน้ำโขงในเส้นทางนี้ได้หรือไม่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us