Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2550
ลั่นช้างเจียง ลมหายใจสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ เอกรัตน์ บรรเลง
 


   
search resources

Economics
International




ภายใต้แนวคิดการขนส่งทางน้ำมีต้นทุนต่ำ ไม่ต้องลงทุนพัฒนามากเหมือนการตัดถนนขึ้นใหม่ ทำให้แม่น้ำโขง หรือที่คนจีนเรียกว่า "ลั่นช้างเจียง" แม่น้ำที่มีความยาวมากกว่า 4,800 กิโลเมตร มีต้นน้ำอยู่ติดกับทิเบต ไหลผ่านจีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม ก่อนออกสู่ทะเล

โดยเฉพาะแม่น้ำโขงตอนบน จากเมืองเชียงรุ่ง เขตปกครองพิเศษสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ผ่านชายแดนพม่า ลาว และชายแดนเชียงรายของไทยถึงหลวงพระบาง เมืองมรดกโลก ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาภายใต้กรอบ "สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ" มาอย่างต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2543 ตัวแทนรัฐบาล 4 ชาติ ได้แก่ ไทย พม่า ลาว และจีน ได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำโขงตอนบน (Agreement on Commercial Navigation on Lancang-Mekong River) ที่ อ.ท่าขี้เหล็ก สหภาพพม่า และให้มีผลบังคับใช้ภายใน 1 ปีหลังลงนาม ก่อนที่จะทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2544 ณ เมืองเชียงรุ่ง เขตปกครองพิเศษสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน

ซึ่งตามข้อตกลงจะมีท่าเรือพาณิชย์ตลอดแนว 14 แห่งคือ

จีน : ท่าเรือซือเหมา, จิ่งหง (เชียงรุ่ง), เหมิ่งหาน และกวนเหล่ย

ลาว : ท่าเรือบ้านทราย, เชียงกก, เมืองมอม, บ้านคูน, ห้วยทราย และหลวงพระบาง

พม่า : ท่าเรือ Wan Seng และท่าเรือบ้านปง

ไทย : ท่าเรือเชียงแสน และท่าเรือเชียงของ

แต่ยุคแรกของการขนส่งผ่านแม่น้ำโขง เกิดปัญหาเรื่องเกาะแก่งตามธรรมชาติของลำน้ำ ทำให้เรือขนาด 60 ตันเท่านั้นที่ผ่านได้ ภาคี 4 ประเทศจึงมีมติร่วมกันปรับปรุงควบคุมลำน้ำโขง เพื่อเปิดร่องน้ำให้เรือขนาดใหญ่ 100-300-500 ตัน แล่นผ่านได้การจัดหา-ติดตั้งป้ายเครื่องหมาย 206 ชุด การติดตั้งสถานีรอก-สะพานคนเดิน 6 สถานี โดยรัฐบาลจีนเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายจำนวน 42,087,600 หยวน

ซึ่งจนถึงปัจจุบันเกาะแก่งในแม่น้ำโขงที่เคยเป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือท่องเที่ยว-ขนส่งสินค้า ถูกระเบิดทิ้งไปแล้วบางส่วน เหลือเพียงบริเวณเหนือสามเหลี่ยมทองคำขึ้นไปเพียง 2-3 จุด และเกาะแก่งบริเวณชายแดนไทย-ลาว แถบตอนใต้ของ อ.เชียงของ-อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เท่านั้น ที่ยังไม่ได้ดำเนินการเพราะถูกต่อต้านจากกลุ่มนักอนุรักษ์

นอกจากนี้จีนยังมีนโยบายสร้างเขื่อนบนลั่นช้างเจียง (แม่น้ำโขงในเขตจีน) เบื้องต้นมีโครงการที่เป็นรูปธรรมแล้ว 8 เขื่อน สร้างเสร็จแล้ว 2 เขื่อน คือเขื่อนม่านวาน กับเขื่อนต้าเฉาซาน ขณะนี้กำลังสร้างเพิ่ม คือเขื่อนเซียววาน เป็นต้น

ซึ่งระหว่างที่จีนก่อสร้างเขื่อนต่างๆ นี้ได้สะท้อนให้คนไทยเห็นผ่านระดับน้ำในแม่น้ำโขงเป็นระยะๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งรอบ 3-4 ปีที่ผ่านมา เรือสินค้าที่วิ่งขึ้น-ล่องระหว่างเชียงรุ่ง-เชียงแสนจะวิ่งได้ 1 วัน หยุด 3 วัน เนื่องจากประตูเขื่อนของจีน ที่ตั้งอยู่บนลั่นช้างเจียงจะเปิด 1 วัน ปิด 3 วัน

แน่นอน การเดินเรือในแม่น้ำโขงทั้งหมดจากเชียงรุ่ง-เชียงแสน ระยะทาง 380 กิโลเมตรโดยประมาณ ต้องขึ้นอยู่กับระดับน้ำจากประตูเขื่อนบนลั่นช้างเจียงของจีน อย่างเลี่ยงไม่พ้นเช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us