Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2550








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2550
R3b เส้นทางที่ต้องมีพี่เลี้ยง             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ เอกรัตน์ บรรเลง
 


   
search resources

Economics
International




คำกล่าวที่ว่า "สามเหลี่ยมทองคำ เหมือนแดนสนธยา" นั้น เป็นที่รับรู้กันว่า น้ำหนักจะเทไปในพื้นที่ฝั่งพม่ามากกว่าประเทศอื่นๆ อย่าง จีน ลาว และไทย ซึ่งนอกจากจะมีปัญหาการเมืองภายในที่ต่อเนื่องยาวนานหลายสิบปีแล้ว ยังเป็นเพราะปัญหาชนกลุ่มน้อยที่ยังมีอิทธิพลในแต่ละพื้นที่อยู่ โดยเฉพาะรัฐฉานที่เป็นส่วนหนึ่งของ "สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ"

และนั่นทำให้ถนนสาย R3b ที่เริ่มต้นจากท่าขี้เหล็ก รัฐฉานของพม่า (ตรงข้าม อ.แม่สาย จ.เชียงราย) เชียงตุง-เมืองลา (ชายแดนพม่า-จีน) ระยะทาง 253 กิโลเมตรซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับถนนในจีนที่ต้าลั้ว-เชียงรุ่ง เขตปกครองพิเศษสิบสองปันนาได้นั้น แม้ว่าการพัฒนาเส้นทางจะเสร็จสมบูรณ์เป็นถนนลาดยางขนาด 2 ช่องจราจร ตั้งแต่ปลายปี 2547 ที่ผ่านมา โดยส่วนหนึ่งเป็นฝีมือของบริษัทหงปังอิมพอร์ตเอ็กซ์พอร์ต จำกัด กิจการในเครือข่ายของกลุ่มว้าแล้วก็ตาม

แต่การใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าทั้งจากจีน-ไทย และไทย-จีน ยังมีปัญหาอยู่ไม่น้อย

ซึ่งปัญหาที่ผู้ที่ผ่านไปมาบนเส้นทางสายจะเห็น และสัมผัสได้ก็คือ "ด่าน" ที่มีมากกว่า 10 จุด เป็นด่านหลัก 3 ด่าน โดยเฉพาะช่วงท่าขี้เหล็ก-เชียงตุง ระยะทาง 163 กิโลเมตร ที่เป็นช่วงที่บริษัทหงปังรับสัมปทานมาจากรัฐบาลพม่า

โดย 3 ด่านหลักดังกล่าว คือด่านที่ท่าขี้เหล็ก, ท่าเดื่อ และเชียงตุง ที่จัดเก็บค่าผ่านทางต่อจุด (อัตราปัจจุบัน) ในอัตรารถ 4 ล้อ 1,000 จั๊ต (27 บาท), รถตู้ 1,500 จั๊ต (40 บาท), สิบล้อ 12,500 จั๊ต (340-350 บาท) แต่ถ้าน้ำหนักเกินจะคิดเพิ่ม ส่วนด่านอื่นๆ จะมีทั้งด่านของรัฐบาลที่มี 3 ด่านหลัก, ด่านของหน่วยงานด้านความมั่นคง 2 ด่านหลัก ไม่รวมด่านเล็กด่านน้อยอีก ที่ผู้ผ่านทางจำเป็นต้อง "จ่าย" มากน้อยขึ้นอยู่กับ "ความเป็นมา" ของเจ้าของรถ-เจ้าของสินค้า

ส่วนช่วงเชียงตุง-เมืองลา ระยะทาง 90 กิโลเมตร รัฐบาลจีนให้การสนับสนุน แม้มีด่านจัดเก็บค่าผ่านทางเพียง 3 ด่านคือ ก่อนออก เชียงตุง, ตะปิง และด่านเมืองลา ของเขตปกครองพิเศษที่ 4 กลุ่มอูไซลิน เท่านั้นก็ตาม แต่เส้นทางลัดเลาะตามเทือกเขาสูงชัน เมื่อรวมค่าใช้จ่ายผ่านทางตลอดเส้นทางแล้ว หากเป็นสินค้าไทยจะมีต้นทุนค่าผ่านทางสูงถึง 50% ของมูลค่าสินค้า ขณะที่ของจีนจะมีต้นทุนอยู่ที่ 1 ใน 3

อย่างไรก็ตาม หลังจากเปิดใช้ถนนเส้นนี้เต็มตัวตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา เส้นทางสายนี้ไม่ได้รับความนิยมในการขนส่งสินค้าเท่าใดนัก จะมีเพียงการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวเท่านั้น แต่หลังจากวิกฤติโรคซาร์สเมื่อประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา จีนได้ปิดด่านต้าลั่ว ตรงข้ามเมืองลาของพม่า ทำให้ธุรกรรมผ่านเส้นทาง R3b เงียบเหงาลงอย่างรวดเร็ว

รวมถึง "เมืองลา" เขตปกครองพิเศษที่ 4 ของ "อูไซลิน" ที่ก่อนหน้านี้เป็นเมืองท่องเที่ยวหลักของเส้นทางสายนี้ มีบ่อนกาสิโนขนาดใหญ่หรูหราหลายแห่งที่เคยคลาคล่ำไปด้วยนักพนันชาวจีนก็พลอยเงียบเหงาลงไปด้วยเช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us