|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ สิงหาคม 2550
|
|
ในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (Greater Mekong Sub regional Economic Cooperation ; GMS-EC) ที่เริ่มต้นผลักดันกันมาตั้งแต่ปี 2535 หรือ 15 ปีที่แล้ว โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) กำหนดแนวพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงไว้ 10 เส้นทาง
1 ใน 10 นั้นก็คือ ถนนไทย-ลาว-จีน (R3a) ระยะทาง 250 กม. ส่วนหนึ่งของเส้นทางสาย "คุน-มั่ง กงลู่" หรือคุนหมิง-กรุงเทพฯ (เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว-ด่านบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา ติดชายแดนจีนที่เมือง Mohan อ.เหมิ่งล่า เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน) นั้น เริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่ปี 2538 ภายใต้โครงการ "สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ" ผ่านมือกลุ่มทุนผู้รับสัมปทานก่อสร้างถนนจากไทยมาแล้วถึง 2 กลุ่มด้วยกัน คือ
- กลุ่ม "ครอบครัวอุษา" ของตระกูล "แซ่เตี๋ยว" แห่งเชียงใหม่ ที่ 1 ในทายาทได้เป็น "เขยลาว" โดยผู้เป็นพ่อตาถือเป็นผู้ที่มีคอนเนกชั่นกับชนชั้นนำของรัฐบาลลาวอย่างแนบแน่น แต่ก็มีปัญหาเรื่องแหล่งเงินทุน
- บริษัทร่วมพัฒนาสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ จำกัด ที่เข้ารับสัมปทานแทน "ครอบครัวอุษา" แต่ก็มีปัญหาเรื่องแหล่งเงินทุนอีก เนื่องจาก ADB ไม่ยอมปล่อยเงินกู้ให้ เนื่องจากเป็นบริษัทเอกชน ขณะที่รัฐบาลลาวก็ไม่ยอมที่จะค้ำประกันเงินกู้ให้ เพราะบริษัทไม่ใช่รัฐวิสาหกิจของลาว จนกระทั่งวันที่ 25 กันยายน 2541 รัฐบาลลาวยกเลิกสัมปทานทำถนนเส้นนี้ เนื่องจากไม่มีความคืบหน้าในการก่อสร้าง
กระทั่งเดือนมกราคม 2545 ADB เข้ามาเป็นตัวกลางจัดประชุม 3 ฝ่าย (ไทย ลาว จีน) เพื่อแก้ปัญหาการพัฒนาเส้นทางสายนี้ตามที่รัฐบาลลาวร้องขอไปเมื่อปี 2541 ซึ่งในการประชุมคราวนี้ที่ประชุมมีมติที่จะสร้างถนนสายนี้เป็น 2 เลน ระยะทาง 228 กม. แบ่งออกเป็น 3 ช่วงตามแหล่งเงินทุนและความช่วยเหลือจากรัฐบาลจีน ไทย และADB โดยเริ่มปรับปรุงตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา
ช่วงที่ 1 จากด่านบ่อเต็น-น้ำลัง แขวงหลวงน้ำทา (กิโลเมตรที่ 160.8-228.3) ระยะทาง 66.43 กม. จีนเป็นผู้รับผิดชอบ ก่อสร้างโดยเงินให้เปล่า 249 ล้านหยวน และเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยอีก 449 ล้านหยวน ซึ่งการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว เดิมมีกำหนดส่งมอบในเดือนพฤษภาคม 2550 แต่รัฐบาลลาวขอให้รัฐบาลจีน ขยายเวลารับประกันออกไปอีก 1 ปีเป็นเดือนพฤษภาคม 2551
ช่วงที่ 2 จากน้ำลัง-บ้านสอด (กิโลเมตรที่ 84-160.8 เวียงภูคา-บ้านน้ำลัง) ระยะทาง 76.80 กิโลเมตรที่ ADB ให้รัฐบาลลาว กู้จำนวน 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการก่อสร้างถนนช่วงนี้ บริษัทเนาวรัตน์พัฒนาการของไทยเข้ามารับดำเนินการจนถึงขณะนี้การก่อสร้างเกือบเสร็จสมบูรณ์เช่นกัน เหลือเพียงระยะสุดท้ายที่กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการตัดเส้นทาง บดอัด ราดยาง อีกประมาณ 20 กิโลเมตร โดยถนนช่วงนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2547 สิ้นสุดมีนาคม 2550 แต่ก็ได้รับการขยายเวลาออกไปอีก 10 เดือนเพื่อปรับระดับความลาดชันไม่ให้เกิน 10%
ช่วงที่ 3 จากบ้านสอด-เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว (กิโลเมตรที่ 0-กิโลเมตรที่ 84) ระยะทาง 84.77 กิโลเมตร ที่รัฐบาลไทยให้ลาวกู้จำนวน 1,210 ล้านบาท เปิดประมูลเมื่อปลายปี 2546 โดยมีห้างหุ้นส่วนจำกัดแพร่ธำรงวิทย์ กลุ่มทุนรับเหมาก่อสร้างท้องถิ่นของภาคเหนือที่มีฐานที่มั่นอยู่ในจังหวัดแพร่-น่าน กระโดดเข้ามารับงาน ระยะเวลาก่อสร้าง 33 เดือน เริ่มจากสิงหาคม 2546-มิถุนายน 2550 แต่ได้รับการขยายเวลาเพื่อปรับความลาดชันของถนนไม่ให้เกิน 10% อีก 10 เดือนสิ้นสุดเมษายน 2551 แต่คาดว่าภายในสิ้นปีถนนช่วงนี้จะเสร็จสมบูรณ์ 100%
หลังจากถนน R3a เสร็จสมบูรณ์ในปีนี้ ก็จะเชื่อมต่อกับสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ภายใต้งบประมาณ 1,600 ล้านบาท ที่ไทย-จีนตกลงที่จะสนับสนุนฝ่ายละ 50% ซึ่งขณะนี้ได้กำหนดจุดก่อสร้างแล้ว โดยฝั่งลาวจะอยู่ที่บริเวณบ้านดอนขี้นก (กิโลเมตรที่ 9) เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ฝั่งไทยจะอยู่ติดบ้านดอนมหาวัน ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย ห่างจากตัวเมืองเชียงของประมาณ 10 กม.เศษ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2553 โดยประมาณ
|
|
|
|
|