Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์23 กรกฎาคม 2550
เกาะติด TQM ความท้าทายขององค์กร'ก่อศักดิ์'นำ '7-eleven'ปักธงด้วยศรัทธา             
 


   
www resources

โฮมเพจ ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น

   
search resources

ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น, บมจ.
ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์
Knowledge and Theory




การนำองค์กรสู่เส้นทาง TQM เพื่อมุ่งเป้าหมายสร้าง productivity นับเป็นความท้าทายของผู้นำในการบริหารจัดการ "ก่อศักดิ์" ซีอีโอเต็มขั้น ชี้ความยากอยู่ที่การผลักดันความคิดของทุกคนในองค์กรให้มีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพ ยืนยันความสำเร็จต้องสร้างด้วยศรัทธาแรงกล้า

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการ บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนา The 8 Symposium on TQM-Best Practices in Thailand เมื่อเร็วๆนี้ เล่าถึงการนำแนวทาง Total Quality Management (TQM) มาใช้กับธุรกิจร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น จนถึงปัจจุบันผ่านมา 10 ปี เมื่อมองย้อนกลับไปในวันแรกที่เริ่มอยู่ในยุควิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของไทยที่เรียกว่าต้มยำกุ้ง และกลับกลายเป็นว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นกลายเป็นโอกาสครั้งสำคัญ

เพราะในขณะที่บริษัทอื่นๆ ต่างลดคนและลดเงินเดือนพนักงานอย่างมโหฬาร แต่ 7eleven บอกกับบุคลากรทั้งหมดที่มีอยู่ในตอนนั้นว่าจะไม่ลดคนและลดเงินเดือน แต่ทุกคนจะต้องมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือการสร้าง productivity เพื่อเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเพราะอยู่ในภาวะวิกฤตทำให้ทุกคนร่วมมือ ซึ่งถ้าเป็นภาวะปกติจะไม่ยอมง่ายๆ อย่างนี้ ซึ่งภายใน 3 ปีก็เห็น productivity เกิดขึ้นในหลายๆ เรื่อง

ก่อศักดิ์ย้ำว่า ด้วยการนำ TQM มาใช้ช่วยให้เซเว่นอีเลฟเว่นเติบโตมาได้ ณ วันนี้ สามารถมีร้านได้ถึง 4 พันสาขา มีพนักงานในร้านถึง 4 หมื่นคน พนักงานในบริษัทที่อยู่ในเครืออีกกว่า 2 หมื่นคน รวมกับพนักงานทำความสะดวกกับพนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งมาจาก out source อีก 4 พันคน รวมเป็น 6.6 หมื่นคน ซึ่งเมื่อแยกเป็นหน่วยทำงานนับร้อยหน่วย จึงเป็นเรื่องยากที่จะบริหารให้เดินไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างถูกต้อง

ความภูมิใจอยู่ที่การผลักดันให้ทุกคนช่วยกันสร้างยอดขายได้ถึง 8 หมื่นล้านบาท ด้วยการดูแลลูกค้าถึงวันละ 4 ล้านคน ซึ่งสิ่งสำคัญอยู่ที่แนวทางการบริหารให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพ ในจุดนี้เมื่อเปรียบเทียบกับหลายๆ บริษัทที่มีผู้นำเพียงไม่กี่คนเป็นคนนำพาองค์กรไปในทิศทางใดก็ได้ โดยที่คนส่วนใหญ่ที่ทำงานในองค์กรนั้นทำหน้าที่ของตนเองจนสุดความสามารถเท่านั้น โดยไม่รู้จะพบกับวิกฤตเมื่อไร

นอกจากนี้ เบื้องหลังการทำงานที่มีประสิทธิภาพของหลายๆ องค์กร และส่งผลถึงการพัฒนาประเทศมาจากการใช้ TQM ในการบริหารจัดการ เช่น รถไฟใต้ดินของฮ่องกงยังดีเหมือนเดิม ตรงเวลา ไม่เคยหยุด ไม่เคยผิดพลาด เช่นเดียวกับการไฟฟ้าฮ่องกง ที่มีภารกิจดูแลการใช้ไฟฟ้าอย่างมโหฬาร ไฟนับพันล้านดวงไม่เคยมีปัญหาและใน 6 ปีที่ผ่านมาไม่เคยขึ้นค่าไฟฟ้า ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาคุณภาพมาตลอด

หากจะเปรียบเทียบจากรางวัลที่ได้รับ ในประเทศสิงคโปร์มีองค์กรที่ได้รับรางวัล Singapore Quality Award 25 ราย Singapore Quality Control ประมาณ 100 ราย ในขณะที่มีองค์กรไทยได้รางวัล Thailand Quality Award 2 ราย และThailand Quality Control กว่า 10 ราย เท่านั้น ซึ่งเซเว่นฯ ก็เป็นหนึ่งในนั้น

ถ่ายทอดประสบการณ์สร้าง "productivity"

เพราะแรงศรัทธา TQM ที่เพิ่มขึ้นเปรียบเป็นเหมือนการยอมรับนับถือในศาสนา ซึ่งเป็นผลมาจากการที่คนทั้งหมดมีส่วนร่วม ช่วยกันคิด ช่วยกันดูแลรายละเอียดมากมาย ซึ่งการนำ TQM มาใช้อย่างถูกต้องนั้น ในระยะแรกจะพบว่ามีปัญหามากขึ้นนั้น มาจากการรับรู้ปัญหาของตนเองโดยการใช้ TQM เป็นตัวช่วย

สำหรับแนวความคิดที่จะปลุกระดมผู้บริหารให้เข้าใจการบริหารจัดการแบบ TQM ง่ายๆ ด้วยคาถาเพียงไม่กี่ข้อ เช่น แม้ทุกระดับที่มองปัญหาจะเห็นต่างกันดังนั้นเมื่อต้องการแก้ไขอย่างถูกจุดต้องคุยกันด้วยข้อเท็จจริงกับข้อมูล (Fact & Data) และต้องยอมเจาะลึกถึงกระบวนการวิธีการทำงานในเรื่องที่ต้องการทำเพื่อให้เข้าใจตรงกันและทำได้ถูกเป้าหมาย (process oriented)

นอกจากนี้ ต้องใช้แนวคิด market inไม่ใช่ product out ต้องรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร และพยายามคิดสิ่งที่เหมาะสมไปเสนอ ยกตัวอย่าง บริษัทใหญ่อย่างไอบีเอ็ม จากเดิมซีอีโอที่ให้ความสำคัญกับการค้นคว้าวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ลูกค้ากลับชอบความคิดและสินค้าของคู่แข่งมากมาย จนต้องเปลี่ยนซีอีโอที่มาจากธุรกิจอาหารซึ่งรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร ด้วยการออกไปสำรวจตลาดตลอดจนพลิกฟื้นไอบีเอ็มขึ้นมาได้ รวมทั้ง แนวคิดที่ต้องเห็นหน่วยงานอื่นๆ ในองค์กรเป็นลูกค้าด้วย เพื่อจะได้ส่งต่องานดีๆ ไปให้

ความท้าทายของผู้บริหารอยู่ที่การผลักดันความคิดหรือทำให้มีนิสัยในการทำงานแบบ TQM ไปสู่บุคลากรทุกระดับนั้นมีความยาก ไม่ใช่การทำ TQM เป็นเรื่องยาก สิ่งที่ต้องทำคือการรณรงค์และจัดกิจกรรมมากมาย เช่น การตั้งรางวัล Golden Ant เพื่อส่งเสริมให้คนในองค์กรมีส่วนร่วม และผลักดันให้มีความคิดความเชื่อว่าพนักงานทุกคนคือเจ้าของบริษัท เพราะพนักงานส่วนใหญ่คิดแค่ว่าเป็นเพียงลูกจ้าง จึงต้องใช้การอธิบายและทำให้รู้ การให้หุ้นทองคำด้วยการที่ผู้บริหารนำเงินของตนเองไปซื้อหุ้นมาแจกพนักงาน เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้บริษัทแจกหุ้นกับพนักงาน

นอกจากนี้ เพื่อให้บุคลากรเข้าใจชีวิตการทำงานแบบเซเว่นฯ จึงกำหนด ค่านิยม (value) 7 ประการ ขององค์กร คือ สัจจะวาจา สามัคคี มีน้ำใจ ให้ความเคารพผู้อื่น และชื่นชมความงามแห่งชีวิต ด้วยมุมมองว่าทุกคนมีชีวิตจิตใจ มีสิทธิ์เป็นเจ้าของชีวิตของตัวเอง การทำงานที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมนั้นในฐานะความเป็นคนต้องทำงานอย่างมีความสุข ปรารถนารอยยิ้มลูกค้าด้วยทีมงานมีความสุข เพราะเมื่อทำงานมีความสุขรอยยิ้มจึงมาจากใจจริง ลูกค้าจะยิ้มกลับ เพราะฉะนั้น จึงมีกิจกรรมต่างๆ มากมายให้พนักงานเลือกทำ เช่น ชมรมวรรณกรรม ชมรมกีฬาและเกมต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้รู้จักชื่นชมความงามแห่งชีวิต

เพื่อให้การบริหารทุกระดับชั้นเป็นไปได้ตามเป้าและประคองให้การนำ TQM มาใช้ก้าวไปได้ จึงมีการกำหนด 11 leadershipส่วนของผู้บริหารระดับต้นมี 4 ข้อ คือ มีความจริงใจ ใช้ปิยะวาจา ไม่ศักดินา อย่าหลงอำนาจ ผู้บริหารระดับกลาง 4 ข้อ คือ เป็นแบบอย่างที่ดี ให้ความเมตตา มียุติธรรม และกล้าตัดสินใจ สำหรับผู้บริหารระดับสูง 3 ข้อ คือ อาทรสังคม บ่มเพาะคนดี ต้องมีใจกว้าง

"ด้วยการเห็นคุณค่าของ TQM มาก และเชื่อในความร่วมมือของคนจำนวนมากๆ ซึ่งการสร้างความเชื่อเป็นสิ่งสำคัญที่สุด"

ยิ่งกว่านั้น การประกวดเพื่อคว้ารางวัล Total Quality Award ในกระบวนการทำให้เกิดข้อดีในการทำงาน ทุกหน่วยงานต้องเข้ามาร่วมกัน และต้องการพัฒนาตัวเองจริงๆ จึงส่งประกวดแบบปีเว้นปี เพื่อใช้เวลาในการปรับปรุงตัวเอง ซึ่งเริ่มจากการเชื่อใน TQM นอกจากนี้ ยังมีแนวทางการทำงานแบบ TQA มีเกณฑ์เพื่อให้การมีส่วนร่วมเกิดขึ้นในหน่วยงานต่างๆ (cross function) และแม้ว่าจะสอบตกไม่สามารถคว้ารางวัลมาได้ และมีจุดที่ต้องปรับปรุงต้องพัฒนาตัวเองอีกมาก แต่เป้าหมายยังเหมือนเดิม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us