Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์23 กรกฎาคม 2550
“พฤกษา”ปูทางโตแบบยั่งยืนอารียาฯเดินเกมเสี่ยงฟื้นกำไร             
 


   
www resources

โฮมเพจ พฤกษา เรียลเอสเตท

   
search resources

พฤกษา เรียลเอสเตท, บมจ.
ทองมา วิจิตรพงศ์พันธ์
Real Estate




พฤกษาฯ เดินหน้าสร้างจุดแข็ง หวังปูทางให้เติบโตแบบแข็งแกร่งพร้อมรุกทุกเซกเมนต์ เสริมทัพทีมก่อสร้าง รุกอีกก้าวสู่ตลาดคอนโด จุดประกายราษฏร์บูรณะทำเลใหม่ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยชั้นดี ก่อนเดินหน้าบุกตลาดบนในอีก 2 ปี อารียายอมเดินเกมเสี่ยง ทุ่มลงทุนสุดตัว หวังกระแสซิตี้คอนโดบูมดันยอดรับรู้รายได้เติบโต พลิกขาดทุนสู่กำไรใน 2 ปี

พฤกษาฯ ขยายฐาน ชิมลางคอนโดระดับกลาง

วันที่ “ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ของพฤกษาฯ ตัดสินใจตั้งโรงงาน Pre-Cast เพื่อผลิตชิ้นส่วนก่อสร้างบ้านของตัวเอง ถือเป็นการตัดสินใจทุ่มทุนครั้งใหญ่ที่กลายมาเป็นกุญแจความสำเร็จของพฤกษาในวันนี้ เพราะนอกจากจะได้เปรียบในแง่ต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าแล้ว ยังทำให้การก่อสร้างรวดเร็วขึ้น ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานของพฤกษาฯ ที่สามารถรับรู้รายได้ได้เร็วกว่าคู่แข่ง และมีหนี้สินต่อทุนต่ำ มีสภาพคล่องหมุนเวียนในธุรกิจสูง

หลังจากพฤกษาฯ สั่งสมประสบการณ์การพัฒนาโครงการในแนวราบเจาะกลุ่มกลาง-ล่างอย่างประสบความสำเร็จ จนกลายเป็นที่ยอมรับแล้ว ก้าวต่อไปของพฤกษาฯ คือ การเดินหน้าเจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ในปลายปิรามิดด้านบน นั่นคือ กลุ่มเป้าหมายระดับบน ที่ ทองมา ไม่เคยทำและเห็นว่าเป็นโอกาสที่ดี เช่น คอนโดมิเนียมตารางเมตรละแสน บ้านเดี่ยวราคา 15 ล้านบาทขึ้นไป ทาวน์เฮาส์ราคา 3 ล้านบาท ที่จะเห็นภาพชัดเจนในอีก 2 ปี ซึ่งโครงการ “ไอวี่ ริเวอร์” คอนโดมิเนียมริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถ.ราษฏร์บูรณะน่าจะเป็นจุดเริ่มต้น และจุดเปลี่ยนที่จะพลิกภาพของ “พฤกษาฯ” เจ้าตลาดบ้านระดับล่างในสายตาของผู้คน ก่อนขยายก้าวรุกไปสู่การพัฒนาโครงการระดับบน ซึ่งภาพลักษณ์ของแบรนด์มีบทบาทสำคัญ

แม้ “ไอวี่ ริเวอร์” จะตั้งราคาเริ่มต้นสำหรับยูนิตเล็กที่สุดไว้ที่ 1.49 ล้านบาท ซึ่งเป็นระดับกลาง-ล่าง แต่ก็มีการแบ่งส่วนหนึ่งเป็น Exclusive Penthouse ห้องชุด 2 ห้องนอน พื้นที่ 95.5-101 ตร.ม. และ “Chaophraya Villa” อาคาร 5 ชั้นริมน้ำ เป็นห้องชุดแบบ 2 ห้องนอน พื้นที่ 77-88 ตร.ม. รวม 48 ยูนิต ด้วยราคาเริ่มต้นที่ 7 ล้านบาท ด้วยคอนเซ็ปต์หรูระดับโรงแรม 5 ดาว เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบนเป็นครั้งแรก เป็นการพลิกจนหลุดภาพแบบเดิมๆ ของพฤกษาฯ ไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ได้ “วรรณา ชัยสุพัฒนากุล” มือดีด้านการพัฒนาโครงการจากโกลเด้นแลนด์ที่มีประสบการณ์พัฒนา The Infinity คอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์กลางสาทร มาเป็นรองกรรมการผู้จัดการ ช่วยดูแลธุรกิจคอนโดมิเนียมโดยเฉพาะ ควบคู่ไปกับการใช้ที่ปรึกษาภายนอกทั้งอะควาเรียส, ไนท์ แฟรงค์ ชาเตอร์ และฮาริสัน เป็นข้อมูลในการพัฒนาโครงการ เนื่องจากเป็นคอนโดมิเนียมโครงการแรก พฤกษาฯ จึงต้องทำการบ้านอย่างหนัก เพื่อให้แน่ใจว่าดีมานด์มีจริง รูปแบบโครงการต้องขายได้จริง ซึ่งประสบความสำเร็จ สามารถปิดการขายเฟส 1 ได้ภายในวันเดียว

ไอวี่ ริเวอร์ นับเป็นการเปิดทำเลราษฏร์บูรณะเป็นครั้งแรก หลังจากที่ผังเมืองฉบับล่าสุดปรับจากสีม่วง (โซนอุตสาหกรรม คลังสินค้า) มาเป็นสีน้ำตาล (โซนที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก) โดยก่อนหน้านี้ทำเลริมน้ำมักจำกัดอยู่เฉพาะโครงการระดับบน แต่ด้วยเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ช่วยลดต้นทุนและจุดยืนเดิมในการเจาะตลาดล่าง พฤกษาฯ จึงเลือกที่จะแหวกตลาดคอนโดมิเนียมริมน้ำในย่านใกล้เคียงแถบเจริญนครด้วยราคาเริ่มต้น 1 ล้านกว่าบาท

อีกทั้งยังเป็นทำเลใหม่ ไม่มีรถไฟฟ้าผ่าน จึงทำให้ผู้ซื้อกว่า 90% เป็นเรียลดีมานด์ สามารถสกัดกั้นกลุ่มเก็งกำไรซึ่งเป็นปัญหาของโครงการระดับนี้ออกไป ทั้งนี้ ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผังเมืองที่ปรับใหม่จะทำให้ทำเลนี้ในอนาคตเป็นย่านที่อยู่อาศัยชั้นดี ปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็นคลังสินค้า และเป็นของแลนด์ลอร์ดรายใหญ่ เช่น กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มโสภณพนิช จึงมีโอกาสและศักยภาพที่จะพัฒนาได้อีกมาก

นอกจากนี้การก่อสร้างก็เป็นธุรกิจต้นน้ำที่พฤกษาฯ ให้ความสำคัญ โดยดึง จุฑา พรมชินวงศ์ และทีมงานที่มีประสบการณ์ด้านการก่อสร้างอาคารสูงจากเค-เทค มาดูแลการก่อสร้างคอนโดมิเนียมโดยเฉพาะ ในนามบริษัท เกสร ก่อสร้าง จำกัด บริษัทย่อยที่พฤกษาฯ ถือหุ้น 100% ซึ่งเดิมรับเฉพาะงานตกแต่งภายในของโครงการแนวราบ โดยอนาคตจะขยายไปรับงานก่อสร้างโครงการแนวสูงของพฤกษาฯ ด้วย ซึ่งโครงการไอวี่ ริเวอร์ จะใช้เวลาก่อสร้าง 24 เดือน ต่างจากรายอื่นที่ใช้เวลาถึง 28 เดือน โดย ประเสริฐ ย้ำว่า การทำงานเร็ว คือ หนึ่งในปัจจัยความสำเร็จของพฤกษาฯ ที่ได้เปรียบคู่แข่ง เพราะหมายถึงการแบกรับภาระหนี้ที่ลดลงไปด้วย และปีนี้ถึงปีหน้าจะเร่งปรับกระบวนการทำงานให้สั้นลงอีก สามารถโอนโครงการแนวราบได้ภายใน 4 เดือน

ปัจจุบันสัดส่วนรายได้ 85% ของพฤกษาฯ มาจากโครงการแนวราบซึ่งเป็นตัวหลักช่วยรักษายอดรับรู้รายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สภาพคล่องสูง มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนต่ำเพียง 0.28 : 1 โดยจะรักษาสัดส่วนการลงทุนคอนโดมิเนียมเอาไว้ที่ 15% และปรับสัดส่วนตามความเหมาะสมของภาวะตลาด ซึ่งคอนโดมิเนียมเป็นการขยายพอร์ตการลงทุนของพฤกษาฯ ให้กว้างขึ้น แม้จะรับรู้รายได้ช้า แต่ก็มีอัตราส่วนกำไรที่ดีกว่าโครงการแนวราบ และจะเป็นรายได้ที่จะเข้ามาหล่อเลี้ยงในอนาคตอีก 1-2 ปีข้างหน้า

อารียาฯ ยอมเสี่ยงลงทุนเพิ่ม

ในขณะที่พฤกษาฯ เดินหน้าทุกวิถีทางลดสัดส่วนหนี้สินต่อทุนให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด เพื่อสร้างความได้เปรียบคู่แข่ง แต่อารียาฯ กลับมองต่าง เดินหน้าระดมทุนและกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อลงทุนเพิ่ม เพื่อหวังพลิกฟื้นผลประกอบการให้กลับมาเติบโต แทนการขายแลนด์แบงก์หรือสินทรัพย์ออกไปเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง แม้ว่าจะต้องแลกกับสัดส่วนหนี้สินต่อทุนที่เพิ่มขึ้นจาก 2.1:1 เป็น 2.5:1 ก็ตาม

เมื่อกระแสซิตี้คอนโดกำลังมาแรง วิศิษฎ์ เลาหพูนรังษี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อารียา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) จึงยอมทุ่มสุดตัวอีกครั้ง หลังจากรับบริหารโครงการเอ สเปซ สุขุมวิท 77 ของวันดาราจนประสบความสำเร็จ โดยหันมาพัฒนาเอ สเปซของตัวเองใน 2 ทำเล พร้อมกับพัฒนาทาวน์เฮาส์ระดับกลาง “The Colors”

การพัฒนาโครงการระดับกลาง-ล่าง สิ่งสำคัญอยู่ที่การบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง วิศิษฎ์ เลือกใช้ Economy of Scales เพื่อสร้างจุดต่างเรื่องราคา พร้อมทั้งใช้วิธีระดมทุนเพื่อใช้ลงทุนพัฒนาคอนโดมิเนียมเพิ่ม ผ่านใบสำคัญแสดงสิทธิ์ (Warrant) 151.6 ล้านหน่วยแจกให้ผู้ถือหุ้นเดิมในอัตราส่วน 5 หุ้นสามัญต่อ 1 ใบสำคัญแสดงสิทธิ์ และแจก 40 ล้านหน่วยให้กับ ABN AMRO Bank N.V. London Branch ที่ให้วงเงินกู้ 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แก่อารียาฯ แลกกับเงื่อนไขในการกู้เงินโดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าทั่วไป แทนวิธีการเพิ่มทุน ซึ่งนักลงทุนอาจจะไม่ให้ความสนใจ เพราะราคาหุ้นของบริษัทขณะนี้ไม่ดีนัก แต่การออกใบสำคัญแสดงสิทธิ์จะเป็นช่องทางในการระดมทุนที่เหมาะสม นักลงทุนจะให้ความสนใจ เพราะในอนาคตอารียาฯ จะเริ่มมียอดรับรู้รายได้จากเอ สเปซเข้ามาในปีหน้า ทำให้ผลประกอบการเติบโตขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us