Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์23 กรกฎาคม 2550
กลเกมธุรกิจเวชภัณฑ์…ระเบิดสงครามการตลาดแนวใหม่             
 


   
search resources

Pharmaceuticals




เมื่อธุรกิจยาเวชภัณฑ์พลิกเกมปรับโมเดลสร้างแบรนด์เปิดเกมรุก งัดการตลาดแนวใหม่ตามรอยสินค้าคอนซูเมอร์ออกมาใช้ หลังประเมินพบว่าจะ “ส่อแวว” สะดุดตามสภาพเศรษฐกิจ โดยปูพรมประชาสัมพันธ์พร้อมจัดอีเวนต์เน้นเรื่องสุขภาพเป็นหลักพร้อมอัดฉีดโปรโมชั่นหวังกระตุ้นตลาดให้เติบโต

การแข็งค่าของเงินบาทส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันของประเทศส่ออาการ “ฝืด” และยังไม่มีทีท่าว่าเมื่อไรจะ “วิ่งฉิว” ได้อีก โดยเฉพาะสินค้าคอนซูเมอร์โปรดักส์ที่โดนพิษเศรษฐกิจเล่นงานทำให้ชะลอตัว ขณะเดียวกันธุรกิจเกี่ยวกับยาเวชภัณฑ์เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ส่อแววจะเจอกับอาการ “นิ่ง” เช่นกัน เนื่องจากในทุกปีตลาดนี้เป็นอีกหนึ่งขุมทรัพย์ที่มีเม็ดเงินหมุนเวียนมูลค่ารวมกว่า 4,000 ล้านบาท และมีอัตราการเติบโตทุกปีไม่ต่ำกว่า 10% ....การปรับตัวตั้งรับของผู้ประกอบการเพื่อหากลยุทธ์สร้างแผนการตลาดงัดออกมาใช้หวังจูงใจลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกระแสของการรักษ์และเอาใจใส่ดูแลสุขภาพอย่างมีคุณภาพที่กลายเป็นยุทธวิธีแนวใหม่และนับว่าใช้ได้ผลทีเดียว

ถึงแม้ว่าสัญญาณธุรกิจในปี 2550 จะดูไม่เอื้ออำนวยเท่าไรนัก แต่จากการโหมรุกตลาดเวชภัณฑ์ของสินค้าหลายค่าย ก็เป็นอีกตัวหนึ่งที่บ่งชี้ถึงการเติบโตของตลาดได้อย่างน่าสนใจ

ด้วยข้อจำกัดห้ามโฆษณาของการประกอบธุรกิจเวชภัณฑ์รักษาโรค กอปรกับการแข่งขันในตลาดของประเทศไทยที่มีสูงขึ้น ขณะที่กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเฉพาะ อาทิ แพทย์คลินิกและโรงพยาบาล ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับหากลยุทธ์ทางการตลาดแนวใหม่เข้ามาใช้ เพียงหวังกระตุ้นสร้างรายได้เพิ่มไปพร้อมกับการสร้างแบรนด์ให้เกิดความจดจำ

สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่เอไซ (ประเทศไทย) มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อต่อยอดธุรกิจเรื่องนี้ ทวีศักดิ์ สีทองสุรภณา กรรมการผู้จัดการของเอไซบอกว่า บริษัทมุ่งเน้นในเรื่องของการดูแลสุขภาพให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย และยังมีนโยบายหลักในการเป็นสื่อกลางที่จะเชื่อมสายใยอันดีให้กับคนในครอบครัว โดยเน้นในเรื่องของการเป็นผู้นำเรื่องให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ รวมถึงการให้คำปรึกษาอย่างถูกวิธี

จุดนี้เอง ผู้ประกอบการมองเป็นโอกาสและช่องว่างในการขยายตลาดได้อย่างมหาศาล หากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้หันมารู้จักแบรนด์สินค้าและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีคุณภาพ จึงเป็นที่มาของการทำตลาดแนวใหม่แบบ 360 องศา ที่มีทั้งการประชาสัมพันธ์ จัดอีเวนต์มาร์เก็ตติ้งและส่งแคมเปญโปรโมชั่นเมื่อมีโอกาส นับเป็นยุทธวิธีที่ไอไซหยิบนำมาใช้

“เอไซ เลือกที่จะใช้การจัดอีเวนต์ในแถบภูมิภาคสำคัญต่างๆของประเทศไทยเพื่อให้เกิดกิจกรรมร่วมกันระหว่าง แพทย์,โรงพยาบาล และกลุ่มเป้าหมาย” ทวีศักดิ์ กล่าว

ยุทธวิธีนี้ดูจะสร้างความพึงพอใจให้กับธุรกิจเวชภัณฑ์อย่างเอไซได้ดีทีเดียว นอกจากจะเป็นการเข้าถึงตลาดตรงกลุ่มเป้าหมายแล้ว ยังเป็นการสร้างความจดจำแบรนด์ต่อกลุ่มเป้าหมายในทางอ้อมอีกด้วย

จะเห็นได้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ค่ายเอไซ มีการจัดกิจกรรมสำหรับคนรักสุขภาพถึง 4 ภาคอย่างต่อเนื่องในหัวเมืองหลักๆของประเทศไทย ล่าสุดในปีนี้หยิบเอาโครงการ “เอไซสัญจรคืนความรู้สู่ประชาชน” มาใช้อีกครั้ง

แม้ว่าการรุกตลาดแนวใหม่ของค่าย “เอไซ” จะร้อนแรงก็ตาม แต่กลุ่มของ “ไฟเซอร์” ก็มีแผนงานสำคัญในการขยายฐานหรือกระตุ้นพฤติกรรมของผู้บริโภคออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีทิศทางการทำตลาดในรูปแบบใหม่ๆเช่นกัน

มนู สว่างแจ้ง ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยและอินโดไชน่า บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้คิดค้นแคมเปญใหม่ๆออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องของการรักษ์และดูแลสุขภาพไปพร้อมกับทำโปรโมชั่นในลักษณะร่วมกิจกรรมซึ่งมีการตั้งรางวัลสร้างแรงกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักแบรนด์ของไฟเซอร์มากขึ้น

“โมเดลการตลาดแนวใหม่ จำเป็นต้องสร้างการรับรู้และตอกย้ำจิตสำนึกถึงความเอาใจใส่ดูแลสุขภาพ ขณะเดียวกันก็คาดหวังว่าน่าจะก่อให้เกิดผลสำเร็จในแง่ของภาพลักษณ์แบรนด์ไปพร้อมกับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกลุ่มเป้าหมายโดยตรงเช่นกัน” มนู กล่าว

การหยิบเอาเรื่องสุขภาพของคนมาปรับใช้เป็นยุทธวิธีในการทำตลาดแนวใหม่ของกลุ่มเวชภัณฑ์รักษาโรคครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการโหมกิจกรรม และไอเดียแปลกใหม่ผ่านอีเวนต์มาร์เกตติ้งเป็นอีกตัวแปรที่จะ “ขับเคลื่อน” ให้โลกธุรกิจเวชภัณฑ์รักษาโรคสามารถ “เดินหน้า” รอดพ้นไปได้จากพิษทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน

โดยคนในแวดวงธุรกิจเวชภัณฑ์รักษาโรคยังเชื่อว่าแม้ตลาดจะมีการชะลอลงไปบ้าง แต่จากการงัดกลยุทธ์ใหม่ๆออกมาใช้ กอปรกับพฤติกรรมของคนไทยเกี่ยวกับความเอาใจใส่ดูแลด้านสุขภาพมีเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เม็ดเงินหมุนเวียนต่อปีของธุรกิจเวชภัณฑ์ฯมีไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท และเพื่อให้เกิดการใช้จ่ายของกลุ่มเซกเมนต์ต่างๆขึ้น ซึ่งนอกจากจะได้รับความรู้ในเรื่องของเวชภัณฑ์รักษาโรคแล้วยังได้รับข้อมูลที่เป็นจริงโดยตรงจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อเป็นการป้องกันรักษาอาการเริ่มแรกของโรคต่างๆได้อย่างทันท่วงที...สิ่งเหล่านี้จึงเป็นการรุกตลาดแนวใหม่ สร้างความร้อนแรงให้กับกลุ่มเวชภัณฑ์รักษาโรคของแต่ละค่าย ซึ่งต่างหยิบนำกลยุทธ์นี้มาสร้างสีสันเปิดตลาดช่วง 2 ไตรมาสของปี 2550   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us