|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
มองอนาคตธุรกิจยุคเงินบาทแข็งฉับพลันหลังทุนนอกไหลเข้า บทพิสูจน์ทักษะและความอยู่รอด กลุ่มนำเข้า-มีหนี้นอกยังยิ้มร่า ด้านกลุ่มส่งออก-อาหารเครื่องดื่ม-ยานยนต์ น้ำตาซึม
ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาค่าเงินบาทแข็งขึ้นถึง 3.6% หลังจากปัจจัยการเมืองภายในประเทศคลี่คลายลง ประกอบกับตัวเลขทางเศรษฐกิจล่าสุดเดือน พฤษภาคม2550 เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวเป็นลำดับ โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจที่ฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด ทำให้นักลงทุนต่างชาติที่เคย Underweight การลงทุนในตลาดหุ้นไทย หันกลับมาให้ความสนใจอีกครั้ง จะเห็นได้จากยอดซื้อรายวันและยอดซื้อสะสมที่ยังคงเป็นทิศทางการซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งช่องทางตลาดหุ้นเป็นเพียงช่องทางเดียวที่การไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติที่ไม่เข้าเกณฑ์ถูกกันสำรอง 30%หรือการต้องทำประกันความเสี่ยงค่าเงิน 100% (Fully Hedge) ตามกฎของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ดังนั้นเมื่อเกิดการไหลเข้าของเงินสกุลต่างประเทศเป็นจำนวนมากก็ย่อมส่งผลถึงต่อค่าเงินบาทให้ให้แข็งขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยแข็งค่าสูงสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
ประเด็นทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของมาตรการผ่อนคลายชั่วคราวของ ธปท.ที่เปิดโอกาสให้ผู้มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ(Non-Resident) ซึ่งมีธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในตลาดต่างประเทศ (Offshore) ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2549 สามารถขอย้ายมาป้องกันความเสี่ยงในตลาดในประเทศ (Onshore) แทนได้ โดยมาตรการนี้จะเปิดให้ทำได้เพียง 1 เดือนเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาเงินบาทในตลาด Offshore แข็งเกินพื้นฐาน และจะทำให้ค่าเงินบาททั้ง 2 ตลาดเคลื่อนไหวเข้าหากันเป็นจุดสมดุลย์อีกครั้ง และคาดว่าจากนี้ไป ธปท.จะจับตามองประเด็นค่าเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก ซึ่งเป็นจักรกลสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้
แน่นอนว่าจากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทนี้ ก็ย่อมต้องมีทั้งผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ โดยบทวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ของ บริษัทหลักทรัพย์(บล.)นครหลวงไทยระบุว่า บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัยพ์(บจ.)ที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มที่มีหนี้สินเป็นเงินสกุลต่างประเทศ และกลุ่มผู้นำเข้า
โดยบริษัทที่มีหนี้ในรูปเงินตราต่างประเทศจำนวนมากจะได้รับประโยชน์การการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท เนื่องจากต้นทุนหนี้ในรูปเงินตราต่างประเทศเมื่อเทียบเป็นเงินบาทแล้วจะลดลง ได้แก่บริษัทในกลุ่มสื่อสาร อันประกอบไปด้วย บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น(TRUE), บมจ.ทีทีแอนด์ที, (TT&T) และ บมจ.ชิน แซทเทลไลท์ (SATTLE) รวมถึงกลุ่มพลังงานอันประกอบไปด้วย บมจ.ผลิตไฟฟ้า (EGCO) และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH ) ซึ่งคาดว่าจะบันทึกกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
ส่วนกลุ่มบริษัทที่มีการนำเข้าวัตถุดิบนั้น ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะช่วยให้ต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบซึ่งคิดเป็นเงินดอลลาร์ลดลง ได้แก่บริษัทในกลุ่มวัสดุก่อสร้างอันประกอบไปด้วย บมจ. ทาทา สตีล (ประเทศไทย) (TSTH), บมจ. สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (SSI) และ บมจ. จี สตีล (GSTEEL) รวมถึงกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์บางแห่งเช่น บมจ. ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท (ประเทศไทย) (SPPT)
ด้านผู้เสียประโยชน์จากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นก็มีอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ด้วยกันคือ กลุ่มผู้ประกอบการส่งออก, กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และกลุ่มยานยนต์
สำหรับผู้ประกอบการส่งออกของไทยยังคงเป็นผู้เสียประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะผู้ส่งออกที่ใช้ Domestic Content เป็นหลัก อย่างกลุ่มเกษตรที่รายได้จากการดำเนินงานและกำไรสุทธิผันผวนเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการทำอัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net profit margin) ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เมื่อค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ซึ่งไตรมาสล่าสุด (Q1/2550) Net profit margin ติดลบ 1.89% และเมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นถึง3.6% จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ผลประกอบการของบริษัทกลุ่มนี้ใน Q3/2550 จะได้รับผลกระทบค่อนข้างแรงจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอยู่ในขณะนี้
สำหรับกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม แม้ว่าจะเป็นกลุ่มที่เป็น Domestic Content เช่นเดียวกับกลุ่มเกษตรก็ตาม แต่ด้วยสัดส่วนรายได้หลักมาจากการจำหน่ายภายในประเทศ จึงทำให้ผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นตลอด 9 ไตรมาสที่ผ่านมามีน้ำหนักน้อยกว่ากลุ่มเกษตร ดังจะเห็นได้จาก Net profit margin) สามารถทรงตัวได้เฉลี่ยที่ 4.5-5.4% ตลอด 9 ไตรมาสที่ผ่านมา
ขณะที่กลุ่มยานยนต์และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ที่ถึงแม้ว่ารายได้จะปรับตัวในทิศทางตรงกันข้ามกับค่าเงินบาท แต่เนื่องด้วยวัตถุดิบบางส่วนเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ส่งออกในกลุ่มนี้สามารถลดความผันผวนหรือผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นได้ สังเกตจาก Net profit margin ที่สามารถทรงตัวตลอด 9 ไตรมาสที่ผ่านมาได้
ในภาวะที่กระแสเงินต่างประเทศเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนมากเพื่อลงทุนในตลาดหุ้น ก็ได้สร้างความคึกคักให้กับนักลงทุนในประเทศเป็นอันมากรวมถึงทำให้สินค้านำเข้าอย่างราคาน้ำมันและเครื่องจักรมีราคาลดลง แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกซึ่งเป็นกลไกสำคัญของภาคเศรษฐกิจไทยด้วยเช่นกัน สิ่งนี้จึงเป็นคำถามที่ตามมาว่าค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นนั้นเป็นความคุ้มค่าหรือการขาดทุน
คำตอบก็คือ...แล้วแต่ว่าคุณจะเป็นใครและมองจากมุมใหน?
|
|
|
|
|