|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
คลังปิดทางธอส.ทำซีเคียวตลาดออฟชอร์หวั่นกดดันค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ระบุพอร์ตสินเชื่อล็อตแรก 4 หมื่นล้านบาทต้องรอจังหวะเศรษฐกิจขาขึ้นดึงดูดเม็ดเงินจากนักลงทุน ขณะที่ดอกเบี้ยสวนทางตลาดโลกอาจทำให้ต้องเลื่อนการขายบอนด์ออกไปอีกระยะหนึ่ง เตรียมพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดประชุมซีเคียวรีไทเซชั่นร่วมกับสถาบันการเงินทั้งระบบหวังลดความเสี่ยงการปล่อยสินเชื่อ
นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การทำซีเคียวรีไทเซชั่นของธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) จากพอร์ตสินเชื่อวงเงิน 40,000 ล้านบาทนั้น จากเดิมที่มีแผนการออกพันธบัตรขายทั้งในประเทศและต่างประเทศอาจเหลือเพียงการขายภายในประเทศเพียงอย่างเดียว เนื่องจากหากมีการขายในต่างประเทศจะทำให้มีเงินสกุลต่างประเทศไหลเข้ามามากอาจเป็นปัจจัยกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นได้
"วงเงินทำซีเคียวรีไทเซชั่น 4 หมื่นล้านบาทของธอส.อาจมีการทบทวนแผนการออกบอนด์อีกครั้งจากเดิมที่วางแผนขายทั้งในตลาดออนชอร์และออฟชอร์ คงเหลือเพียงการขายเฉพาะตลาดออนชอร์เท่านั้นเพราะหากเงินสกุลต่างประเทศไหลเข้ามามากจะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกได้” นายสมหมายกล่าว
นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธอส. กล่าวว่า การทำซีเคียวรีไทเซชั่นพอร์ตสินเชื่อของธนาคารจำนวน 40,000 ล้านบาทที่เปิดให้กลุ่มธนาคารพาณิชย์ทั้งไทยและต่างประเทศยื่นข้อเสนอเข้ามานั้นก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะออกพันธบัตรขายได้เมื่อไรเนื่องจากมีปัจจัยความไม่แน่นอนหลายประการทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งหากมีการตัดสินใจทำในช่วงนี้ขั้นตอนการทำจะเสร็จสินภายใน 9 เดือน
ทั้งนี้ ภาวะค่าเงินบาทในปัจจุบันที่มีความแตกต่างกันทั้งในตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศอาจทำให้ต้องเลื่อนการออกพันธบัตรออกไปอีก โดยเฉพาะการออกขายในตลาดต่างประเทศนั้นลำบากมากทำให้ต้นทุนในการออกพันธบัตรสูงขึ้นและหากค่าเงินบาทยังแข็งค่าขึ้นเช่นนี้ต่อไปอาจระงับการทำซีเคียวรีไทเซชั่นออกไปก่อนได้ต้องรอให้อยู่ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้นก่อน
"การจะทำซีเคียวรีไทเซชั่นหรือไม่นั้นต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยภาวะเศรษฐกิจเป็นสำคัญ แต่ท้ายที่สุดแล้วธอส.ก็มีความจำเป็นต้องทำซีเคียวรีไทเซชั่นเนื่องจากกระทรวงการคลังยังไม่พิจารณาเพิ่มทุนให้ธอส. ดังนั้น ธอส.จึงต้องทำซีเคียวรีไทเซชั่นเพื่อเพิ่มเงินทุนในการปล่อยสินเชื่อ แต่หากจะทำทันทีก็ติดปัญหาหลายอย่างรวมทั้งเรื่องอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยที่สวนทางกับดอกเบี้ยในตลาดโลก ต้องรอให้ทุกอย่างอยู่ในภาวะปกติก่อนจึงจะสามารถทำได้” นายขรรค์กล่าว
นายขรรค์กล่าวว่า ธนาคารจะจัดสัมมนาเกี่ยวกับการทำซีเคียวรีไทเซชั่น โดยนำพอร์ตสินเชื่อดีของธนาคารจัดเป็นกลุ่มๆ ออกขายให้กับผู้ที่สนใจทั้งนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบัน ซึ่งการจัดสัมมนาครั้งนี้จะเป็นการสัมมนาร่วมกันกับธนาคารพาณิย์และสถาบันการเงินทุกแห่งทั่วประเทศในวันพุธที่ 25 กรกฎาคมนี้
ทั้งนี้ การทำซีเคียวรีไทเซชั่นสินเชื่อของสถาบันการเงินจะเกิดผลดีต่อสถาบันการเงินนั้นๆ คือสามารถช่วยในการบริหารความเสี่ยงได้ดี ลดความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อส่งผลให้สินเชื่อขยายตัวได้ดีขึ้นรวมทั้งเป็นการเพิ่มในเรื่องของเงินกองทุน เนื่องจากในปัจจุบันกระทรวงการคลังยังไม่อนุมัติการเพิ่มทุนให้กับธนาคารเมื่อปล่อยสินเชื่อมากขึ้นจะทำให้เงินกองทุนของธนาคารลอลง การทำซีเคียวรีไทเซชั่นจึงเป็นอีกหนึ่งทางออกที่เหมาะสม
"ที่ผ่านมาสถาบันการเงินในประเทศไทยยังไม่เคยมีการพูดถึงการทำซีเคียวรีไทเซชั่นกันอย่างจริงจังการจัดสัมมนาครั้งนี้จึงถือเป็นการระดมความคิดเห็นพูดถึงเรื่องโครงสร้างการทำซีเคียวรีไทเซชั่นว่าหากทำแล้วจะสามารถลดความเสี่ยงในด้านต่างๆ ของธนาคารได้อย่างไรบ้าง” นายขรรค์กล่าว
|
|
|
|
|