Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2534
มาบุญครอง: กว่าจะพ้นพงหนาม!!             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 

 
Charts & Figures

รายชื่อคณะกรรมการ บริษัท เอ็ม บี เค พร็อพเพอร์ตี้ส์ แอนด์ ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด
รายชื่อผู้ถ้อหุ้นใหญ่ 10 อันดับแรก
แผนผังแสดงการถือหุ้นธุรกิจในเครือของ บริษัท เอ็ม บี เค พร็อพเพอร์ตั้ส์ แอนด์ ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด
ตัวเลขสำคัญทางการเงินของบริษัทปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด
ตัวเลขสำคัญทางการเงินของบริษัท เอ็ม บี เค พร็อพเพอร์ตี้ส์ แอนด์ ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด


   
search resources

มาบุญครอง
เชิดเกียรติ เชี่ยวธีรกุล
Shopping Centers and Department store
เอ็มบีเคพร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ ดิเวลลอบเม้นท์.,บจก
ชีโวสวิชากร วรวรรณ, ม.ร.ว.




ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะกอบกู้ชื่อเสียง และผลกำไรของกิจการที่แทบจะล่มจมเสื่อมสบายจากปัญหาหนี้สินจำนวนมาก ให้ฟื้นนกลับเข้ามาอยู่ในสถานะทางธุรกิจเช่นเดิมได้ ภารกิจนี้เป็นการท้าทายความเป็นมืออาชีพของ ม.ร.ว.ชีโวสวิชากร วรวรรณ กรรมการผู้อำนวยการ และ ดร.เชิดเกียรติ เชี่ยวธีรกุล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เอ็ม บี เค พร็อมเพอร์ตี้ส์ แอนด์ ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด หรือบริษัทมาบุญครองพืชและไซโลเดิมเป็นอย่างยิ่ง

ม.ร.ว.ชีโวสวิชากร เริ่มเข้ามาในเอ็ม บี เคฯ โดยการถือหุ้นและได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการของมาบุญครองอบพืชและไซโลชุดใหม่เมื่อ 19 มกราคม 2532 -ชุดที่ไม่มีชื่อ ศิริชัย บูลกุล อีกแล้ว จากนั้นจึงถูกเลือกเข้ามาเป็นกรรมการผู้อำนวยการด้วยเหตุผลที่บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ผมไม่ค่อยมีภารกิจเพราะออกจากราชการแล้ว ขณะที่กรรมการคนอื่นๆ ติดงานค่อนข้างมาก ผมก็เลยได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่นี้"

ตำแหน่งสุดท้ายที่ ม.ร.ว.ชีโวสวิชากร รับราชการ คือ รองอธิบดีกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง

ระยะแรกที่คุณชายเข้ามาดำเนินงานของมาบุญครองนั้น มีการดึงเอา สมเกียรติ ทวีผล อาจารย์สอนวิชาบริหารที่มหาวิทยาลัยมหิดลเข้ามาร่วมงานด้วยโดยผู้ที่ทำการชักชวนเข้ามาคือ วีระวงศ์ จิตต์มิตรภาพ ทนายความจากสำนักงานที่ปรึกษากฎหมายคนึง-ปรก ซึ่งเป็นสำนักงานกฎหมายที่คุณหญิงชนัตถ์ว่าจ้างให้มาทำคดีฟ้องร้องศิริชัย บูลกุล ผู้บริหารเดิมของมาบุญครองอบพืชและไซโล

สมเกียรติเข้ามาเป็นผู้จัดการมาบุญครองอยู่เพียง 4 เดือนก็มีอันต้องลาออก เพราะมีความเห็นและสไตล์การดำเนินงานที่ไม่สอดคล้องต้องกันกับคุณชาย

"ผมทำงานหนัก สนุกกับงานมากเพราะมันเป็นสิ่งที่ท้าทาย การเข้าไปทำงานที่มาบุญครองทำให้ผมได้บทเรียนว่า การทำงานถูกต้องอย่างเดียวไม่พอ ต้องถูกใจด้วย" สมเกียรติกล่าวกับ "ผู้จัดการ" เมื่อตอนลาออกใหม่ๆในปลายปี 2532

งานที่สมเกียรติเข้าไปดูแลในช่วงแรกนั้นมีความยุ่งยากและน่าเหน็ดเหนื่อยหลายประการ เพราะบรรยากาศในเวลานั้น ศึกการแย่งชิงและปัญหาที่ตามมาของมาบุญครองยังไม่สงบหรือยุติเสียทีเดียว

กลุ่มคุณหญิงชนัตถ์และบันเทิง ตันติวิท ซึ่งในศึกมาบุญครองยก 2 ได้กลายเป็นที่ปรึกษาสำคัญของคุณหญิง เข้าไปครอบครองบริษัทมาบุญครองอบพืชและไซโลซึ่งมีทรัพย์สินสำคัญ คือ ศูนย์การค้ามาบุญครองไว้ได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2532

การประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อ 19 มกราคม 2532 ที่ห้องนภาลัย โรงแรมดุสิตธานีซึ่งจัดขึ้นโดยคุณหญิงชนัตถ์ ผู้ถือหุ้นและผู้รับมอบฉันทะ ซึ่งนับจำนวนหุ้นรวมกันได้ 4,685,792 หุ้นถือเป็นการก้าวรุกสำคัญที่ทำให้ศิริชัยหลุดออกจากการเป็นกรรมการบริษัท

ต่อมามีการต่อสู้กันในเชิงกฏหมายอีกระยะหนึ่งโดยพยายามคัดค้านการรับจดทะเบียนกรรมการชุมใหม่ของบริษัท แต่ศิริชัยก็ไม่สามารถเอาชนะได้

มีการแต่งตั้งกรรมการมาบุญครองอบพืชและไซโลชุดใหม่หลายครั้ง โดยในครั้งแรกๆ นั้นมีทนายความจากสำนักงานที่ปรึกษากฎหมายคนึง-ปรกเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย แต่สำหรับชุดปัจจุบันนั้นปรากฏว่ามีแต่ผู้ถือหุ้นตัวจริงทั้งสิ้น (ดูรายชื่อคณะกรรมการบริษัทเอ็ม บี เคฯ)

อย่างไรก็ดี มา ชาน ลี น้องชายคนละแม่กับศิริชัย ยังเป็นผู้ถือหุ้นติดอันดับ 1 ในใจผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของมาบุญครองฯด้วย แม้กระทั่งศริชัยนั้นก็ยังมีหุ้นอยู่ในมาบุญครองฯ แต่ม.ร.ว.ชีโวสวิชากร อ้างว่ามีเป็นส่วนน้อย เพราะถ้ามีมากก็คงได้เข้ามาบริหารงานด้วยแน่ (ดูรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ 10 อันดับแรกบริษัทเอ็ม บี เคฯ)

อย่างไรก็ดี "ผู้จัดการ" ยังไม่สามารถสืบทราบได้ว่า บริษัท INVESTMENT SIAMPIE LTD. และ DWIK LIMITED A/C NO. เป็นบริษัทของใครกันแน่

เป็นไปได้ว่านี่คือบริษัทตัวแทนหรือนายหน้าของใครสักคนที่เข้ามาถือหุ้นในมาบุญครองฯ

การต่อสู้ของกลุ่มคุณหญิงชนัตถ์กับศิริชัยเป็นศึกมาบุญครองยกแรก กลุ่มคุณหญิงชนัตถ์ยังไม่ได้ชนะทั้ง 100% เพราะต้องเจอปัญหาเรื่องการฟื้นฟูกิจการซึ่งปรากฏว่า ศูนย์การค้ามาบุญครองที่เป็นแหล่งรายได้หลักของบริษัทมาบุญครองอบพืชและไซโลนั้นมีเจ้าหนี้ทางการค้ามากมาย และการดำเนินงานในทุกเรื่องแทบจะทำไม่ได้เนื่องจากติดคดีฟ้องร้องหนี้สินโดยเจ้าหนี้เหล่านี้

การต่อสู้กับเจ้าหนี้เหล่านี้เป็นศึกยกสอง ซึ่งในช่วงแรกของศึกยกนี้ สมเกียรติ เข้าไปมีบทบาทอยู่ด้วย

สมเกียรติเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่าการเข้ามาทำงานในศูน์การค้ามาบุญครองนี่มีปัญหามากเพราะผู้บริหารชุดเก่าไม่ให้ความร่วมมือ การขอดูเอกสารแต่ละอย่างเป็นเรื่องยากมากและแทบจะเป็นไปไม่ได้ พนักงานที่ทำงานอยู่ก็มีปัญหาว่ากรรมการชุดไหนกันแน่ที่มีอำนาจในการบริหาร การรับจ่ายเงินก็ต้องไปทำกันที่กรมบังคับคดี

การจะทำอะไรแต่ละอย่างต้องไปร้องขอต่อศาลผู้เป็นเจ้าหนี้ เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์มีสิทธิ์คัดค้านทุกเมื่อ หากมาบุญครองยืนยันที่จะทำ ก็ต้องทำการชี้แจง และให้ศาลตัดสินเหมือนหนึ่งเป็นการพิพากษาทุกครั้งไป ปัญหานี้สร้างความยุ่งยากลำบากในการฟื้นฟูกิจการในช่วงแรกมาก

สมเกียรติเปิดเผยว่า "กระทั่งการเบิกเงินใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าไฟเดือนหนึ่งประมาณ 6 ล้านบาท ค่าน้ำ 6-7 แสนบาท ค่าโทรศัพท์ ศาลให้เบิกจ่ายได้ แต่ต้องนำใบเสร็จมาเป็นหลักฐานชี้แจงให้ศาลเห็นเป็นงวดๆไป รวมถึงเรื่องการจ่ายเงินเดือนพนักงานรายได้ของบริษัทต่างๆ กระทั่งการให้เช่าพื้นที่ ล้วนแล้วแต่เป็นการเพิ่มงานให้ผู้บริหารที่ต้องทำการชี้แจงอ้างเหตุผลต่อศาลอยู่ตลอดเวลา"

ภารกิจเร่งด่วนชิ้นแรกที่สมเกียรติเข้าไปทำคือ การควบคุมกิจการให้อยู่ในสภาพปกติดีดังเดิมโดยเร็วในด้านการพนักงานนั้น กรรมการชุดใหม่ไม่มีนโยบายให้ออก แต่ก็มีการลาออกไปหลายคน จึงต้องมีการหาคนมาเสริม นอกจากนี้ยังต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงานเพราะช่วงแรกพนักงานแบ่งออกเป็นสองฝ่าย บางส่วนยังรับเงินเดือนจากกรรมการชุดเก่า เพราะเชื่อมั่นว่าชุดเก่าจะกลับเข้ามาอีก แต่บางส่วนก็มารับเงินเดือนกับกรรมการชุดใหม่แล้ว

สมเกียรติกล่าวว่า "ผมต้องพยายามเจรจาชี้แจงอยู่เป็นนานกว่าจะเข้าใจกันได้แจ่มชัด"

งานต่อมาคือ การปรับปรุงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ชำรุดทรุดโทรมระหว่างที่บริษัทมีปัญหาในศาล ทั้งนี้บริษัทที่ทำการติดตั้งอุปกรณ์ เช่น สยามกลการ ได้หยุดการให้บริการดูแลเพราะยังไม่ได้รับการชำระหนี้

นอกจากนี้ก็มีการตามเก็บหนี้ที่ผู้เช่าเป็นหนี้กับมาบุญครองมูลค่าหนี้ในช่วงนั้นมีประมาณ 160 ล้านบาท สมเกียรติดำเนินการออกใบแจ้งหนี้ให้ผู้เช่าพื้นที่นำเงินมาจ่ายค่าเช่า ซึ่งในตอนแรกก็มีผู้ไม่กล้ามาจ่าย เขาจึงชี้แจงว่าเงินที่ได้รับมาจะส่งให้ศาลตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด

งานอีกอย่างหนึ่งที่ต้องเคลียร์ในเวลานั้น คือ การตรวจเช็คพื้นที่ต่างๆ ในศูนย์การค้าฯ ดูว่ามีพื้นที่พอที่จะให้เช่าเพิ่มได้หรือไม่ ดำเนินการเจรจาเรื่องสัญญาเช่าเพิ่มได้หรือไม่ ดำเนินการเจรจาเรื่องสัญญาเช่าและราคาเช่ากับร้านค้าผู้เช่าต่างๆ และในส่วนที่เป็นมาบุญครองทาวเวอร์นั้น สมเกียรติอ้างว่าเป็นของบริษัทแต่ให้เช่าระยะยาวมาก และแยกไปเป็นเอกเทศไม่เกี่ยวกับศูนย์การค้าฯ ทว่าแอร์ถูกส่งขึ้นไปจากมาบุญครองด้วย ทั้งนี้ผู้ที่เช่าทาวเวอร์ดังกล่าวคือบริษัทปทุมวันเรียลบเอสเตท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บงข. ธนชาติ จำกัด

ธนชาติตั้งปทุมวันเรียลเอสเตทขึ้นเพื่อรับช่วงจากมาบุญครองอบพืช และไซโลทำธุรกิจให้เช่าอาคารโดยอาศัยเงื่อนไขที่มาบุญครองฯติดปัญหาการชำระหนี้สินกับธนชาติ

จนถึงทุกวันนี้ปทุมวันเรียลเอสเตทเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เช่าทาวเวิร์ซึ่งมีสัญญายาวนานเท่ากับสัญญาที่มาบุญครองฯ ทำการเช่าที่ดินผืนนี้จากจุฬาฯ

นั่นหมายความว่า ศิริชัยไม่ได้มีสิทธิ์ในทาวเวอร์นี้แล้ว

และว่ากันว่า นี่เป็นเรื่องที่ทำให้ศิริชัยแค้นใจมาก !!

งานการตรวจเช็คพื้นที่ต่างๆ ในศูนย์การค้าฯ เป็นเรื่องละเอียดยิบย่อยมาก ศิริชัยและบริษัทของเขาหลายบริษัทยังยึดครองเช่าพื้นที่หลายส่วนในศูนย์การค้ามาบุญครอง

เช่น พื้นที่ซูเปอร์มาต์เก็ตชั้น 4 จำนวนรวม 21,000 ตารางเมตร ดำเนินงานโดยบริษัท มาบุญครองซูเปอร์มาร์เก็ต จำกัด ซึ่งเป็นของศิริชัย โดยเอ็ม บี เคมฯ คิดค่าเช่าและค่าบริการตารางเมตรละ 125 บาท/เดือน

พื้นที่ขายอาหารบนชั้น 6 เฉพาะส่วนร้านอาหารที่อยู่ในซุ้มถาวรก็ยังเป็นพื้นที่เช่าของศิริชัยและบริษัทในเครือของเขา ซึ่งส่วนนี้มีอายุสัญญาเช่า 15 ปี เป็นต้น

อันที่จริงในสมัยที่ศิริชัยเป็นผู้บริหารศูนย์การค้ามาบุญครองนั้นปรากฏว่า ศิริชัยได้ให้พวกพ้องและบริษัทในเครือเช่าหรือใช้พื้นที่ในอาคาร มาบุญครองในราคาถูกกว่าปกติมาก ส่วนที่นำไปให้บุคคลภายนอกเช่าช่วงอีกทอดหนึ่งในราคาปกติก็มี

ตัวอย่างเช่น บริษัท มาบุญครองศิริชัย คอนสตรัคชั่น จำกัด บริษัท มาบุญครองซีฟู้ด จำกัด บริษัท ปทุมวันเอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด และบริษัทมาบุญครองศิริชัยมะม่วงหิมพานต์ จำกัด ใช้พื้นที่ในศูนย์การค้ามาบุญครองโดยไม่มีการจ่ายค่าตอบแทน

บริษัทในกลุ่มของศิริชัยค้างชำระค่าเช่า ค่าบริการ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปาและอื่นๆ สรุปรวมแล้วเป็นหนี้ศิริชัยเองในนามมาบุญครองอบพืชและไซโล ซึ่งเป็นเจ้าของศูนย์การค้าฯ เป็นจำนวนมากถึง 39.33 ล้านบาท ตัวเลขนี้เป็นการเปิดเผยของธนาคารไทยพาณิชย์ในสำนวนฟ้องบริษัทมาบุญครองอบพืชและไซโล จำกัด กับพวกเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2531

นั่นหมายความว่าในพื้นที่เช่าดังกล่าว คณะกรรมการชุดใหม่ไม่มีสิทธิ์เรียกเก็บค่าเช่าโดยตรงหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการเช่าใหม่

เท่ากับว่าปัจจุบันบริษัทในเครือของศิริชัยยังยึดพื้นที่ในศูนย์การค้ามาบุญครองไว้เป็นจำนวนมากตามสัญญาเดิมด้วย

นอกจากนี้บริษัทมาบุญครองอะมิวส์เม้นท์จำกัด และบริษัทมาบุญครองฟาสท์ฟู้ด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของศิริชัยและมีความเกี่ยวพันกับเอ็ม บี เค ฯ เช่าพื้นที่จำนวน 13,833 ตารางเมตรมีระยะเวลาการเช่า 15 ปี ต้องจ่ายค่าเช่าให้ เอ็ม บี เคฯ รวมทั้งสิ้นประมาณ 140 ล้านบาท

ดร.เชิดเกียรติกล่าวกับ "ผู้จัดการ"ว่า "เรื่องการเช่าพื้นที่ในศูนย์การค้าแต่เดิมนั้นมีการทำสัญญาเช่าระยะยาวมากๆ เราเข้ามาก็ทำการเปลี่ยนแปลงข้อนี้ เพราะว่าไปแล้วรายได้หลักของบริษัทในตอนนี้ก็มาจากการให้เช่าพื้นที่ซึ่งทำรายได้ประมาณเดือนละกว่า 30 ล้านบาท สัญญาเช่าที่เราทำตอนนี้สูงสุดแค่ 3 ปีเท่านั้น"

แต่กรณีของบริษัทในเครือและบริษัทร่วมมีระยะเวลาการเช่า 15-25 ปี ได้แก่ บริษัท โตคิวดีพาร์ทเม้นท์สโตร์(ประเทศไทย) จำกัด บริษัท มาบุญครอง-อูโอคุนิ จำกัด และบริษัท มาบุญครอง โฮเต็ล จำกัด ซึ่งเช่าพื้นที่รวมกันแล้วคิดเป็น 33,102 ตารางเมตร ต้องจ่ายค่าเช่าทั้งสิ้นแก่เอ็ม บี เคฯเป็นจำนวน 370 ล้านบาท

คณะกรรมการบริหารชุดใหม่ที่นำโดยคุณหญิงชนัตถ์นั้น แม้จะต่อสู้หักล้างกับศิริชัยมานานกว่า 3 ปี แต่ ณ วันนี้ก็กลับมามีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกันได้แล้ว เช่น กรณีของซูเปอร์มาร์เก็ตชั้น 4 และศูนย์อาหารชั้น 6

ม.ร.ว.ชีโวสวิชากร กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ด้วยว่า "เรื่องซูเปอร์มาร์เก็ตชั้น 4 นั้นเราให้คุณศิริชัยเช่าทำสัญญาระยะยาว 12 ปี ซึ่งเป็นการทำสัญญาก่อนที่ผมจะเข้ามา เรายังเป็นเจ้าของพื้นที่อยู่และผมก็ทำตามสัญญาเดิมเท่านั้น"

"ผมขอพูดอีกอย่างว่า เรื่องเหตุการณ์ในครั้งที่เข้าไปต่อสู้ช่วงชิงอำนานการบริหารจากคุณศิริชัยนั้นผมไม่ขอกล่าวถึงเป็นอันขาด เราต้องการรักษาภาพพจน์ของทั้งสองฝ่าย เราไม่มีอะไรต่อกัน เราต้องรักษามารยาท เพราะเราต้องทำธุรกิจร่วมกัน เราไม่ต้องการให้มีการพาดพิงถึงกัน และตอนนั้นก็ไม่ได้มีการฟ้องคุณศิริชัยถึงขั้นล้มละลายแต่อย่างใด" คุณชายประกาศจุดยืนในความสัมพันธ์ที่มีกับศิริชัยให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

ศึกยกสองของมาบุญครองไม่ใช่เรื่องง่าย การจัดการปัญหายิบย่อยทั้งหลายที่กล่าวมาเป็นเพียงจุดเริ่มเท่านั้น ม.ร.ว.ชีโวสวิชากร ได้ดร. เชิดเกียรติเข้ามาร่วมงานในจังหวะใกล้เคียงกับที่สมเกียรติลาออก เขาเข้ามาทำหน้าที่ดูแลการพัฒนาธุรกิจโดยรับผิดชอบบริษัทบางแห่งโดยตรง และทำเรื่องการพัฒนาที่ดินที่ปทุมธานีกับการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่

ดร. เชิดเกียรติ ซึ่งก่อนที่จะมาร่วมงานที่มาบุญครองในเดือนสิงหาคม 2532 เคยเป็นผู้อำนวยการดรงเรียนการโรงแรมหรือ ITIM มาก่อน เปิดเผยเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างศูนย์การค้าและบริษัทในเครือของมายุญครองว่า "เราเพิ่งจะมีการจัดความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทในเครือใหม่ตามแผนภูมิที่เห็น มีการเปลี่ยนชื่อมาบุญครองอบพืชและไซโลซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัทในเครื่อจำนวนมาก เป็นเอ็ม บี เค พร็อพเพอร์ตี้ส์ แอนด์ ดีเวลล๊อปเม้นท์ ถือหุ้นในบริษัทต่างๆ ประมาณ 13 แห่ง" (ดูแผนผังแสดงการถือหุ้นธุรกิจในเครือของบริษัทเอ็ม บี เคฯ)

ธุรกิจดั้งเดิมของมาบุญครองอบพืชและไซโลคือด้านการเกษตร มีท่าเรือส่งออกมันสำปะหลัง PILLET & SILO ที่ศรีราชา ต่อมาได้รับการอนุมัติจาก จุฬาลงการ์มหาวิทยาลัยเมื่อเดือนตุลาคม 2525 ให้เช่าและลงทุนพัฒนาที่ดินบริษัทสี่แยกปทุมวันจำนวน 23 ไร่ 1 งาน 49 ตารางวา เพื่อปลูกสร้างอาคารศูนย์การค้ามาบุญครองครบวงจร คือ มีทั้งโรงแรม ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน

สัญญาเช่าฉบับนี้มีอายุ 30 ปี และเมื่อายุสัญญาสิ้นสุดหรือครบกำหนดระยะเวลาเช่าแล้วอาคารสิ่งปลูกสร้างทั้งหลายต้องตกเป็นกรรมสิทธิของจุฬาฯ โดยไม่มีเงื่อนไข หมายความว่าในปี 2555 จุฬาฯ จะได้เป็นเจ้าของและครอบครองศูนย์การค้ามาบุญครองและอาคาร โรงแรมทั้งหมด

มาบุญครองอบพืชและไซโลหรือเอ็ม บี เคฯ ในปัจจุบันต้องจ่ายค่าตอบแทนให้จุฬาฯ เป็นเม็ดเงินสดจำนวน 885 ล้านบาท งวดแรกชำระไปแล้ว 45 ล้านบาท ที่เหลือผ่อนชำระเป็นงวดๆ แต่ละงวดห่างกัน 1 ปี อีก 25 งวด ในอัตรางวดละ 8,10,20,45 และ 85 ล้านบาท โดยในช่วง 5 ปี จะมีการเปลี่ยนแปลงอัตรา 1 ครั้งตามลำดับไป

เท่ากับว่าเหลือเวลาอีกประมาณ 21 ปีที่ผู้บริหารกลุ่มใหม่ของมาบุญครองฯ ต้องดำเนินการตามสัญญาและสามารถแสวงประโยชน์สูงสุดได้บนพื้นที่นี้

ปรากฏว่า หลังจากชำระค่าเช่างวดแรก 45 ล้านบาทแล้ว ศิริชัยไม่เคยชำระค่าเช่างวดรายปีให้กับจุฬาฯ อีกเลย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2532 เอ็ม บี เคฯ มียอดคงค้างที่ยังมิได้ชำระทั้งสิ้น 840 ล้านบาท

เมื่อศิริชัยได้รับอนุญาตให้พัฒนาที่ดินที่เป็นศูนย์การค้าฯในเวลานี้ ธุรกิจส่วนมากของเขาดูเหมือนจะเกี่ยวข้องและมีศูนย์รวมอยู่ที่นี่

มีบริษัท 24 แห่งของศิริชัยที่ธนาคารไทยพาณิชย์อ้างถึงในสำนวนฟ้องว่า มีส่วนเกี่ยวพันทำการค้าในอาคารมาบุญครอง ในจำนวนนี้มี 9 บริษัทที่ธนาคารไทยพาณิชย์ฟ้องห้ามมิให้ศิริชัยทำการจำหน่ายจ่ายหุ้นที่ศิริชัยถืออยู่ในบริษัทเหล่านี้ และห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทเหล่านี้รับจดทะเบียนการโอนหุ้นที่ศิริชัยเป็นผู้ถือหุ้นไปยังบริษัทอื่นด้วย

บริษัททั้ง 9 นี้ในที่สุดกลุ่มคุณหญิงชนัตถ์ได้ทำการยึดมาเพื่อเป็นการชำระหนี้ และอยู่ในดครงสร้างอาณาจักรธุรกิจในเครือของเอ็ม บี เคฯ ได้แก่

มาบุญครองการอุตสาหกรรม ซึ่งเอ็ม บี เคฯ ถือหุ้น 99.99% และมาบุญครองการเดินเรือ 74.99% (สองบริษัทนี้บริหารโดยคณะผู้บริหารชุดปัจจุบัน)

กุ้งก้ามทอง ซึ่งเอ็ม บี เคฯ ถือหุ้น 43% และโตคิวห้างสรรพสินค้า (ประเทศไทย) 29% (สองบริษัทนี้บริหารโดยผู้อื่น)

มาบุญครองชอปปิ้งอาร์เขต ซึ่งเอ็ม บี เคฯ ถือหุ้น 99.99% มาบุญครองพร็อพเพอร์ตี้ส์ 99.99% มาบุญครองออฟฟิศ 26% มาบุญครองพลาซ่า 26% มาบุญครองเซ็นเตอร์ 26% (ห้าบริษัทนี้ดำเนินการจดทะเบียนแล้วแต่ยังมิได้มีการประกอบการแต่อย่างใด)

ม.ร.ว.ชีโวสวิชากร กล่าวเพิ่มเติมว่า "ในโครงสร้างใหม่นี้ เราได้ดึงเอาธุรกิจท่าเรือส่งออกมันสำปะหลังมารวมกับบริษัทมาบุญครองไรซมิลล์ซึ่งก็ดำเนินธุรกิจการเกษตรเกี่ยวกับไซโลและโรงสีข้าวอยู่แล้ว บริษัทนี้มีกิจการและวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยอยู่ที่ปทุมธานี จากนั้นก็เปลี่ยนชื่อบริษัทนี้ใหม่เป็น ปทุม ไรซมิลล์ แอนด์ แกรนารี่ ซึ่งเราจะเอาบริษัทนี้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในปลายปีนี้หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง"

ส่วนเอ็ม บี เคฯ เมื่อแยกกิจการท่าเรือส่งออก PILEET & SILO ไปแล้ว ก็เหลือแต่การเป็นเจ้าของศูนย์การค้ามาบุญครอง การสร้างโรงแรม และสิ่งที่บริษัทนี้จะเน้นการทำธุรกิจต่อไปคือเรื่องการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

กลุ่มผู้บริหารชุดใหม่ของมาบุญครองได้ครอบครองที่ดิน 2 ผืนใหญ่ของศิริชัยไว้ด้วยคือที่ดิน 714 ไร่ที่ อ. บางกระดี่ จ.ปทุมธานีซึ่งอยู่ในความครอบครองของบริษัท มาบุญครองการอุตสาหกรรม ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น เอ็ม บี เค การอุตสาหกรรมแล้ว และที่ดิน 50 ไร่เศษที่ศรีราชาในความครอบครองของบริษัทปทุมไรซมิลล์ แอนด์ แกรนารี่

ดร. เชิดเกียรติ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ศึกษาแนวทางการพัฒนาที่ดินเหล่านี้เปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ที่ดิน 714 ไร่เป็นโครงการแรกที่เราจะพัฒนาต่อจากการทำศูนย์การค้าแล้ว โปรเจคที่จะออกมาคือ เรื่องนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งก็เป็นโปรเจคเดิมที่ตั้งบริษัทและซื้อที่ดินมาก็เพื่อจะทำอันนี้ แต่ตอนนี้เกิดมีปัญหาว่าหากที่ดินไม่ถึง 1,000 ไร่การนิคมฯก็ไม่อนุญาตให้ทำนิคมอุตสาหกรรม ทว่าที่ดินผืนนี้เหมาะมาก คือ อยู่ใกล้นิคมอุตสาหกรรมบางกระดี่และใกล้โครงการเมืองทองธานีด้วย"

ส่วนที่ดินที่ศรีราชานั้นเป็นโปรเจคถัดออกไปที่จะทำการพัฒนา

นอกจากนี้ในส่วนของศูนย์การค้าฯ เอง เชิดเกียรติเปิดเผยว่า "เรากำลังมองทำเงที่จะพัฒนามาบุญครอง 2 และ 3 ต่อไป"

บริษัทเอ็ม บี เคฯ ดูคล้ายเป็นโฮลดิ้ง คัมปะนี แต่ไม่ใช่ เพราะไม่เพียงถือหุ้นบริษัทในเครือเท่านั้นแต่ยังมีการดำเนินกิจการคือ ศูนย์การค้าและโรงแรมที่คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปลายปี 2534 นี้ด้วย

เอ็ม บี เคฯ คือ บริษัทต่อไปที่กลุ่มผู้บริหารมาบุญครองชุดใหม่จะนำเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายใจต้นปีหน้า

แม้ในแผนภมิการถือหุ้นฯ ดูราวกับเอ็ม บี เคฯ เป็นบริษัทแม่เชิดเกียรติกล่าวว่า "เราแยกกิจการออกเป็น 2 อย่าง คือ เอ็ม บี เคฯ จะไม่ยุ่งในเรื่องเกษตรอุตสาหกรรมเท่ากับแยกกิจการออกเป็น 2 ส่วน กิจการเกษตรนั้นดำเนินไปได้ค่อนข้างดี แต่ผมไม่ได้เข้าไปดูในรายละเอียด เท่าที่ทราบ คือ กิจการนี้เน้นหนักไปที่ข้าว ผลผลิตคือข้าวถุงมาบุญครองซึ่งผู้ผลิต คือ ปทุม ไรซมิลล์ มีมาบุญครองมาร์เก็ตติ้งเป็นผู้จัดจำหน่าย ส่วนไซโลที่ศรีราชานั้นก็ยังเอาไว้เก็บมันสำปะหลังอยู่"

ในส่วนของมาบุญครองการเดินเรือซึ่งเชิดเกียรติเป็นผู้ดูแลโดยตรงนั้น เขาเปิดเผยว่า "เรามีเรือขนส่งสินค้า 2 ลำสำหรับบริษัทนี้วิ่งระหว่างฮ่องกง กรุงเทพ หากออกจากท่าเรือกรุงเทพก็เป็นสินค้าเกษตร และออกจากท่าเรือฮ่องกงจะเป็นพวกกระดาษ บริษัทนี้มีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท เรามอบหมายให้บริษัทชิปปิ้งเป็นเอเยนต์หาลูกค้าให้"

บริษัทเอ็ม บี เค การธุรกิจเป็นบริษัทใหม่ล่าสุดที่เพิ่งจดทะเบียนโดยกลุ่มผู้บริหารมาบุญครองชุดใหม่ เชิดเกียรติให้เหตุผลว่า "ในสายของการทำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นี่เรามีธุรกิจบางอย่างที่เราไม่แน่ใจว่าจะเอามารวมกันได้หรือเปล่า ก็เลยตั้งอันนี้ขึ้นมารองรับ อันที่จริงบริษัทที่ไม่เกี่ยวกับการเกษตรก็มีชื่อของมันชัดเจน เช่น การอุตสาหกรรม โฮเต็ลการเดินเรือ แต่นอกเหนือจาก 3 อันนี้แล้ว เราไม่รู้จะเอากิจการใหม่ที่เกิดขึ้นไปไว้ที่ไหน เลยตั้งอันนี้ขึ้นมา หากถามว่าทำอะไร ยังตอบได้ไม่ชัดเจนนัก อาจจะเป็นพวกซื้อมาขายไป แต่ไม่เกี่ยวกับ 3 ตัวที่กล่าวมาแน่"

สำหรับมาบุญครองเทรดดิ้ง กลุ่มผู้บริหารใหม่ได้ดำเนินการขายหุ้นออกไปจนเหลืออยู่เป็นส่วนน้อยแค่ 10% เท่านั้น กุ้งก้ามทองจะเป็นบริษัทต่อไปที่ผู้บริหารใหม่จะขายออกไปทั้งหมด ทำเรื่องเรียกหนี้คืนพร้อมๆกับที่สัญญาเช่าที่ดินกำลังจะหมดอายุลงและในส่วนของโตคิวฯ นั้นคงนโยบายถือหุ้นร่วมทุนอยู่ 25% เพราะเป็นบริษัทที่มีผลประกอบการดี และในไม่ช้าจะมีการขยายเพิ่มเป็นสาขาที่ 2 ด้วย

อันที่จริงก่นอหน้านี้มีบริษัทมาบุญครอง-อูโอคุนิ จำกัด ซึ่งทำกิจการร้านอาหารญี่ปุ่นบนศูนย์การค้ามาบุญครองเป็น บริษัทในเครือด้วย กลุ่มผู้บริหารใหม่ก็ขายหุ้นออกหมดแล้ว

เชิดเกียรติเปิดเผยด้วยว่า "ระเบียบการรับหลักทรัพย์ใหม่ห้ามเอาบริษัทโฮลดิ้งเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทแมีกับลูกที่ดำเนินธุรกิจใกล้เยงกันก็ห้ามเอาเข้าซึ่งอันนี้เราคงไม่มีปัญหาเพราะธุรกิจของเรานี่แยกกันอย่างชัดเจนอยู่แล้ว แต่เท่าที่ได้รับคำแนะนำมาเราอาจต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นในตัวปทุมไรซมิลล์ลงซึ่งตอนนี้เราก็พยายามทำอยู่ ผมกลังติดต่อกับผู้ซื้อหลายราย"

ปทุมไรซมิลล์มีทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท มีรายได้ 1,712.62 ล้านบาท ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2533 มีกำไรสุทธิ 31.91 ล้านบาท แต่ยังมีขาดทุนสะสมอยู่ 27.41 ล้านบาท ซึ่งจัดว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับรายได้เป็นหลักพันล้านบาทขึ้นไปและสินทรัพย์ขนาดพันล้านบาทเช่นกัน (ดูตารางตัวเลขสำคัญทางการเงินของบริษัทปทุมไรซมิลล์ฯ)

เมื่อ 6 และ 30 กรกฏาคม 2533 ที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นได้มีมติพิเศษเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 600 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ 60 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท และต่อมา 14 สิงหาคม 2533 ก็ได้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องทุนจดทะเบียนเป็นทุนจดทะเบียนทั้งหมดมี 900 ล้านบาทและเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นปทุมไรซมิลล์ แอนด์ แกรนารี่

อย่างไรก็ดี ปทุมไรซมิลล์ฯ ยังไม่ได้เรียกเงินชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนหมดทั่ง 600 ล้านบาท แต่เรียกชำระเพียง 200 ล้านบาท ทำให้ ณ 28 พฤศจิกายน 2533 มีจำนวนหุ้นที่จดทะเบียนและเรียกชำระแล้วทั้งหมด 50 ล้านหุ้น ทุนจดทะเบียนเท่ากับ 500 ล้านบาท ผู้ถทอหุ้นใหญ่ 10 รายแรกเป็นผู้ครอบครองหุ้นส่วนข้างมากถึง 47.5 ล้านหุ้น

ได้แก่ มาบุญครองอบพืชและไซโล 39.71 ล้านหุ้น บริษัท โยทะกา จำกัด 2.5 ล้านหุ้น บริษัทสุพรรณิกา จำกัด 1.78 ล้านหุ้น ประดิษฐ คงคงทอง 850,000 หุ้น บงล.ธนชาติ จำกัด 791,265 หุ้น มูนิรา สุภานนท์ 638,889 หุ้น คุณหญิงชัตถ์ ปิยะอุย 500,000 หุ้น เชิดเกียรติ เชียวธีรกุล 300,000 หุ้น ม.ร.ว.ชีโวสวิชากร วรวรรณ 285,000 หุ้นและสุเวทย์ ธีรวชิรกุช 230,000 หุ้น

ทั้งนี้ 3 คนหลังเป็นผู้บริหารระดับสูงของเอ็ม บี เคฯ ส่วนบริษัทโยทะกาและสุพรรณิกาเป็นบริษัทที่บงล.ธนาชาติจัดตั้งขึ้นเพื่อการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทอื่นโดยเฉพาะ

การปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทในเครือและการแยกธุรกิจหลักออกเป็น 2 สาย เป็นก้าวสำคัญในการฟื้นฟูกิจการของกลุ่มผู้บริหารมาบุญครองชุดใหม่ ขณะเดียวกันเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งทำเพื่อให้เการฟื้นฟูสมบูรณ์ คือ การแก้ไขปัญหาหนี้สินจำนวนมาก

เป็นที่รู้กันว่ากุนซือสำคัญของงานช้างขนาดนี้คือ บันเทิง ตันติวิทและเจ้าหน้าที่ของบงล.ธนชาติ!!

ม.ร.ว. ชีโวสวิชากร เปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า "บริษัทฯมีหนี้สินอยู่ประมาณ 2,000 ล้านบาท ก็ได้มีการเรียกชำระหนี้สินส่วนหนึ่งจากลูกค้าเก่าซึ่งก็ช่วยแก้ปัญหาได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้เราก็ทำการพัฒนาพื้นที่ใช้สอยของศูนย์การค้าให้สร้างประโยชน์สูงสุดแก่บริษัท เช่น จัดงานคอนเสิร์ต ใน MBK HALL และประการสุดท้ายคณะผู้บริหารฯได้ทำการเพิ่มทุนของบริษัทอัก 733.5 ล้านบาท เพื่อชำระหนี้และรองรับการขยายตัว"

การแก้ปัญหาหนี้สิน 2,000 กว่าล้านบาทของมาบุญครองเป็นบทเรียนสำคัญของนักการเงินที่ควรให้ความสนใจศึกษา

บทเรียนนี้หนังสือพิมพ์ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ได้นำเสนอไว้อย่างละเอียด ขนาดที่ดร.เชิดเกียรติ และเจ้าหน้าที่ระดับสูงบางคนของเอ็ม บี เคฯ เอ่ยปากว่า "เป็นฉบับที่รายงานได้ดีที่สุด"

ผู้ที่ดำเนินการจัดการหนี้อย่างพิสดารซับซ้อนครั้งนี้คือ บันเทิง ตันติวิท ศุภเดช พูนพิพัฒน์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฏหมายของ บงล.ธนชาติ กับผู้บริหารระดับสูงของมาบุญครองฯ (อ่านล้อมกรอบ:ธนชาติและเบื้องหลังบริษัทกำจัดหนี้โสมชบา)ผลงานครั้งนี้ได้รับการยอมรับเชื่อถือจากบรรดาเจ้าหนี้ส่วนข่างมาก บันเทิงถึงกับลงทุนเจรจากับเจ้าหนี้แต่ละรายด้วยตัวเองและส่วนมากได้รับความร่วมมือด้วยดี

ความสำเร็จในการจัดการปัญหาเจ้าหนี้ได้ในครั้งนี้เป็นปัจจัยที่มีค่ายิ่งต่อการฟื้นฟูกิจการศูนย์การค้า และธุรกิจในเครือของมาบุญครองเฉพาะในส่วนที่ผู้บริหารชุดคุณหญิงชนัตถ์เข้าไปบริหาร

มาบุญครองอบพืชและไซโลหรือ เอ็ม บี เคฯ สามารถทำรายได้เลี้ยงตัวเองในปีหนึ่งๆ เป็นตัวเลขที่ดีมาก แต่นี่ต้องไม่นับเรื่องขาดทุนสะสม หนี้สูญและการขาดทุนจากเงินลงทุน (ดูตารางตัวเลขสำคัญทางการเงินของมาบุญครองอบพืชและไซโลหรือเอ็ม บี เคฯ)

ปี 2531 เอ็ม บี เคฯ มีรายได้จากการให้บริการและให้เช่า 263.62 ล้านบาท ปีถ้ดมาลดลงเล็กน้อยเป็น 251.67 ล้านบาท และมาเพิ่มขึ้นในปี 2533 เป็น 301.39 ล้านบาท คาดหมายว่าในปี 2534 รายได้ที่เป็นหัวใจสำคัญตัวนี้จะทะยานสูงขึ้นอย่างแน่นอน เพราะผู้เข้ามาใช้บริการในศูนย์การค้ามาบุญครองฯมีวันลุไม่ต่ำกว่า 100,000 คน

ในรายงานของผู่สอบบัญชีโดยสุชาติ เหลืองสุรสัวัสดิ์ แห่งสำนักงานไพร็ซวอเตอร์เฮาส์เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2532 ระบุว่างบการเงินปี 2532 จัดทำบนสมมติฐานที่ว่า บริษัทจะดำรงอยู่ต่อไปโดยคาดหมายว่าการเจรจากับธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ ในการประนอมหนี้ที่เจ้าหนี้ต่างๆ เหล่านั้นได้ฟ้องบริษัทจะประสบผลสำเร็จ

สุชาติให้ความเห็นด้วยว่า "ลูกหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกันจำนวน 137,731,327 บาท อาจจะไม่สามารถเรียกคืนได้ทั้งหมด" ซึ่งปรากฏว่ามีการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญสำหรับลูกหนี้เหล่านี้ 13,958,216 บาท

ถัดมาในปี 2533 สุชาติให้ความเห็นในรายงานการสอบบัญชีเมื่อ 28 กันยายน 2533 ว่า "ในระหว่างปี 2533 บริษัทสามารถเจรจาตกลงในเรื่องการประนอมหนี้กับเจ้าหน้าที่ต่างๆ ได้แล้ว และก็ได้ทำการปรับปรุงตัวเลขรวมทั้งการสำรองยอดลูกหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน"

รายงานการสอบบัญชีของปี 2532 ที่ปรากฏควบคู่กับปี 2533 จึงมีตัวเลขที่เปลี่ยนไปพอสมควร สุชาติอธิบายว่าเป็นการปรับปรุงการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ คิดเป็นจำวน 66.071 ล้านบาท

ทั้งนี้การตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญจำนวนนี้แยกเป็นลูกหนี้ของบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน คือ บริษัทของคณะกรรมการชุดเดิมเป็นจำนวน 13.958 ล้านบาท และตัดหนี้สูญลูกหนี้บริษัทในเครืออีก 30 ล้านบาท

ที่เหลืออีก 22.113 ล้านบาทเกิดจากรายการเปลี่ยนแปลงในบัญชีสินทรัพย์ได้แก่ เงินสดและเงินฝากธนาคารลดลง 10 ล้านบาท ลูกหนี้ค่าเช่าสถานที่ค่าส่งเสริมและพัฒนาสถานที่เพิ่มขึ้น 81.207 ล้านบาท และสินทรัพย์หมุนเวียอื่นลดลง 93 ล้านบาท ซึ่งหักกลบลบกันแล้วจะเท่ากับ 22.113 ล้านบาทดังที่กล่าวมา

เงิน 66.071 ล้านบาทมาจากไหน?

ปรากฏว่าในบัญชีหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นนั้น รายการหนี้สินไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีรายการเพ่มขึ้นในส่วนของผู้ถือหุ้น คือ มีการขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นประมาณ 66 ล้านบาท

รายการนี้ยกมาไว้ในบัญชีกำไรขาดทุนของปี 2533 โดยรวมเข้ามาไว้เป็นขาดทุนสะสมปลายปียกไป (สำหรับงวดบัญชีปี 2534) รวมทั้งสิ้น 994.93 ล้านบาท

กล่าวคร่าวๆ ก็ คือ เอ็ม บี เคฯ ยังมีขาดทุนสะสมอยู่เกือบพันล้านบาทนั่นเอง !!

แต่รายการนี้ไม่ได้กระทบกระเทือนต่อนโยบายขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะถ้าไม่นับในเรื่องการตัดหนี้สูญและการขาดทุนจากเงินลงทุนแล้วจะพบว่าเอ็ม บี เคฯ มีความสามารถในการทำกำไรจากการดำเนินงานอย่างเด่นชัด

จากบัญชีกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2533 เมื่อหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดออกจากรายได้รวมแล้ว เอ็ม บี เคฯ มีกำไรสุทธิสำหรับปี 4.60 ล้านบาท โดยในปีนี้ไม่มีรายการขาดทุนจากการลงทุนและหนี้สูญสักบาทเดียว!

อย่างไรก็ดี มีข้อน่าสังเหตว่าในงบดุลปี 2531 นั้น เอ็ม บี เคฯ ยังมีสินทรัพย์อยู่ถึง 4,064.29 ล้านบาท ขณะที่งบดุลปี 2533 สินทรัพย์ลดลง 786.25 ล้านบาท เหลือ 3,278.04 ล้านบาท

รายการที่สำคัญ คือ มีการลดเงินลงทุนในบริษัทในเครือและบริษัทร่วม จาก 528.74 ล้านบาท เหลือ 55.57 ล้านบาท ทำให้เงินลงทุนรวมลดลงจาก 616.13 ล้านบาทเหลือ 64.07 ล้านบาทหรือลดลง 552.06 ล้านบาท

นอกจากนี้ในรายการที่ดิน อาคารหรืออุปกรณ์ที่มีค่าเสื่อมราคาสะสมเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสุทธิเดิมซึ่งเท่ากับ 2,442.21 ล้านบาทในปี 2531 ลดลงเหลือเพียง 2,211.61 ล้านบาทในปี 2533

กล่าวได้ว่าการลดขนาดของสินทรัพย์เป็นนโยบายส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูกิจการมาบุญครอง เป้าหมายหลักก็เพื่อที่จะระดมเงินสดเข้ามาถือไว้แทนวิธีการคือากรขายเงินลงทุนในบริษัทในเครือและบริษัทร่วม ได้แก่ มาบุญครองเทรดดิ้ง มาบุญครอง-อูโอคุนิ

นอกจากนี้ การเพิ่มพูนรายได้ยังเป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้มาบุญครองฟื้นตัวได้ด้วย เอ็ม บี เคฯ มีรายได้จากการประนมหนี้มากถึง 79.12 ล้านบาทในปี 2533 เป็นรายได้ที่สูงเป็นอันดับสองรองลงมาจากการให้เช่าพื้นที่

ในการระดมเงินสดเข้ามานั้น มีการรับเงินค่าหุ้นล่วงหน้าเข้ามาด้วย 733.5 ล้านบาท ด้วยเหตุนี้เงินกองทุนในปี 2533 จึงไม่ใช่ตัวแดงอีกต่อไป และมีจำนวนสูงถึง 554.71 ล้านบาท

รายการที่น่าสนใจอีกอันหนึ่ง คือ รายการหนี้สินที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก จากหนี้สินรวม 3,406.38 ล้านบาทในปี 2531 ได้ลดลงเหลือ 2,723.32 ล้านบาทในปี 2533

ไม่มีเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารอีกต่อไป เงินกู้ยิมระยะสั้นที่สุชาติอธิบายว่าส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ยิมที่ไม่มีหลักประกันจากบริษัทเงินทุนและธนาคาร มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.0 ถึง 18.5 ต่อปี ลดลงถึง 389.13 ล้านบาท ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปีจำนวน 60 ล้านบาทถูกตัดออกไป

นี่คือรายการสำคัญที่ทำให้สามารถลดหนี้สินรวมได้ถึง 683.06 ล้านบาทในปี 2533

แต่ยังมีรายการสำคัญอีก 2 รายการที่เป็นหนี้จำนวนซึ่งค่อนข้างจะสูงมากคือ เจ้าหนี้บริษัทในเครือและบริษัทร่วม 500.69 ล้านบาทและเงินมัดจำค่าเช่า 1,116.73 ล้านบาทในงบดุลของปี 2533

อย่างไรก็ดี มีข้อน่าสังเกตว่าในงบดุลปี 2531 นั้น เอ็ม บี เคฯ ยังมีสินทรัพย์อยู่ถึง 4,064.29 ล้านบาท ขณะที่งบดุลปี 2533 สินทรัพย์ลดลง 786.25 ล้านบาท เหลือ 3,278.04 ล้านบาท

รายการที่สำคัญคือ มีการลดเงินลงทุนในบริษัทในเครือและบริษัทร่วม จาก 528.47 ล้านบาทเหลือ 55.57 ล้านบาท ทำให้เงินลงทุนรวมลดลดจาก 616.13 ล้านบาทเหลือ 64.07 ล้านบาทหรือลดลง 552.06 ล้านบาท

นอกจากนี้ในรายการที่ดิน อาคารหรืออุปกรณ์ที่มีค่าเสื่อมราคาสะสมเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสุทธิเดมซึ่งเท่ากับ 2,442.21 ล้านบาทในปี 2531 ลดลงเหลือเพียง 2,211.61 ล้านบาทในปี 2533

กล่าวได้ว่าการลดขนาดของสินทรัพย์เป็นนโยบายส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูกิจการมาบุญครอง เป้าหมายหลักก็เพื่อที่จะระดมเงินสดเข้ามาถือไว้แทนวิธีการ คือ การขายเงินลงทุนในบริษัทในเครือและบริษัทร่วม ได้แก่ มาบุญครองเทรดดิ้ง มาบุญครอง-อูโอคุนิ

นอกจากนี้ การเพิ่มพูนรายได้ยังเป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้มาบุญครองฟื้นตัวได้ด้วย เอ็ม บี เคฯมีรายได้จากการประนมหนี้มากถึง 79.12 ล้านบาทในปี 2533 เป็นรายได้ที่สูงเป็นอันดับสองรองลงมาจากการให้เช่าพื้นที่

ในการระดมเงินสดเข้ามานั้น มีการรับเงินค่าหุ้นล่วงหน้าเข้ามาด้วย 733.5 ล้านบาท ด้วยเหตุนี้เงินกองทุนในปี 2533 จึงไม่ใช่ตัวแดงอีกต่อไป และมีจำนวนสูงถึง 554.71 ล้านบาท

รายการที่น่าสนใจอีกอันหนึ่ง คือ รายการหนี้สินที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก จากหนี้สินรวม 3,406.38 ล้านบาทในปี 2531 ได้ลดลงเหลือ 2,723.32 ล้านบาทในปี 2533

ไม่มีเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารอีกต่อไป เงินกู้ยืมระยะสั้นที่สุชาติอธิบายว่าส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ยิมที่ไม่มีหลักประกันจากบริษัทเงินทุนและธนาคาร มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.0 ถึง 18.5 ต่อไป ลดลงถึง 389.13 ล้านบาท ส่วนของหนี้สนระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปีจำนวน 60 ล้านบาทถูกตัดออกไป

นี่คือรายการสำคัญที่ทำให้สมารถลดหนี้สินรวมได้ถึง 683.06 ล้านบาทในปี 2533

แต่ยังมีรายการสำคัญอีก 2 รายการที่เป็นหนี้จำนวนซึ่งค่อนข้างจะสูงมากคือ เจ้าหนี้บริษัทในเครือและบริษัทร่วม 500.69 ล้านบาทและเงินมัดจำค่าเช่า 1,116.73 ล้านบาทในงบดุลของปี 2533

อย่างไรก็ตาม ม.ร.ว.ชีโวสวิชากร เปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า เอ็ม บี เคฯ ได้ทำการเพิ่มทุนเท่าตัวและมีการเรียกชำระไปเรียบร้อยพร้อมกับจดทะเบียนเพิ่มทุนกับกระทรวงพาณิชย์แล้วด้วยเมื่อ 7 กันยายน 2533

ดังนั้นทุนจดทะเบียนของเอ็ม บี เคฯ ปัจจุบันเท่ากับ 1,437.00 ล้านบาท มีจำนวนหุ้นทั้งหมด 14.67 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2533 ปรากฏว่าเอ็ม บี เคฯ ได้จดทะเบียนเปลี่ยนมูลค่าหุ้นและจำนวนหุ้นจากเดิมที่มีมูลค่าหุ้นลุ 100 บาท เป็น 5 บาท ทำให้หุ้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 293,400,000 หุ้น ด้วยทุนจดทะเบียน 1,467.00 ล้านบาท

การเพิ่มทุนจดทะเบียนครั้งนี้ทำให้เอ็ม บี เคฯ มีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้มากขึ้น แม้ว่าโดยข้อเท็จจริงที่ "ผู้จัดการ" ทราบมาจะมีข้อขัดแข้งกันบางประการ คือ เอ็ม บี เคฯ ทำาการเพิ่มทุนไปตั้งแต่มีการจัดการหนี้โดยบริษัทโสมชบาแล้ว

นั่นหมายความว่าการเพิ่มทุนในตอนนั้นเป็นเรื่องที่พูดกันไว้ในที่ประชุมผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาของบริษัท

เพิ่งจะลงมือทำกันจริงๆให้ถูกต้องตามกฏหมายเมื่อปลายปีที่แล้วนี่เอง

เท่ากับว่าการเรียกชำระเกิดก่อนหน้านี้แล้ว ในทางคำพูดและเศษกระดาษ!

ผลในทางปฏิบัติคงไม่ต่างกันนัก!!

เชิดเกียรติกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "เราไม่จำเป็นต้องล้างหนี้ให้หมดก่อนที่จะเอาเข้าตลาดได้ ผมคิดว่า DEBT/EQUITY RATIO มันมีได้ แต่ว่าตัวกำไรระหว่างปีจะต้องมีซึ่งมันก็จะทำให้ตัวขาดทุนสะสมลดลงเรื่อยๆในช่วง 10 เดือน ที่ผ่านมาของบัญชีงบดุลปี 2534 นี้ เราสามารถทำกำไรได้ประมาณ 500 ล้านบาท"

"ตอนนี้เรามีหนี้ที่ติดพันมาแต่ต้นเพียง 500 กว่าล้านบาทเท่านั้น ที่ผ่านมา 2 ปี นี้เราสามารถทำกำไรสุทธิได้ดี หากไม่ผิดพลาด ภายในสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า เราจะสามาระเก็บเป็นกำไรสะสมได้เมื่อปิดรอบบัญชีปี 2534 ในเดือนมิถุนายนนี้ เราจะเหลือขาดทุนสะสมไม่มาก และรอบบัญชีหน้าคาดว่าจะเป็นกำไรสะสม" เชิดเกียรติตั้งความหวัง

กล่าวกันว่าหนี้ดั้งเดิมของมาบุญครองฯมีอยู่ประมาณ 2,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้มีการฟ้องร้องเป็นคดีความรวม 19 คดี ระหว่างปี 2529-2531 มูลหนี้รวม 1,500 กว่าล้านบาท

ในจำนวนนี้เมื่อโสมชบาเข้ามารับซื้อหนี้ไปนั้นได้ซื้อไปประมาณ 1,200 ล้านบาท การเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาจะทำให้เอ็ม บี เคฯ ได้พรีเมี่ยมเข้ามาอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเงินจำนวนนี้บวกกับกำไรจากการดำเนินงานสามารถใช้ล้างหนี้และขาดทุนสะสมให้กลายเป็นกำไรสะสมดังที่เชิดเกียรติกล่าวได้ !!

การฟื้นฟูกิจการมาบุญครองฯที่สำเร็จขึ้นมาได้นั้นมีองค์ประกอบที่ดีหลายประการ คือ ศูนย์การค้าฯที่เป็นหัวใจสำคัญและแหล่งรายได้หลักของธุรกิจสามารถทำรายได้ที่เป็นตัวเงินสดเดือนหนึ่งหลายสิบล้านบาท

องค์ประกอบที่สองคือไม่มีคนชื่อ ศิริชัย บูลกุลมาก่อกวนเหมือนเมื่อ 3 ปีที่มีปัญหาฟ้องร้องกันและคุณหญิงชนัตถ์ต้องจ้างทนายความมาตั้งประตูคอยสู้กันอยู่ตลอด ตอนนี้หันมาจับมือกันได้ระดับหนึ่งแล้ว

ในส่วนของขนาดหนี้ก็ลดจำนวนลงเรื่อยๆ จนมาอยู่ในระดับที่การดำเนินงานของธุรกิจขนาดนี้สามารถจัดการปัยหาหนี้ได้ไม่ยาก

ประการต่อมา ธุรกิจหลัก 2 อย่างซึ่งมีปทุมไรซมิลล์ฯและเอ็ม บี เคฯ เป็นตัวนำนั้น เมื่อเอาเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯได้ ย่อมมีพรีเมี่ยมเข้ามามากมายมหาศาล

"ผู้จัดการ" เชื่อว่าฝีมือบริหารระดับกุนซือผู้อยู่เบื้องหลังของ บันเทิง ตันติวิท คงไม่ทำให้งานนี้พลาดเป็นแน่!!

เมื่อมาบุญครองฯ พ้นพงหนามครั้งนี้ ธนชาติคงจะจับตกแต่งให้สมศักดิ์ศรี เทียงเคียงกับบริษัทอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ที่กำลังดังเป็นพลุอยู่ในตลดหลักทรัพย์ฯในช่วงนี้ได้ไม่ยาก!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us