Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 กรกฎาคม 2550
ส่วนต่างออฟชอร์พุ่ง 4.25 บาท             
 


   
search resources

Currency Exchange Rates




แบงก์ชาติแจงส่วนต่างเงินบาท “ออฟชอร์-ออนชอร์” ห่าง 4 บาท เพราะมาตรการใหม่เพิ่งออก เชื่อไม่นานส่วนต่างจะแคบลง และออฟชอร์จะปิดตัว เผยวานนี้ออฟชอร์ 29.45 บาทต่อดอลลาร์ ส่งผลส่วนต่างพุ่ง 4.25 บาท คกก.ขับเคลื่อนฯ เสนอ ครม.แก้บาท ชี้ทันที 4 มาตรการ ส่วนให้ผู้ส่งออกทำธุรกรรมเป็นดอลลาร์และกองทุนSME 5 พันล้านบาท ต้องถกซ้ำ “โฆสิต” ฟุ้งอุบไต๋มาตรการเด็ด

นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยกรณีที่หลายฝ่ายเสนอให้มีการปิดตลาดซื้อขายเงินบาทในต่างประเทศ (ออฟชอร์) ว่า เชื่อว่าเร็วๆ นี้ ค่าเงินบาทตลาดออฟชอร์จะปรับตัวเข้าหาตลาดซื้อขายเงินบาทในประเทศ (ออนชอร์) มากขึ้น และตลาดออฟชอร์หายไปในที่สุด เนื่องจาก ธปท.ได้ผ่อนผันให้มีการย้ายสัญญาป้องกันความเสี่ยงก่อนวันที่ 19 ก.ค.ที่อยู่ในต่างประเทศเข้ามายังในประเทศได้ โดยมีระยะเวลาภายใน 1 เดือน ซึ่งมีผลให้ค่าเงินบาท 2 ตลาด มีส่วนต่างลดลง

“ค่าเงินบาทระหว่าง 2 ตลาดมีผลทางจิตวิทยามากกว่า เพราะไม่เช่นนั้นระดับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง 2 ตลาดจะต้องวิ่งเข้าหากันแล้ว และที่ผ่านมาคนมีความกังวลว่าค่าเงินบาททั้งสองตลาดเชื่อมโยงกัน ดังนั้นการออกมาตรการต่างๆ มาดูแลในช่วงนี้ เพื่อลดผลจิตวิทยาเท่านั้น”

นางธาริษา ระบุด้วยว่า ตลาดออนชอร์ และออฟชอร์ไม่ได้มีการเชื่อมโยงกัน ตั้งแต่ที่ ธปท.ได้มีการออกมาตรการ 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.49

ด้านนายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ สายตลาดการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า นักลงทุนต่างประเทศส่วนใหญ่มีความสับสนและไม่เข้าใจ การดำเนินการขออนุญาตย้ายการปิดสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า และการทำประกันความเสี่ยง (Hedging) จากตลาดเงินบาทในต่างประเทศมาทำในตลาดเงินในประเทศ ทำให้ยังมีรายการเข้ามาขออนุญาตไม่มาก ส่วนหนึ่งยังเข้าใจว่าจะต้องเป็นธุรกรรมที่ทำในวันที่ 16 ก.ค.-17 ส.ค.50 เท่านั้น ซึ่งไม่ถูกต้องล่าสุด ธปท.จึงได้ออกหนังสือเวียนในลักษณะการถาม-ตอบเพื่อทำความเข้าใจอีกครั้ง และให้คัสโตเดียน แบงก์ ของนักลงทุนต่างชาติเหล่านี้ไปอธิบายให้ชัดเจน นอกจากนั้นยังได้ลงหนังสือดังกล่าวในเว็บไซต์ของ ธปท.ซึ่งนักลงทุนทั่วโลกจะสามารถอ่านเพื่อทำความเข้าใจได้

“ขณะนี้ผลของมาตรการดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้น เนื่องจากตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีผู้ที่มีถิ่นฐานในต่างประเทศ (Non-Resident : NR) ที่มีการทำประกันความเสี่ยงในตลาดต่างประเทศมาขอนุญาติแล้วจำนวนหนึ่ง แต่ยังมีการให้เอกสารหลักฐานไม่ครบ ทำให้ต้องรอหลักฐานให้ครบก่อนที่จะดำเนินการอนุญาต ทำให้วันนี้ ธปท.ยังไม่ได้ให้อนุญาตให้รายการใดมาทำประกันความเสี่ยงในตลาดในประเทศ ทำให้อัตราค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศและในประเทศยังแตกต่างกัน”

ผู้อำนวยการสายตลาดการเงิน ยังได้อธิบายเหตุผล ที่ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศ ในช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา จนถึงวานนี้ ( 23ก.ค.) ที่ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศ ขยับแข็งค่าขึ้นไปอยู่ที่ 29.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แตกต่างจากตลาดในประเทศที่ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.63 บาทต่อดอลลาร์ ประมาณ 4 บาท ว่า เนื่องจากกำหนดสัญญาของการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า และการทำประกันความเสี่ยงในตลาดต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะทำสัญญาล่วงหน้า 3 เดือน ซึ่งเท่าที่สังเกตตั้งแต่19 ธ.ค.49 ที่ผ่านมาแล้ว ทุกครั้งครบสัญญาที่จะต้องส่งมอบเงินบาท ซึ่งอยู่ในช่วงวันที่ 18-19-20 ของเดือน ทุก 3 เดือนค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศก็จะแข็งขึ้นอย่างรวดเร็วครั้งหนึ่ง เพราะมีความต้องการซื้อเงินบาทเพื่อส่งมอบ หรือต่อสัญญา

“ครั้งล่าสุดนี้เท่าที่ประเมิน เหตุผลที่ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศ ดีดขึ้นไปจนแตะระดับ 29.70 บาทต่อดอลลาร์ เป็นเพราะอยู่ในช่วงครบกำหนดส่งมอบเงินบาทเพื่อปิดสัญญาล่วงหน้า หรือต่อสัญญา แต่รอบนี้อยู่ในช่วงก่อนการให้อนุญาตของ ธปท. จึงไม่สามารถขออนุญาตมาปิดสัญญาไดในตลาดในประเทศได้ทัน ทำให้ต้องหาเงินบาทในตลาดต่างประเทศไปก่อน ส่งผลให้ค่าเงินบาท 2 ตลาดยิ่งห่างกันออกไป ธปท.ไม่ต้องการเห็นความต่างออกไปเรื่อยๆ อย่างนี้ จึงได้ออกมาตรการอนุญาตให้ปิดสัญญาในตลาดในประเทศได้ ซึ่งเมื่อผลของมาตรการนี้ออกมา มีการปิดสัญญาในตลาดในประเทศได้จริง ค่าเงินบาท 2 ตลาดก็จะปรับตัวดีขึ้น”นายสุชาติ กล่าว

ส่วนต่างออฟชอร์-ออนชอร์พุ่ง 4.25

นักบริหารเงิน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า วานนี้เงินบาทปิดตลาดที่ 33.70/72 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากช่วงเช้าที่เปิด 33.66/68 บาท/ดอลลาร์ โดยวานนี้เงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 33.64 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ 33.73 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทอ่อนค่าตลอดทั้งวัน เนื่องจากตลาดเองมีการปรับ position โดยการเข้าซื้อดอลลาร์เพื่อรอมาตรการเกี่ยวกับค่าเงินบาทของทางการจะประกาศในวันนี้ภายหลังนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแล้ว ส่วนวันนี้คาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.65-33.80 บาท/ดอลลาร์

สำหรับเงินบาทตลาดต่างประเทศนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ เงินบาทยังแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเวลา 18.00น. เงินบาทต่อดอลลาร์อยู่ที่ 29.45 เทียบกับในประเทศแล้วส่วนต่างห่างกันถึง 4.25 บาท ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ส่วนต่าง 2 ตลาดอยู่ที่ 4 บาท

คกก.ขับเคลื่อนฯ ชง ครม.วันนี้

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมว่า คณะกรรมการฯ เห็นชอบที่จะให้นำเสนอมาตรการดูแลค่าเงินบาท 6 ข้อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันนี้ (24 ก.ค.) โดยในจำนวนดังกล่าว 4 มาตรการจะสามารถดำเนินการได้ทันที ส่วนอีก 2 มาตรการยังต้องประชุมในรายละเอียดอีกครั้ง

“2 มาตรการที่ต้องหารือเพิ่มคือ ให้ผู้ส่งออกสามารถทำธุรกรรมเป็นดอลลาร์ และมาตรการจัดตั้งกองทุนขนาด 5 พันล้านบาทเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งต้องกำหนดรายละเอียดของผู้ประกอบการที่จะสามารถขอใช้เงินกองทุนดังกล่าวเป็นทุนหมุนเวียน โดยประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมจะหารือรายละเอียดของกองทุนดังกล่าวอีกครั้งในวันที่ 6 ส.ค. คิดว่าใน 5 พันล้านบาทจะกันออกมา 500 ล้านบาทให้ผู้ประกอบการที่มีปัญหา NPL แต่มีออร์เดอร์อยู่ โดยธปท.จะจ่ายเงินสมทบ 2.7 พันล้านบาท สมาคมธนาคารไทย 2.3 พันล้านบาท”นายโฆสิต กล่าว

ส่วน 4 มาตรการที่เสนอ ครม.เพื่อออกประกาศได้ทันที ได้แก่ 1.การขยายระยะเวลาการถือครองเงินตราต่างประเทศโดยไม่กำหนดระยะเวลาและวงเงิน และอนุญาตให้ผู้ส่งออกสามารถฝากเงินที่ได้รับจากการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้ 2.การให้บุคคลทั่วไปสามารถเปิดบัญชีเงินฝากในรูปเงินตราต่างประเทศได้ 3.การเร่งรัดคืนเงินภาษีมุมน้ำเงินของกรมศุลกากร ดังนั้น จึงขอให้กรมศุลกากรเร่งจ่ายคืน เพื่อเป็นการลดภาระและมีเงินทุนหมุนเวียน 4.การให้รัฐวิสาหกิจเร่งชำระคืนหนี้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศหรือหากไม่สามารถชำระหนี้ก่อนกำหนด เนื่องจากมีค่าปรับก็อาจพิจารณาให้มีการนำดอลลาร์สหรัฐฯฝากในบัญชีต่างประเทศเพื่อรอการชำระหนี้ดังกล่าวในอนาคต

นายโฆสิต กล่าวอีกว่า หลังจากประกาศมาตรการต่าง ๆ ไปแล้ว คงไม่จำเป็นต้องประเมินผล เพราะสถานการณ์จะฟ้องทันทีว่ามาตรการที่ประกาศได้ผลหรือไม่ได้ผล แต่สิ่งที่รัฐบาลจะดู คือ จะทำอย่างไรให้การบริหารจัดการมีความเข้มแข็ง อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีมาตรการออกไปแล้ว หากปัญหายังไม่ผ่อนคลายลงรัฐบาลก็พร้อมจะนำมาตรการอื่นๆ ออกมาประกาศใช้อย่างต่อเนื่อง

“เรามีเครื่องมือเยอะที่สุดที่จะนำออกมาใช้เมื่อจำเป็น ถ้าเราหมดไต๋ ก็เสร็จ เรื่องนี้เป็นสงครามยืดเยื้อ ไม่ใช่แค่ศึกที่มีจุดจบว่าแพ้ชนะ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ามาตรการที่นำออกมาใช้เป็นมาตรการที่แรงหรือไม่ เพราะการแก้ไขปัญหาแต่ละสถานการณ์มีความแตกต่างกัน ก็จะต้องมีแนวทางแก้ไขออกมาแตกต่างกัน เพราะหากรัฐบาลเห็นว่ามาตรการใดแรงแล้วนำออกมาใช้แต่ไม่ได้ผลจะเป็นการฟ้องว่ารัฐบาลไม่รอบคอบ”

ตั้งบอร์ดดูค่าเงินรับ พ.ร.บ.ใหม่

นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการเข้าร่วมประชุมทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราร่วมกับ ธปท.ว่า เมื่อวานนี้ (23 ก.ค.) ถือเป็นการประชุมนัดสุดท้ายก่อนที่จะมีการปิดทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนอย่างถาวร ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว และจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

“แม้จะมีการยกเลิกทุนรักษาระดับฯ ซึ่งที่ผ่านมาคณะกรรมการทุนรักษาระดับฯ ได้มีการติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีประโยชน์ในการประสานแนวคิดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการคลัง ธปท. และกระทรวงพาณิชย์ด้วย ผมจึงได้เสนอแนวคิดให้มีการอะไรมาทดแทนหรือควรมีการเปิดเวทีปราศรัยอื่นขึ้นมา เพื่อมารายงานสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้น ซึ่งทางธปท.ก็ได้เสนอว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาใหม่ภายใต้ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจต่อไป”

เร่ง รสก.ชำระหนี้คืน ตปท.แล้ว

นายฉลองภพ เปิดเผยถึงกรณีที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้ว่าฯ ธปท.เสนอมาตรการแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่าโดยให้กระตุ้นให้รัฐวิสาหกิจชำระเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศก่อนกำหนด เพื่อเร่งให้มีการซื้อดอลลาร์ในตลาดเพื่อการส่งออก ไปชำระหนี้ในจำนวนสูง จะทำให้ค่าเงินบาทไม่แข็งขึ้นต่อไปทันที และถ้ามีจำนวนสูงมากพอก็น่าจะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงได้ ว่ากระทรวงการคลังก็กำลังดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว

“ขณะนี้ได้มีรัฐวิสาหกิจที่สามารถปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศได้ทันทีถึง 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แล้ว การที่จะเร่งชำระหนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจก่อนกำหนดนั้น จะต้องขึ้นอยู่กับแต่ละโครงการกู้ รวมทั้งความพร้อมของแต่ละรัฐวิสาหกิจด้วย แต่อย่างไรก็ตามกระทรวงการคลังก็จะพยายามที่จะผลักดันให้มีการเร่งคืนชำระหนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us