Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2534
สนทนานักลงทุน             
โดย ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
 


   
search resources

Stock Exchange




แนวโน้มของตลาดหลักทรัพย์ไทย

การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยทำให้ภายธุรกิจโดยรวมมีการขยายตัวตามไปด้วย ธุรกิจเดิมที่มีอยู่อย่างเช่น อุตสาหกรรมอาหาร พาณิชย์ ก่อสร้างที่ดิน มีอัตราการขยายตัวทางรายได้และขนาดของบริษัทที่ค่อนข้างสูงมาก หรือแม้กระทั่งอุตสาหกรรมใหม่ๆ อย่างเช่น อุตสาหกรรมสินค้าเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องโดยตรงไปกับการพัฒนาประเทศ จากจุดนี้จึงทำให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจ และมีแนวโน้มของการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ มากขึ้นเรื่อยๆ ในส่วนบริษัทเดิมที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็มีแนวดน้มที่จะเพิ่มทุนเพื่อขยายกิจการอีกมาก

จากการวิเคราะห์ทางเทคนิคประกอบกับการวิเคราะห์พื้นฐานนั้น DAIWA พบว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์กำลังอยู่ในช่วงแนวขึ้น โดยที่ดัชนีอาจขึ้นไปถึงช่วง 950-1,000 จุดภายในช่วงปลายปีนี้ สำหรับในช่วงเวลาระยะกลางอยู่ในช่วงระยะเวลาของการปรับฐานจึงทำให้ดัชนีในช่วงนี้มีการปรับตัวลง

ตลาดไทยในสายตาของนักลงทุนญี่ปุ่น

สำหรับนักลงทุนญี่ปุ่นแล้ว ตลาดหลักทรัพย์ไทยมีจุดที่ควรคำนึงอยู่ถึง 3 จุด ก็คือ ขนาดของตลาด (มูลค่าการซื้อขาย) ประสิทธิภาพของข้อมูล ข้อจำกัดสำหรับนักลงทุนต่างชาติ

ประการที่หนึ่ง ในส่วนของมูลค่าการซื้อขาย ตลาดไทยยังเล็กอยู่มากเมื่อเทียบกับตลาดที่มีการพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่นอเมริการ ลอนดอน มูลค่าซื้อขายคิดเป็นเพียง 2-3% ของการซื้อขายในญี่ปุ่น จากจุดนี้ตลาดหลักทรัพย์จะขยายตัวต่อไปได้โดยมีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาดฯ มากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทที่มีคุณภาพและอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการขยายตัวสูง และบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้วควรเพิ่มทุนด้วยวิธีการเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป มากกว่าที่จะเพิ่มทุนโดยการเสนอขายกับผู้ถือหุ้นเดิม

ประการที่สอง ในแง่ของข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุนนั้นยังขาดอยู่อีกมาก กอปรกับนักลงทุนไทยยังไม่ให้ความสนใจกับความสำคัญของข้อมูลเท่าที่ควร จุดนี้จึงเป็นจุดสำคัญอีกจุดหนึ่งในการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ไทย

ประการที่สาม เกี่ยวกับข้อจำกัดของนักลงทุนชาวต่างชาติ ตัวอย่างเช่น ข้อจำกัดของอัตราส่วนการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในแต่ละบริษัท เป็นข้อจำกัดที่ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยมีความน่าสนใจน้อยลง

กลยุทธ์ในการลงทุน

การลงทุนของบริษัทโดยส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนแบบระยะยาว อยู่ในช่วงเวลา 2-3 ปี ซึ่งแตกต่างไปจากนักลงทุนรายย่อยทั้งนักลงทุนไทยหรือยุโรปที่เป็นนักลงทุนระยะสั้นและนักเก็งกำไร การลงทุนในสายตาของ DAIWA ต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานของอุตสาหกรรที่น่าสนใจก่อน ต่อจากนั้นจึงลงสู่ระดับบริษัท ศึกษาประวัติความเป็นมาของบริษัทโครงสร้างทางการเงิน แนวโน้มการทำกำไร โครงการในอนาคต สภาวะการแข่งขัน และกฎหมายข้อบังคับต่างๆ ต่อจากนั้นก็จะวิเคราะห์ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการซื้อขาย ในการเลือกซื้อหลักทรัพย์ DAIWA จะจัดอันดับของบริษัทจาก A-D โดยระดับที่ตัดสินใจซื้อควรไม่ต่ำกว่าระดับ C จึงจะยอมรับได้ สำหรับการคัดเลือกหลักทรัพย์อย่างง่ายของผมก็คือ การเลือกซื้อหลักทรัพย์ที่มีอัตราส่วน P/E ต่ำ

กลุ่มของอุตสาหกรรมที่น่าสนใจในปัจจุบัน

DAIWA แบ่งอุตสาหกรรมที่น่าสนใจออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน คือ ธนาคารพาณิชย์ วัสดุก่อสร้างและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกลุ่มสุดท้ายก็คือ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี

เริ่มจากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ DAIWA มุ่งไปสู่ธนาคารขนาดกลางและเล็กอย่างเช่น ธนาคารทหารไทย ธนาคารนครหลวงไทย เพราะมองเห็นถึงโอกาสในการทำกำไรสำหรับบริษัทแล้ว ธนาคารในระดับนี้เป็นธนาคารที่น่าสนใน แต่ข้อจำกัดของนักลงทุนต่างชาติก็คือ อัตราส่วนของการลงทุนที่ถูกจำกัด จึงไม่สามารถจะลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ได้เพียงพอเท่าที่ต้องการ

กลุ่มที่สอง กลุ่มวัสดุก่อสร้างและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเป็นอุตสาหกรรมที่พัฒนาพร้อมๆ ไปกับการพัฒนาประเทศ หลักทรัพย์ที่น่าสนใจเห็นจะหนีไม่พ้น ปูนซิเมนต์ไทย ปูนซิเมนต์นครหลวง ส่วนกลุ่มพัฒนาที่ดินอันได้แก่ แลนด์แอนด์เฮ้าส์

กลุ่มที่สาม สินค้าที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค เมื่อประเทศมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง มาตรฐานการดำรงชีวิตของประชาชนโดยทั่วไปจึงสูงขึ้น ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้นตัวอย่างเช่น กรณีของสุขภาพสตรี การสวมใส่ถุงน่องในประเทศไทยเป็นสิ่งไม่จำเป็นเพียงแต่เพื่อความสวยงามเท่านั้น หรือแม้กระทั่งเครื่องสำอางที่มีคุณภาพและยี่ห้อที่มีชื่อเสียง บริษัทที่น่าสนใจเห็นจะเป็นบริษัทในเครือสหพัฒนพิบูล นิวซิตี้ ไทยวาโก้

กลุ่มสุดท้าย สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูง ประเทศไทยอยู่ในช่วงของการพัฒนา และมีแนวโน้มที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าเทคโนโลยีได้ เนื่องจากข้อได้เปรียบทางด้านค่าแรงที่ยังพอมีอยู่บ้าง และสถานการณ์ภายในประเทศที่ค่อนข้างปลอดภัยเมื่อเทียบกับฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ตัวอย่างของสินค้าเห็นจะเป็นไอซี และแผงวงจรที่ใช่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ไร้สาย บริษัทที่น่าสนใจก็คือ ยีเอสเอสฯ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us