Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2534
MAGMA ผู้ท้าชิงรายใหม่ของเครือซีเมนต์ไทย             
 


   
www resources

โฮมเพจ โอลิมปิคกระเบื้องไทย

   
search resources

มหพันธ์กรุ๊ป
โอลิมปิคกระเบื้องไทย, บจก.
เดช สุขะพิริยะ
Construction




ตลาดกระเบื้องมุงหลังคาคอนกรีตดูจะปั่นป่วนไปมากพอสมควรเมื่ออยู่ดีๆ ก็มี MAGMA โผล่พรวดออกสู่ตลาดและรุกกระหน่ำทางด้านโฆษณาทั้งโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์อย่างไม่หยุดยั้ง ทำเอาผู้ค้าแทบจะตั้งหลักไม่ทัน

MAGMA คือ กระเบื้องคอนกรีตยี่ห้อใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวออกสู่ตลาดเมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา และเป็นเจ้าใหม่ล่าสุดที่หาญกล้ากระโดดเข้าท้าชิงแชมป์เก่ายักษ์ใหญ่อย่าง "ซีแพคโมเนียร์" ของเครือซีเมนต์ไทย ซึ่งเป็นเจ้าของตลาดอยู่ถึง 65% และ "วีคอน" ทุนข้ามชาติจากออสเตรเลียครองอยู่ 30% และที่เหลือ 5% เป็นของ "กระเบื้องคอนกรีตตราเพชร" ของเครือปูนซิเมนต์นครหลวง

MAGMA จึงนับเป็นรายที่ 4 ที่กล้ากระโจนเข้ามาในตลาดนี้ซึ่งมีมูลค่าการตลาดถึงปีละประมาณ 700 ล้านบาท

ผู้เชี่ยวชายในวงการบอกว่าตลาดกระเบื้องมุงหลังคาคอนกรีตเป็นตลาดที่หินเอามากๆ เมื่อเทียบกับวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างอื่นๆ เนื่องจากว่าเป็นตลาดระดับสูง ขยายตัวช้า ตัวสินค้าเองก็ไม่มีรูปแบบให้เล่นมาก และเครือข่ายการตลาดในระบบของยักษ์ใหญ่วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างอย่างเครือซิเมนต์ไทยนั้นก็แข็งเกินกว่าที่ใครทะลุทะลวงเขาไปได้

แต่ทาง MAGMA บอกว่าจะชิงส่วนแบ่งการตลาดให้ได้ 30%ภายในสองปีข้างหน้านี้

แน่นอนตัวเลขนี้หมายความว่า MAGMA จะต้องชิงอันดับสองภายในสองปี ในขณะที่ วี-คอน และตราเพชร ก็ต้องรักษาฐานของตัวเองไว้ให้ได้อย่างเหนียวแน่น งานนี้จึงจำเป็นจะต้องเฉือนเข้าไปในเนื่อที่ของซีแพคโมเนียร์ไม่มากก็น้อย

ความหมายที่ลึกยิ่งกว่านั้นก็ต้องบอกว่าหลังจาก 2 ปี ไปแล้วจะเหลือคู่แข่งเพียงรายเดียว คือ ซีแพคโมเนียร์ เพื่อที่จะชิงการครองอันดับหนึ่งในตลาดนี้

จะว่าไปแล้วแม้ MAGMA จะเป็นรายใหม่ในตลาดกระเบื้องมุงหลังคาคอนกรีต แต่ก็ไม่ใช่ประเภทอ่อนหัดที่ใครจะเคี้ยวเอาได้ง่ายๆ

เพราะถ้ายอกว่าเจ้าของบริษัท มหพันธ์ คอนกรีตผู้ผลิต MAGMA นั้น คือ ประวัติ เตชะมหพันธ์ ผู้ก่อตั้งบริษัทโอลิมปิคกระเบื้องไทยแล้วละก็ คนในวงการย่อมรู้ดีว่าเป็นเจ้าตลาดกระเลื่องซิเมนต์ใยหินทั้งแผ่นเรียบ และแผ่นลอนที่อยู่ภายใต้เครื่องหมาย "โอลิมปิค" ที่มีเครื่องหมายมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมประกันคุณภาพสำหรับตลาดระดับกลางและกระเบื้องตราขวาน (ไม่มีเครื่องหมายมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม) สำหรับตลาดล่าง

ประวัติเลิกทำห้างสรรพสินค้าเล็กๆ ย่านตลาดบางรักแล้วหันมาจับธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องเมื่อ 16 ปีก่อน และก็ปล่อยสินค้าเข้าไปในตลาดแบบซึมลึกเข้าไปเรื่อยๆ แบบคนจีนสมัยเก่า

สินค้าของเขาจึงไม่อยู่ในสายตาของคู่แข่งรายอื่นๆ แต่เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาอันเป็นยุคที่อาจเอก เตชะมหพันธ์ ลูกชายคนโตของเขาจบจากวิศวะจุฬา ออกมาเป็นกำลังสำคัญของครอบครัว ประวัติเริ่มจะปล่อยมือให้อาจเอกรับผิดชอบแทน โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์

หลังจากนั้นไม่นานก็ติดตามมาด้วย อจอง เตชะมหพันธ์ ลูกชายอีกคนก็จบออกมาจากคณะวิศวะจุฬาฯ ซึ่งคนหลังนี้เข้ามาช่วยงานทางด้านการพัฒนาการตลาดในเชิงรุกมากขึ้น

"อาจองเปิดตัวกระเบื้องโอลิมปิคโดยวิธีการตลาดสมัยใหม่เมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมานี้จนะเป็นที่หันมองของคู่แข่งมากขึ้นแต่ก็ดูจะแก้ไขอะไรลำบากเพราะสินค้าค่ายนี้ซึมอยู่ในตลาดมานานแล้ว การนำวิธีการตลาดมานานแล้ว การนำวิธีการตลาดสมัยใหม่ ทั้งการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขายในรูปแบบต่างๆ การแยกแยะกลุ่มลูกค้าให้มีความชัดเจนมากขึ้น ทำให้ความร่วมมือระหว่างพี่น้องคู่นี้เห็นผลทันทีจากยอดขายท่เพิ่มขึ้นปีละ 20% จากโรงงานเล็กๆ เพียงโรงงานเดียว จนปัจจุบันมีการขยายโรงงานขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นเป็น 3 โรงงาน ควบคุมการผลิตด้วยเครื่อจักรที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการขยายตัวทางด้านตลาดที่พวกเขากระโดดเข้าไปแข่งขันกันอย่างเข้มข้น" นักการตลาดที่เคยช่วยงานกลุ่มนี้มาก่อนเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึงการเติบโตของกลุ่ม

กลุ่มธุรกิจนี้มีชื่อว่า"มหพันธ์กรู๊ป" หลังจากประสบความสำเร็จจกาการผลิตและจำหน่ายกระเบื้องซีเมนต์ใยหินแล้ว ก็ได้ซุ่มเงียบที่จะออกกระเบื้องมุงหลังคาคอนกรีตอยู่นาน เพราะเป็นสินค้าที่เรียกว่าเป็นอีกระดับที่สูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับสินค้าที่เขาเคยครองตลาดอยู่

แต่เจ้าตลาดกระเบี้องคอนกรีตเดิมก็ไม่ค่อยได้สนใจว่ามหพันธ์กรู๊ปจะออกสินค้าออกมาหรือไม่ หรือพวกเขาคิดว่าถ้าออกมาก็คงไม่มีผลกระทบอะไรมากมายเท่าใดนัก ทำให้คนหนุ่มสามสี่คนสุมหัวกันวางแผนวงานด้วยความสบายอกสบายใจมากว่าสองปีโดยไม่มีอะไรมาเป็นอุปสรรค

ความลับก็ไม่เคยแพร่งพรายออกมาถึงหูคู่แข่งจนกระทั่งเปิดโรงงานเสร็จเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

จาก อาจเอก-อาจอง สองพี่น้องก็ได้ เดช สุขะพิริยะ จากบริษัทซีเกทผู้ผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ กับ อัมพล เติมผลบุญ จากบริษัท จาร์ดีน แผนกแอร์ยอร์คอินเตอร์เนชั่นแนลผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศยอร์ค เข้ามาเสริมอีก 2 คน

เดช สุขุพิริยะ แม้จะอายุเพียง 33 ปี แต่พอผลงานออกมาปรากฏว่าคู่แข่งในตลาดต่างก็เช็คข่าวกันจ้าระหวั่น เนื่องจากเขาไม่เคยอยู่ในอุตสาหกรรมนี้มาก่อ่นจึงไม่ค่อยมีใครทราบว่าเขาเป็นใครมาจากไหน

นับเป็นความประมาทของคู่แข่งที่ไม่ได้ติดตามเรื่องอย่างใกล้ชิด และมองกลุ่มนี้ไม่อยู่ในสายตา !!

เดชเป็นเพื่อนรักกับอาจอง ตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ในโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก และสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์(ไฟฟ้า)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จนเรียนจบออกมาพร้อมๆ กัน

อาจองกลับมาทำงานช่วยครอบครัวทำโรงงานและขายกระเบื้อง เดชเข้าทำงานเป็นลูกจ้างบริษัทแสตนเล่ย์ ผู้ผลิตหลอดไฟรถยนต็ของญี่ปุ่นในไทยจากตำแหน่งวิศวกรธรรมดาจนขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูงของบรษัทในเวลา 8 ปีนับแต่เขาเข้าทำงานเคยถูกส่งไปฝึกอบรมและดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นหลายครั้ง ทั้งในด้านเทคนิคและด้านการบริหาร

ความรับผิดชอบในตำแหน่งหน้าที่การงานของเดชก่อนที่จะออกจากแสตนเล่ย์นั้นดูแลควบคุมทั้งโรงงาน การเงิน และบุคคล ยกเว้นการตลาดซึ่งญี่ปุ่นไม่ชอบให้ยุ่งเท่าใดนัก

ในระหว่างทำงานอยู่นั้นเดชได้เรียนต่อชั้นปริญญาโทวิศวะไฟฟ้าที่จุฬาไปด้วย จากนั้นก็เรียน EX-MBA ที่สถาบันเดียวกันจนจบเป็นรุ่นแรกในปี 2531 เดชย้ายงานเพียงครั้งเดียวจากแสตนเล่ต์มาทำกับบริษัทซีเกท ด้วยเหตุผลเพียงต้องการศึกษาสไตล์การบริหารงานจากแนวญี่ปุ่น มาเป็นแนวอเมริกันบ้างเท่านั้นเอง เขาใช้เวลาเพียงครึ่งปีเมื่อได้เรียนรู้แล้วก็ออกมา

ในระหว่างนั้นเอง เดช กับอาจองก็หารือกันตลอดเวลาถึงโครงการซึ่งกลุ่มมหพันธ์กรู๊ปต้องการขยาย นั่น คือ โครงการกระเบื้องมุงหลังคาคอนกรีต เดชจึงถูกกำหนดให้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทมหพันธ์กระเบื้องคอนกรีตที่ตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อผลิตกระเบื้อง MAGMA เป็นการเฉพาะ

นับเป็นการสุ่มเสี่ยงอยู่ไม่น้อยที่ อาจองและครอบครัวของเขาตัดสินใจเลือกเดชเข้ามารับผิดชอบโครงการนี้ทั้งๆ ที่เขาไม่มีประสบการณ์ทางด้านอุตสาหกรรมกระเบื้องมาก่อน แต่ก็อาศัยความเป็นเพื่อที่ไว้ในกันมานาน และความเชื่อถือในความคิดของคนรุ่นใหม่ของประวัติผู้พ่อที่เคยปล่อยให้ลูกๆ ทำมาหลายปีจนประสบความสำเร็จในสินค้ากระเบื้องซิเมนต์ใยหินมาแล้ว

"ประสบการณ์ทางด้านอุตสาหกรรมกระเบื้องนั้นมีอยู่ในตัวทุกคนในครอบครัวนี้อยู่แล้ว ในขณะที่เดชมีประสบการณ์ด้านการบริหารการจัดการโรงงานสมัยใหม่ทั้งสไตล์ญี่ปุ่นและอเมริกันคงจะผสมผสานกันได้เป็นอย่างดี" คนในบริษัทโอลิมปิคกล่าว

สำหรับเดชนั้นบอกว่ามันเป็นสิ่งท้าทายมาก ทั้งในแง่ความเป็นวิศวกรของเขาซึ่งคนมักจะมองว่า พวกนี้เป็นพวก "หัวสี่เหลี่ยม" ไม่ค่อยมีศิลปหรือทักษะในเชิงการบริหารเอาเสียเลย แล้วเขาก็ยังอุตส่าห์ไปเรียน EX-MBA มาด้วยยิ่งเกิดความท้าทายเข้าไปอีกว่าสิ่งที่เขาเรียนมานั้นตัวเขาเองจะนำมาใช้ให้เกิดผลได้หรือไม่

"ผมสนใจตั้งแต่อาจองเล่าให้ฟังถึงโครงการที่จะขยายงานของครอบครัวเขาและก็ตัดสินใจเข้ามาร่วมตั้งแต่เริ่มคิด หาที่ดินที่จะตั้งโรงงาน เที่ยวหาเทคโนโลยีไปหลายประเทศทั่วโลก จนถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะต้องให้ความเชื่อมั่นว่า เข้าตลาดได้ด้วยคุณภาพและความทันสมัยจนถึงตั้งโรงงานเสร็จและทดลองเดินเครื่องสินค้าออกมาได้ตามมาตรฐานที่เราต้องการ เราใช้เวลาทั้งหมดสองปีเต็มในการเตรียมการเรื่องนี้" เดชเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ"

เดชยอมรับว่า นอกจากความรู้ทีได้จากหลักสูตร EX-MBA แล้วประสบการณ์ทางด้านการตลาดเขาอ่อนมาก แต่ก็ได้อัมพล เติมผลบุญ เข้ามาเสริมทางด้านนี้อย่างลงตัวพอดี

อัมพลเพิ่งจะอายุขึ้น 30 ปี ซึ่ก็เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้คู่แข่งมองคนกลุ่มนี้ไม่อยู่ในสายตาเอาเสียเลย

อัมพลจบบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ หรือ ABAC เมื่อปี 2527 เข้าทำงานแห่งแรกที่บริษัทโอลิมปิคกระเบื้องไทยนี่เองโดยรับผิดชอบด้านการตลาด ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นทำาการตลาดในเชิงรุกภายใต้การนำของ อาจอง เตละมหพันธ์ จนทำให้ประชาชนทั่วไปรู้จักระเบื้องตราโอลิมปิคมากขึ้น จากการขายสู่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นโรงงาน ผู้รับเหมาทั้งงานภาคเอกชนและงานภาครับบาลก็ขยายสู่ผู้บริโภคโดยตรงจนถึงปัจจุบัน โดยมีการแยกเซ็กเมนต์สินค้าให้ชัดเจนขึ้น

อัมพลอยู่กับโอลิมปิคได้ 5 ปีก็ลาออกไปเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดของ บริษัท จาร์ดีนแผนกยอร์คดินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นช่วงที่แอร์ยอร์คซึ่งครองตลาดแอร์อาคารขนาดใหญ่จะลงมาเล่นตลาดแอร์บ้านบ้าง

เขาให้เหตุผลในการลาออกจากโอลิมปิคว่าการตลาดสินค้ากระเบื้องซีเมนต์ใยหิน ในขณะนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจนอยู่แล้วจึงไม่มีอะไรให้เล่นมาก

ที่แอร์ยอร์คถูกจับวางให้ทำการตลาดแอร์บ้านจนเป็นที่ฮือฮากันพอสมควรในยุคหนึ่งที่เกิดพิพาทกับแอร์แคร์เรีย กรณีหนังโฆษณาที่เอาท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นแบ็คกราวด์ เพื่อดึงความเย็นที่ดอนเมืองที่ติดตั้งแอร์ยอร์คเครื่องใหญ่ไปสู่ความเย็นสบายที่บ้านถ้าติดตั้งแอร์ยอร์ค

แต่ปรากฏว่าในพื้นที่ดอนเมืองนั้นนอกจากติดตั้งแอร์ปรับอากาศยอร์คแล้ว บางพื้นที่ยังติดตั้งแอร์แคร์เรียด้วย เรื่องจึงถูกต้องเรียนจากแคร์เรียร์ ซึ่งต่อมาก็สามารถตกลงกันได้โดยการตัดต่อภาพแบ็คกราวด์ใหม่

อย่างไรก็ตามแนวคิดการตลาดของเขาให้ผลออกมาดีจากที่แอร์บ้านของยอร์คไม่ได้อยู่ในตลาดเลยจนปัจจุบัน ติดอยู่ในอันดับสองสำหรับแอร์บ้านรองจากแคร์เรียร์

เมื่อถูกทาบจาก อาจอง เตชะมหพันธ์ ให้เข้ามาร่วมงานอีกครั้ง โดยจะมีสินค้าตัวใหม่ คือ MAGMA ที่เป็นกระเบื้องมุงหลังคาคอนกรีตให้เล่นอีกตัว ประกอบกับความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมาแต่เดิมอัมพลก็เลยตัดสินใจทันทีที่จะรับงานนี้

ปัจจุบัน อัมพล เติมผลบุญ เป็นผู้จัดการด้านการตลาดดูแลสินค้าของบริษัทในเครือทุกตัว โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ใหม่อย่าง MAGMA เขาได้รับความเห็นชอบให้นำออกสู่ตลาดด้วยความแรงและเร็วอย่างชนิดที่เจ้าตลาดเดิมคาดไม่ถึงด้วยงบประมาณร่วม 30 ล้านบาท จากเดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคมปีนี้

เบื้องหลังงานการตลาดก่อนที่จะออกมาสู่จอทีวีหนังสือพิมพ์และบรรดาร้านค้าตัวแทนต่างๆ ทั่วประเทศนั้น อัมพลบอกว่าเขาได้ทำการสำรวจตลาดมาแล้วยาวนานพอสมควร ทั้งจากกลุ่มผู้ซื้อโดยตรงอย่างพวกวิศวกรผู้ออกแบบ และผู้ใช้อย่างเจ้าของบ้านเขาเคยเชิญวิศวกรผู้ออกแบบหลายกลุ่มหลายวัย ทั้งกลุ่มใหญ่กลุ่มย่อย เพื่อให้ความเห็นและติชมกระเบื้องคอนกรีตตัวอย่างทั้งที่มีอยู่ในตลาดเมืองไทยและตลาดต่างประเทศโดยที่บุคคลเหล่านั้นไม่รู้ตัว เพื่อนำข้อมูลนั้นมาใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์ MAGMA และก็ได้ออกมาอย่างที่เห็น โดยฝีมือการออกแบบของ เดช สุขะพิริยะ

ซึ่งเดชบอกว่าแบบของเขาดัดแปลงมาจากทั้งที่มีอยู่แล้วในต่างประเทศและคิดขึ้นเองจากการสำรวจจากกลุ่มลูกค้า

และก็เป็นที่มาของคำว่า " MAGMA ระบบหลังคาสมบูรณ์แบบ" อย่างที่เห็นในสื่อต่างๆ เดชกล่าวว่าผลิตภัณฑ์กระเบื้องมุงหลังคาคอนกรีตของเขาถูกวางให้เป็นทางเลือกใหม่ของลูกค้า คือ คุณภาพดี ผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย มีระบบการควบคุมคุณภาพด้วยคอมพิวเตอร์ มีอุปกรณ์ประกอบครบครัน ประกอบง่าย และก็สวย มีสีให้เลือกอย่างหลายหลาย

MAGMA นอกจากจะมีกระเบื้องลอนแบบคลื่นทะเลแล้วยังมีกระเบื้องครอบข้างทั้งซ้ายและขวาที่ทำให้ไม่ต้องฉาบปูนเก็บรอยแต่ กระเบื้องครึ่งแผ่นทำให้ไม่ต้องตัดเมื่อให้มุาสลับกระเบื้องสันโค้งและช่องระบายอากาศทำจากสารพิเศษที่เรียกวา MAGMA 2000 ครอบปิดจั่ว ครอบหางมน ครอบ 3 ทาง ครอบ 4 ทาง แผ่นกันความร้อน และหวีกันนก กระทั่วกระเบื้องลอนที่มีช่องติดตั้งเสาอากาศทีวีโดยน้ำไม่สามารถเข้าได้ โฟมพิเศษกันน้ำซึมตามรอยครอบต่างๆ บนหลังคา

ทั้งหมดนี้รับช่วงโดยการยิงโฆษณาทางทีวีที่ทำให้คนรู้จัก MAGMA อย่างรวดเร็ว และติดตามด้วยโฆษณาทางหน้าหนังสือพิมพ์ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน เพื่ออธิบายถึงรายละเอียดของสรรพคุณและวิธีใช้ส่วนประกอบต่างๆ จนถึงความพิถีถันในการจัดเก็บและจัดส่งถึงมือลูกค้าซึ่งแพ็คกิ้งด้วยพลาสติกใสสวยงาม สินค้าจะไม่สึกหลอหรือเก่าไม่ว่าจะเก็บไว้นานเท่าใดก็ตาม รวมทั้งหมด 7 ชุด

แม้ขณะนี้ยังไม่อาจวัดผลงานด้วยยอดขายได้ พวกเขาบอกว่ายอดขายขณะนี้ยังไม่ได้รวบรวม เพราะอยู่ในระหว่างการจัดสรรโควต้าให้แก่ลูกค้า

"แต่ก็ภูมิใจที่ทำให้เจ้าตลาดอย่าง ซีแพ็คโมเนียร์ และ วี-คอน หันมามองเรา และก็ทุ่มโฆษณาลงมาอย่างมากในระหว่างนี้หลังจากที่เงียบหายไปนานและไม่เคยสนใจเราเลย และที่ภูมิใจยิ่งกว่านั้น คือ เรามีส่วนทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้นในการบริโภคสินค้าในระบบการแข่งขันสมบูรณ์" เดช สุขุพิริยะ พูดอย่างเชื่อมั่นและท้าทายกับ "ผู้จัดการ"

อีกไม่นานก็คงรู้ MAGMA ผู้ท้าชิงจะเป็นอย่างไร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us