Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2534
วิจิตรจ้างเอกชนบริหารทุนสำรอง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
วิจิตร สุพินิจ
Cash Management




วิจิตร สุพินิจ ผู้ว่าการแบงก์ชาติ เป็นคนหนุ่มไฟแรงมีความคิดอ่านหลักแหลมทันสมัย หลังจากดำเนินมาตรการผ่อนคลายการปริวรรตเงินตราที่เกิดจากธุรกรรมทางการค้าและการลงทุนแล้ว เขาก็ได้ริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับการส่งเสริมเปิดทางให้ตลาดการเงินภายในประเทศมีการแข่งขันมากขึ้น

การปลดเปลื้องข้อจำกัดต่างๆ ทางแนวคิด กฏหมายระเบียบข้อบังคับที่ควบคุมธุรกิจการเงินกำลังดำเนินไปอย่างรวดเร็วเพื่อให้บรรลุเป้าหมายบังคับใช้ให้ทันในสมัยรัฐบาลชุดนี้

"การขยายบทบาทการประกอบธุรกิจการเงินของสถาบันการเงินกำลังอยู่บนหนทางการสร้างสรรค์ระบบตลาด ที่ก้าวไปข้างหน้าอีกก้าวหนึ่ง หลังจากการผ่อนคลายการปริวรรตไปแล้ว" แบงเกอร์จากสถาบันการเงินต่างประเทศชื่อดังให้ความเห็นจากข่าวการเงินชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในเดือนพฤษภาคม ที่ระบุว่าแบงก์ชาติกับกระทรวงการคลังและตลาดหลักทรัพย์ฯกำลังทำงานอย่างรีบเร่ง เพื่อที่จะเข็นกฏหมายตราสารการเงินออกมาให้สำเร็จในปีนี้

ว่ากันตามจริงแล้ว แบงก์ชาติในยุคของวิจิตรต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาดการเงินโลกที่สืบเนื่องมาจากการพลวัตรอย่างรวดเร็วทางการค้า และการลงทุนของตลาดโลกในแถบทวีปยุโรปและความล้มเหลวของแกตต์ในรอบอุรุกวัย

ประเทศมหาอำนาจในแกตต์กำลังกดดันให้ไทยและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆที่สำคัญเปิดตลาดธุรกิจการเงินให้กว้างขึ้น เพิ่มเหิดทางให้กับสถาบันการเงินของประเทศของเขาที่จะเข้ามาทำมาหากินในไทยและภูมิภาคนี้

"เราคงซื้อเวลาได้อีชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น ก่อนที่เราจะต้องยอมเปิดตลาดให้เขากว้างขึ้น" เจ้าหน้าที่ระดับบริหารของแบงก์ชาติพูดถึงเหตุผลสำคัญของการดำเนินนโยบายการเงินที่เน้นการแข่งขัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้สถาบันการเงินในประเทศของวิจิตร

มองในภาพที่ใหญ่ขึ้นมาอีกระดับประเทศ การเติบโตทางภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวจากการดำเนินมาตรการอัตราแลกเปลี่ยนที่ถูกต้องของวิจัตรในระยะที่ผ่านมา ทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่แบงก์ชาติดูแลอยู่พอกพูนสูงขึ้นถึงประมาณเกือบ 16 พันล้านดอลลาร์

มันเป็นเครื่องชี้ถึงสถานะทางความมั่นคงของชาติระดับชั้นนำในภูมิภาคนี้ และเมื่อมองย้อนกลับในประเด็นของความมั่นคงทางเศรษฐกิจแล้วก็สามารถเปรียบเทียบได้กับความสามารถในการนำเข้าได้ถึง 5 เดือนกว่าๆ ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์

"ขนาดเงินทุนสำรองของเราเมื่อเทียบกับสิงคโปร์พอผัดพอเหวี่ยงกัน" เจ้าหน้าที่บริหารทุนสำรองแบงก์ชาติพูดกับ "ผู้จัดการ"

มันเป็นการเติบโตของไทยที่น่าพิศวง ทั้งที่สิงคโปร์ตกอยู่สถานะของการเป็นศูนย์กลางการเงินและการค้าที่สำคัญที่สุดของโลกแห่งหนึ่งและสำคัญที่สุดของภูมิภาคนี้ ขณะที่ไทยยังเป็นเพียงแค่ตลาดที่เพิ่งจะเกิดเท่านั้น

การอยู่ในสถานะของการเป็นศูนย์กลางการเงินของโลกในภูมิภาคอาเซียนทำให้สิงคโปร์ สามารถก้าวหน้ากว่าประเทศไทยในการบริหารทุนสำรองระหว่างประเทศ

"เขาให้หน่วยงานที่ชื่อว่า THE MONETARY AUTHORITY OF SINGAPORE หรือเรียกย่อๆ ว่า MAS เป็นผู้บริหาร ซึ่งพูดได้ว่ากล้าได้กล้าเสียและเชี่ยวชาญกว่าเรามาก" ผู้บริหารระดับสูงในแบงก์ชาติกล่าว

ขอบเขตการบริหารเงินทุนสำรองของสิงคโปร์มีขอบเขตการลงทุนที่กว้างขวางกว่าไทยมาก "ที่เห็นได้ชัด เขาสามารถเอาเงินทุนสำรองส่วนหนึ่งลงทุนหาผลประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ได้" มองในจุดนี้ กฎหมายการบริหารทุนสำรองของไทยที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าเน้นความมั่นคงมากกว่าผลตอบแทน ทั้งนี้เนื่องจากในอดีตทุนสำรองมีน้อยมาก

เมื่อทุนสำรองฟื้นตัวสู่ความมั่งคั่งขึ้น แนวการบริหารทุนสำรองของไทยยุควิจิตร ก็เริ่มก้าวหน้าขึ้น "แต่เราก็คงจำกัดตัวเองอยู่ที่เน้นความมั่นคงเป็นหลักสำคัญสูงสุด ส่วนผลตอบแทนเป็นอันดับรองลงมา" ผู้บริหารทุนสำรองท่านหนึ่งของแบงก์ชาติพูดถึงนโยบายบริหารทุนสำรองของวิจิตร

แนวการบริหารทุนสำรองจะถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน หนึ่ง พอร์ตส่วนหนึ่งจะอยู่ในการดูแลของ นพมาศ มโนลีหกุล ผู้จัดการสำนักงานแบงก์ชาติสาขานิวยอร์ก สอง อีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นพอร์ตที่ใหญ่ที่สุดส่วนบริหารทุนสำรองที่กรุงเทพซึ่งมี ธนศักดิ์ จันทโรวาสเป็นหัวหน้าดำเนินการภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของคณะกรรมการบริหารทุนสำตองที่มีวิจิตรและรองผู้ว่าการเป็นกรรมการ สาม ทุนสำรองส่วนที่เหลือจากพอร์ตสองส่วนข้างต้นซึ่งยังไม่มีใครรู้ว่ามีจำนวนเท่าไร ว่าจ้างให้บริษัทรับจัดการลงทุนเอกชนต่างประเทศที่มีชื่อเสียง และความเชี่ยวชาญในการบริหารระดับโลกเป็นผู้ดำเนินการ

การว่าจ้างให้บริษัทเอกชนชั้นนำของโลกมาบริหารทุนสำรองครั้งนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของไทย ที่แสดงถึงความกล้าหาญของวิจิตรมากๆ

เวลานี้ มีประมาณ 20 บริษัทเสนอตัวเข้ามาให้แบงก์ชาติพิจารณา แต่ละบริษัทมีความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับในตลาดการเงินของโลกทั้งนั้น และมีพอร์ตที่อยู่ในความรับผิดชอบบริษัทละกว่า 20 พันล้านดอลลาร์ทั้งนั้น

"เราใช้วิธีเปิดกว้างให้แต่ละรายเสนอข้อเสนอประเด็นเรื่องการให้ผลตอบแทนอย่างมีหลักประกัน วิธีการบริหารลงทุน และการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคนิคใหม่ๆ ในการบริหารลงทุนให้เจ้าหน้าที่เรา" ผู้บริหารระดับสูงของแบงก์ชาติเล่าให้ฟัง

ข้อผูกพันในการว่าจ้างนี้เป็นปีต่อปี ถ้าได้ผลดีก็อาจเพิ่มวงเงินทุนสำรองให้บริหารมากขึ้นเรื่อยๆ

กลุ่มบริษัทเป้าหมายที่แบงก์ชาติต้องการเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในตลาดเงินนิวยอร์กและยุโรป

แบงก์ชาติจะทำการคัดเลือกรอบแรกเหลือแค่ 8 บริษัท และรอบสุดท้ายเหลือแค่ 3 ก่อน ที่จะตัดสิน "เราต้องการ 2 บริษัทเพื่อให้มีการแข่งขันกันและเราจะได้สามารถเปรียบเทียบฝีมือกันได้"

ยังไม่มีใครรู้ว่าบริษัทไหนจะโชคดีได้รับการคัดเลือก เนื่องจากทุกบริษัทที่แบงก์ชาติเชื้อเชิญมาก็ล้วนแต่เป็นบริษัทรับจัดการลงทุนที่มีชื่อเสียง มีความเชี่ยวชาญลงทุนในตลาดการเงินสำคัญๆ ของโลก

บริษัทที่ได้รับเชิญ 20 รายที่ว่า เท่าที่ "ผู้จัดการ" สืบค้นมาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกเป็นบริษัทอเมริกัน และกลุ่มที่สองเป็นบริษัทยุโรป

บริษัทอเมริกันก็ได้แก่ บริษัทรับจัดการลงทุนฟิเดลริตี้ ซิตี้คอร์ป เชส เจ.พี มอร์แกน มอร์แกน สแตนเล่ย์ และแฮรี่แมนแอนด์โค

กลุ่มยุโรป ได้แก่ ลอยด์ บาร์เคย์ ชิมิต้า แบริ่ง ชโรเดอร์ วอร์ดเล่ย์ เมอคิวรี้ ธอร์นตัน ฮิลแซมมวช พคเต็ทแอนด์ซียูเนียนแบงก์ออฟสวิตเซอร์แลนด์ พาริบาส เอ็นเอ็มล้อทไชล์ และการ์ตมอร์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us