Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2534
ไทยสกายทีวี จุดเริ่มต้นอาณาจักรบันเทิง ของคีรี กาญจนพาสน์             
 


   
search resources

ไทยสกายทีวี
สยามบรอดคาสติ้ง
คีรี กาญจนพาสน์
TV




หลังจากสร้างชื่อให้เป็นที่รู้จักกันในวงการเรียลเอสเตทและสามารถเข็นบริษัทธนายงเข้าไปปักหลักในตลาดหุ้นได้สำเร็จ คีรี กาญจนพาสน์ กำลังจะเริ่มก้าวที่สองของการสร้างอาณาจักรธุรกิจในเมืองไทยด้วยธุรกิจเคเบิลทีวีในชื่อไทยสกายทีวี

ไทยสกายทีวีดำเนินการโดย บริษัท สยามบรอดคาสติ้งซึ่งได้รับสัมปทานจาก อสมท. เมื่อเดือนกรกฏาคมปีที่แล้วในยุคที่ราชันย์ ฮูเซ็นยังเป็นผู้อำนวยการอยู่ โดยมีข้อแลกเปลี่ยนในเรื่องผลปรโยชน์ตอบแทน คือ หนึ่ง หุ้นจำนวน 7% ของสยามบรอดคาสติ้งจะต้องเป็นของ อ.ส.ม.ท.

สยามบรอดคาสติ้งมีทุนจะทะเบียน 20 ล้านบาท และภายในสามปีจะต้องเพิ่มทุนให้ถึง 50 ล้านบาท ตามเงื่อนไขข้อที่สองในสัญญาที่ทำไว้กับ อ.ส.ม.ท.

เงื่อนไขข้อที่สามคือเรื่องผลตอบแทนขั้นต่ำที่จะต้องจ่ายให้ อ.ส.ม.ท. เป็นเงิน 175 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 20 ปี หรือจ่ายให้ 6.5% ของรายได้ก่อนหักภาษีของสยามบรอดคาสติ้ง แล้วแต่ว่าจำนวนไหนจะมากกว่า

อีกข้อหนึ่ง คือ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ซึ่งสยามบรอดคาสติ้งจะต้องออกอากาศตามสัญญา สยามบรอดคาสติ้งจะต้องโอนทรัพย์สิน อุปกรณ์ทุกอย่างให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ อ.ส.ม.ท.

อ.ส.ม.ท. ได้ให้สัมปทานเคเบิลทีวีกับบริษัทไอยีซีของพ.ต.ต.ดร. ทักษิณ ชินวัตรไปก่อนหน้านี้แล้ว การให้สัมปทานแก่สยามบรอดคาสติ้งอีกรายหนึ่งจึงเท่ากับเป็นการทำให้เกิดการแข่งขันกันขึ้น

ทุกวันนี้ใครๆ ก็รู้ว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโทรคมนาคมนั้นมีความสำคัญและเป็นธุรกิจที่จะทำรายได้ให้มหาศาล แต่ใช่ว่าใครที่ได้ครอบครองสื่อทางด้านนี้ไว้ในกำมือแล้วจะต้องได้ประโยชน์สูงสุดเสมอไป คลื่นความถี่ของเคเบิลทีวีซึ่งถือได้ว่าเป็น MASS MEDIA แบบเดียวกับคบื่นวิทยุและโทรทัศน์นั้นถ้าปราศจากซึ่งซอฟต์แวร์ หรือรายการที่มีคุณภาพแล้วก็ไม่ต่างอะไรจากรายการทีวีอันน่าเบื่อที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

ที่สำคัญคนที่จะทำเคเบิลทีวีให้เป็นทางเลือกใหม่ของคนดูทีวีได้นั้น จะต้องมีวิญญาณของผู้ประกอบการที่กล้าลงทุนในเรื่องรายการที่มีคุณภาพ

"เราไม่ต้องการเป็นแค่โทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกเท่านั้น แต่เราวางเป้าหมายที่จะเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจบันเทิงเต็มรูปแบบของประเทศไทย" คีรีพูดถึงเป้าหมายทางธุรกิจในระยะยาวของสยามบรอดคาสติ้งซึ่งมีไทยสกายเป็นเสมือนช่องทางไปถึงผู้บริโภค ธุรกิจบันทิงที่เขาพูดถึงก็คือสินค้าที่จะผ่านช่องทางนี้ โดยมีผลตอบแทนคือค่าสมาชิกเป็นรายเดือนจากผู้ชมที่ต้องสมัครเป็นสมาชิก

ไทยสกายได้จ้างบริษัทดีมาร์ทำการวิจัยตลาดเคเบิลทีวีพบว่า ประมาณ 30% นั้นเป็นสมาชิกไอบีซีอยู่แล้ว 10% ยังไม่ได้เป็นแต่สนใจที่จะเป็น อีก 50% ไม่รู้เรื่องเคเบิลทีวีเลย ที่เหลืออีก 10% รู้เรื่องแต่ไม่สนในที่จะเป็นสมาชิก

"ส่วน 10%ที่สนใจแต่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกนั้น คือ ตลาดแรกที่เราจะเข้าไปส่วนอีก 50% ที่ไม่รู้เรื่องและ 30% ที่เป็นสมาชิกไอบีซีอยู่แล้วแน่นอนว่าอยู่ในความสนใจของเราซึ่งจะต้องใช้กลยุทธ์ใมนการเจาะกลุ่มนี้ให้ได้" ผู้บริหารของไทยสกายอธิบายขนาดของตลาดซึ่งยังมีที่ว่างอยู่อีกถึง 60%

จุดแข่งขันที่สำคัญคือตัวโปรแกรมว่าจะมีความน่าสนใจเพียงไร

ความจริงแล้วต้องถือว่าธุรกิจบันเทิงนั้น คือ สนามที่คีรีได้แสดงฝีไม้ลายมือของตัวเองอย่างเต็มที่ ธุรกิจเรียลเอสเตทอย่างโครงการธนาซิตี้นั้นต้องนับว่ายังอยู่ภายใต้ร่มเงาของผู้เป็นพ่อที่ได้วางรากก่อฐานไว้ให้แล้ว

ธุรกิจของเขาที่ฮ่องกงนอกจากภัตคารเครือตินตินแล้ว คีรียังมีธุรกิจส่วนตัวในการเป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์รายการบันเทิงและกีฬาอย่างเช่น โอลิมปิคเกมส์ที่โชล มาขายให้กับสถานีโทรทัศน์ที่ฮ่องกง เขาจึงไม่ใช่คนหน้าใหม่ในธุรกิจบันเทิง หากแต่มีประสบการณ์พอตัวในเรื่องการซื้อขายรายการบันเทง และมีสายสัมพันธ์กับตัวแทนของผู้ผลิตรายการต่างๆ ทั่วโลกซึ่งมักจะต้องมีสำนักงานอยู่ที่ฮ่องกงด้วย

เทียบกับไอบีซีซึ่งครั้งหนึ่ง พ.ต.ต.ดร. ทักษิณ ชินวัตรเคยบ่นว่าไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของเจ้าของรายการในต่างประเทศสักเท่าไรทำให้ไม่สามารถหาซื้อรายการดีๆ มาป้อนได้แล้ว ข้อนี้คือจุดแข็งของไทยสกาย

ความสำเร็จในการซื้อลิขสิทธ์การถ่ายทอดสดการประกวดนางงามจักรวาลครั้งล่าสุดเมื่อเดือนที่แล้ว การดึงนางงามจักวาลมาประเทศไทยเป็นประเทศแรกพร้อมๆ กับการจัดงานยูนิเวอร์สกาลาไนท์ ซึ่งมีดารา นักร้องชื่อดังทั้งอเมริกันและฮ่องกงมาร่วมงาน และการได้สิทธิ์จัดประกวดนางงามจักรวาลขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยในปี 2535 นั้น ต้องถือว่าเป็นข้อพิสูจน์ความพร้อมของไทยสกายในเรื่องของรายการที่จะออกอากาศ และเป็นจังหวะที่ดีเยี่ยมในการประชาสัมพันธ์ชื่อไทยสกายให้คนไทยได้รู้จัก

ความพร้อมอีกด้านหนึ่ง คือ บุคลากรซึ่งใช้มือาอชีพจากฮ่องกงเข้ามาบริหาร โดยมีลอเรนซ์ โฮ อดีตผู้อำนวยการเอทีวีของฮ่องกงเป็นคนรับผิดชอบโครงการทั้งหมด

"ผู้บริหารเป็นคนไทย พวกฮ่องกงนี่เราเอาเข้ามาเป็นที่ปรึกษาในตอนแรกๆ เท่านั้นที่ปรึกษาในตอนแรกๆ เท่านั้นเพราะเขามีประสบการณ์มาก่อน พอทุกอย่างเข้าที่แล้วพวกนี้ก็จะกลับไป" ผู้บริหารคนหนึ่งของไทยสกายอธิบาย

สยามบรอดคาสติ้งใช้เงินลงทุนสำหรับไทยสกายทีวีเป็นเงินทั้งหมด 200 ล้านบาท

รายการของไทยสกายแย่งออกเป็นสามช่องคือ ไทยสกาย 1 เป็นรายการข่าวและกีฬา จาก NBC NEWS, VISNEWS, BBC DAILY NEWS BULLETIN, JAPAN TBS DAILY NEWS และข่าวในประเทศซึ่งไทยสกายลงทุนตั้งทีมทำข่าวขึ้นมาเอง

ไทยสกาย 2 เป็นรายการดนตรี รายการโชว์ทั้งของสหรัฐฯ และยุโรป

ส่วนไทยสกาย 3 เป็นรายการบันเทิงนานาชาติซึ่งประกอบด้วยรายการภาพยนต์เพลง รายการแสดง จากญี่ปุ่น ฮ่องกง ซึ่งแหล่งข่าวในไทยสกายเองบอกว่าช่องนี้มีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่คนญี่ปุ่นและฮ่องกงซื่อซึ่งมาทำงานอยู่ในไทยโดยเฉพาะ

จุดขายที่ไทยสกายเน้นเป็นพิเศษ คือ การถ่ายทอดสด การแข่งขันกีฬานัดสำคัญๆ รายการแสดงคอนเสิร์ตครั้งใหญ่ๆ ในช่วงสองปีแรกนั้น ยังไม่มีแผนการที่จะผลิตรายการด้วยตัวเอง ยกเว้นรายการข่าวในประเทศ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องลงทุนสูงมาก

และถ้าวาเคไทยซึ่งเป็นของคีรีเช่นเดียวกันชนะการประมูลสัมปทานดาวเทียมของกระทรวงคมนาคมแล้ว โครงการถ่ายทอดสดจากต่างประเทศก็จะยิ่งง่ายขึ้น และไทยสกายซึ่งสามารถแพร่ภาพได้ในกรุงเทพ และปริมณฑลเท่านั้นก็อาจจะมีโอกาสขยายไปทั่วประเทศโดยผ่านดาวเทียม

"แต่ไม่ว่าใครจะได้ เราก็ต้องทำอยู่แล้ว" ผู้บริหารของไทยสกายพูดถึงทิศทางในอนาคต

ไทยสกายจะเริ่มบุกตลาดหาสมาชิกอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายนนี้ โดยมีของล่อใจ คือการให้ดูฟรีเป็นเวลาสองเดือนก่อน ซึ่งจะเป็นช่วงของการทดลองออกอากาศ ก่อนที่จะแพร่ภาพจริงก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 ตามสัญญาที่ทำกับอ.ส.ม.ท.

คนที่จะต้องเหนื่อย คือ ไอบีซี หลังจากใช้วิธีซื้อรายการถูกๆ เก่าๆ จากสหรัฐฯ มาฉายใหสมาชิกซึ่งจ่ายเงินเดือนละ 600 บาทดูมาเป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม ก็เริ่มปรับปรุงด้วยการซื้อข่าวจาก CNN มาแพร่ภาพ และต่อจากนี้จะต้องลงทุนปรับปรุงคุณภาพของรายการมากขึ้น เพราะไม่ใช่เป็นรายเดียวในธุรกิจนี้อีกต่อไป นี่คือประโยชน์ของการแข่งขันที่จะบังคับให้ต้องสร้างคุณภาพของสินค้าและผลประโยชน์จะเป็นของผู้บริโภค

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us