|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"โฆสิต-ฉลองภพ" จูงมือ "ธาริษา" รายงานสถานการณ์ค่าบาท "บิ๊กแอ้ด" เช้าวันนี้ เผยนายกฯ ยอมรับข้อเสนอของภาคเอกชน 6 ข้อ ชี้บางมาตรการประกาศใช้ทันที ส่วนมาตรการที่เหลือเตรียมนำเข้า ครม.อังคารหน้า ล่าสุด เตรียมจัดตั้งกองทุน 5 พันล. ช่วนเหลือผู้ประกอบการ "เอสเอ็มอี-ส่งออก"
มีรายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเวลา 09.30 น. เช้าวันนี้(20 ก.ค.) นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกฯและรัฐมนตรีฯอุตสาหกรรมพร้อมด้วย นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้เดินทางเข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เพื่อชี้แจงรายละเอียดมาตรการดูแลค่าเงินบาททั้ง 7 ข้อที่คณะกรรมการร่วมภาคเอชน 3 สถาบัน หรือ กกร. เป็นผู้เสนอมา
ทั้งนี้ นายโฆสิต กล่าวก่อนเข้าร่วมหารือกับนายกฯ โดยเชื่อว่า หากมาตรการดังกล่าวผ่านความเห็นชอบจากนายกฯแล้ว มีบางมาตรการซึ่งสามารถประกาศใช้ได้เลย แต่บางมาตรการจะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 24 ก.ค.นี้
ล่าสุด หลังการหารือ นายโฆสิต ได้ออกมาเปิดเผยว่า รัฐบาลจะมีมาตรการเร่งด่วนในการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) และผู้ส่งออก โดยให้มีทุนประเดิมกองทุนขนาด 5 พันล้านบาทที่จะใช้ในการปล่อยกู้สนับสนุนสภาพคล่อง ซึ่งที่มาของเงินดังกล่าว 50% จะมาจากสมาคมธนาคารไทย และอีก 50% จะมาจากเงินกู้ผ่อนปรนของ ธปท.
"รัฐบาลรับข้อเสนอของภาคเอกชน 6 มาตรการจากทั้งหมด 7 มาตรการที่เสนอมา ส่วนมาตรการที่เสนอให้สต็อกน้ำมันคงไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบด้านราคา และจำเป็นต้องหารือกันในระยะต่อไป"
ทั้งนี้ หลังจากนำมาตรการดังกล่าวเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้าแล้ว จะชี้แจงรายละเอียดอีกครั้งว่าแต่ละหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการคลัง หรือ ธปท.จะทำหน้าที่รับผิดชอบด้านใด และมีแนวทางการแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่าอย่างไรบ้าง
สำหรับข้อเสนอของเอกชน 6 มาตรการระยะสั้นที่รัฐบาลเห็นด้วย คือ การให้บริษัทเอกชนไทยถือครองเงินตราต่างประเทศได้ไม่กำหนดระยะเวลา, ให้บุคคลธรรมดาถือเงินตราต่างประเทศไม่จำกัดเวลารวมทั้งเพิ่มวงเงินถือครองเงินดอลลาร์ได้มากกว่า 2 แสนดอลลาร์สหรัฐ, เปิดโอกาสให้เอกชนสามารถใช้จ่ายและชำระสินค้าระหว่างกันเป็นเงินตราต่างประเทศได้, ขอให้ภาครัฐเร่งคืนภาษีให้แก่ผู้ส่งออกตามมาตรา 19 ทวิ, ให้รัฐบาลผลักดันให้รัฐวิสาหกิจอาศัยช่วงเงินบาทแข็งค่าเร่งชำระหนี้ต่างประเทศ และการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือ SME ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาค่าเงินบาท
นางธาริษา ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวถึงมาตรการดูแลค่าเงินบาท โดยยืนยันว่า ธปท.ยังยืนยันที่จะใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ(Managed Float) ต่อไป เพราะมีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศและของโลกในปัจจุบัน โดยไม่มีแนวคิดจะกลับไปใช้การตรึงอัตราแลกเปลี่ยนคงที่เหมือนในอดีต
"เราผ่านจุดนั้นมาแล้ว ได้บทเรียนมามากแล้ว เงินทุนในโลกก็มีมากด้วย การที่เสนอให้คงที่แบบมีการจัดการ สามารถทำได้ในระยะหนึ่งเท่านั้น แนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์มีทั้งถูกและผิด ต้องดูสภาพการณ์ที่เหมาะสม"
สำหรับแนวทางในการออกมาตรการรับมือการแข็งค่าของเงินบาทนั้น ธปท.รับข้อเสนอของภาคเอกชนเกือบทั้งหมด ยกเว้นการสำรองน้ำมัน ซึ่งนายโฆสิต จะเป็นผู้ชี้แจงเรื่องดังกล่าวเอง
|
|
|
|
|