Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 กรกฎาคม 2550
ปลดล็อกบาทอุ้มส่งออก-"แอ้ด"ไฟเขียว ครม.             
 


   
search resources

Economics
Currency Exchange Rates




ฝ่ายเศรษฐกิจรัฐบาลขิงแก่รับข้อเสนอแก้บาทแข็งทั้งแพ็คเกจของภาคเอกชน 3 สถาบัน เหลือแค่มาตรการ 30 เปอร์เซ็นต์ ที่แบงก์ชาติขอไว้ ถึงมือนายกฯ วันนี้ เข้า ครม.อังคารหน้า แบงก์ชาติเปิดทางให้เอกชนถือครองดอลลาร์ได้ 100,000 ดอลลาร์ ช่วยผ่อนคลายผู้ส่งออก และลดต้นทุนสุดๆ เงินบาทวานนี้ทรงตัวที่ 33.50 รอมาตรการแก้ปัญหาคลอดก่อน ส่วน ส.อ.ท. ชงวงเงินประเดิมจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเอสเอ็มอี 5 พันล้านบาท เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ 23 ก.ค.นี้

วานนี้ (19 ก.ค.) นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.อุตสาหกรรม หารือร่วมกับนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อพิจารณาข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบันหรือกกร.ในการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทตั้งแต่ 8.30 น.จนกระทั่งเวลา 9.30 น.จึงได้ร่วมเปิดแถลงข่าว

นายโฆสิต กล่าวว่า จากการพิจารณาข้อเสนอเอกชนในการแก้ไขปัญหาผลกระทบค่าเงินบาทโดยเฉพาะมาตรการระยะสั้น 7 ข้อนั้น หลักการแล้วคงจะสามารถดำเนินการได้เกือบทั้งหมดและจะได้นำเข้าหารือกับนายกรัฐมนตรีในวันนี้ (20 ก.ค.) และคาดว่าจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในวันที่ 24 ก.ค. ในส่วนของมาตรการที่จะต้องผ่าน ครม.แต่หากมาตรการใดประกาศได้เลยก็ให้ทำได้ทันที

“คงทำได้ทุกๆ ข้อแต่คงไม่ได้ทันทีทั้งหมดแต่ทุกอย่างจะชัดเจนแน่นอนภายในสัปดาห์หน้าโดยเฉพาะข้อเสนอเอกชนระยะสั้น เช่น การให้ผู้ส่งออกสามารถถือครองเงินตราต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันซึ่งคลังจะไปดูรายละเอียดสัปดาห์หน้าก็น่าประกาศใช้ได้เลย ส่วนมาตรการระยะกลางและยาวก็จะรับไปศึกษาเพิ่มเติมเพราะไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน”นายโฆสิต กล่าว

สำหรับมาตรการระยะสั้นที่ กกร.เสนอคือ 1.ให้ผู้นำเข้าและส่งออกสามารถถือครองเงินตราต่างประเทศได้แบบไม่มีกำหนดระยะเวลา และจำนวน จากเดิมกำหนดไว้ว่าแค่ 14 วัน 2.เปิดให้บุคคลธรรมดา และบริษัทเอกชนถือครองเงินสหรัฐได้มากกว่า 200,000 เหรียญสหรัฐ และเปิดบัญชีเงินฝากเป็นเงินเหรียญสหรัฐได้ 3.สามารถชำระค่าใช้จ่ายในรูปเงินสหรัฐได้ 4.ให้ภาครัฐเร่งคืนเงินภาษีให้กับผู้ส่งออกทั้ง 19 ทวิ และภาษีมุมน้ำเงิน 5.ให้รัฐวิสาหกิจคืนหนี้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศโดยเฉพาะรูปเงินเหรียญสหรัฐก่อนกำหนด เพื่อลดแรงกดดันค่าเงินบาท 6.ให้ภาครัฐนำเข้าน้ำมันและสินค้าทุนที่จำเป็นสะสมไว้ล่วงหน้า ซึ่งนอกจากจะช่วยในเรื่องค่าเงินบาทแล้ว ยังลดต้นทุนในการนำเข้าสินค้า 7.เสนอตั้งกองทุนดูแลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)

ธปท.ขอเก็บมาตรการ 30 เปอร์เซ็นต์

นายโฆสิต กล่าวว่า มาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ นั้นทาง ธปท.จะยังขอเก็บไว้ก่อนซึ่งตนคงไม่สามารถไปบังคับได้เพราะ ธปท.มีอิสระ อย่างไรก็ตามการดูแลปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่านั้นต้องยอมรับว่ามีการเปลี่ยนแปลงทุกนาทีเพราะการเคลื่อนย้ายทุนในโลกไม่มีวันจบไม่ใช่ว่าการใช้ยาเพื่อแก้ไขปัญหาวันนี้แล้ววันหน้าจะจบรัฐบาลยื่นยันที่จะดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพแต่จะต้องไม่ฝืนตลาด และมาตรการต่างๆ จะใช้วิธีที่ดีสุดคือการประสานงานกันทุกระดับและไม่สุดโต่ง

เปิดทางถือครองดอลลาร์

นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การให้ผู้ส่งออกถือครองดอลลาร์ได้มากขึ้นคงจะต้องรอประกาศจากกระทรวงการคลังในสัปดาห์หน้า โดยรายละเอียดจะหารือกันอีกครั้งหนึ่งว่าจะสามารถเปิดทั้งหมดโดยไม่จำกัดเวลาหรือไม่ และวงเงินเท่าใด ส่วนรายย่อยหรือบุคคลธรรมดาที่จะเปิดบัญชีเงินฝากสกุลดอลลาร์ (Dollars Accout) นั้นคงจะให้เปิดได้วงเงินไม่เกิน 100,000 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งทั้งหมดจะทำให้ผู้ส่งออกคล่องตัวและภาคธุรกิจสามารถลดต้นทุนได้อย่างมาก

ชี้ลดดอกเบี้ยมากไปฉุดเงินออม

นางธาริษา กล่าวว่า การที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติลดดอกเบี้ย 0.25 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นอัตราที่เหมาะสมเนื่องจากหากลดดอกเบี้ยมากไปหรือทำสุดโต่งก็จะมีผลค้างเขียง หรือหมายถึงจะทำให้ดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบซึ่งจะมีผลทำให้คนในประเทศไม่อยากออมเงินก็จะไม่เป็นประโยชน์ในระยะยาว ซึ่งความจำเป็นที่เศรษฐกิจต้องพึ่งเงินออมนั้นยังมีอยู่ ขณะที่เงินเฟ้อในขณะนี้ก็ไม่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ อีก 1 เดือนเห็นผลบาทมีเสถียรภาพ

นางธาริษา กล่าวอีกว่า มาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ ขณะนี้ยังไม่ได้พิจารณาจะยกเลิกเพราะถือว่าเป็นมาตรการที่มีผลต่อจิตวิทยา และยืนยันว่าไม่ได้ทำให้ตลาดซื้อขายเงินบาทในประเทศ (on shore) และค่าเงินบาทในตลาดซื้อขายเงินบาทในต่างประเทศ (off shore)มีส่วนต่าง จนทำให้เกิดเก็งกำไรโดยมาตรการที่ ธปท.อนุญาตให้ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non Resident) ที่มีการค้าและการลงทุน ซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามาก่อนวันที่ 19 ธันวาคม 2549 สามารถกู้ยืมเงินบาทกับสถาบันการเงินในประเทศเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะช่วงวันที่ 16 ก.ค.-17 ส.ค.50 โดยได้รับยกเว้นการดำรงเงินสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ ตามมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้น เพื่อลดภาระในการป้องกันความเสี่ยงสำหรับ Non Resident ที่เคยทำไว้ในตลาดต่างประเทศนั้นขณะนี้ก็มีการทยอยมาขอแล้วแต่แค่ 2-3 วันจึงยังไม่เห็นผลคาดว่า 1 เดือน จะสามารถเห็นผลและจะทำให้บาทเริ่มมีเสถียรภาพได้

“มาตรการที่จะเสนอคลังนั้นก็จะมีประมาณ 7-8 ด้าน รวมถึงเร็วๆ นี้ก็คงจะต้องหารือกับตลาดหลักทรัพย์ฯที่จะปรับในเรื่องของส่วนที่จะเอาเงินออก โดยเฉพาะทำอย่างไรให้มีการไปลงทุนยังตลาดหุ้นต่างประเทศก็คงจะต้องดูกันอีกที”ผู้ว่าฯ ธปท. กล่าว

บาททรงตัวปิดตลาด 33.49/52

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า วานนี้เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 33.49/52 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.49/51 บาท/ดอลลาร์ โดยบาทแข็งค่าสุดของวันที่ระดับ 33.49 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดของวันที่ระดับ 33.55 บาท/ดอลลาร์

“เงินบาทเคลื่อนไหวทรงตัวในกรอบแคบๆ ตลอดทั้งวัน เนื่องจากตลาดกำลังรอดูมาตรการดูแลค่าเงินบาทของทางการที่จะเสนอนายกรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ (20 ก.ค.) ขณะที่เงินเยนและเงินยูโรเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ เช่นเดียวกัน”

นักบริหารเงินคาดว่า เงินบาทวันที่ 20 ก.ค.จะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.40-33.70 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนวานนี้จะมีการรายงานผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ครั้งล่าสุดที่ผ่านมา รวมทั้งมีการรายงานตัวเลขจีดีพี ไตรมาสที่ 2 ของอังกฤษ และการออกมากล่าวสุนทรพจน์ของประธานธนาคารกลางยุโรป

“สุรยุทธ์”คันมือรออนุมัติฯ

ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 12.15 น. วานนี้ (19 ก.ค.) หลังจาก พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เสร็จจากการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารจัดการขน ส่งสินค้าและบริการของประเทศ ได้เดินมายังทางเชื่อมระหว่างตึกไทยคู่ฟ้ากับตึกสันติไมตรี ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้จัดเตรียมโพเดี่ยมไว้ให้นายรัฐมนตรี ยืนให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว ตามปกติ แต่ปรากฏว่านายกรัฐมนตรีได้แกล้ง เดินผ่านโพเดี้ยม เพื่อหยอกเย้าผู้สื่อข่าว จากนั้นได้หันกลับมายืนที่โพเดี่ยม พร้อมกับหัวเราะร่า แล้วกล่าวว่า ไม่เห็นมีใครถามอะไรก็เลยเดินผ่าน ทำให้ผู้สื่อข่าวแซวกลับว่า แสดงว่าวันนี้อารมณ์ดี แก้ปัญหาค่าเงินบาทได้แล้วใช่หรือไม่

นายกฯ กล่าวว่า ได้มีการดำเนินการมาเป็นลำดับอย่างที่เรียนแล้วคือว่า ในส่วนที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รับผิดชอบ และในส่วนของคณะกรรมการนโยบายกำกับการเงินก็ได้ดำเนินการไป เพราะอยู่ในอำนาจของท่านทั้งหลายอยู่แล้วที่จะปรับในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย นั่นหมายถึงว่า ทุกๆ ภาคส่วนได้ติดตามว่าปัญหาเป็นอะไร และควรจะแก้กันอย่างไร เป็นเรื่องที่ถือว่า ได้ดำเนินการ มาเป็นขั้นเป็นตอนอยู่แล้ว ในส่วนที่จะมีความจำเป็นวานนี้ (19 ก.ค.) นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี จะหารือกับกระทรวงการคลัง และ ธปท.ต่อไป และในวันนี้ (20 ก.ค.) คงจะมาคุยกับตนเองในช่วงเช้า

เมื่อเวลา 17.30 น.นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าหารือกับนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกฯและรมว. อุตสาหกรรม ที่ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาลกว่า 30 นาทีว่า ได้มีหารือ 2 เรื่อง คือ มาตรการที่ไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเกินไป โดยนำข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ใน 7- 8 มาตรการที่เป็นมาตรการระยะสั้นให้นายโฆสิตพิจารณา ซึ่งนายโฆสิตได้รับฟังและรับปากว่าจะนำเรื่องนี้ไปหารือกับคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ อีกครั้งในวันนี้ ( 20 ก.ค.) และจะได้นำข้อเสนอทั้งหมดหารือกับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และในวันจันทร์ 23 ก.ค. จากนั้นก็จะหารือกับคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอีกครั้ง

“ผมไม่ทราบว่ามาตรการทั้งหมดที่ภาคเอกชนได้เสนอไปจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ ส่วนเรื่องไหนที่ทำได้ นายโฆสิตก็รับ ปากว่าจะดำเนินการก่อน และวันอังคารที่ 24 ก.ค.ก็จะหารือในที่ ประชุมครม.ต่อไป”นายสันติ กล่าว

ประธาน สอท.ยังกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังได้เสนอมาตรการในการส่งเสริมการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ในโครงการเกี่ยวกับปิโตรเคมีที่มีเม็ดเงินลงทุนกว่า 2.9 แสนล้าน แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินโครงการได้ กว่า 4 โครงการ เป็นเงินกว่า 1.5 แสนล้านบาท โดยโครงการทั้งหมดอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) หากผ่านขั้นตอนเหล่านี้ก็สามารถผ่านได้ ส่วนจะสำเร็จได้เมื่อใดนั้นเป็นหน้าที่ของอีไอเอว่าจะดำเนินการได้อย่างไร หากผ่านขั้นตอนของอีไอเอแล้วสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ก็สามารถดำเนินการสนับสนุนให้มีการก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าจะ แล้วเสร็จภายใน 1-2 ปี

“ภาคเอกชนได้ร้องเรียงว่าอยากให้ผ่านขั้นตอนของอีไอเอโดยเร็ว และเราก็ได้ขอร้องให้นักลงทุนส่วนใหญ่ที่เป็นคนไทย ว่าขอให้เขาใจเย็นๆ พร้อมกับบอกว่าถ้าทนไม่ไหวให้มาบอกเรา แต่ก็ยังมีเสียงบ่นออกมาเป็นระยะว่า ทำไมบางโครงการล่าช้า แต่ทุกคนก็เข้าใจ และยังจะลงทุนต่อไป แต่ขอให้เร่ง ดำเนินการเรื่องนี้โดยเร็ว”นายสันติ กล่าว

ประธาน ส.อ.ท.กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังได้หารือนายสันติ ยังกล่าวถึง มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกจ้างโรงงานไทยศิลป์ที่จะปิดโรงงานในวัน ที่ 7 ส.ค. นี้ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้คุยกับเจ้าของโรงงาน แต่อาจจะมีการติดต่อไปเพราะโรงงานดังกล่าวเป็นสมาชิกของ ส.อ.ท. จากนั้นจะมีการหารือกันว่าจำดำเนินการช่วยเหลืออย่างไรกับคนงาน

ชงเงินตั้งกองทุน SME 5 พันล้าน

นายธนิต โสรัตน์ รองเลขาธิการสายงานเศรษฐกิจ ส.อ.ท. กล่าวว่า ที่ประชุมมีความเป็นห่วงผู้ประกอบธุรกิจส่งออกขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ประสบภาวะขาดทุนจากปัญหาการแข็งค่าของเงินบาท และพร้อมจะปิดกิจการตัวเองแล้ว ยังต้องมีต้นทุนค่าขนส่งจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นด้วย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 30-40 เปอร์เซ็นต์ ของภาคการส่งออก แต่มีจำนวนผู้ประกอบการสูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนผู้ส่งออกโดยรวม ข้อเสนอให้มีการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเอสเอ็มอีนั้น จะสามารถช่วยเหลือธุรกิจที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศหรือเอสเอ็มอีที่ขาดสภาพคล่องได้มากขึ้น แม้ว่าจะยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน โดยเบื้องต้นภาคเอกชนเห็นว่า ภาครัฐควรให้การสนับสนุน 100 เปอร์เซ็นต์ วงเงินประเดิมอย่างน้อย 5,000 ล้านบาท

“มีข้อเสนอในที่ประชุมให้จัดตั้งกองทุนฯ วงเงิน 500 ล้านบาท โดยการระดมเงินจากภาครัฐ 90 เปอร์เซ็นต์ และธนาคารพาณิชย์ 10 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกับทำหน้าที่ดูแลช่วยเหลือสนับสนุนธุรกิจที่ได้รับความเดือดร้อน แต่เราเห็นว่าถ้าให้ธนาคารพาณิชย์ในฐานผู้ปล่อยกู้เป็นคนใส่เงินเอง ธนาคารพาณิชย์อาจคิดว่ามีความเสี่ยงในการปล่อยกู้ จนทำให้การปล่อยกู้ยากขึ้น เพราะต่อให้ทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่ก็ตาม แต่

ธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยกู้ก็ไม่มีประโยชน์ และส่วนตัวมองว่าอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมสำหรับกองทุนนี้น่าจะอยู่ที่ -3 เปอร์เซ็นต์ เป็นอย่างต่ำ ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องสรุปรายละเอียด รูปแบบการดำเนินการกองทุนอีกครั้ง เพื่อเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม พิจารณาในวันที่ 23 ก.ค.นี้”นายธนิต กล่าว

อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนเห็นด้วยกับแนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ และการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจระยะยาว แต่ในระยะสั้น จำเป็นต้องมีมาตรการช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน เฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมเครื่องนุ่มห่ม และรองเท้า ซึ่งกำลังจะหันไปนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศแทน จนเกรงว่าอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ในอนาคต

“ม็อบไข่แม้ว”ขอแจมไล่“ธาริษา”

ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า วานนี้ (19 ก.ค.) เวลา 10.15 น. ม็อบที่เรียกตัวเองว่า “กลุ่มพิราบขาว 2006” นำโดยนายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล และสมาชิกประมาณ 10 คน พร้อมรถขยายเสียงได้เดินทางมายื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องให้ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท. ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทั้งนี้ นายนิรุธ รักษาเสรี ผู้อำนวยการฝ่ายรักษาความปลอดภัย ของ ธปท.รับเรื่องไว้

เนื้อหาในหนังสือระบุว่า "ให้ผู้ว่าการพิจารณาตัวเองลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมองว่าสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อย่างต่อเนื่องที่มีผลกระทบโดยตรงมาจากการแปรเปลี่ยนของค่าเงินบาท ซึ่งหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรง คือ ธปท. กระทรวงการคลัง และรัฐบาล ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้มาตรการที่ผิดพลาดและขาดประสิทธิภาพของ ธปท.นับแต่การออกมาตรการควบคุมเงินไหลเข้า 30% เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.49 ที่ผ่านมา ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและภาคธุรกิจต่างๆ

ลักษณะการให้ข่าวของ ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติไม่ชัดเจน ทำให้นักลงทุนไม่เชื่อมั่น และยังไม่สามารถรักษาระดับค่าเงินบาทให้อยู่ที่ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้ ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ส่งออกอยู่ได้ แต่ในความเป็นจริงค่าเงินบาทกลับอยู่ที่ระดับ 33.28-33.33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งก็ยังไม่มีวิธีการหรือมาตรการอะไรออกมา ทำได้แต่ผัดวันประกันพรุ่ง แล้วยังโยนบาปไปให้นักลงทุนปรับตัวเองแทน

ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องการให้ผู้ว่าการ ธปท.ทำงานร่วมกับรัฐบาลที่เกิดจากการยึดอำนาจรัฐประหารที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งถือเป็นรัฐบาลระบอบเผด็จการทหารค่าเงินบาทมีแนวโน้มจะปรับตัวแข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆ หากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อไรนั้น ประเทศชาติจะล่มจม ประชาชนผู้ใช้แรงงานจะตกงาน ประชาชนผู้ใช้แรงงานจะตกงานอยูที่ตัวเลข 2-2.5 "ล้านบาท" ค่าครองชีพจะตกต่ำ หนี้สินเพิ่มขึ้น ความยากจนอาจนำไปสู่วิกฤตอย่างร้ายแรงในทุกๆ ด้าน"

นอกจากนี้ นายนพรุจเปิดเผยอีกว่า วันนี้ (20 ก.ค.) กลุ่มพิราบขาว จะเดินทางไปกระทรวงการคลัง เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง ลาออกจากตำแหน่ง เช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us