|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กบข.สนองนโยบายรัฐ เตรียมใส่เงินลงทุนต่างประเทศเต็มเพดาน 15% ภายใน 1 เดือนจากพอร์ดเดิมที่ลงทุนอยู่ 12.64% ก่อนเดินหน้าเจรจากระทรวงการคลัง ขอเพิ่มวงเงินเป็น 25% แสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่าในประเทศ ย้ำไม่มีใบสั่งภาครัฐ "วิสิฐ" ระบุเป็นห่วงปัญหาค่าเงินบาท เผยหากแข็งค่าเกินกว่านี้ กระทบส่งออกพร้อมกดดันเศรษฐกิจชะลอตัวแน่ แถมมีสิทธิหนุนต่างชาติทิ้งหุ้นไทยเร็วขึ้น ชี้ระดับ 35-36 บาทถือว่าเหมาะสม
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า อีก 1 เดือนข้างหน้า กบข.จะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในต่างประเทศให้เต็มเพดาน 15% ตามที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้สามารถลงทุนได้ จากพอร์ตการลงทุนปัจจุบันที่กบข. มีอยู่แล้วประมาณ 12.64% ซึ่งแบ่งเป็นกระจายการลงทุนในหุ้นประมาณ 7.6% และตราสารหนี้ประมาณ 5% โดยเร็วๆ นี้ กบข.เตรียมยื่นข้อเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาเพิ่มเพดานการลงทุนในต่างประเทศอีก 10% หรือเพิ่มขึ้นเป็น 25% ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินลงทุนประมาณ 3 หมื่นล้านบาทของพอร์ตการลงทุนทั้งหมด
ทั้งนี้ การเพิ่มเพดานการลงทุนดังกล่าว เป็นนโยบายการลงทุนของกบข. เอง โดยไม่มีการขอความช่วยเหลือจากภาครัฐให้มีการออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้นเพื่อช่วยผ่อนคลายปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทแต่อย่างใด ซึ่งวงเงินที่จะขอไปดังกล่าว เป็นกลยุทธ์การลงทุนเพื่อโอกาสในกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น การลงทุนในตราสารหนี้ ที่ปัจจุบันมีช่องว่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยในประเทศและต่างประเทศห่างกันถึง 2% นอกจากนี้ กบข.เองก็เคยขอเพดานการลงทุนต่างประเทศไว้ในระดับ 25% ก่อนหน้านี้ แต่ก็ได้รับอนุญาตให้ลงทุนได้เพียง 15% เท่านั้น
"นโยบายการลงทุนในต่างประเทศของเรา เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่เราเห็นว่าน่าจะเป็นสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในประเทศได้ โดยไม่มีการขอความช่วยเหลือจากภาครัฐเพื่อให้พยุงการแข็งค่าของเงินบาทแต่อย่างใด แต่จากสถานการณ์ของค่าเงินบาทในตอนนี้ เชื่อว่าวงเงินลงต่างประเทศที่เราจะขอเพิ่มไปน่าจะได้รับการพิจารณาโดยเร็ว"นายวิสิฐกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พอร์ตการลงทุนในต่างประเทศของกบข. ให้ผลตอบแทนกลับมาประมาณ 2.06% ซึ่งอาจจะเป็นผลตอบแทนที่ไม่สูงมากนัก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่การลงทุนในหุ้น ได้ผลตอบแทนในรูปเงินดอลลาร์ประมาณ 9% แต่จากการแข็งค่าของเงินบาททำให้ผลตอบแทนลดลงมาเหลือ 5% หลังแปลงเป็นเงินบาทแล้ว โดยในช่วงครึ่งปีหลัง เราคาดการณ์ว่าผลตอบแทนในส่วนของการลงทุนต่างประเทศจะดีขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนทั้งปีขยับขึ้นได้อีก
นายวิสิฐกล่าวถึงปัญหาเงินบาทแข็งค่าในขณะนี้ว่า หากย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นปี 2549 จนถึง 6 เดือนแรกของปี 2550 ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปแล้วประมาณ 20% ซึ่งส่งผลต่อการส่งออกของประเทศพอสมควรโดยเฉพาะผู้ส่งออกที่มีกำไรในระดับ 10-15% จะเริ่มเห็นการขาดทุนบ้างแล้ว เพราะไม่สามารถปรับโครงสร้างของบริษัทได้ทัน และหากค่าเงินบาทแข็งค่าไปมากกว่านี้ อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศถดถอยได้ ทั้งนี้ โดยส่วนตัวมองว่าค่าเงินบาทในระดับที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ระดับ 35-36 บาท ซึ่งก็คงจะไมเห็นเร็วๆ นี้แน่นอน
"ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาจาก 3 ปัจจัยหลัก นั่นคือการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ การขาดดุลการค้าและขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และปัจจัยที่เห็นชัดเจนคือ เงินลงทุนทั่วโลกที่ไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในไทยเองมีเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นกว่าแสนล้านบาท ทำให้มีความต้องการเงินบาทค่อนข้างมาก"นายวิสิฐกล่าว
สำหรับแนวโน้มการลงทุนตลาดหุ้นไทย นายวิสิฐกล่าวว่า เงินลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ P/E ของตลาดหุ้นไทยขยับขึ้นมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับ P/E ของประเทศในภูมิภาคแล้ว ซึ่งหลังจากนี้คงไม่มีข่าวร้ายที่จะเข้ามากระทบต่อบรรยากาศการลงทุนไปมากกว่านี้แล้ว ประกอบกับตลาดหุ้นไทยมีความหวังเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศจึงทำให้ยังทรงตัวอยู่ได้ และยังน่าสนใจลงทุนอยู่ แต่ยังมีความกังวลเรื่องของเงินบาทอยู่บ้าง ส่วนเงินลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนกว่าแสนล้านนั้น คงไม่สามารถบอกได้ว่าจะอยู่อีกนานแค่ไหน แต่หากเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็มีโอกาสที่นักลงทุนจะทำกำไรค่าเงินบาทออกไป
ส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยในประเทศ หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดดอกเบี้ยอาร์/พี 1 วันลงอีก 0.25% มองว่าเป็นระดับที่เหมาะสมแล้ว เพราะมีเรื่องของอัตราเงินเฟ้อเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่การปรับลดดังกล่าวทำให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศต่ำกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค จึงมีความเป็นไปได้ที่เงินลงทุนจะไหลออกไปลงทุนในประเทสที่ดอกเบี้ยสูงกว่า ในขณะที่การขายตัวของเศรษฐกิจในประเทศ เชื่อว่าครึ่งปีหลังจะยังขยายตัวได้ดี และในช่วงไตรมาส 4 ของปี เศรษฐกิจไทยน่าจะเริ่มฟื้นตัวได้ และจะเข้ามาชดเชยการส่งออกที่ชะลอลงไปและจะหนุนให้ทั้งปีเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ประมาณ 4%
|
|
|
|
|