Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 กรกฎาคม 2550
5บิ๊กคอนโดฯยึดย่านสาทร             
 


   
search resources

Real Estate
กิติศักดิ์ จำปาทิพย์พงศ์




บิ๊กจัดสรรระเบิดศึกคอนโดฯย่านสาทร แห่เปิดโครงการมูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาท “ฮาริสัน” ระบุซัปพลายมากกว่าดีมานด์ ในขณะที่ราคาสูงเกินไป หวั่นผู้บริโภครับไม่ได้ ขณะที่นายกสมาคมอาคารชุดไทย เชื่อปีนี้คอนโดจะโต 20% เตือนผู้ประกอบการระวังคอนโดฯโอเวอร์ย่านรัชดา ลาดพร้าวและปลายสุขุมวิท พร้อมขน 100 โครงการจัดงาน คอนโด เอ็กซ์โปร ระหว่างวันที่ 10-12 สิงหาคม

นายกิตติศักดิ์ จำปาทิพย์พงศ์ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัทฮาริสัน จำกัด(มหาชน) เปิดเผยถึงแนวโน้มตลาดคอนโดมิเนียมว่า ในช่วงส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า สาทร-ตากสิน ห่างจากสถานี ในรัศมีไม่เกิน 300 เมตร ขณะนี้มีผู้ประกอบการรายใหญ่ 4-5 รายเข้าไปลงทุนพัฒนาโครงการคิดเป็นจำนวนยูนิตไม่ต่ำกว่า 2,500 ยูนิต มูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาท ได้แก่ บริษัท ที.ซี.ซี แคปปิตอลแลนด์ จำกัด, บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) , บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท รสา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด และบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด

ล่าสุดบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ที่นอกจากเปิดตัวในย่านนี้แล้วยังมีแผนจะเปิดอีก 1 โครงการย่านลาดพร้าวด้วยเช่นกัน รวมมูลค่าทั้ง 2 โครงการไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การที่มีผู้ประกอบการเข้ามาเล่นในทำเลนี้มาก จะทำให้ราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ราคาที่ผู้บริโภคซื้อก็จะสูงตามไปด้วย อาจก่อให้เกิดการชะลอตัวของความต้องการซื้อ(ดีมานด์)ในอนาคตได้

“ย่านนี้มีการ แข่งขันที่รุนแรงแต่ดีมานด์มีน้อยกว่าที่ซัปพลายออกมา อีกทั้งยังมีการตั้งราคาขายที่สูงมากไม่ต่ำกว่า 60,000 บาท/ตร.ม.ทำให้อัตราการขายอาจจะไม่หวือหวานัก ทั้งนี้ภาวะการแข่งดังกล่าวมีลักษระคล้ายกับทำเลเย่านรัชดาภิเษกและลาดพร้าวในปัจจุบัน ที่ขณะนี้ได้มีผู้ประกอบการอสังหาฯ รายใหญ่มีความเคลื่อนไหวในการลงทุนซื้อที่ดินเพิ่ม”

สำหรับราคาซื้อขายที่ดินในย่านสาทร-ตากสิน ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีการปรับขึ้นหลายเท่าตัวจากตร.ว.ละ 80,000 บาท ปัจจุบันขายสูงสุดอยู่ที่ ตร.ว.ละ 300,000 บาท ซึ่งมีผู้ประกอบการหลายรายซื้อในราคาที่แตกต่างกันทำให้ความสามารถในการเสนอราคาขายแตกต่างกัน เช่น ที.ซี.ซี แคปปิตอลแลนด์ ซื้อในราคา 240,000 บาท/ต่อตร.ว., บริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ฯ ซื้อในราคาไม่ถึง 100,000 บาท/ตร.ว. เนื่องจากซื้อทรัพย์สินรอการขาย(เอ็นพีเอ)จากสถาบันการเงิน ,บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ฯ ซื้อในราคา 260,000 บาท/ตร.ว.และล่าสุดโครงการของบริษัทอนันดาฯ เข้ามาซื้อในราคา 220,000 บาท/ตร.ว. ทั้งนี้เชื่อว่า จุดขายการแข่งขันจะขึ้นอยู่โครงการใดจะอยู่ใกล้กับทางขึ้น-ลงของสถานีรถไฟฟ้ามากที่สุด

ด้านนายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวเชื่อว่า ตลาดคอนโดมิเนียมในปีนี้ จะมีอัตราการเติบโตประมาณ 20% คาดภายในสิ้นปีจะมียอดจดทะเบียนที่ 25,000 ยูนิต โดยในช่วงครึ่งปีแรกมีจำนวน 10,000 ยูนิต แม้ว่าจะเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างมาก แต่ก็ยังไม่ดีเท่าในอดีต คือมีส่วนแบ่งการตลาดเพียงกว่า 20% ของอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด อย่างไรก็ตามเชื่อว่าในอนาคตน่าจะปรับตัวดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะหลังมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยแล้ว อาจจะทำให้มีการซื้อคอนโดฯเพื่อการลงทุนมากขึ้นจากที่ปัจจุบันอยู่ที่กว่า 20% เพราะมีผลตอบแทนการลงทุนประมาณ 7% สูงกว่าผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

ส่วนกรณีที่ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ระบุว่า ปี 2551 ระวังสินค้าล้นตลาด (โอเวอร์ซัปพลาย)นั้น ก็อาจจะเป็นไปได้หากเศรษฐกิจยังโตระดับนี้ โดยทำเลที่น่าจะมีสินค้าล้นตลาดนั้น จะอยู่ที่ทำเลมากกว่าคือ ย่านรัชดา สุขุมวิทช่วงปลาย และลาดพร้าว เพราะความต้องการมีเรื่อย ๆ แต่ผู้ประกอบการแห่เข้าไปพร้อม ๆ กันค่อนข้างมาก ดังนั้นผุ้ประกอบการควรค่อย ๆ ดูจังหวะในการพัฒนามากกว่าเฮโลเข้าไป

นายอธิป กล่าวว่า ต้องการเตือนผู้ประกอบการไม่ให้เฮโลเข้าไปทำตลาดที่มีการอิมตัวแล้ว ควรดูจังหวะและโอกาส หากทำเลใดมียอดขายช้าลงก็ไม่ควรเข้าไป ให้ดูต้นทุนการดำเนินการอย่าให้สูงเกินไป เพราะขณะนี้ยังไม่มั่นใจว่าปีหน้าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร และอยากให้ผู้ประกอบการที่มีหนี้สินต่อทุน(D/E)ค่อนข้างสุงซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 2-3 ราย นั้นก็ต้องระมัดระวังเรื่องสภาพคล่องด้วย โดยเฉพาะสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ควรดูแลให้ดี เพราะไม่เช่นนั้นจะมีผลกระทบได้ เพราะหากแบงก์ได้รับผลกระทบคนต่อมาที่ต้องเดือดร้อนคือผู้ถือหุ้นและลูกค้า ดังนั้นแบงก์ต้องระมัดระวัง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us