Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2534
พัฒนาฐานธุรกิจยุโรปรับปี 1992 ด้วยวิธีซื้อกิจการ             
 


   
search resources

แรนซัมส์ ซิมส์ แอนด์ เจฟเฟอรีส์
บีเอสเอ็นกรุ๊ป
จีไอบีกร๊ป
Marketing




เป้าหมายของบริษัทส่วนใหญ่ในอีซีนั้น ต้องการเป็นบริษัทที่มีความเป็นยุโรป อย่างแท้จริงเมื่อถึงปี 1992 หนทางเดียวสำหรับความรุ่งเรืองและเชือดเฉือนในเชิงแข่งขันกับบริษัทญี่ปุ่น และสหรัฐฯได้ก็คือ ต้องประสบความสำเร็จในตลาดร่วม ให้ได้ หมดยุคที่บริษัทหนึ่งบริษัทใดจะอยู่รอดได้ในสถานภาพของการเป็นบริษัทท้องถิ่น

การซื้อกิจการอาจเป็นทางลัดที่สุดสำหรับการให้ได้มาซึ่งฐานตลาดอีซีที่กว้างขึ้น เพราะมันอาจเป็นวิธีช่วยกระจายสินค้าได้ครบถ้วนทุกแขนง เป็นการนำเอาประสบการณ์ของผู้ที่อยู่ในวัฒนธรรมองค์กรธุรกิจต่างกันมาพบกันได้ "ทันที" และมักเป็นการวางรากฐานการผลิตใหม่ ๆ ที่สำคัญด้วย แต่มันต้องได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพทั้งก่อนและหลังซื้อกิจการ เพราะวิธีนี้มีหลุมพรางที่เป็นอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอันตรายจากความเปลี่ยนแปลงจากการรวมตัวกัน จากสัญญาที่ซับซ้อน จากการมอบอำนาจ จากการหวงอำนาจ และปัญหาการรักษาไว้ซึ่งแรงผลักดันไว้ให้ได้ รวมทั้งการมีความซื่อสัตย์ร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม การซื้อกิจการมักเป็นหนทางเจาะตลาดใหม่ที่ง่ายที่สุด เมื่อผสมผสานเข้ากับนโยบายการปรับให้มีความทันสมัยาและเป็นไปตามเหตุผลแล้ว ก็จะสามารถแปลงสภาพบริษัทหนึ่ง ๆ มีกิจการที่เป็นยุโรปอย่างแท้จริงได้

การขยายแนวธุรกิจของบีเอสเอ็น

บีเอสเอ็นกรุ๊ปของฝรั่งเศสได้ชื่อว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของบริษัทที่สามารถเปลี่ยนสภาพของตัวเองได้อย่างสิ้นเชิง ด้วยวิธีซื้อกิจการที่ชาญฉลาด จากปี 1967 ที่เป็นเพียงผู้ผลิตกระจกเรียบและขวด มียอดขายต่อปี 1.4 พ้นล้านฟรังก์ กลายเป็นยักษ์ด้านอาหารใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของยุโรปในปี 1989 ยอดขายพุ่งขึ้นถึง 42,000 ล้านฟรังก์

ปัจจุบันบีเอสเอ็นมีความสำคัญในฐษนะผู้ผลิตนมเนยและน้ำแร่หมายเลขหนึ่งของโลก (ผลิตภัณฑ์นมเยนยี่ห้อ DANONE, GERVAIS และน้ำแร่ยี่ห้อ EVAIN) ผู้ผลิต เบียร์และพาสต้าอันดับ 2 ของยุโรป (เบียร์ยี่ห้อ KRONENBOURG และพาสต้ายี่ห้อ PANZANI) ผู้ผลิตแชมเปญและบิสกิตอันดับ 3 ของโลก (แชมเปญยี่ห้อ LANSON, POMMMERY และบิสกิตยี่ห้อ LU)

อองตวน ริโบด์ ประธานบีเอสเอ็นผู้กุมบังเหียนกิจการมาด้วยดีถึง 23 ปีนั้น เป็นที่เลื่องลือทั่วฝรั่งเศสว่าเป็น "เถ้าแก่" ผู้แข็งแกร่งและมองการณ์ไกล เขาเป็นผู้มีส่วนในการสร้างความสำเร็จในตลาดยุโรปอย่างแท้จริง เห็นได้จากคำยืนยันว่า "ภารกิจสำคัญเบื้องแรกสุดสำหรับบีเอสเอ็นคือตลาดยุโรป"

บีเอสเอ็นไม่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานเพื่องานแผนยุทธศาสตร์ปี 1992 ด้วยซ้ำ แต่เดินตามนโยบายของรัฐบาลฝรั่งเศสอย่างใกล้ชิด มี "มร. 1992๐ ในบริษัทสาขาทุกแห่ง แล้วคอยติดตามความคืบหน้าของอีซีทุกอย่างก้าว จากนั้น ก็มีระบบเสนอรายางานสำคัญๆ ผ่านหัวหน้าของธุรกิจแต่ละแผนกไปยังประธานบริษัทคือ ริโบด์

เป็นที่น่าสังเกตว่า ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของริโบด์ที่จะทำให้บีเอสเอ็น เป็นบริษัทยุโรปอย่างแท้จริงนั้น เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ทางธุรกิจที่เขากำหนดไว้เมื่อ 17 ปีที่แล้วคือ ก่อนจะมีการร่างรายละเอียดของตลาดร่วมยุโรปออกมาด้วยซ้ำ

ย่างก้าวแรกเริ่มต้นเมื่อปี 1970 หลังจากที่ซื้อกิจการบริษัท KRONENBOUG, SOCIETE EURO PEENNE, DES BRASSERIES และ EVIAN) ซึ่งเป็นการรุเข้าสู่ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มอย่างแท้จริงแล้วก็มีการตั้งโรงงานผลิตกระจกแผ่นเรียบแห่งแรกขึ้นที่เยอรมนี

ปี 1972 บีเอสเอ็นซื้อ "กลาสเวอร์เบล" ผู้ผลิตกระจกแผ่นเรียบของเบลเยียม ทำให้มีส่วนแบ่งตลาดยุโรปถึง 500% จากนั้นก็ผนวกกิจการกับ GERVAIS-DANONE และผู้ผลิตอาหาร ทำให้ธุรกิจใหม่สร้างยอดขายเพิ่มถึง 50% ของยอดขาย 12,000 ล้านฟรังก์ในปี 1973

หลังจากนั้นการซื้อและขายกิจการก็อุบัติขึ้นตามมาครั้งแล้วครั้งเล่า โดยอองตวน ริโบด์เข้าซื้อ "อัลเคน" ผู้ผลิตเบียร์อันดับ 4 ของเบลเยี่ยมในปี 1978 ปีถัดมาซื้อ "มาฮัน" ผู้ผลิตเบียรอันดับสองของ สเปน, "วูห์เรอร" ผู้ผลิตเบียรหมายเลขสองของอิตาลีและเข้ซื้อหุ้นใหญ่ใน "แองโกล-เบลจ์"

ในส่วนของการขายธุรกิจทิ้งนั้น ปรากฏว่าพิลคิงตัน กลาสได้ชื่อว่า เป็นผู้ซื้อธุรกิจผลิตแก้วของบีเอสเอ็นในประเทศนอกฝรั่งเศส รวมทั้งการซื้อบริษัทสาขาในออสเตรีย และเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้ผลิตกระจกแผ่นเรียบเมื่อปี 1980-1981 ส่วนกิจการในแขนงเดียวกันนี้แต่อยู่ในเบลเยี่ยมและเนเธอร์แลนด์นั้น บีเอสเอ็นขายให้บริษัทอาซาฮี กลาสในญี่ปุ่น

บีเอสเอ็นพลิกบทบาทการเป็นนักซื้อในเวลาเดียวกัน ด้วยการซื้อบริษัทผลิตอาหารของฝรั่งเศสหลายแห่งด้วยกันคือ AMORA, VANDAMME, PIE QUI CHANTE, SEGMA MAILLE, และ แคนอนของสหรัฐฯ

ปี 1982 บีเอสเอ็นขยายแนวธุรกิจเข้าสู่ร้านขายของเบ็ดเตล็ด ด้วยการซื้อ LIEBIG ซึ่งมีสาขาในฝรั่งเศส เบลเยียม และอิตาลี จากนั้นซื้อกิจการผลิตแชมเปญ LANSON และ POMMERY เมื่อปี 1983 และเข้าควบคุมการบริหารกิจการปอนเต้ผู้ผลิตพาสต้าอันดับ 4 ของอิตาลีในปี 1985

การซื้อครั้งต่อมาของบีเอสเอ็นในปี 1986-87 คือการซื้อ GENERALE BISCUIT ของฝรั่งเศสการเข้าซื้อบริษัทผู้บรรจุขวดน้ำแร่อันดับ 1 ของอิตาลีคือ SAN GEMINI-DERRARELLE และซื้อบริษัทผู้ผลิตพาสต้าอีกหลายแห่งในอิตาลี ไม่ว่าจะเป็น GHIGHI, MONTOVAN, SPIGA และ TOMADIN ในเยอรมันนีบีเอสเอ็นได้ซื้อ SOMMEN-BASSERMAN ผู้ผลิตสินค้าเบ็ดเตล็ด รวมทั้งซื้อ FONTVALLA บริษัทน้ำแร่ใหญ่ที่สุดของสเปน บริษัท ARDILLA ผู้ผลิตพาสต้าอันดับ 2 และ SIRO ผู้ผลิตบิสกิตหมายเลขหนึ่งของสเปนด้วย

ปี 1988-89 บีเอสเอ็นก้าวต่อด้วยการเข้าถือหุ้น 25% ในหลายบริษัท ทั้ง PERONI ผู้ผลิตเบียร์ของอิตาลี ใน HB FOOD และ LEE & PERRINS ของอังกฤษ ใน LAPORTA บริษัทด้านแพ็คเกจจิ้งของอิตาลี ตลอดจนการถือหุ้นของ MASS ผู้ผลิตเบียร์ของเบลเยียม รวมถึงการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธุรกิจบิสกิจเวสเทิร์นฟูดในสหรัฐฯ และการมีหุ้น 35% ในสตาร์, สตาร์ลักซ์ซึ่งเป็นบริษัทผลิตสินค้าเบ็ดเตล็ดของสเปนและอิตาลีตามลำดับ

การซื้อกิจการของบีเอสเอ็นนับเป็นประสบการณ์ที่ควรค่าแก่การเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง เพราะในทุก ๆ สถานการณ์ และทุกโอกาสที่มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมากนั้น ก็มีบทเรียนแจ่มชัดที่น่าศึกษาจากบีเอสเอ็นอยู่ตลอดเวลา

บทเรียนประการแรกสุดคือ เมื่อซื้อกิจการจำนวนมหาศาลได้แล้ว บีเอสเอ็นก็เาไปบริหารอย่างทรงประสิทธิภาพ บีเอสเอ็นไมเคยหยุดยั้งต่อการพัฒนาให้บริษัททันสมัยและเป็นไปตามหลักของเหตุผล รวมทั้งการฝช้วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์การใช้ระบบการผลิตที่ยืดหยุ่นได้ อันนำมาซึ่งการลดต้นทุน และการได้รับสมรรถนะสูงสุดของการผลิตในธุรกิจทุกแขนง ริโบด์มีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในทีมบริหารขนาดเล็กแบบรวมศูนย์อำนาจ ที่มีแต่เพียงหัวหน้าของธุรกิจแต่ละแขนง เช่น นมเนย ของเบ็ดเตล็ด บิสกิต เบียร์ น้ำแร่ และแชมเปญ ที่รายงานตรงต่อเขา

บทเรียนประการที่สอง เป็นการสร้างปัจจัยเชิงบวกทางการตลาด บีเอสเอ็นได้ทุ่มทุนถึง 850 ล้านฟรังก์ เพียงเพื่องานโฆษณาของบริษัทในฝรั่งเศสโดยเฉพาะ และ 3 ใน 4 ของผู้อำนวยการทางการตลาดในฝรั่งเศส มาจากบริษัทสาขาของบีเอสเอ็นคือ AMORA, GERVAIS และ KRONENBOURG ซึ่งแรงผลักดันทางการตลาดนี้เองที่เป็นปัจจัยสำคัญลำดับต่อมา ที่ช่วยก่อรูปความสำเร็จให้แน่นอนขึ้น

บีเอสเอ็นมีความสามารถที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีความเป็นสากล หรือเป็นผลิตภัณฑ์แบบยุโรปได้ตัวอย่างจากการประสบความสำเร็จของบีเอสเอ็นในการวางตลาดโยเกิร์ตพร้อมดื่มในญี่ปุ่น ซึ่ง "โยเกิร์ต" นี้ ผลิตจากแบคทีเรียชนิดพิเศษ เพื่อที่จะแข่งขันกับผู้ริเริ่มที่เป็นบริษัทนมเนยขนาดเล้กซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด 10% รวมทั้งการริเริ่มใช้ขวดซอสมะเขือเทศแบบพลาสติก ทำให้ผลิตภัณฑ์ของบีเอสเอ็นก้าวแซงหน้าพลาสติก ทำให้ผลิตภัณฑ์ของบีเอสเอ็นก้าวแซงหน้าไฮนซ์ ซึ่งเป็นผู้นำตลาดผลิตภัณฑ์ในฝรั่งเศสได้

บทเรียนประการที่สามคือ การซื้อกิจการของบีเอสเอ็นทั้งหมด ล้วนมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจหลักของบริษัท หรืออย่างน้อยที่สุดก็ต้องให้ผลในเชิงทบทวี (SYNERGY) ที่สำคัญไม่แพ้กันคือบีเอสเอ็นจะพุ่งเป้าไปที่บริษัทเด่น ๆ ของตลาดแต่ละแห่งเสมอ

บทเรียนประการสุดท้าย ริโบด์เรียนรู้ที่จะมีพันธมิตรผู้แข็งแกร่งในตลาดใหม่ ๆ ปี 1985 เขาประสบความล้มเหลวในการประมูลซื้อ "บุยโตนี่" ผู้ผลิตอาหารอันดับ 2 ของอิตาลี ริโบด์ได้ประสบการณ์จากการเจรจาหลายเดือน แต่เมื่อถึงขึ้นของการเซ็นสัญญา ริโบด์ถูกขัดขวางจากคาร์โล เดอ เบเบเดตติซึ่งเป็นคู่แข่งทางธุรกิจของเขา เดอ เบเบเดตติเป้นผู้หยิบชิ้นปลามัน สามารถเจรจาซื้อกิจการได้สำเร็จภายในเวลา 24 ชั่วโมงเท่านั้น

จากการเรียนรู้ในครั้งนั้น ริโบด์เริ่มมองหา "พันธมิตร" ชาวอิตาเลียน ซึ่งสามารถทำให้เขาได้รับความเชื่อถือในตลาดท้องถิ่น และอาจเป็นกำลังทางการเงินได้ด้วย ริโบด์พบลักษณะที่เขาต้องการในตัวประธานของเฟียต คือ จิโอวานนี่ อักเนลลี่ (คนที่ริโบด์พบในลิฟท์ของโรงแรมนิวยอร์ก) การเป็นหุ้นส่วนของคนทั้งคู่เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 1987 ในการเข้าซื้อ SAN GEMINI - FERRARELLE ผู้ผลิตน้ำแร่ชั้นนำของอิตาลี

เงื่อนไขการเป็นพันธมิตรกันนั้น IFIL - PARTECI PAZIONI ของอักเนลลี่ได้ถือหุ้นของบีเอสเอ็น 4.3% ส่วนบีเอสเอ็นจะได้ถือหุ้นของ IFIL 20% (IFIL ถือหุ้น 6.7% ของเฟียต หุ้นในบริษัทด้านอาหารและบริษัทจัดจำหน่ายของอักเนลลี่) การร่วมซื้อกิจการทั้งหมดนั้น ทั้งสองบริษัทจะร่วมเป็นเจ้าของแบบ 50-50 แต่บีเอสเอ็นจะเป็นผู้เข้าควบคุมงานด้านบริหารเอง

จากสถานภาพของการเป็นเพียงบริษัทผู้ผลิตขวดขนาดกลาง บีเอสเอ็นก้าวมาไกลจากปี 1989 มากเพื่อมุ่งทีจะเป็นบริษัทยุโรปอย่างแท้จริงในตลาดร่วม ด้วยวิธีการเลือกซื้อกิจการบริษัทอื่นมาโดยตลอด

การปรับโครงสร้างของ "จีไอบี"

จีไอบีกรุ๊ปเป็นบริษัทค้าปลีกชั้นนำของเบลเยียมพัฒนาจากบริษัท "จีบี-อินโน-บีเอ็ม" ซึ่งเป็นผลพวงของการผนวกและซื้อกิจการอย่างต่อเนื่องหลายครั้งในช่วง 2 ปีที่แล้ว เมื่อบริษัทตระหนักถึงความ สำคัญของตลาดร่วมยุโรป จากนั้นมาจีไอบีได้ปรับโครงสร้างของตัวเองมาตลอด

จีไอบีสร้างฐานในเบลเยียมให้แข็งแกร่งด้วยวิธีซื้อกิจการ และขยายกิจการครอบคลุมยุโรปครั้งใหญ่จากการซื้อกิจการและแฟรนไชส์ของดีไอวายและในธุรกิจฟาสต์ฟูด

ห้างค้าปลีกทั้งหมดของจีไอบีประกอบไปด้วย "จีบี แม็กซี่ ไฮเปอร์มาร์เก็ต" 56 แห่ง ตั้งอยู่ตามชานเมืองใหญ่ของเบลเยียม มีสินค้าไว้บริการอย่างครบถ้วนทั้งผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร และผลิตภัณฑ์ด้านอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมี "ซูเปอร์ จีบี" ซึ่งเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตอี 89 แห่ง และยังเป็นเจ้าของ "ยูนิค" เชนค้าปลีกอิสระที่แข็งแกร่งอีก 333 แห่ง สำหรับธุรกิจร้านอาหารของจีไอบีครอบคลุมร้านแฮมเบอร์เกอร์ "ควิก" 36 แห่งในเบลเยี่ยม และ 77 แห่งในฝรั่งเศส (รวมทั้งที่ดำเนินงานในรูปของแฟรนไชส์ด้วย)

จีไอบีใช้ "บริโก จีบี" เป็นเครื่องหมายการค้าของสินค้าที่ขายในห้างดีไอวายในเบลเยียม 82 แห่งมี 32 แห่งดำเนินงานแฟรนไชส์ ซึ่งทำให้จีไอบีมีส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจแขนงนี้ถึง 25% รวมไปถึงห้างสรรพสินค้า "อินโน" อีก 15 แห่ง (มีห้างแกรนด์บาซาร์อีก 3 แห่ง) และ ยังเชนห้างขายสินค้าหรูราคาแพง รวมทั้งห้าง "คริสเตียนเชน" ที่ขายของเด็กเล่นและเกมอีก 78 แห่ง ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มขยายโครงการสู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส

พฤศจิกายน 1987 จีไอบีได้ซื้อหุ้นใหญ่ในธุรกิจของ "เจซี เพนนีย์" ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกอันดับ 3 ของสหรัฐฯ จีไอบีซื้อหุ้นทั้งหมดของเพนนีย์ที่มีอยู่ในธุรกิจแฟรนไชส์ห้าง "โนปรี" และซื้อหุ้นของกลุ่มห้าง "ซาร์มา" อีก 49% (โดนมีออพชั่นซื้อหุ้นที่เหลือในอีก 4 ปี) จีไอบีไม่ได้มีแผนที่จะผนวกิจการของทั้งสองบริษัทเข้ากับการดำเนินงานของตน แต่ได้อัดฉีดเงินเข้าไปถึง 640 ล้นฟรังก์เบลเยี่ยม ขณะเดียวกันก็ปรับโครงสร้างการบริหาร ปลดเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารออกบางส่วนรวมถึงปิดกิจการที่ไม่ทำกำไรบางแห่งด้วย

การซื้อกิจการในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ที่จีไอบีวางไว้ ซึ่งรวมไปถึงการปิดห้างสรรพสินค้าสไตล์เก่าแก่อีก 1 แห่ง การให้พนักงานปลดเกษียณก่อนกำหนดอีก 3,000 คน และการขายทิ้งที่จอดรถหลายแห่งให้กับบริษัทสาขาของเซลล์ในเบลเยียม

สำหรับในต่างประเทศ จีไอบีเพิ่มปริมาณการถือหุ้นใน "สก็อตตี้ส์ อิงค" ซึ่งดำเนินธุรกิจห้างดีไอวายในสหรัฐฯ ส่วนในสเปนก็เริ่มกิจการเชนร้านดีไอวายกับหุ้นส่วนคือ "คอร์ปอราซิออง ไฟแนนซิเอร่า อัลบ้า" นอกจากนี้ ยังเข้าซื้อหุ้น 40% ของ "เวตีร์" บริษัทค้าปลีกเสื้อผ้าของฝรั่งเศส เพื่อให้จีไอบีอยู่ในฐานะได้เปรียบเมื่อถึงปี 1992 ที่ตลาดร่วมยุโรปได้อุบัติขึ้นจริง

ในด้านธุรกิจฟาสต์ฟูด จีไอบีได้บรรลุข้อตกลงในปี 1988 ที่จะขยายธุรกิจร้านอาหารควิกในฝรั่งเศสภายใต้ชื่อ "เอวิส เรสทัวรองต์" ซึ่งจะเปิดเป็นร้านอาหารแบบไดรฟ์-อินในไฮเปอร์มาร์เก็ตทั่วประเทศและในอังกฤษภายใต้ชื่อ "วิทเบรด" (ภายหลังจากที่ประสบความสำเร็จในการทดลองตลาดมาแล้ว 7 แห่ง)

ต่อมาในปี 1988 ยอดขายของกลุ่มจีไอบีมีมูลค่า 1,650 ล้านฟรังก์เบลเยียม ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้าง การซื้อกิจการและแฟรนไชส์ใหม่ ๆ และมีการจ้างงานในประเทศราว 31,000 ตำแหน่ง เป็นการจ้างงานในส่วนของแฟรนไชส์ราว 12,000 ตำแหน่ง

ตลาดร่วมยุโรป 1992 ดูเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวลแก่ผู้บริหารอาวุโส เห็นได้จากมีการกล่าวถึงตลาดร่วมและกฎหมาย SINGLE EUROPEAN ACT ในรายงานประจำปี โดยในเรื่องของนโยบายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดรวมถึงข้อตกลงของการซื้อกิจการและแฟรนไชส์ทั้งหมด จะถูกควบคุมโดยคณะ "ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสาม" ที่ประกอบขึ้นด้วย ฟอรงซัวร์วาเซอแลร์-ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รับผิดชอบในกลยุทธ์ทั่วไป, จาคส์ด็อพซี่-รองประธานกรรมการ รับผิดชอบในกิจการระหว่างประเทศโดยเฉพาะในสหรัฐฯ และดิเอโก ดูมองโก กรรมการผู้จัดการ ซึ่งเคยทำงานกับโบรกเกอร์ระดับโลกคือเมอร์ริลลินซ์และสวิสแบงก์มาแล้วเป็นผู้ดูแลในเรื่องการปรับโครงสร้างการเงิน และกิจการระหว่างประเทศ

แม้ว่าจีไอบีจะใช้เวลาในการเจรจาซื้อการดำเนินงานของเจซี เพนนีย์ นานถึง 18 เดือน แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้ายก็เป็นไปอย่างรวดเร้วในเดือนพฤศจิกายน 1987 ครั้งนั้นจีไอบีจ่ายเงินไป 1,200 ล้านฟรังก์เบลเยียมซึ่งวอร์ด เฮอร์ทีเรีย ผู้ควบคุมด้านการสื่อสาของจีไอบีกล่าวว่า "นับเป็นการลงทุนที่ดี เพราะเราค่อนข้างเชี่ยวชาญในส่วนของการตลาดอยู่แล้ว การซื้อครั้งนี้จะช่วยเสริมการดำเนินงานของบริษัทด้วย"

สำหรับห้างโนปรีนั้น มักตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีในอังกฤษซึ่งส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ทางเหนือและตอนกลาง แม้ว่าจะมีกฎหมายจำกัดการสร้างห้างใหม่ ๆ ซึ่งเป็นผลจากการล็อบบี้ของเจ้าของห้างขนาดเล็ก ที่ไม่ต้องการให้ห้างขนาดใหญ่ขยายสาขาแข่งกับตน แต่วิธีนี้ก็เป็นหนทางเดียวในการขยายกิจการเช่นกัน"

เฮอร์ทีเรียกล่าวว่า ในการพิจารณาที่จะซื้อกิจการแห่งใหม่ของจีไอบี จะมีปัจจัยที่สำคัญอยู่ 4 ข้อคือ

1. จะต้องมีทำเลที่ดี อันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของธุรกิจค้าปลีก

2. การให้ความสำคัญกับแนวความคิดที่ดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ถือเป็นสูตรสำเร็จของการทำห้างและสร้างภาพพจน์ เช่น ห้าง FREETIME ในฝรั่งเศส

3. กิจการนั้นอยู่ในตลาดที่ธุรกิจอยู่ในระหว่างการเติบโต


4. ต้องได้รับความนิยมจากฝ่ายบริหารท้องถิ่นในการเข้าไปทำธุรกิจด้วยนโยบายของเราไม่ได้เป็นแบบนักล่าซื้อกิจการ แต่เรายึดมั่นในการเป็นหุ้นส่วนกัน"

เขาเพิ่มเติมอีกว่า หนึ่งในหกหลักการสำคัญที่เป็นยุทธศาสตร์ของจีไอบีคือ ต้องให้แน่ใจ
ว่ามีอัตราการเติบโตของยอดขายอย่างสม่ำเสมอ จากนโยบายการขยายแนวธุรกิจและซื้อกิจการ ส่วนการปรับโครงสร้างของบริษัทที่จีไอบีได้ปฏิบัติมาตลอดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้จีไอบีมีศักยภาพเพียงพอที่จะเผชิญกับความท้าทายของตลาดร่วมในวันหน้า

บทเรียนล้ำค่าของบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม

ในขณะที่มีบทเรียนตัวอย่างที่ชัดเจนจากบีเอสเอ็นและจีไอบี แต่ก็เป็นตัวอย่างของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมีการดำเนินงานที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงจากบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งมีฐานะการเงินไม่มากนัก ดังนั้น เอสเอ็มอีจึงต้องมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจเข้าซื้อกิจการในยุโรป

จากกรณีการซื้อกิจการของ "แรนซัมส์ ซิม แอนด์ เจฟเฟอรี่ส์" เมื่อเร็ว ๆ นี้ เป็นตัวอย่างบทเรียนที่มีค่าสำหรับเอสเอ็มอี เพราะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แรนซัมส์ได้ซื้อกิจการถึง 7 แห่ง ซึ่ง 4 แห่งอยู่ในอังกฤษ ที่เหลืออยู่ในฝรั่งเศส อิตาลี และสหรัฐฯ

แซนดี้ แคเมอรอน เลขานุการประจำแรนซัมส์ เล่าว่า การซื้อกิจการเป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์องค์กรธุรกิจยุโรป เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่บริษัทจำเป็ต้องใช้ในการอุดช่องว่างของตลาด และทำให้เข้าถึงตลาดในทุกแขนงได้ดีขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับดีลเลอร์จะมีความเป็นส่วนตัวมากและบทบาทของดีลเลอร์ก็เป็นแรงหนุนสำคัญในความสำเร็จแรนซัมส์

ปัจจุบันดีลเลอร์ ยืนกรานที่จะมีสินค้าจำหน่ายให้ครบทุกประเภท และอยากติดต่อกับผู้ผลิตน้อยรายที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากการมีสินค้าเสนอครบทุกประเภท เราหวังจะซื้อดีลเลอร์ที่ดีทีสามารถเข้าถึงทางการระดับท้องถิ่นหรือหน่วยงานรัฐบาลอื่น ๆ ซึ่งบริษัทหรือตัวแทนจำหน่ายที่มีอยู่เดิมไม่มีอิทธิพลหรือมีแต่ก็น้อยมาก ตัวอย่างเช่น บริษัทไม่สามารถผลิตเครื่องตัดหรือเครื่องตัดหญ้าได้ในทันที แต่การซื้อหรือผนวกกิจการจะทำให้เราได้ในผลิตภัณฑ์ส่วนนี้มา

แคเมอรอนเห็นว่า การซื้อกิจการของแรนซัมส์ในยุโรปที่ผ่านมาเมื่อไม่นานมานี้ เป็นขั้นตอนบนหลักของความเป็นจริง ในการช่วยเสริมยุทธศาสตรืนี้โดยฤดูใบไม้ร่วงปี 1988 แรนซัมส์ได้ ไบีทีเอส กรีน" บริษัทเอกชน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้มอนซาในอิตาลีมาครองบีทีเอสผลิตสินค้าประเภทเครื่องตัดหญ้าแบบหมุนซึ่งขายในอิตาลีและบางส่วนของฝรั่งเศส

แต่แรนซัมส์ก็สร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนขึ้นมาเองด้วยแห่งหนึ่ง เพื่อเสริมสมรรถนะการผลิตของกิจการสาขาในเมาท์ฟิลด์ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมาก โรงงานแห่งนี้ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีเยี่ยม เหมาะสมตามหลักการผลิตที่เคยใช้ในเมดเฮด เช่น ในกระบวนผลิตนั้นแม่พิมพ์อะลูมิเนียมจะถุกส่งเข้ามาทางหนึ่งและถูกส่งออกไปอีกทางหนึ่ง สู่โรงงานผลิตทีอยู่ถัดไป (ซึ่งเป็นโรงงานที่มีสมรรถนะการผลิตสีส่วนเกินอยู่) จากนั้นก็เวียนกลับเข้ามาใหม่ โดยวิธีผ่านสายการผลิตขั้นตอนเดียวโดยตรง ก็จะเป็นกระบวนการผลิตที่สมบูรณ์

ถัดมาในเดือนพฤศจิกายน 1988 แรนซัมส์ซื้อ "กร็องจา" บริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหุ้นแห่งฝรั่งเศส ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทสกร็องจามีโรงงานทีทันสมัยในเมืองตูลูส ซึ่งผลิตเครื่องตัดหญ้าแบบหมุน อุปกรณ์การทำสวน และอุปกรณ์ทางการเกษตรอื่น ๆ ซึ่งสามารถขายไปพร้อมกับขอบข่ายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยโรงงานในเมาท์ฟิลด์ได้ แคเมอรอนกล่าวว่า "กร็องจาได้ทำให้แรนซัมส์เข้าถึงธุรกิจแขนงไม่ของตลาดฝรั่งเศส โดยเฉพาะตลาดทางตอนใต้ และมันยิ่งเป็นเหมือนโบนัส เมื่อได้รู้ว่ากร็องจามีระบบบัญชีและการบริหารอยู่ในระดับแนวหน้า

จากบทเรียนซึ่งแรนซัมส์ได้มาจากการเข้าเทคโอเวรอ์กิจการหลายครั้ง ทำให้แคเมอรอนได้เสนอข้อน่าสังเกตที่น่าสนใจไว้หลายข้อ ดังนี้

1. ระบบข่าวกรองทางการตลาดมีคุณค่ามากจนมิอาจประเมินค่าได้ และทำให้คุณเป็นฝ่ายได้เปรียบในเชิงแข่งขัน

ในบางบริษัทโดยเฉพาะกิจการระบบครอบครัวอาจจะยังมีการจำกัดข่าวสารกันอยู่ "ในกรณีของเรานั้นโชคดีที่สามารถรับข่าวสารต่าง ๆ ก่อนเพื่อน จากการติดต่อธุรกิจในวงการหลายรูปแบบ เพราะชื่อเสียงของบริษัทนั่นเอง มันเป็นเรื่องน่าแปลกที่บางครั้งเราได้ผลประโยชน์จากการจัดงานแสดงสินค้าซึ่งเป็นการลงทุนเพียงเล็กน้อย จากการร่วมดื่มสังสรรค์และทนรำคาญบ้าง แต่เราก็ได้ข่าวเกี่ยวกับบริษัทที่ต้องการขายกิจการด้วยวิธีนี้ และมันทำให้เราก้าวนำหน้าคู่แข่งของเราได้

2. ให้ความสำคัญของการพบปะเจรจากับบริษัทที่เพิ่งซื้อได้

คุณควรไปเยี่ยมชมกิจการของผู้ขายบริษัทให้เพื่อดูว่าคุณต้องการซื้ออะไร และหากคุณสามารถใช้นักปฏิบัติการทางกฎหมายร่างข้อตกลงเกี่ยวกับขายที่แท้จริงได้ สิ่งนี้จะช่วยคุณได้อย่างมาก

3. บอกให้ผู้ขายกิจการทราบถึงสถานภาพของเขาตั้งแต่เริ่มต้น

ควรมีการอภิปรายกันถึงเรื่องหลักประกันและการคงสถานภาพของบริษัทไว้ โดยเฉพาะในเรื่องของภาษี ซึ่งจะซับซ้อนมากถ้าหากเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจแบบครอบครัว "เรามักจะบอกถึงข้อผูกมัดของเราในฐานะที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เสมอ รวมถึงข้อบังคับที่ว่า การติดต่อธุรกิจทุกเรื่องจะต้องรายงานต่อฝ่ายบัญชี และการต้องระมัดระวังในคำพูดที่มีการเสนอรายงานต่อฝ่ายบัญชีข่ายงานของพวกเขา ซึ่งเราไม่เคยพบความยกาลำบากในการำทให้ผู้ขายกิจการมีความเห็นสอดคล้องกับเรา ถ้าให้เขาได้รู้สถานภาพของเขามาตั้งแต่เริ่มต้น แต่คุณต้องไม่ลืมที่จะขายตัวเอง ซึ่งชื่อเสียงในธุรกิจของเราเรื่องความซื่อตรง และการมีนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นั้น มีอิทธิพลมากพอที่จะทำให้บริษัทนั้น ๆ เลือกขายกิจการให้เรามากกว่าที่จะคิดเป็นคู่แข่งกับเรา"

4. ค้นให้พบว่าทำไมผู้ขายกิจการต้องการขายบริษัท

"มีหลายครั้งที่เราพบว่า ผู้ขายกิจการไม่ได้บอกหุ้นส่วนถึงความตั้งใจที่จะขายกิจการ แม้ หุ้นส่วนนั้นจะเป็นคนสนิทสนมกันมากถึงขั้นเป็นภรรยาก็ตาม ซึ่งมันเกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่าที่คุณคิด และจะก่อให้เกิดปัญหาได้คุณไม่ระวังในเรื่องหุ้นส่วนไม่ยินยอมด้วย"

5. ทำให้ผู้ขายกิจการเกิดความเชื่อถือตั้งแต่แรก

ในการร่างข้อตกลงนั้น มักจะมีการซิกแซ็กและอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง และคุณจำ เป็นต้องสร้างสัมพันธ์ไมตรีขึ้นมาให้ได้ ผู้ขายกิจการทุกรายล้วนต้องการใช้เอกสารน้อยชิ้นที่สุดในการทำสัญญาซื้อขายคืออยากขายเหมาทุกอย่างให้คุณในคราวเดียว ขณะที่ผู้ซื้อก็สนใจแต่ว่าจะซื้ออะไรบ้าง และจำกัดขอบเขตของข้อผูกมัด จึงต้องการเฉพาะของชิ้นสำคัญแคเมรอนเล่าว่า "มีอยู่ครั้งหนึ่ง ฉันต้องใช้ความสุภาพอย่างมากในการพูดเตือนให้ผู้ขายกิจการรู้ในพันธะของเราในฐานะที่เป็นบริษัทจดทะเบียน และให้ความมั่นใจกับเขาว่า มันจะไม่ได้หมายถึงการไม่ไว้วางใจหรือเปลี่ยนแก่นแท้ของข้อตกลง ถ้าคุณพบว่าคุณอยู่ในสถานภาพนี้แล้ว ก็ให้หวังถึงผลที่จะเกิดอย่างมหาศาล และแม้ว่าคุณจะต้องทำทุกอย่างให้ลุล่วงภายใต้ความขัดแย้งและความไม่เข้าใจกัน ก็ขอให้พยายามยิ้มอย่างสุภาพแสดงความเข้าใจกัน เงียบเข้าไว้และอดทน แล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็จะดีเอง"

6. เลือกที่ปรึกษามืออาชีพที่ดำเนินงานในประเทศที่เกี่ยวข้องเสมอ

เมื่อแรนซัมส์ซื้อกิจการกร็องจาก็ใช้บริการของทนายความชาวบอนดอนที่มีสำนักงานอยู่ ในปารีส แคเมรอนเล่าว่า "สำนักงานทนายความเหล่านี้คิดค่าบริการแพงมาก แต่ต้นทุนนี้ถอว่าจิ๊บจ๊อยมากเมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น จากการร่างสัญยาแบบไม่เอาไหน ซึ่งสามารถส่งผลถึงงบบัญชีแสดงผลกำไร-ขาดทุนได้ เราจะใช้ทนายชุดนี้ในการซื้อกิจการในอนาคตอีกแน่นอน และถือว่าพวกเขาเป็นสมาชิกหลักในทีมเจรจาของเราด้วย"

7. ร่างสัญญาด้วยภาษาของผู้ขายกิจการ

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา บริษัทมักเจรจาการซื้อขายด้วยภาษาของผู้ขายกิจการเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาเรียกร้องในภายหลังว่า เราตีความผิดความหมาย ทั้งหมดจึงขึ้นอยู่กับที่ปรึกษามืออาชีพเพื่อให้แน่ใจได้ว่ามีความเข้าใจภาษาอังกฤษอย่างแจ่มชัดในสิ่งที่กำลังกำเนิดการอยู่ "แต่หากคุณต้องการเอาชนะความคิดที่มันยาก หรือเหมือนอย่างที่ฉันพยายามให้ความสำคัญกับวลีเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้น คงทำไม่ได้ และในท้ายที่สุดมนก็คงออกมาไม่เหมือนอย่างที่ใจของเราอยากให้เป็น แต่เราก็ต้องยอมรับเหมือนที่ฉันเคยประสบมา"

8. พึ่งที่ปรึกษาของคุณ

แคเมรอนกล่าวว่า ในบางครั้งที่ปรึกษาเหล่านี้อาจมีความเห็นไม่เหมือนกับความคิดของ ฝ่ายบัญชีหรือทนายความของเรา แต่พวกเขาก็รับค่าจ้างจากเรา และถ้าพวกเขาให้คำแนะนำไม่เอาไหนแก่เรา เราก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ แต่เราก็พอใจในคุณภาพที่ปรึกษาของเรามาก เพราะพวกเขามีวิธีพูดหรือจับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ บางครั้งก็สามารถให้คำแนะนำที่อาจทำให้คุณรู้สึกตกใจ แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องถูกกฎหมายทั้งสิ้น ถ้าจำเป็นพวกเขาก็สามารถเล่นบทผู้ร้ายได้ และเราก็ไม่เคยลังเลที่จะไปซ่อนอยู่ข้างหลังพวกเขา ผู้ขายกิจการอาจไมชอบพวกเขาที่รักษาผลประโยนช์ของคุณอย่างเหนียวแน่นแต่โดยรวมแล้วที่ปรึกษามักจะได้รับความเชื่อถือ

9. หลังซื้อกิจการแล้ว อย่าให้ผู้ขายกิจการบริหารงานต่อไป

แรนซัมส์ก็ทำตามกฎทั่วไปคือ ไม่สนับสนุนให้ผู้ขายกิจการดำรงตำแหน่งผู้บริหารต่อไปใน
ระยะยาวพวกเขาอาจบริหารกิจการต่อไปได้ แต่ต้องในระยะเวลาที่เหมาะสม จนกว่าจะหาผู้สืบทอดตำแหน่งได้ อาจต้องใช้เวลาถึง 6 เดือนหรือมากกว่านั้น จากประสบการณ์ที่ผ่านมาบ่งบอกว่า พวกเขาพอใจที่จะเป็นอย่างนั้นและมักจะรู้ด้วยว่า ใครควรจะสืบทอดตำแหน่งต่อไป

10. การให้แน่ใจว่าจะมีคณะกรรมการบริหารมาเยือนกิจการที่เพิ่งซื้อมาใหม่ โดยเฉพาะในวันที่มีการประกาศการซื้อขายอย่างเป็นทางการ

ฝ่ายบริหารการเงินนั้นย่อมต้องการที่จะเข้ามามีบทบาทในบริษัทที่เพิ่งซื้อได้ทันที เพื่อ
สร้างความมั่นใจในเรื่องของการควบคุม และกระบวนการรายงานฐานะทางการเงินให้เป็นไปตามแผนที่ร่างไว้รวมทั้งต้องการที่จะพบกับผู้ตรวจสอบบัญชีคนก่อน อาจเป็นการยากที่จะให้ฝ่ายการตลาด ฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ และฝ่ายผลิต เล็งเห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการซื้อกิจการใหม่ แต่หากมีการร่างรายละเอียดของโครงการแล้วพิมพ์ออกเผยแพร่ สิ่งนี้ก็จะช่วยทุกคนในการที่จะรู้ว่าพวกเขามีสถานภาพอย่างไร

การจะรวมตัวเป็นทองแผ่นเดียวกันได้นั้น บางครั้งอาจต้องใช้เวลา จึงต้องให้แน่ใจว่ามี
การวาแผนสำหรับความเปลี่ยนแปลงไว้อย่างครบถ้วน คุณอาจต้องสนับสนุนการซื้อกิจการทั้งด้านการเงิน และเงินทุนซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการขยายกิจการ ในที่สุดเมื่อทุกอย่างลงตัวแล้ว ทุกคนก็จะเริ่มมองเห็นประโยชน์ที่แท้จริงจากการซื้อกิจการทีมบริหารเอง ก็จะสามารถเริ่มป้อนบางสิ่งบางอย่างเข้าไปในผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตในอนาคต นอกจากนี้ก็สามารถพัฒนาทางการตลาดและผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้ด้วยการใช้เครือข่ายการจัดจำหน่ายของบริษัทแม่ที่มีอยู่ทั่วโลก

แซนดี้ แคเมอรอนตอบท้ายว่า "ผลจากการซื้อกิจการบริษัทเล็ก ๆ สองครั้ง ทำให้ ขอบข่ายผลิตภัณฑ์ของเราได้ขยายกว้างขึ้น ปัจจุบันเรามีวัตถุดิบของอิตาลีและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นองแท้ไว้ป้อนโรงงานผลิต และได้ยังได้มีการจัดประชุมยุทธวีธีทางการตลาดขึ้นด้วย ยิ่งไปกว่านั้นเรารู้สึกซ่าได้เริ่มต้นจากก้าวเล็ก ๆ แต่เป็นก้าวที่สำคัญ ซึ่งมุ่งเน้นให้ผู้บริโภคของอิตาลีฝรั่งเศสตระหนักว่า แรนซัมส์เป็นบริษัทยุโรปที่มีพันธะต่อตลาดอิตาลีและฝรั่งเศสรวมทั้งมีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจที่ดี ของทั้งสองประเทศ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us