ตลาดเพจจิ้งมูลค่า 140,000 เครื่องต่อปีกำลังก้าวไปไกล 3 ค่ายผู้นำเข้าต่างฝ่ายต่างนำเทคโนโลยีที่ล้ำนำหน้าเขตฟาดฟันแข่งขันเป็นจุดขายที่มั่นคง
"โฟนลิงค์" ค่ายชินวัตรผู้นำธงสุดโต่งกำลังไปด้วยสวยกับการเป็นผู้นำตลาดที่ครองส่วนแบ่ง
50% ของตลาดเพจจิ้งในปัจจุบัน พร้อมการสร้างภาพลักษณ์ใหม่กับงานระดับชาติหลังได้รับเลือกจากกระทรวงคลังให้เป็นเครื่องมือสื่อสารในงานประชุม
"เวิร์ลแบก์"
ในขณะที่ "เพจโฟน" ของค่ายฮัทชิสันกำลังคลานต้วมเตี้ยมชิงส่วนแบ่งตลาดได้แค่
10% ก็เร่งสร้างสถานีเครือข่ายให้มากที่สุด เพื่อสนองตอบความต้องการของตลาด
ในเรื่องของการติดต่อทั่วประเทศที่ยังคงเป็นจุดอ่อนของค่ายฮัทชิสันเอง ส่วน
"แพ็คลิงค์" ค่ายแปซิฟิก เทเลซีสผู้ผิดหวังครั้งแล้วครั้งเล่ากับการเชือดเฉือนคู่รักเาไม่ลงจนต้องนั่งนับถอยหลังมานานเริ่มวางแผนโปรโมทเป็นชุด
"อัดแหลกแจกไม่อั้น" พร้อมรอคอยจังหวะของการใช้เลขหมาย 3 ตัวในอนาคตเพื่อการรุกตลาดตามเป้าหมายชิงส่วนแบ่ง
1.5 ล้านเครื่องใน 10 ปีข้างหน้า
ตลาดเพจจิ้งมูลค่า 140,000 เครื่องต่อปี นับเป็นตัวเลบขที่มีอัตราก้าวกระโดดหากนับจากการเปิดตลาด
เริ่มแรกที่เพจจิ้งเข้าเมืองไทยเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีบริษัท แปซิฟิก
เทเลซีส ผู้นำแพ็คลิงค์เข้ามาบุกเบิก
ช่วงเวลา 5 ปีแพ็คลิงค์ทำตลาดได้เพียงแค่ 50,000 เครื่องเท่านั้น ในขณะที่โฟนลิงค์ของค่ายชินวัตรเพิ่งเข้าตลาดเมื่อปลายปี
33 ก็สามารถตีตื้นทำตลาดขยายตัวไปได้กว่าเท่าตัวแค่ช่วงเวลาเพียง 1 ปีนับจากการเริ่มต้นเข้าสู่ตลาดเพจจิ้งอีกตัวหนึ่ง
อย่างไรก็ตามในช่วงต้นปี 34 ที่ผ่านมานี้ ค่ายฮัทชิสันก็ได้นำเพจจิ้งเข้าสู่วงการอีกยี่ห้อหนึ่งมีผลทำให้ตลาดเกิดการขยายตัวเพิ่มมากยิ่งขึ้น
จนกลายเป็นบทพิสูจน์ที่กล่าวได้ว่า เพราะการเปิดการค้าเสรีจึงมีผลทำให้ตลาดขยายตัวไปได้ไวมากกว่าการได้สัมปทานผูกขาดเหมือนช่วงที่ผ่านมาในระยะเริ่มแรก
นอกจากนี้การแข่งขันเสรีในตลาดได้ก่อให้เกิดผลตามมาเป็นระลอกคือการพัฒนาสินค้าให้มีเทคโนโลยีที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง
ผลดังกล่าวนี้ได้กลายมาเป็นจุดขายที่สำคัญของค่าย ที่มีความแข็งในเรื่องนี้
โดยเฉพาะ ซึ่งความได้เปรียบเสียเปรียบในเชิงเทคโนโลยีนี้แต่ละค่ายมักจะคุยทับกันเองว่า
มีความเหนือชั้นกว่า จนผู้ใช้บริการหรือผู้ที่กำลังจะเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ของค่ายใดค่ายหนึ่งเกิดความสับสนในข่าวที่ทุกค่ายวางหมากกลล่อให้ตกหลุ่มพรางนั้น
ๆ
ยกตัวอย่างเช่น ค่ายโฟนลิงค์ให้ข่าวว่ามีการบริการสื่อสารติดต่อทั่วไทยโดยใช้ดาวเทียมปาลาป้า
B2P ของามารถเทลคอมในขณะที่ค่ายแพ็คลิงค์ก็ออกข่าวโปรโมทเช่นกันว่าตนเองใช้ดาวเทียมปาลาป้าเป็นเจ้าแรก
ส่วนค่ายฮัทชิสันว่ากันเพจโฟนเพิ่ม จะได้อนุมัติใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมเอเซียแซท
และประมาณการณ์ว่าจะใช้ได้ประมาณปลายเดือนกันยายนนี้ แต่ก็โฆษณามาเป็นแรมเดือนว่ามีใช้ดาวเทียมกับเขาด้วยเหมือนกันเพื่อมิให้น้อยหน้าซึ่งกันและกัน
อย่างไรก็ตามข่าวคราวเหล่านี้มิได้สร้างปัญหาให้กับผู้ใช้บริการหรือกลุ่มเป้าหมายของค่ายใดค่ายหนึ่ง
แต่กลับเป็นตัวเสริมทำให้ตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี
จน ณ วันนี้ทั้งโฟนลิงค์, แพ็คลิงค์ และเพจโฟนสามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้
50%, 40% และ 10% ตามลำดับ สัดส่วนการครองตลาดเพจจิ้งนี้ขยายตัวตามตลาดที่เพิ่มขึ้นทุกปีภาคพจน์
วงศ์เชาวนาถ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์บริษัท ดิจิตอล เพจจิ้ง เซอร์วิส
จำกัด คุยให้ฟังว่าอัตราการเติบโตของโฟนลิงค์ขยายตัวได้ 100% เลยทีเดียวจากเป้าหมายที่วางไว้ประมาณ
50,000 เครื่องใน 1 ปีแต่เมื่อผ่านมาได้เพียง 6 เดือนโฟนลิงค์คุยว่าสามารถทำยอดได้เกือบ
100,000 เครื่องเข้าไปแล้ว
แต่ก็มีการกล่าวกันว่าในวงการว่า ในอนาคตหากแพ็คลิงค์ยังคงมีอุปสรรคเกี่ยวกับเลขหมายที่คู่แข่งใช้เป็นจุดขายได้
คือ 151, 152 ของโฟนลิงค์ และ 161, 162 ของเพจโฟนก็อาจทำให้เสียสัดส่วนครองตลาดลงไปได้ทุกทีเช่นกัน
ดร.วรศักดิ์ วรภมร ประธานกรรมการบริษัท แปซิฟิกเทเลซีส (ประเทศไทย) จำกัด
กล่าวด้วยความคับแค้นใจว่าเพราะเลขหมาย 3 ตัวที่ทางแปซิฟิคกำลังรอคอยความหวังจากการอนุมัติขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
(ทศท.) อยู่นี้ทำให้เป้าหมายที่เราคิดว่าจะทำได้ถึง 50,000 เครื่องภายในสิ้นปีนี้เรากลับขายได้เพียงแค่
15,000 เครื่องเท่านั้น
หลังจากที่ค่ายต่าง ๆ ได้ใช้กลยุทธเด็ดในการ CAMPAIGN สินค้าโดยนำความได้เปรียบในเชิงเทคโนโลยีที่เหนือกว่าเจ้าเก่าในตลาด
ไม่ว่าจะเป็นเลขหมาย 3 หลัก หรือข้อความบนหน้าปัด รวมทั้งการบริการอื่น ๆ
ที่ตามมาภายหลังจากการวางสินค้า
ขณะเดียวกันการทุ่มงบโฆษณาในสื่อต่าง ๆ พร้อมการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จักชื่อ
และเข้าใจในอุปกรณ์การสื่อสารที่เข้ามาใหม่ได้ชัดเจนกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ตลาด
ซึ่งยังมีช่องว่างอยู่มากกลับเต็มไปด้วยยี่ห้อใหม่เข้ามากวาดตลาดอย่างมีชัยไปกว่าครึ่ง
"ความจริงเทคโนโลยีที่ตามได้ทั่วประเทศไม่ใช่จุดแข่งขันที่แท้จริง
หากแต่เป็นเครือข่ายที่มีมากกว่ากันเป็นจุดได้เปรียบเสียเปรียบกันต่างหาก"
ภาคพจน์กล่าว
โฟนลิงค์มีเครือข่ายทั่วประเทศ 60 สถานี เปิดบริการได้แล้วประมาณ 30 สถานี
ในขณะที่แพ็คลิงค์มีเครือข่าย 38 สถานีเปิดบริการแล้ว 28 สถานี และเพจโฟนมีเครือข่าย
54 สถานีและเปิดบริการแล้ว 37 สถานีทั่วประเทศ
"ตอนนี้เราถือว่า ฮัทชิสันมีเครือข่ายให้บริการมากที่สุดในกลุ่มผู้ให้บริการเพจจิ้งด้วยกัน
3 ราย ซึ่งคาดว่าในเฟสที่ 3 ซึ่งเป็นเฟสสุดท้ายได้เริ่มทำการติดตั้งแล้วและใช้งานได้บางส่วนซึ่งทั้งหมดจะติดตั้งเสร็จเรียบร้อยภายในปลายปีนี้
รวมทั้งสิ้น 54 สถานีจากเดิมที่กำหนดไว้ว่าจะติดตั้งเสร็จภายในกลางปี 2535"
พัลลภ นาคพิทักษ์ ผู้จัดการทั่วไปบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอม มิวนิเคชั่นส์
(ประเทศไทย) จำกัดกล่าว
ในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ทั้ง 3 ค่ายโดยส่วนใหญ่จะทุ่มงบโฆษณาประชาสัมพันธ์กันเป็นว่าเล่น
ค่ายโฟนลิงค์ใช้บริษัทเอชดีเอ็มเป็นผู้ทำโฆษณาและซื้อสื่อต่าง ๆ ให้เท่านั้นในขณะที่แพ็คลิงค์ได้ใช้
บริษัท โอกลีวี่ เอเยนต์ซี่ชื่อดังในการทำประชาสัมพันธ์และผลิตหนังโฆษณาในลักษณะ
TEASERADS ออกอากาศกลายเป็นตัวเร่งเร้าความสนใจของตลาดได้เป็นอย่างดี ส่วนเพจโฟนให้บริษัท
ซาทชิฯ และบริษัท 124 คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ทำประชาสัมพันธ์
ดร.วรศักดิ์ ค่ายแพ็คลิงค์กล่าวว่า การทำกลยุทธการตลาดโดยใช้กลวิธีเดียวกับการทำสินค้า
CONSUMER คือการลดแลกแจกแถม ทำประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและรวมไปถึงการทำ
DIRECT MARKETING ซึ่งดร.วรศักดิ์ลงความเห็นว่าวิธีนี้จะสามารถสยบคู่แข่งในแง่ของการทำวิทยายุทธสู้รบด้านการตลาด
แต่กลับทำให้เขาโดนโจมตีจากคู่แข่งว่า สินค้านี้เป็นสินค้าไฮเทคไม่น่าจะนำยุทธวิธีนี้มาใช้เหมือนของแบกกะดิน
อย่างไรก็ตามในแง่ของรุกตลาดเอง ทั้ง 3 ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า
เป็นผู้วางแผนรุกตลาดเอง โดยมีบริษัทเอเยนซี่เป็นเพียงแค่เสริมงานประชาสัมพันธ์ให้บางส่วนเท่านั้น
แม้ว่าการสู้รบของตลาดเพจจิ้งในเขตส่วนกลางที่ถือว่าเป็นตลาดใหญ่ครองสัดส่วนอยู่ถึง
70% ของตลาดทั่วประเทศจะมีความดุเดือดและเมามันมากเท่าใดก็ตาม แต่ในเขตต่างจังหวัดการต่อสู้เพื่อครอบครองพื้นที่ของทั้ง
3 ค่ายก็เข้มข้นไม่แพ้ในส่วนกลาง ทั้งนี้เพราะปัจจัยบ่งชี้ความเป็นหนึ่งในสนามภูธรของแต่ละค่ายจะขึ้นอยู่กับปัจจัย
4 ประการคือ
1. ระบบและเทคโนโลยี
2. เครือข่ายและเขี้ยวเล็บทางการตลาด
3. ระบบการจัดการ และ
4. ความโดดเด่นในตัวผลิตภัณฑ์
ทั้งโฟนลิงค์และเพจโฟนต่างก็มีข้อได้เปรียบในแง่ของเครือข่ายที่มีอยู่ครอบคลุมกว่าแพ็
คลิงค์ แต่แพ็คลิงค์กลับไม่โต้ตอบในเชิงยุทธนี้ได้แต่กล่าวว่า ของเราใช้ดาวเทียมในขณะที่คนอื่นบอกว่าใช้แต่เอาเข้าจริง
ๆ แล้วใช้หรือเปล่าก็ไม่รู้
อย่างไรก็ตามในเรื่องของระบบและเทคโนโลยีไม่อาจชี้ขาดหรือตัดสินความพ่ายแพ้กันได้ในระยะสั้น
หากแต่ว่าในระยะยาวทุกค่ายต่างเรียนรู้เท่ากันหมด เพราะล้วนแล้วแต่มีการซื้อมาจากต่างประเทศทั้งสิ้น
ในขณะที่การบริการถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำตลาดโฟนลิงค์มีศูนย์บริการทั่วประเทศ
12 แห่ง แพ็คลิงค์มีศูนย์บริการ 4 แห่ง และเพจโฟนมี 12 แห่ง ศูนย์บริการจะเป็นตัวเสริมที่ทำให้งานเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศเป็นจุดแข็งของการแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดที่มีประสิทธิภาพ
แม้ศูนย์บริการของค่ายโฟนลิงค์จะพบปัญหาและอุปสรรคในความด้อยประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่
ขณะที่เพจโฟนจะถูกตำหนิจากลูกค้าในเรื่องของการได้รับเครื่องช้า
แต่โฟนลิงค์ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำเชิงรุกที่กระจายสินค้าของตนให้มากที่สุด
ทั้งการดำเนินการด้วยตนเองและการสร้างพันธมิตรด้วยการจัดตั้งดีลเลอร์ ซึ่งยุทธวิธีการจัดตั้งดีลเลอร์นี้ในอนาคตจะกลายเป็นจุดการแข่งขันที่เผ็ดมันต่อไปในอนาคตของตลาดภูธรที่
คาดว่าปี 35 จะเป็นปีของการแข่งขันอย่างรุนแรงที่สุด
การต่อสู้ของตลาดเพจจิ้งยังไม่หยุดอยู่ที่การแข่งขันทางเทคโนโลยีเท่านั้น
แนวโน้มของการต่อสู้ขึ้นอยู่กับ
1. การสร้างชื่อให้เป็นที่รู้จักและทำให้เกิด BRAND LOYALTY ได้มากน้อยแค่ไหน
2. ใครจะขยายเครือข่ายซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการแข่งขันได้มากกว่ากัน
3. การนำเทคโนโลยีที่เหนือชั้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมาใช้ก่อนกัน เช่น
สกายเพจจิ้ง และ
4. การบริการที่มีประสิทธิภาพด้านข้อมูลข่าวสารได้ทั่วประเทศจริง ๆ