Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2534
คนเฝ้าแผ่นดินผู้ถูกลืม             
โดย สุกรานต์ โรจนไพรวงศ์
 

   
related stories

นโยบายมูลนิธิสืบฯ
มูลนิธิสืบฯ ทำอะไรไปแล้วบ้าง

   
search resources

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
ปริญญา อรุณโรจน์
สุนทร ฉายาวัฒนะ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
Environment




ผืนป่าอาณาเขต 1,019,379 ไร่ที่ทอดตัวเงียบกริบคลุมอยู่ในท้องที่ของอำเภอลานสัก อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตากโอบเก็บชีวิตคนและสัตว์ไว้ในความห่างไกลอย่างมิดชิด

ที่นี่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แผ่นดินอุดมสมบูรณ์ผืนใหญ่ 1 ในจำนวนน้อยนิดที่เหลืออยู่ของประเทศไทยและของโลกกำลังจะได้รับการเชิดชูขึ้นเป็นมรดกโลกในเร็ววันนี้ เพื่อที่จะเลื่องชื่อและเป็นที่ชื่นชมของใคร ๆ ยกเว้นคนจำนวนหนึ่งผู้ซึ่งผูกพันกับห้วยขาแข้งแน่นแฟ้นยิ่งกว่าการเป็นเพียงสถานที่โด่งดังระดับจักรวาล

กว่า 180 ชีวิตมนุษย์ผู้มีหน้าที่พิทักษ์รักษาผืนป่าแห่งนี้มีข้าราชการปะปนเป็นคนส่วนน้อยอยู่เพียง 16 คน นอกนั้นเป็นพนักงานหรือลูกจ้างประจำ 31 คน และคนงานหรือลูกจ้างชั่วคราวประมาณ 140 คน พวกเขาทำงานในป่ามีป่าเป็นทั้งสถานที่ทำงานและเป็นบ้านที่ต้องเฝ้าดูแลให้ดี

ปริญญา อรุณโรจน์คือคนหนึ่งในจำนวนเหล่านั้น

"ผมทำงานที่นี่มา 5 ปีย่าง ก่อนทำอาชีพนี้ผมก็ทำรับจ้างเขาทั่วไป" เขาเริ่มต้นเล่าชีวิตตัวเอง

ปริญญาเป็นคนงานรักษาป่า ตำแหน่งที่เล็กที่สุดในบรรดาประเภทตำแหน่งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ส่วนใหญ่คนในตำแหน่งนี้คือชาวบ้านธรรมดาจากชุมชนใกล้เคียง ทำงานรับเงินเดือนจากกองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ทว่าไม่เคยได้รับการนึกถึงเยี่ยงคนราชการแต่อย่างใดไม่ว่าจะเป็นคนงานของเขตฯ ไหนก็ตกอยู่ในสถานะอันเดียวกัน

นั่นคือแม้จะทำงานมาเนิ่นนานปีก็ยังคงเป็นเพียงลูกจ้างรายวันค่าแรงต่ำที่ต้องรับเงินเป็นราย 2-3 เดือนไม่มีค่าล่วงเวลา ไม่มีสวัสดิการดูแลรักษา และนายจ้างอยากจะปลดออกเมื่อไรก็ทำได้โดยมิอาจต่อรองเรียกร้อง

พื้นเพเดิมปริญญาเป็นคนจังหวัดชัยภูมิภายหลังย้ายภูมิลำเนามายังบ้านลานหมาไนยอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ หมู่บ้านที่อยู่ติดกับแนวป่ากันชนของห้วยขาแข้ง ก็ได้เข้ามาสมัครทำงานในเขตฯ ตามการชักชวนของเพื่อนบ้านด้วยวุฒิการศึกษาที่ค่อนข้างสูงกว่าหน้าที่มากคือ ประกาศนียบัตรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

หน้าที่แรกที่ได้รับก็คือ การเป็นยามประจำด่านปากทางเข้าเขตฯ ทำอยู่ถึง 2 ปี จึงเริ่มต้นชีวิตตระเวนไพรโดยการไปประจำที่หน่วยพิทักษ์ป่าแม่ดี จากนั้นย้ายไปหน่วยฯ ห้วยยู่ยี่ หน่วยฯ ห้วยน้ำตื้น เพิ่งจะเข้ามาประจำที่ทำการเขตเมื่อต้นเดือนสิงหาคม

"งานหลักเวลาอยู่หน่วยก็คือตรวจปราบปราม ถ้าเว้นจากตรวจก็ปรับปรุงหน่ยกันไปลาดตระเวณทีก็จะเตรียมเสบียงกันออกไป 4-5 วัน มีเปล ปลากกระป๋อง มาม่า หม้อสนาม ผ้าห่ม ส่วนเสื้อผ้าก็ชุดเดียว ออกกัน 7-9 คน นอกจากคอยดูพวกคนบุกรุกลักลอบแล้ว ระหว่างเดินก็ต้องเก็บข้อมูลส่งให้ศูนย์วิจัยเขานางรำบ้าง" ปริญญาพูดถึงงานพิทักษ์ป่า งานที่สำคัญที่สุดของแต่ละเขตฯ

ห้วยขาแข้งมีหน่วยพิทักษ์ป่าทั้งหมด 12 หน่วยขึ้นอยู่กับหัวหน้าเขตฯ โดยตรงซึ่งปกติประจำอยู่ ณ ที่ทำการเขต อยู่นอกแนวป่า ส่วนหน่วยฯ ต่าง ๆ นั้นกระจายอยู่รอบพื้นที่ ส่วนใหญ่มีทางติดต่อกันได้แต่สภาพค่อนข้างกันดาร หน้าฝนอาจถูกตัดขาดจากโลกภายนอก และมีอยู่หน่วยหนึ่งที่ไปถึงได้โดยทางเรือเท่านั้นคือหน่วยฯ องค์ทั้งส่วนห้วยน้ำตื้นเป็นหน่วยฯ ใหม่ล่าสุด หัวหน้าหน่วยฯ รุ่นบุกเบิกคือ สุนทร ฉายวัฒนะ

โครงสร้างการทำงานของหน่วยฯ ประกอบไปด้วยหัวหน้าซึ่งเป็นข้าราชการ พนักงานพิทักษ์ป่า 2 คน และคนงานพิทักษ์ป่าอีก 9 คน

ข้าราชการนั้นสั่งตรงไปจากกอง มีอัตราเงินเดือนตามซี มีสวัสดิการ มีเบี้ยเลี้ยง มีบำเหน็จบำนาญเช่นเดียวกับคนของรัฐทั่ว ๆ ไป สำหรับพนักงานบรรจุแล้วรับเงินเดือนตามขั้น มีสวัสดิการเช่นเดียวกัน แต่เมื่อปลดเกษียณแล้วไม่ได้บำนาญ ส่วนคนงาน นอกจากค่าตอบแทนอัตรา 75 บาทต่อวันแล้ว พวกเขาก็ไม่ได้อะไรอีก

ในขณะที่ในการออกป่าอุปกรณ์ทั้งหลายที่ต้องเตรียมไปเป็นภาระหน้าที่ของแต่ละคนที่จะต้องรับผิดชอบตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร หรือเครื่องนอน อุปกรณ์ส่วนกลางมีเพียงอาวุธปืนจำนวนหนึ่งเท่านั้น

"เรื่องปัจจัยไม่เพียงพอเป็นปัญหาหลักของเรา คุยไปคุยมาจะไม่พ้นเรื่องนี้ เช่น รถไม่พอ อัตรากำลังขาด งบประมาณน้อย อุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่เพียงพอ" สุนทร ฉายาวัฒนะ ปัจจุบันทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์กล่าว

ปัญหาเหล่านี้นี่เองที่ทำให้ "หัวหน้าสืบ" ย้ำอยู่เสมอว่าจะต้องแก้ไขปรับปรุง สืบ ให้ความสำคัญและพยายามหาทางช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานระดับล่างของเขาตลอดมา จนกระทั่งเมื่อการแก้ไขไม่อาจมาจากมือของเขาแล้วมูลนิธิสืบนาคะเสถียรก็ยังคงจะเป็นผู้สานต่อต่อไป

"พวกผมบางทีก็มีความรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง ความน้อยใจมันมีบ้างในช่วงที่หนัก ๆ หายเหนื่อยก็เลิกคิด ผมเองถือว่าการทำงานเป็นเรื่องสนุก เดินป่าก็เหมือนไปเที่ยว แต่ถ้าสวัสดิการดีกว่านี้ก็จะดี อีกอย่างที่ผมห่วงคือเมื่อแก่ ๆ ไปแล้วทำงานไม่ไหว ลูกเมียจะทำอย่างไร ตอนนี้ผมก็หวังอยู่ฮะว่าจะได้บรรจุ" นั่นคือเสียงแห่งความจริงใจที่ดังออกมาจากราวป่าด้วยหวังว่าคงจะสะเทือนถึงเมืองบ้าง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us