Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2534
มูลนิธิสืบฯ ทำอะไรไปแล้วบ้าง             
โดย สุกรานต์ โรจนไพรวงศ์
 

   
related stories

นโยบายมูลนิธิสืบฯ
คนเฝ้าแผ่นดินผู้ถูกลืม

   
search resources

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
ชัชวาล พิศดำขำ
วีรวัธน์ ธีระประสาธน์
Environment




ปัญหาภายในของมูลนิธิสืบฯ มีอยู่จริง และภาพของมูลนิธิฯ ก็เงียบหายไปทุกที สิ่งนี้กรรมการต่างยอมรับ ทว่าทุกคนก็ยังรู้สึกว่า เท่าที่ผ่านมา ถ้าจะเฉลิมฉลองความสำเร็จของการทำงานครบรอบ 1 ปี ก็มีเรื่องควรเฉลิมฉลองอยู่ไม่น้อย

ความภาคภูมิใจแรกสุดก็คือการถือกำเนิดขึ้นได้ขององค์กรอนุรักษ์แห่งนี้ ที่สาธารณชนทุกระดับชั้นต่างมีส่วนร่วมแรงกายแรงใจ โดยมอบความไม่วางใจให้กับกลุ่มคนที่เป็นเพื่อนของสืบอย่างแท้จริง

อย่างน้อยก็เป็นองค์กรอนุรักษ์ของคนไทยแท้ ๆ ที่เชื่อได้ว่าจะไม่มีวันออกนอกลู่นอกทางเห็นดีงามกับการทำลายสิ่งแวดล้อม หรือขายธรรมชาติเพื่อสิ่งอื่น

เงินส่วนใหญ่ของมูลนิธิฯจะทุ่มเทไปยังเขตรักษพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร แบ่งเป็นแห่งละ 600,000 บาท เพื่อการใช้ประโยชน์อะไรก็ได้ตามแต่หัวหน้าเขตฯ จะเห็นสมควร นอกจากนั้นยังมีเงิน 400,000 บาทอีก 2 ก้อนที่เรียกว่าเงินยืมสำรองจ่ายเป็นเงินค่าจ้างพนักงานและคนงานในช่วงคาบเกี่ยวของปีงบประมาณตั้งแต่เดือนตุลาคมที่เงินรัฐมักออกล่าช้า

ห้วยขาแข้งยังจะได้เครือข่ายวิทยุสื่อสารในวงงบประมาณ 1,060,000 บาท ติดตั้งตามจุดต่าง ๆ เท่าที่จำเป็นเพื่อการติดต่อประสานการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งแผนงานเดียวกันนี้ทุ่งใหญ่นเรศวรก็จะได้รับด้วยเมื่อมูลนิธิฯหาเงินเพิ่มได้

ส่วนการจัดสร้างอนุสรณ์สถานของสืบ นาคะเสถียรก็เป็นงานใหญ่ที่มูลนิธิฯ เป็นเจ้าภาพอีกงานหนึ่ง ส่วนประกอบของอนุสรณ์สถานได้แก่ อาคารนิทรรศการ ห้องประชุมและห้องสมุด ความหมายในทางนามธรรมเท่ากับเป็นการรำลึกถึงสืบ แต่ก็มีคุณค่าตามมาในแง่ของการจัดให้เป็นสถานที่ศูนย์กลางเชื่อมคนที่แวะเข้าไปให้รู้จักกับห้วยขาแข้งมากขึ้น อาจจะโดยการฉายสไลด์หรือฟังบรรยาย

แม้ความสำเร็จของโครงการเหล่านี้ ยังเป็นเรื่องของอนาคต แต่ก็พอจะเห็นวี่แววกันได้อยู่ว่าหน้าตาของห้วยขาแข้งจะเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าไปอย่างไรบ้าง ซึ่งนอกจากมูลนิธิฯ แล้ว ทางราชการก็เข้ามาเสริมบางส่วนด้วย อย่างเช่น โครงการลาดยางถนนเข้าที่ทำการเขตฯทางหน่วย่งานเร่งรัดพัฒนาชนบทก็จะเก็นผู้ดำเนินการ

ชัชวาล พิศดำขำ หัวหน้าเขตฯ ห้วยขาแข้ง คนปัจจุบันและเป็นกรรมการมูลนิธิสืบฯ โดยตำแหน่งด้วยกล่าวถึงการช่วยเหลือจากทางมูลนิธิฯ ว่า "ผมยัง มีความเห็นวาคนมักจะมอง ว่ามูลนิธิฯ ให้อะไรกับห้วยขาแข้งบ้างที่เป็นวัตถุ แต่ผมไม่เน้นเรื่องนี้หรอกครับ เพราะยังมีเขตอื่นๆ ต้องการได้รับความช่วยเหลืออีก บางแห่งมากกว่าห้วยขาแข้งด้วยซ้ำ และมูลนิธิฯ เองก็ไม่ได้หลงลืมเรื่องนี้"

อย่างไรก็ตามเขตอื่น ๆ ก็คงจะต้องรอกันสักระยะหนึ่ง เนื่องจากเงินดอกผลของมูลนิธิฯ ก็ไม่ได้มากมายอะไรนัก

สำหรับงานวงกว้าง อันได้แก่การจัดสัมมนาว่าด้วยปัญหาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร, เรื่องทิศทางป่าไม้ไทย และเรื่องถนน 48 สาย ทั้ง 3 งานเป็นการจัดในรูปสัมมนาโต๊ะกลม เรื่องแรกจัดวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ห้องประชุมการเคหะแห่งชาติมีเนื้อหาว่าด้วยแนวทางแก้ไขปัยหาที่เกิดขึ้นกับเขตฯ ทั้งสอง เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น รวมทั้งเป็นแนวในการทำงานของมูลนิธิฯ ด้วย

งานที่ 2 เป็นงานที่ต่อเนื่องตามมาจากครั้งแรก โดยจัดร่วมกับศูนย์วิจัยป่าไม้ ณ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวันที่ 30 มีนาคสม มีผู้สนใจเข้าร่วมมากถึง 200 คนโดยประมาณ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ผลคือได้ข้อสรุปเกี่ยวกับทิศทางที่ควรจะเป็นของป่าไม้หลายประเด็นยื่นเสนอไปถึงอาณัติ อาภาภิรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ส่วนเรื่องถนน 48 สาย นับเป็นความภูมิใจที่เงียบ ๆ และยิ่งใหญ่ของคณะกรรมการ เนื่องจากการสัมมนาหัวข้อนี้สามารถรวมเอาบรรดาตัวแทนจากฝ่ายต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหามานั่งปรึกษาหารือกัน แลกเปลี่ยนและรับฟัง

ความคิดเห็นอันแตกต่างหลากหลาย จนกระทั่งได้ข้อสรุปที่ดี

แผนงานสร้างทางเพื่อความมั่นคงในเขตพื้นที่กองทัพภาคที่ 1-4 จำนวน 48 สายทาง เป็นโครงการที่สืบเนื่องมาแต่อดีตจากความจำเป็นเรื่องการแก้ปัญหาพื้นที่ล่อแหลมจากการต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์ และการคุกคามจากภัยภายนอก ซึ่งเป็นปัญหาที่สภาพการณ์ได้เปลี่ยนไปแล้ว แต่โครงการยังคงอยู่โดยปรับวัตถุประสงคืมาว่าด้วยการสร้างความมั่นคงภายใน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติแผนงานนี้ออกมาเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2533

จุดสำคัญอยู่ที่ว่า ถนน 48 สายนั้นจะตัดผ่านเข้าไปในพื้นที่ป่า โดยผ่านพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าจำนวน 8 แห่ง เขตอุทยานแห่งชาติ 6 แห่ง และพื้นที่ที่เป็นเขตลุ่มน้ำชั้น 1 A จำนวนหนึ่ง ที่เหลือเป็นป่าสงวนแห่งชาติที่มีบางแห่งกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตอุทยานแห่งชาติ

"เรื่องนี้เราทำได้ผลค่อนข้างชัดเจนคือ เส้นไหนที่ตัดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติและเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่าก็คงจะต้องระงับไว้ก่อน ส่วนเส้นอื่น ๆ ก็ให้มีการศึกษาผลกระทบว่าจะแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นความใจกว้างของทุก ๆ ฝ่าย" วีรวัธน์ ธีระประสาธน์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรกล่าว

และล่าสุดงานอบรมครูระดับมัธยมปลาย 120 กว่าคนจากทั่วประเทศเมื่อวันที่ 22-26 กรกฎาคมก็สัมฤทธิผลไม่น้อยทีเดียว บรรดาครูผู้ผ่านการอบรมทั้งหลายพร้อมใจกันเรียกตัวเองว่า เป็น "กวางผารุ่นที่ 1" โดยทำให้สอดคล้องกับ LOGO ของมูลนิธิที่เป็นรูปของกวางผาโผนสู่เปลวเพลิง ซึ่งก็เป็นที่คาดหวังกันว่า กวางผาคงจะมีอีกหลาย ๆ รุ่นและแต่ละรุ่นก็จะผลิตลูกกวางผาตามมา

นอกจากนี้มูลนิธิฯ ยังมีกิจกรรมอีกจำนวนหนึ่งที่อาจจะอยู่ในขั้นริเริ่มคิดหรือลงมือทำไปบ้าง เช่น การจะจัดตั้งกองทุนผู้พิทักษ์ป่าสำหรับเป็นสวัสดิการและสร้างความมั่นคงในบั้นปลายชีวิตให้กับเจ้าหน้าที่รักษาป่าทั้งหลาย ซึ่งการดำเนินการเรื่องนี้ฝ่ายประชาสัมพันธ์โดยดวงดาว สุวรรณรังษี เป็นผู้รับผิดชอบและจะหาทุนเป็นการเฉพาะเองหรือย่างงานทางวิชาการ ขณะนี้ BELINDA STEWART COX ก็ได้รับมอบหมายให้ทำรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการศึกษาสัตว์ แต่ละชนิดว่าจะมีวิธีการอย่างไรบ้าง

เหล่านี้คือความเป็นไปเบื้องหลังภาพนิ่งที่กล่าวได้ว่ามีความเคลื่อนไหวอยู่ไม่น้อยเลย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us