Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2543
Booz, Allen & Hamilton Inc.             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 


   
search resources

Booz, Allen & Hamilton Inc.




รัฐบาลทั่วโลกต่างก็ใช้บริการที่ปรึกษาของบูซ, อัลเลน แอนด์ แฮมิลตัน อิงค์ (Booz, Allen & Hamilton Inc.) ไม่มากก็น้อย กิจการแห่งนี้มีสำนักงานใหญ่ อยู่ ที่เวอร์จิเนีย มีความเชี่ยวชาญด้านบริการคำปรึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยี และ การบริหารระหว่างประเทศ และให้บริการแก่ลูกค้า ที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทติดอันดับฟอร์จูน 500 เป็นจำนวนมาก บูซ อัลเลนฯ มีธุรกิจสอง ด้านหลักคือ ธุรกิจเทคโนโลยีระดับโลก และ ธุรกิจการพาณิชย์ระดับโลก ธุรกิจส่วนแรกครอบคลุมทางด้านการทหาร และความมั่นคง เทคโนโลยีข้อมูล การขนส่ง และอวกาศ ธุรกิจส่วน ที่สองแบ่งเป็นสี่กลุ่มคือ หนึ่ง ผลิตภัณฑ์ด้าน วิศวกรรม และอุปโภคบริโภค สอง การสื่อสาร และเทคโนโลยี สาม เคมีภัณฑ์ และเวชภัณฑ์ และสี่ บริการด้านสุขภาพ และบริการการเงิน

บูซ อัลเลนฯ มีพนักงานกว่า 9,000 คนในสหรัฐฯ และอีกกว่า 30 ประเทศ มีสำนักงานกว่า 100 แห่ง กระแสการแปรรูปกิจ การทั่วโลกทำให้ รัฐบาลใฑหลายๆ ประเทศต้องใช้บริการด้าน ที่ปรึกษาจาก บูซ อัลเลนฯ

ความเป็นมา

เอ็ดวิน บูซ จบการศึกษาทางด้านจิตวิทยา และเศรษฐศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์นในปี 2457 และเริ่มกิจการด้านวิเคราะห์ข้อมูลสถิติใน ชิคาโก ต่อมาเขาเข้าร่วมในสงครามโลกครั้ง ที่ 1 และกลับไปทำธุรกิจอีกครั้ง หลังสงครามเลิก โดยใช้ชื่อบริษัท "เอ็ดวินบูซเซอร์เวย์" (Edwin Booz Surveys)

ปี 2468 บูซว่าจ้ างจอร์จ ฟราย (George Fry) เป็นผู้ช่วยประจำ และ เพิ่มเจมส์ อัลเลน (James Allen) อีกคนหนึ่งในเวลาต่อมา ในปี 2472 บริษัทก็มีลูกค้ามากมาย ไม่ว่าจะเป็นยิปซัม (Gypsum), ชิคาโก ตรีบูน (The Chicago Tribune) และ มอนต์โกเมอรี่ วอร์ด (Montgomery Ward) ซึ่งเป็นธุรกิจคู่ปรับด้านค้าปลีกกับเซียส์ โรบัค แอนด์ โค.

ในปี 2478 คาร์ล แฮมิลตัน เข้ามาร่วมธุรกิจกับบูซด้วย ปีต่อมาบริษัท ก็เปลี่ยนชื่อเป็น "บูซ ฟราย อัลเลน แอนด์ แฮมิลตัน" กิจการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยมา

ระหว่างสงครามโลกครั้ง ที่สอง บริษัทได้งานจากลูกค้าประเภทรัฐบาล และหน่วยงานการทหารมากขึ้น ฟรายไม่เห็นด้วยกับการเน้นธุรกิจด้านนี้ จึงแยกต ัวไปในปี 2485 บริษัทจึง เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น บูซ อัลเลน แอนด์ แฮมิลตัน

ปี 2488 แฮมิลตันเสียชีวิต และบูซก็เกษียณตัวเองในปีถัดมา อัลเลนจึง รับตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท เขาประสบความสำเร็จอย่างย ิ่งในการนำ บริษัทไปตามทิศทางงานยุคหลังสงคราม ลูกค้ารายสำคัญมี อาทิ จอห์นสัน แวกซ์, อาร์ซีเอ และกองทัพอากาศสหรัฐฯ

ปี 2498 บริษัทตั้งบริษัทใหม่คือ "บูซ อัลเลน แอพพลาย รีเสิร์ช" (Booz Allen App lied Research - BAARINC) รับผิดชอบงานให้ คำปรึกษากัˆลูกค้าประเภทรัฐบาล และด้านเทคนิค ซึ่งรวมทั้งงานด้านอาวุธ และขีปนาวุธ และยังเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์การนาซาด้วย

นิตยสารไทม์เคยยกย่องให้บูซ อัลเลนฯเป็น "บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหาร ที่มีชื่อเสียงที่สุด และใหญ่ที่สุดของโลก" ปี 2510 เป็นที่ปรึกษาในการควบกิจการของทีมฟุตบอลสองทีม คือ "National Footbal Legue" และ "American Football Legue"

เมื่ออัลเลนเกษียณไปในปี 2513 ชาร์ลี โบเวน ขึ้นเป็นประธานกรรมการบริษัท และนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม เมื่อภาวะเศรษฐกิจซบเซาเนื่องจากวิกฤติการณ์น้ำมัน บริษัทจึงต้องตัดค่าใช้จ่ายลง

จิม ฟาร์ลีย (Jim Farley) รับตำแหน่งสืบต่อจากโบเวนในปี 2518 และมีการพลิกฟื้นกิจการครั้งใหญ่ บริษัทได้ช่วยไครสเลอร์กอบกู้กิจการครั้ง ใหญ่ และช่วยพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจให้กับเอทีแอนด์ทีอีกด้วย

บูซ อัลเลนฯ เผชิญปัญหาอีกครั้งในช่วงทศวรรษ 2520 เมื่อฟาร์ลีย์คัด เลือกตัวผู้สืบทอดตำแหน่งของเขา ปี 2527 ไมเคิล แมคคัลลัฟ (Michael McCullough) ได้รับเลือกท่ามกลางความไม่พอใจของพนักงาน แมคคัลลัฟปรับโครงสร้างกิจการโดยจัดแบ่งส่วนงานต่างๆ เพื่อให้บริการได้ในลักษณะเดียวกับห้างสรรพสินค้า แต่ก็นำไปสู่ความยุ่งยาก จนพนักงานลาออกไปถึงหนึ่งในสาม ในปี 2531

วิลเลียม สตาซิเออร์ (William Stasior) รับตำแหน่งประธานกรรมการ ในปี 2534 และรื้อโครงสร้างอีกครั้ง โดยแยกส่วนงาน ที่รับผิดชอบลูกค้าภาครัฐออกจากลูกค้าประเภทบริษัท เจมส์ อัลเลน เสียชีวิตในปี 2535 ซึ่งเป็นปีที่บริษัทย้ายฐานไปยังเวอร์จิเนีย จากนั้น บริษัทก็รับผิดชอบงานการแปรรูปกิจ การให้กับอดีตสหภาพโซเวียต และยุโรปตะวันออก และยังเน้นลูกค้าประเภทรัฐบาลเรื่อยมา

สองปีก่อน บริษัทได้สัญญามูลค่า 200 ล้านดอลลาร์ เป็นระยะเวลา 10 ปี ในการจัดตั้งคลังข้อมูลด้านเทคนิค และวิทยาศาสตร์จากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ปีที่แล้วอีกเช่นกัน ที่บูซ อัลเลนฯ ซื้อกิจการด้าน ที่ปรึกษา "คาร์ตา" (Carta) ในสแกนดิเนเวียไว้ด้วย

ตั้งแต่ปี 2537 บูซ อัลเลนฯ ได้งาน ที่ ปรึกษา re-engineering ในเมืองไทยหลายงาน จากธุรกิจธนาคารไฟแนนซ์ จนถึงห้างสรรพสินค้า

ที่มา เรียบเรียงจากอินเตอร์เน็ต และเพิ่มเติมโดยผู้เขียน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us