Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน18 กรกฎาคม 2550
โจนส์ แลงฯยันเก็งกำไรอสังหาฯลดลงเชื่อซับพลายในตลาดสอดรับกำลังซื้อ             
 


   
www resources

โฮมเพจ โจนส์ แลง ลาซาลล์

   
search resources

โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย), บจก.
Real Estate




โจนส์ แลง ลาซาลล์ฯยันตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยได้ผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจมาแล้ว และเชื่ออุปสงค์และอุปทานในตลาด ค่อนข้างสมดุลย์ เก็งกำไรน้อยลง ชี้ค่าเช่าอาคารสำนักงานขณะนี้ขยับเกินช่วงวิกฤตเศรษฐกิจถึง 2.5% มาอยู่ที่ 666 บาทต่อตร.ม. คอนโดมิเนียมราคาขยับเกินกว่าแสนบาทต่อตร.ม. ส่วนศูนย์การค้าพื้นที่เช่าเฉลี่ยเหลือเพียง 6.2%

นายสุพินท์ มีชูชีพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) เปิดเผยถึง 10 ปีหลังวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยฟื้นตัวขึ้นในระดับที่แข็งแกร่ง มูลค่าอสังหาริมทรัพย์มีการปรับเพิ่มสูงมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงที่ตลาดเคยอยู่ในภาวะตกต่ำ ในขณะเดียวกันพบว่า ราคาขายและค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่ในขณะนี้ ได้ปรับตัวขึ้นไปสูงกว่าระดับที่เคยสูงสุดในช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และถือว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย ได้ผ่านขั้นตอนของพัฒนาการที่ยาวนาน โดยได้ผ่านทั้งช่วงที่ดีที่สุดในช่วงระหว่างปี 2534-2537 และช่วงตกต่ำที่สุดมาแล้วหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 อย่างไรก็ตาม แม้ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา แม้ภาคอสังหาริมทรัพย์จะมีการชะลอตัวลงไปบ้างจากปัญหาความไม่แน่นอนต่างๆ ที่เกิดขึ้น แต่แนวโน้มของตลาดในระยะยาวยังมีทิศทางที่ดี

“เชื่อว่า การเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในขณะนี้ จะเป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากตลาดมีพัฒนาการมากขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดวกฤติเศรษฐกิจครั้งที่แล้ว ผู้พัฒนาโครงการมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้นและวางแผนการพัฒนาโครงการสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในตลาดมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากการที่อุปสงค์และอุปทานในตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่างๆ ส่วนใหญ่ ค่อนข้างมีสมดุลย์ที่ดี และการเก็งกำไรในตลาดลดน้อยลงไปมากเมื่อเทียบกับในอดีต” นางสุพินท์กล่าว

ทั้งนี้ เมื่อแยกในแต่ละตลาด ก็เริ่มมีสัญญาณที่ปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่าค่าเช่าอาคารสำนักงานในเดือนกรกฎาคมนี้ จะอยู่ระดับ 666 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับ ณ สิ้นปี 2543 ที่ระดับ 650 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งเป็นค่าเช่ารายเดือนสำหรับพื้นที่อาคารสำนักงานเกรดเอในเขตศูนย์กลางธุรกิจ (ซีบีดี) ของกรุงเทพฯ และตัวเลขค่าเช่าปัจจุบัน เป็นเพดานที่สูงสุดของช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2541 เท่ากับ 2.5% ส่วนอัตราการว่างของพื้นที่เช่าขณะนี้ลดลงมาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 13%

สำหรับตลาดคอนโดมิเนียม พบว่าในปัจจุบัน โครงการที่เปิดตัวใหม่ในเขตกรุงเทพฯชั้นใน มีราคาเสนอขายเฉลี่ยกว่า 81,000 บาทต่อตารางเมตร ซึ่งสูงกว่าราคาสูงสุดในอดีตเมื่อปี 2537 ถึง 55% ทั้งนี้ โครงการเกรดเอบวกบางโครงการมีราคาขายเฉลี่ยในขณะนี้อยู่ระหว่าง 120,00-150,000 บาทต่อตารางเมตร อย่างไรก็ดี ราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ไม่ได้มีสาเหตุมาจากภาวะตลาดที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีสาเหตุมาต้นทุนการพัฒนาโครงการที่เพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นราคาที่ดินและค่าก่อสร้าง นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นคุณภาพของโครงการที่ดีขึ้นกว่าเดิมมากเมื่อเทียบกับช่วง 10 ปีก่อน

ส่วนของตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทศูนย์การค้าเป็นตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากวิกฤติเศรษฐกิจ สภาพตลาดโดยทั่วไปตกต่ำลงอย่างรวดเร็วในปี 2540 เนื่องจากการลดลงของกำลังการซื้อและความต้องการของผู้บริโภค ความต้องการเช่าพื้นที่ศูนย์การค้าที่ลดลง ส่งผลให้อัตราการว่างของพื้นที่ให้เช่าปรับเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก.ค. 2540 ที่ระดับเฉลี่ย 18% ขึ้นไปเป็น 21% ณ ปลายปี และขึ้นไปแตะที่ระดับ 27% ในปี 2541 อย่างไรก็ดี ธุรกิจศูนย์การค้านับเป็นตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีการฟื้นตัวเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ โดยค่าเช่าปรับตัวลดลงไปถึงจุดต่ำสุดที่ 1,192 บาทต่อตารางเมตร ณ สิ้นปี 2541 และเริ่มปรับตัวสูงขึ้นนับจากปี 2542 เป็นต้นมา โดยขณะนี้อยู่ที่ระดับเฉลี่ย 1,829 บาทต่อตารางเมตร ส่วนอัตราการว่างของพื้นที่เช่าเฉลี่ยเหลือเพียง 6.2%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us