Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 กรกฎาคม 2550
กบข.ทุ่ม5.5พันล.ลุยหุ้นนอก-หุ้นซึมห่วงศก.โลก             
 


   
search resources

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ - กบข
Investment




กบข.ใส่เงินอีก 5.5 พันล้าน ลุยหุ้นต่างประเทศผ่านกองทุน GPF (Thailand) Investment Fund ดันพอร์ตการลงทุนต่างประเทศขยับขึ้นเป็น 12.8% ใกล้เพดาน15% พร้อมเดินหน้าเจรจาคลังขอเพิ่มวงเงินเป็น 20-25% ช่วงปลายปีนี้ ขณะที่ตลาดหุ้นเริ่มปรับฐานเป็นไปรตามกลไกตลาด โบรกฯชี้นักลงทุนชะลอเทรดหุ้น รอดูความชัดเจนตัวเลขศก.ทั้ง "อเมริกา-ยุโรป" ขณะที่ค่าเงินบาทไม่กระทบเป้ากำไรบจ.เหตุบริษัทขนาดใหญ่ไม่กระทบมาก

นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า กบข.ได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นต่างประเทศอีกจำนวน 160 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 5,500 ล้านบาท ผ่านกองทุน GPF(Thailand) Investment Fund ซึ่งเป็นกองทุนที่เน้นการจายการลงทุนในหุ้นทั่วโลก โดยจากการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนดังกล่าว ทำให้พอร์ตการลงทุนต่างประเทศของ กบข.ในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 12.8% ของพอร์ตการลงทุน จากเพดานการลงทุนทั้งหมดที่กระทรวงการคลังได้เปิดทางให้กบข.สามารถลงทุนในต่างประเทศได้ในสัดส่วน 15%

สำหรับสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศของ กบข. ปัจจุบันได้มีการกระจายการลงทุนไปทั่วโลกเพื่อเป็นการบริหารจัดการความเสี่ยง ซึ่งแบ่งเป็นการลงทุนในตราสารทุนโลกประมาณจำนวน 18,700 ล้านบาท และมีการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลกประมาณจำนวน 19,700 ล้านบาท ซึ่งสัดส่วนการลงทุนดังกล่าวเป็นไปตามกลยุทธ์ในการขยายสินทรัพย์การลงทุนใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับสมาชิก

อย่างไรก็ตาม กบข .ยังมีนโยบายในอนาคต ที่จะขยายประเภทของสิทรัพย์ที่จะเข้าไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มเติมอีก โดยกบข.สนใจการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ ตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ กองทุนป้องกันความเสี่ยง และกองทุนที่ลงทุนในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประเทศต่างๆ เพราะเห็นโอกาสจากการลงทุนต่างประเทศอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แต่ทั้งนี้ กบข. จะต้องศึกษาข้อมูลการลงทุนอย่างรอบด้านที่สุดก่อน

"นโยบายการลงทุนของ กบข. จะเน้นการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความหลากหลายเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุน ซึ่งเป็นไปตามปรัชญาในเรื่องการลงทุนของ กบข. ที่เน้นการลงทุนระยะยาวเพื่อสมาชิกที่จะเกษียณในอีก 10- 20 ปีข้างหน้า ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถรักษาความมีเสถียรภาพของผลตอบแทนได้ในระยะยาว"นายวิสิฐกล่าว

ก่อนหน้านี้ นายวิสิฐกล่าวว่า พอร์ตการลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศทั้งปีนี้ คาดว่าจะให้ผลตอบแทนการลงทุนสูงถึงประมาณ 15% ขณะที่การลงทุนในตราสารทุนในประเทศเองคาดว่าจะให้ผลตอบแทนประมาณ 10% ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ ผลตอบโดยเฉลี่ยจากการลงทุนในต่างประเทศจะอยู่ที่ 4-5% ต่อปี ซึ่งการลงทุนของกบข.เอง มีการป้องกันความเสี่ยง (เฮดจิ้ง) ด้วย

อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปีนี้ กบข.จะมีการหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อขอให้มีการแก้ไขประกาศกฎกระทรวงเกี่ยวกับการลงทุนของกบข. เพื่อขอให้มีการขยายเพดานการลงทุนต่างประเทศ เพิ่มจากปัจจุบันเพดานอยู่ที่ 15% เพิ่มเป็น 20-25% เพื่อเป็นกระการกระจายความเสี่ยงการลงทุน และเป็นไปตามนโยบายของกบข.ที่พยายามยกระดับสู่การเป็นสถาบันการออมระดับสากล

นอกจากนี้ กบข.ยังมีแผนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพิ่มอีกด้วย ซึ่งในขณะนี้ กบข.อยู่ระหว่างคัดเลือกสินทรัพย์ที่จะเข้าลงทุนทั้งอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) ในต่างประเทศ โดยปัจจุบัน กบข. มีสัดส่วนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ แลพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์อยู่ประมาณ 5% ของพอร์ต

หุ้นปรับฐานตามกลไกตลาด

ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์วานนี้ (16 ก.ค.) ในช่วงเช้าดัชนีแกว่งตัวในแดนบวกก่อนจะปรับตัวลดลงในช่วงบ่าย โดยดัชนีปรับตัวลดลงมาปิดที่ 857.08 จุด ลดลง 2.06 จุด หรือ 0.24% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 868.70 จุด และจุดต่ำสุดอยู่ที่ 852.22 จุด มูลค่าการซื้อขาย 25,521.66 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 704.41 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 607.04 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 97.37 ล้านบาท

นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ภาวะการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ปรับลดลงเล็กน้อยในวานนี้เป็นเรื่องที่ดีที่มีการปรับขึ้นและลงไปตามกลไกตลาด ซึ่งการทยอยปรับแบบค่อยเป็นค่อยไป น่าจะเป็นผลดีต่อในแง่พื้นฐาน และเชื่อว่าน่าจะเป็นผลดีกว่าการปรับขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงด้านเดียว

นายชัย จิระเสวีนุประพันธ์ หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.พัฒนสิน กล่าวว่า ขณะนี้แนวโน้มของดัชนีเริ่มที่จะแกว่งตัวไปในแดนลบ ซึ่งการปรับลดลงนี้เป็นไปตามแนวโน้มของตลาดทั่วภูมิภาคเอเชีย ในขณะนี้มีนักลงทุนบางส่วนเริ่มที่จะชะลอการซื้อขายลง เนื่องมาจากต้องการรอดูความชัดเจนเกี่ยวกับตัวเลขเงินเฟ้อของประเทศต่างๆ ทั้ง สหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน ที่จะมีการประกาศในช่วงสัปดาห์นี้

นอกจากนี้ เป็นการชะลอเพื่อรอดูผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่จะมีการประกาศในช่วงนี้พร้อมกันเกือบทุกตลาด ทำให้มูลค่าการซื้อขายเกิดการชะลอตัวลง โดยคาดว่าหลังจากนี้ดัชนีน่าจะมีการแกว่งตัวค่อนข้างมาก กำหนดให้แนวรับที่ 848 - 850 จุด และให้แนวต้านที่ 865 - 868 จุด

โบรกฯชี้บาทแข็งไม่กระทบเป้าบจ.

นางสาวศศิกร เจริญสุวรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า สถานการณ์การแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องของค่าเงินบาทไม่ส่งผลกระทบต่อเป้าการเติบโตของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่บริษัทตั้งไว้ที่ 2% เนื่องมาจากผลประกอบการของบริษัทในกลุ่มส่งออกที่จะได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทนั้นรวมกันมีมูลค่าที่น้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าทั้งหมดในตลาด

ทั้งนี้ ในทางตรงกันข้ามการที่ค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นนั้นกลับส่งผลดีต่อผลประกอบการของบริษัทในอุตสาหกรรมนำเข้า เพราะต้นทุนการดำเนินกิจการจะลดลง ประกอบกับบริษัทที่มีหนี้สินเป็นสกุลเงินต่างประเทศ ก่อนจ่ายหนี้ในอัตราที่ลดลง ซึ่งจะทำให้ผลประกอบการของบริษัทดังกล่าวปรับตัวดีขึ้น

"ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นตอนนี้ น่าจะถึงจุดสูงสุดแล้ว เพราะในขณะนี้ทางภาครัฐเริ่มมีความกระตือร้อร้นในการออกมาแก้ไข เชื่อว่าภาครัฐคงจะไม่ปล่อยให้เงินบาทแข็งค่ามากกว่านี้ ประกอบกับตอนนี้ดอกเบี้ยยังอยู่ในขาลง ทำให้ไม่มีปัจจัยใดที่จะเข้าไปกระตุ้นให้เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นไปอีก" นางสาวศศิกร กล่าว

นางสาวมยุรี โชวิกานต์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.นครหลวงไทย กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้นไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์มากนักเพราะบริษัทในกลุ่มดังกล่าวทำธุรกิจด้วยการสั่งซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาผลิตและผลิตส่งออกไปจำหน่าย

ทั้งนี้ กลุ่มที่น่าจะได้รับผลกระทบมากกว่า จึงเป็นกลุ่มเกษตรที่กำไรสุทธิอาจจะลดลงค่อนข้างมาก เพราะใช้วัตถุดิบการผลิตจากในประเทศและนำออกไปขายในต่างประเทศเป็นหลัก

"แม้ว่ากลุ่มเกษตรและกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์จะได้รับผลกระทบทำให้กำไรสุทธิลดลง แต่จะไม่กระทบต่อผลประกอบการของบจ.อย่างแน่นอน เพราะทั้ง 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มเล็กไม่เหมือนพลังงาน"นางสาวมยุรีกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us