Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2534
สนามกอล์ฟ 1 แห่ง ใช้น้ำเท่ากับ 1 อำเภอ             
 


   
search resources

สมิทธ ธรรมสโรช
ประกอบ วิโรจนกูฏ
Agriculture
Environment




สภาวะแห้งแล้งรุมเร้าอย่างหนักในปีนี้ส่งผลชัดเจนถึงขนาดที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องสั่งระงับการทำนาในพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำ 20 จังหวัด แถบภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนเพื่อนสำรองปริมาณน้ำอันมีน้อยนิดเอาไว้

แม้ว่า ในภายหลังสถานการณ์จะดีขึ้นเนื่องจากฝนช่วยจนเกษตรในบางจังหวัดแถบลุ่มน้ำแม่กลองเริ่มได้รับอนุญาตให้ลงมือเพาะปลูกได้ แต่วิกฤตแห่งการขาดแคลนน้ำในภาพรวมก็ใช่จะยุติลง

ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลยังคงมีระดับต่ำกว่าปกติจนไม่อาจให้กำเนิดเครื่องปั่นไฟฟ้า กระแสไฟที่เข้ามาทดแทนนั้นได้จากการเผาผลาญลิกไนท์ที่แม่เมาะ จังหวัดลำปาง อันเป็นต้นเหตุของปัญหาฝนกรดที่ยังยืดเยื้ออยู่

"การที่ประเทศไทยมีสภาวะแห้งแล้ง ไม่เกี่ยวกับเรื่องฝนแล้ง" สมิทธ ธรรมสาโรช อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยากล่าวหนักแน่น

"ฝนที่ตกแต่ละปีนั้น มีปริมาณใกล้เคียงกัน ปีนี้อาจจะตกน้อยกว่าปีก่อนบ้างเล็กน้อยแต่ที่เราประสบภาวะแห้งแล้งเป็นเรื่องขององค์ประกอบหลายอย่าง เนื่องจากป่าน้อยลง การระเหยของน้ำพื้นดินมากขึ้น ประชากรมากขึ้น ปริมาณการใช้น้ำก็มากขึ้นและใช้อย่างฟุ่มเฟือย ทั้งยังไม่มีการเก็บกักน้ำจากฤดูฝนไว้ใช้ เพราะฉะนั้นก็เกิดปัญหา" สมิทธอธิบายถึงสาเหตุ

ทุก ๆ ปี น้ำฝนจะตกลงสู่ประเทศไทยประมาณ 800,000 ล้านลูกบาศก์เมตร (ค่าเฉลี่ยในรอบ 30 ปี) จากจำนวนนี้ ส่วนหนึ่งจะระเหยหายไปโดยกระบวนการบางอย่าง อีกส่วนไหลลงดินที่เหลือประมาณ 219,000 ล้านลูกบาศก์เมตรคือน้ำที่กระจายไปตามแหล่งน้ำต่าง ๆ เพื่อไหลลงสู่ท้องทะเล

น้ำจำนวน 219,000 ล้านลูกบาศก์เมตรนี้ เมื่อรวมกับน้ำในชั้นใต้ดินอีกประมาณ 5% เป็น 230,000 ล้านลูกบาศก์เมตรคือน้ำที่สามารถนำมาใช้ได้ ซึ่งถ้าคิดเทียบต่อประชากรก็เท่ากับคนไทยแต่ละคนมีปริมาณน้ำใช้ประมาณ 12,600 ลิตรต่อวันมากกว่าค่าเฉลี่ยที่คนเมืองใช้กันทุกวันนี้ประมาณ 50 เท่า

ไม่น่าเชื่อว่า สภาวะขาดแคลนน้ำเกิดขึ้นได้

"ปัญหาคือคล้ายกับว่าประชาชนมีอยู่ 55 ล้าน ต้องใช้น้ำ 10 ตุ่ม เรามีเพียง 8 ตุ่มมันก็ไม่พอใช้ ในความเห็นของผมก็คือต้องสร้างเขื่อนเพิ่มเพราะในบางกลุ่มน้ำ ยกตัวอย่าง ป่าสัก มีน้ำถึง 19,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ปล่อยลงทะเลไปโดยไม่มีการใช้ประโยชน์" เจ้ากรมอุตุนิยมวิทยาเสนอทางแก้ไข

ปัญหาขาดแคลนน้ำมักถูกโยงเข้าสู่ปัญหาการเก็บกักน้ำเสมอ ในขณะที่ ณ เวลานี้ประเทศไทยมีการเก็บกักน้ำอยู่แล้วโดยเขื่อนหรือฝายหรืออะไรก็ตามประมาณ 100,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำใช้ประจำวันต่อหัวก็ยังคงมากกว่าปกติอยู่ถึง 20 เท่า

"จริง ๆ เราคงไม่อาจกักได้อีกมากนัก เพราะถ้ากักทั้งหมดแล้วคนปลายน้ำก็จะไม่มีใช้ ผมคิดว่าอย่างน้อยต้องรักษาลุ่มน้ำลำธารไว้ประมาณ 50% จึงจะดี ซึ่งการกักของเราก็เกือบจะถึงครึ่งหนึ่งแล้ว แต่น้ำก็ยังขาดแคลน ซึ่งผมว่าขึ้นอยู่กับเรื่องของการบริหารจัดการ " นักวิชาการด้านน้ำแห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ กล่าวด้วยมุมมองอีกแง่หนึ่ง

แต่เดิมนั้น ภาคเกษตรกรรม เป็นภาคที่ถือครองสัดส่วนการใช้น้ำมากที่สุด โดยเฉพาะ เมื่อมีการเร่งรัดการส่งออกข้าว ทำให้เกิดการทำนา 2 ฤดูกาลในรอบ 1 ปี รวมทั้งการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจแปลงใหญ่ ก็ยิ่งทำให้ปริมาณการใช้น้ำของภาคเกษตรเพิ่มขึ้นอีก อย่างไรก็ตามในรอบหลายปีที่ผ่านมาการเติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็วของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการก้ต้องการใช้น้ำจำนวนมหาศาลเช่นกัน

ภายใต้ขอบเขตทรัพยากรน้ำเท่าเดิม คนใช้กลับเพิ่มมากขึ้นเขื่อนภูมิพลเอง จากที่เคยต้องให้น้ำเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า และอุดหนุนเกษตรกรก็กลับต้องรับภาระโอบอุ้มนิคมอุตสาหกรรมตลอดจนสนามกอล์ฟหลายต่อหลายแห่งเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ดร.ประกอบได้เปรียบเทียบเอาไว้ว่า สนามกอล์ฟ 1 สนามมีสัดส่วนการใช้น้ำเท่ากับชุมชนขนาดอำเภอ 1 อำเภอ อย่างจังหวัดเพชรบุรีที่ถูกสั่งระงับการทำนาด้วยในตอนต้นมีสนามกอล์ฟ 18 สนามก็เท่ากับมีอำเภอเพิ่ม 18 อำเภอ

ภาวะน้ำขาดแคลนที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ กับบางภาคส่วนย่อมสะท้อนถึงทั้งปัยหาในเรื่องน้ำโดยตรงและปัญหาการจัดสรรทรัพยากรที่เหลื่อมล้ำไปด้วยในตัว

ถ้าพูดถึงทางออกด้วยการสร้างตุ่มเพิ่มก็อาจจะเป็นเรื่องที่ยังไกลเกินจำเป็น เพราะปริมาณน้ำที่เก็บไว้นั้นมีอยู่เพียงพอแล้วเพียงแต่ขาดการจัดส่วนการใช้ให้เหมาะสม

ส่วนใหญ่ปัญหาเรื่องน้ำมักถูกมองข้าม ไทยเองไม่มีแม้กระทั่งหน่วยงานดูแลเรื่องนี้ที่เป็นเรื่องเป็นราว และครอบคลุมพอแม้แต่แหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่ภายในประเทศก็ยังไม่เคยได้รับการสำรวจศึกษา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us