Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์16 กรกฎาคม 2550
เงินร้อน"ดาบพิฆาต"ดันค่าบาทแข็งภาคส่งออกชะตาขาด-รัฐเกาไม่ถูกที่คัน             
 


   
search resources

Currency Exchange Rates




"เงินร้อน" บินข้ามน้ำข้ามทะเลเข้าเก็งกำไรผ่านตลาดหุ้นไทย ดันดัชนี และค่าบาทแข็งสุดทุบสถิติใหม่ในรอบ 10 ปี เชื่อกันว่าเป็นผลพวงของนักเล่นค่าเงินเข้ามาป่วน ที่รอให้เงินแข็งถึง 32 บาทต่อดอลลาร์ จากนั้นคอยเวลาเหมาะถอนตัวออกพร้อมกำไรล้นกระเป๋า ขณะที่ "ภาครัฐ" มืดแปดด้านหาทางช่วยภาคส่งออกไม่ได้นอกจากแนะนำให้ปรับตัวตามสถานการณ์

จริงอยู่ที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นตามภูมิภาคเดียวกัน แต่การทำสถิติสูงสุดในรอบ 10 ปี ซึ่งเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2550 วิ่งระหว่าง 33.99-34.02 บาทต่อดอลลาร์ กลายเป็นคำถามว่า การแข็งขึ้นของค่าเงินดังกล่าวเร็วเกินไปหรือไม่...?

การแข็งขึ้นของค่าบาทอย่างรวดเร็วนั้นส่วนสำคัญมาจากเม็ดเงินที่ไหลทะลักเข้าตลาดหุ้น จนทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไม่น้อยหน้าค่าบาททำสถิติสูงสุดในรอบ10ปีเช่นกันนับจากปี 2539 ที่ทำไว้สูงสุด 831.57จุด และวันที่ 9 กรกฎาคม2550 ดัชนีปรับตัวขึ้น 832.38จุด

ว่ากันว่าเหตุผลที่เงินไหลทะงักเข้ามานั้น เพราะต่างชาติเริ่มมีความมั่นใจในสถานการณ์ทางการเมือง และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยเริ่มดีขึ้น ...

หากเท็จจริงเป็นเช่นนั้นหรือไม่...ยังตอบไม่ได้...เพราะแม้แต่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ยังไม่รู้ หรือว่ารู้แต่ไม่บอก

จนเกิดความสงสัยและตั้งเป็นคำถามในใจว่าเม็ดเงินที่ไหลทะลักเข้าตลาดหุ้นในทุกวันนี้มาจากนักลงทุนต่างประชาติจริง ๆ หรือนักลงทุนไทยที่ลงทุนผ่านทางต่างประเทศ...โดยมีเป้าหมายโจมตีค่าเงินบาท...ประหนึ่งตั้งใจสร้างความเสียหายให้ประเทศ

นอกจากนี้ยังมีกระแสข่าวว่าค่าบาทจะแข็งไปถึง 32 บาทต่อดอลลาร์ ที่คาดเช่นนี้เพราะตัวเลขดังกล่าวคือเป้าหมายที่นักเล่นค่าเงินวางไว้ในการเก็งกำไร และเมื่อดำเนินมาถึงจุดที่ตั้งไว้เมื่อไร...ก็พร้อมจะถอนทุนขนเงินกลับบ้านพร้อมกำไรที่ไดทั้ง2เด้ง จากกำไรการขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้น และอัตราแลกเปลี่ยน

แต่เรื่องนี้ก็เป็นแค่กระแสข่าว...ที่รอวันพิสูจน์ความจริง

ทั้งนี้ภาครัฐบอกว่าเงินร้อนที่เข้ามาผ่านตลาดหุ้นไทยนั้นจะอยู่เพียงช่วงสั้น สักพักก็จะออกไป แต่ระยะเวลาดังกล่าวก็อาจทำให้ภาคส่งออกในบางอุตสาหกรรมชะตาขาดได้

การแข็งของค่าบาทได้สร้างผลกระทบต่อภาคการส่งออก..อาจมองว่าที่ผ่านมาภาครัฐ "โอ๋" และให้ความสำคัญมากเกินไปหรือไม่?

แต่ถ้าวัดลำดับความสำคัญกับภาคอื่นๆ การส่งออกมีพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 60% ของจีดีพี... สัดส่วนที่สูงเช่นนี้เองทำให้ภาครัฐไม่สามารถปล่อยให้ภาคส่งออกตายได้ อำนาจการต่อรองของภาคส่งออกจึงมีมากกว่าหลายอุตสาหกรรม

ว่าไปแล้วภาพลักษณ์เศรษฐกิจไทยที่พอดูได้อยู่ในทุกวันนี้ส่วนหนึ่งก็มาจากภาคส่งออกจริงๆ...

แต่การให้ความช่วยเหลือดูเหมือนวันนี้รัฐเองก็มืดแปดด้าน ช่วยผู้ประกอบการภาคส่งออกได้ไม่มาก จะมีก็แต่แนะว่าให้ฉวยโอกาสที่ค่าบาทแข็งซื้อเครื่องจักเพิ่มกำลังการผลิต... การเสนอความคิดดังกล่าวเหมือนดี แต่ภาคธุรกิจเห็นว่ารัฐเกาไม่ถูกที่คัน สิ่งที่ผู้ประกอบการเรียกร้องคือ อย่าให้ค่าบาทแข็งมากไปกว่านี้เพราะกระทบต่อรายได้ และการแข่งขัน ถ้าต้องแก้ก็ให้ตรงจุดไม่ใช่ให้ซื้อเครื่องจักร

เมื่อโดนแบบนี้ภาครัฐจะทำอย่างไร...? จะให้การแทรกแซงค่าเงินบาทแบบฝืนธรรมชาติ....ย่อมเป็นไปไม่ได้ผลนั้นเสียมากกว่าได้ ...เรื่องนี้พิสูจน์ให้เห็นจากวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540แล้ว...ดังนั้นแน่นอนว่ารัฐบาลคงไม่ทำอะไรที่เสี่ยงมากไปกว่านี้

นอกจากคำแนะนำ ก็คงเป็นคำปลอบใจที่ว่าไตรมาส3ปีนี้ รัฐบาลจะมีการลงทุนมากขึ้น ซึ่งการลงทุนจะทำให้มีการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งการสั่งซื้อสินค้าในต่างประเทศอาจส่งผลให้ขาดดุลทางการค้า และปัจจัยนี้ก็จะช่วยให้ค่าเงินบาทที่แข็งกลับมาอ่อนลงได้

นอกจากนี้ผู้ประกอบการต้องพึ่งตัวเองให้มากขึ้น ตั้งแต่การเพิ่มมูลค่าสินค้า การขยายตลาดใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้คือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้ประกอบการ

ดังนั้นสำหรับผู้ประกอบการส่งออก ยามนี้ นอกจากหาทางยื้อชีวิตต่อไป แม้จะมีบาดแผลจนเลือดโชกจากเงินบาทที่แข็งค่าแค่ไหนก็ต้องช่วยเหลือเยียวยาด้วยตัวเองก่อน คงหวังพึ่งน้ำบ่อหน้าไม่ได้...เพราะไม่รู้ว่าจะมีหรือไม่...ที่สำคัญอย่าลืมว่าแนวโน้มของค่าเงินบาทคงไม่กลับไปอ่อนอีกแล้ว ตราบที่มีเงินทุนไหลทะลักเข้าประเทศเช่นนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us