Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2534
29 แบงก์ยักษ์แห่ปล่อยเงินกู้ให้ทีโอซี             
โดย วิลาวัณย์ วิวัฒนากันตัง
 


   
search resources

ไทยโอเลฟินส์, บมจ.
จันทร เศาภายน
Loan




เมื่อเสร็จสิ้นการคัดเลือกผู้ประมูลก่อสร้างโรงโอเลฟินส์แล้ว ขั้นตอนต่อไปทีโอซีก็ต้องจัดหาแหล่งเงินกู้มาใช้ในโครงการ แยกเป็นค่าก่อสร้างโรงงาน 500 ล้านเหรียญสรอ. และค่าใช้จ่ายอื่นอีก 220 ล้านเหรียญสรอ. รวมเป็น 720 ล้านเหรียญสรอ.

240 ล้านเหรียญสรอ. จะเรียกจากผู้ถือหุ้น โดยทีโอซีจะเพิ่มทุนจาก 250 ล้านบาทเป็น 6,250 ล้านบาท ซึ่งกำหนดเรียกชำระงวดแรก 1,500 ล้านบาทในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคมปีนี้ และที่เหลือจะเรียกชำระเป็นระยะจนเต็มวงเงิน

อีก 480 ล้านเหรียญสรอ. จะเป็นเงินกู้

ส่วนแรกจะเป็นเงินกู้ในรูปของเอ็กซ์ปอร์ตเครดิตจากธนาคารเพื่อการส่งออกของเกาหลี สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นการค้ำประกันเงินกู้ด้วยเป็นจำนวน 330 ล้านเหรียญสรอง แยกสัดส่วนกู้จากเกาหลีประมาณ 200 ล้านเหรียญสรอ.ที่เหลืออีก 130 ล้านเหรียญสรอ. จะกู้จากสหรัฐฯ และญี่ปุ่นแห่งละเท่า ๆ กันหรืออาจจะน้อยกว่านี้เล็กน้อย

ที่แบ่งสัดส่วนกู้จากเกาหลีมากที่สุดเนื่องจากเงื่อนไขเงินกู้ดีที่สุดคือดอกเบี้ยถูกอยู่ในอัตรา 7% เศษ และปลอดการชำระเงินต้นคืนเป็นเวลา 2 ปีหลังจากสร้างโรงโอเลฟินส์เสร็จ ขณะที่ของสหรัฐฯ และญี่ปุ่นจะต้องชำระเงินต้นนับจากโรงโอเลฟินส์เสร็จ 6 เดือน

ส่วนที่สองอีก 150 ล้านเหรียญสรอ. จะเป็น COMMERCIAL LOAN โดยที่โอซีได้ออกเอกสารสนเทศแก่ธนาคารทั้งในและต่างประเทศเพื่อจัดหาเงินกู้และค้ำประกันให้โครงการรวม 35 แห่ง ที่ตอบรับและสนใจปล่อยกู้ทั้งหมด 29 ราย ซึ่งล้วนมาจากธนาคารชั้นนำทั่วโลก

เนื่องจากมีผู้สนใจปล่อยกู้มาก ทีโอซีจึงจัดงาน "PROJECT FINANCE MEETING" ขึ้นที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ขึ้นเมื่อวันที่ 13-14 สิงหาคมที่ผ่านมา พร้อมทั้งจัดเยี่ยมชมสำนักงานและพื้นที่สร้างโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด "สะดวก ไม่ต้องเสียเวลาในการบินไปเสนอรายงานแก่แบงก์ต่าง ๆ ทั่วโลก จัดทีเดียว เขาจะได้มาเห็นความพร้อมของเราด้วย" พละกล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้

สำหรับธนาคารที่โดดเด่นเป็นพิเศษก็คือ ไอบีเจจากญี่ปุ่นซึ่งมีประสบการณ์ในการปล่อยกู้แก่โครงการปิโตรเคมีในเอเชียจากเดิมเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของทีโอซี "เมื่อเสร็จสิ้นจากงานที่ปรึกษาการเงินแล้ว เราก็มาเป็นผู้ปล่อยกู้แก่ทีโอซีด้วย" ฟูมิโอคิตาจิมาจากอบีเจสำนักงานใหญ่ที่โตเกียวซึ่งรับผิดชอบการปล่อยเงินกู้ในเอเชียบินมาร่วมงานด้วยตัวเองพร้อมคณะอีก 5 คน จัดเป็นธนาคารที่ส่งผู้เข้าร่วมงานมากที่สุด

แต่เมื่อมาเจอตัวแทนธนาคารยักษ์ ๆ ทั่วโลกซึ่งมาร่วมงานถึง 80 คน ฟูมิโอ คิตาจิมาถึงกับ กล่าวว่า เห็นแบงก์ที่มาแล้ว ทำให้รู้สึกหนักใจ"

ทั้งนี้ "เราให้ธนาคารส่ง PROPOSAL มาใยสิ้นเดือนกันยายนนี้ และกำหนดตัดสินเลือกแหล่งเงินกู้และเซ็นสัญญาในเดือนพฤศจิกายน" จะใกล้เคียงกับการเซ็นสัญญาก่อสร้างโรงงานในเดือนตุลาคม จันทร เศาภายน ผู้ช่วยผู้ว่าการด้านบัญชีและการเงินของปตท. ซึ่งมาบริหารการเงินของทีโอซีกล่าว

ขณะที่พละกล่าวว่า ทีโอซีจะดำเนินการแต่ละส่วนไปพร้อม ๆ กัน ทั้งด้านเทคนิคซึ่งเลือกลุ่มสโตนฯ ไปแล้ว เรื่องซื้อขาย เรื่องการเงิน รวมไปถึงการเลือกบริษัทประกัน โดยจะเลือกจาก 5 รายที่เสนอมา คือ บริษัท SEDGWICK. MINET. WiLLIS, HEAT และ BOWRING เพื่อให้โรงงานเสร็จตามกำหนด

แต่จากระยะเวลาที่ทีโอซีกำหนดนี้ บรรดานายธนาคารที่มาร่วมประชุมเห็นว่า ทีโอซีค่อนข้างจะมองโลกในแง่ดีเกินไปที่กำหนดเวลาทำงานไว้สั้นมาก

ทีโอซีจะเลือกกู้จากกลุ่มธนาคารใด ด้วยเงื่อนไขเงินกู้ที่น่าพอใจและทันตามกำหนดหรือไม่ คงต้องติดตามดูกันต่อไป

รายชื่อธนาคารที่ส่ง LETTER OF CONFIDENTIALITY ให้ "ทีโอซี"

1. THE INDUSTRIAL BANK OF JAPAN (IBJ) - ญี่ปุ่น

2. DAIICHI KANGYO - ญี่ปุ่น

3. BANK OF TOKYO - ญี่ปุ่น

4. FUJI BANK - ญี่ปุ่น

5. LONG - TERM CRDIT BANK OF JAPAN - ญี่ปุ่น

6. MITSUI TAIYO KOBE BANK - ญี่ปุ่น

7. SANWA BANK - ญี่ปุ่น

8. SUMITOMO BANK - ญี่ปุ่น

9. NIPPON CREDIT BANK - ญี่ปุ่น

10. BARCLAY BANK - อังกฤษ

11. NATIONAL WESTMINSTER BANK - อังกฤษ

12. BANQUE NATINAL DE PARIS - ฝรั่งเศส

13. DFUTSCHE BANK - เยอรมัน

14. BANQUE INDUSUEZ - ฝรั่งเศส

15. SOCIATE GENERAL - ฝรั่งเศส

16. CREDIT LYONNAIS S.A. - ฝรั่งเศส

17. UNION BANK OF SWITZERLAND - สวิตเซอร์แลนด์

18. DERSDNER - เยอรมัน

19. CHASE MANHATTAN BANK - สหรัฐฯ

20. CITI BANK - สหรัฐฯ

21. MANUFACTURERS HANOVER - สหรัฐฯ

22. BANK OF AMERICA - สหรัฐฯ

23. CANADIAN IMPERTAL - แคนาดา

24. ธนาคารกรุงเทพฯ

25. ธนาคารกสิกรไทย

26. ธนาคารไทยพาณิชย์

27. ธนาคารกรุงไทย

28. ธนาคารทหารไทย

29. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us