Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2534
ประสิทธิ์ ณรงค์เดช ประวัติศาสตร์กำลังซ้ำรอยเดิม             
โดย ศิริเพ็ญ กระตุฤกษ์
 


   
search resources

ไทยแซ็นเซลล่า
อนามัยภัณฑ์, บจก.
ประสิทธิ์ ณรงค์เดช
Health




ปีนี้ ประสิทธิ์ ณรงค์เดชมีอายุครบ 57 ปี เขาควรใช้ชีวิตในวัยนี้อย่างสุขสบายได้แล้ว หากมรสุมทางธุรกิจ จะไม่บังเอิญโหมกระหน่ำใส่เขาเฉกเช่นที่เป็นอยู่ขณะนี้ แต่ดูเหมือนบทเรียนซ้ำ ๆ ซาก ๆ ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเกือบ 30 ปีจะไม่ทำให้ประสิทธิ์ได้เรียนรู้อะไรขึ้นมาเลย

การประกาศเลิกกิจการบริษัทไทยแซ็นเซลล่าตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2534 เป็นต้นไป ได้กลายเป็นบทเรียนทางธุรกิจครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติอย่างบริษัทมอลลิเก้แห่งประเทสสวีเดนและบริษัทเบอร์ลี่ยุคเกอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสิทธิ์ ณรงค์เดชคนที่ได้ชื่อว่าเชี่ยวกรากในตลาดผ้าอนามัยเมืองไทยมากที่สุด

บริษัทไทยแซ็นเซลล่าได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2528 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 40 ล้านบาทโดยการร่วมทุนกันระหว่างผู้ถือหุ้นคนไทยวึ่งหุ้นใหญ่ก็คือบริษัทอนามัยภัณฑ์ จำกัดกับบริษัทมอลลิเก้สวีเดนในอัตราส่วน 51: 49

การกลับเข้ามาในตลาดผ้าอนามัยของค่ายจอห์นสันแอนด์จอห์นสันหลังปี 2526 โดยเฉพาะการเข้ามายึดครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดในระยะเวลาอันรวดเร็ว เป็นสาเหตุประการสำคัยที่ทำให้ประสิทธิ์ต้องคิดถึงความอยู่รอดของผ้าอนามัยตัวเก่งนั่นคือเซลล็อกซ์ ซึ่งนับวันส่วนแบ่งตลาดจะตกต่ำลงเรื่อย ๆ

"ถ้าจะทำผ้าอนามัยควรจะทำผ้าอนามัยที่มีคุณภาพมีเอกลักษณ์ของตัวเอง ทางอนามัยภัณฑ์จึงส่งให้ผมออกไปแสวงหาก็ไปพบบริษัทมอลลิเก้ของสวีเดน ซึ่งเขาเป็นบริษัทที่ครองตลดาผ้าอนามัยในย่านสแกนดิเนเวียแทบทั้งหมด โดยเฉพาะในประเทศเขาเองครองตลาดกว่า 90% บริษัทนี้มีเทคโนโลยีทางด้านเพอร์สันแนลแคร์ ที่นับว่าสูงมากบริษัทหนึ่งในโลก ที่มีชื่อคือผ้าอนามัย ผ้าอ้อมเด็ก ของที่ใช้แล้วทิ้งเลย เป็นพวกชุดผ่าตัดในโรงพยาบาล หมวก ที่คาดปาก ที่มีใช้ในห้องแพทย์ไปพบเขาดูเทคโนโลยีของเขาแล้ว ผมคิดว่าผ้าอนามัยของเขามิใช่เรียกว่าทันสมัยแต่ควรจะนำสมัย" ประสิทธิ์ ณรงค์เดช ประธานกรรมการ บริษัทไทยแซ็นเซลล่ากล่าวถึงการเลือกบริษัทมอลลิเก้ให้มา ร่วมทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัยในประเทศไทย ในขณะนั้น

หลังจากการร่วมทุนแล้ว ไทยแซ็นเซลล่าได้ผลิตผ้าอนามัยออกวางตลาดครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2530 ภายใต้ชื่อ "ลาเบรส" ในขณะที่ผ้าอนามัยเซลล็อกซ์ก็หายไปจากตลาดตั้งแต่นั้นมา จากการหยุดผลิตด้วยเหตุผล เพราะคิดว่าตัวสินค้าของมันเอง ไม่มีอะไรเด่นเหมือนคนอื่น จนกระทั่งถึงเดือนเมษายน 2531 ผ้าอนามัยเซลล็อกซ์จึงหวนคืนสู่ตลาดอีกครั้งหนึ่งในชื่อ "เซลล็อกซ์ ทูเดย์"

ประสิทธิ์กล่าวถึงความคิดในการนเซลล็อกซ์มาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้งเนื่องจากเห็นว่าบริษัทไทยสก็อต (ก่อนแยกตัวออกไป) ก็ทำกระดาษทิชชูสองยี่ห้อเหมือนกันคือเซลล้อกซ์หรือเซลล่ากับสก็อตตี้ ซึ่งขายได้ดีกว่าคู่แข่ง คือคิมเบอร์ลี่คลากเจ้าของเดลซี่ จึงคิดว่าโดยทฤษฎีเดียวกันก็น่าจะประสบผลสำเร็จ

แต่ดูเหมือนความพยายามของประสิทธิ์ในการที่จะกลับเข้าสู่การเป็นผู้นำในตลาดผ้าอนามัย เหมือนในอดีตที่ผ่านมาจะเผชิญปัญหาที่คาดไม่ถึงโดยเฉพาะปัญหาที่สืบเนื่องจากการเงินในบริษัท

ไทยแซ็นเซลล่าเพิ่มทุนครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2529 อีก 10 ล้านบาทเป็น 50 ล้านบาท ซึ่งการเพิ่มทุนครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทเบอร์ลี่ยุคเกอร์เข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะผู้ถือหุ้นในสัดส่วน 20% ในขณะที่หุ้นของอนามัยภัณฑ์ลดลงจาก 50% เหลือ 30% และหุ้นของมอลลิเก้ยังคงเท่าเดิม

จากงบดุล และบัญชีกำไรขาดทุนของไทยแซ็นเซลล่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2529 แสดงให้เห็นว่าบริษัทฯ ขาดทุนสะสมในปี 2529 เป็นจำนวนเงินถึง 26 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขาดทุนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของทุนจดทะเบียนบริษัทฯ

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2530 ไทยแซ็นเซลล่าจึงเพิ่มทุนอีกครั้งหนึ่งเป็น 100 ล้านบาท ซึ่งทั้งเบอร์ลียุคเกอร์และมอลลิเก้ได้เพิ่มทุนตามทำให้สัดส่วนของเบอร์ลี่ฯ เพิ่มขึ้นเป็น 35.5% ในขณะที่มอลลิเก้ยังคงเท่าเดิมคือ 49% ส่วนอนามัยภัณฑ์ลดลงเหลือ 15%

ถึงแม้ว่าจะมีการเพิ่มพูดอีกครั้งหนึ่งแต่สถานการณ์ทากงารเงินของบริษัทฯ ก็ยังไม่ดีขึ้นปัญหาการขาดทุนยังคงต่อเนื่องมาโดยตลอดจนถึงปลายปี 2531 บริษัทฯยังมีสภาพหนี้สะสมรวมทั้งสิ้น 120.5 ล้านบาท และยอดขาดทุนสะสมรวม 65.6 ล้านบาท

"สภาพการขาดทุนภายในช่วง 2 ปีแรกของการดำเนินงานไม่ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ แต่ช่วง 2 ปีนั้นลีเบรสลงทุนทางด้านการตลาดการโฆษณาสูงมากถึง 70 ล้านบาทส่งผลกระทบให้บริษัทขาดเงินสดหมุนเวียนภายใน ถ้าไม่พูดถึงเรื่องดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในด้านการโฆษณาบริษัทนี้สามารถทำกำไรได้แล้ว ดั้งนั้นการแก้ปัญหาก็คือ การหาเงินสดหมุนเวียนเข้ามาเพื่อลดค่าใช้จ่ายทางด้านดอกเบี้ย" ประสิทธิ์ชี้แจงถึงปัญหาการขาดทุนที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปีของการดำเนินงาน

ดังนั้นในปีถัดมาไทยแซ็นเซลล่าจึงแก้ปัยหาสภาพหนี้สะสมที่มีอยู่ด้วยการประกาศลดทุนจดทะเบียนบริษัทฯ ลงถึง 2 ครั้ง

ครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2532 ประกาศลดทุนจดทะเบียนลงจาก 100 ล้านบาทเหลือ 25 ล้านบาทโดยการลดมูลค่าหุ้นจากเดิมหุ้นละ 1,000 บาทเป็นหุ้นละ 250 บาท

ครั้งที่สองในเดือนสิงหาคม 2532 ประกาศลดทุนจาก 25 ล้านบาทเป็น 6,250,000 ล้านบาทโดยลดมูลค่าหุ้นจากเดิมหุ้นละ 250 บาทเป็นหุ้นละ 62.50 บาท

หลังจากลดทุนจดทะเบียนลงแล้วเดือนต่อมาก็มีการเพิ่มทุนขึ้นอีก 25 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่อีกจำนวน 400,000 หุ้น ๆ ละ 62.50 บาท

"การลดทุนครั้งนี้นับเป็นทางออกที่ดีที่สุดที่จะแก้ไขสถานการณ์และผลักดันงานด้านการตลาดและการผลิตต่อไปได้เป็นอย่างดี เมื่อมีการเพิ่มทุนขึ้นมาทำให้เงินหมุนเวียนอยู่ในสภาพคล่องตัวขึ้น ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนนโยบายการผลิตและตาดให้สอดคล้องกับแผนใหม่ด้วยคือนับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2532 งานด้านการขายและการตลาดทั้งหมดจะโอนเข้าไปอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัทเบอร์ลี่ยุคเกอร์ ภายใต้การดูแลของประเสริฐ เมฆวัฒนา ส่วนกำพล คุปตะวนิช ประธานบริหารของไทยแซ็นเซลล่าและทีมงานซึ่งเคยรับผิดชอบงานด้านการตลาดก็โอนเข้าไปดูแลการผลิตแทนเพื่อให้การประสานงานคล่องตัวขึ้น" แหล่งข่าวระดับสู่ของไทยแซ็นเซลล่าชี้แจงให้ฟังถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น

และในเดือนพฤษภาคม 2533 ไทยแซ็นเซลล่าเพิ่มทุนอีกครั้งหนึ่งจำนวน 55 ล้านบาทโดยออกหุ้นใหม่ 880,000 หุ้น ๆ ละ 62.50 บาท

การเพิ่มทุนครั้งล่าสุดนี้ทำให้ไทยแซ็นเซลล่ามีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 86,250,000 บาทจากจำนวนหุ้นทั้งหมด 1,380,000 หุ้นและมีผลทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของเบอร์ลี่ยุคเกอร์เพิ่มขึ้นเป็น 49.8% ในขณะที่มอลลิเก้ยังคงเท่าเดิม ส่วนอนามัยภัณฑ์เหลืออยู่เพียง 1% เท่านั้น

แต่ดูเหมือนการเพิ่มทุนโดยมอลลิเก้และเบอร์ลี่ยุคเกอร์ทั้ง 2 ครั้งจะไม่สามารถกู้สถานภาพของไทย แซ็นเซลล่าให้ดีขึ้นไปกว่าเดิมได้การเดินทางไปโกเธนเบิร์กของดร.อดุล อมติวิวัฒน์กรรมการบริหารและผู้จัดการใหญ่ของเบอร์ลี่ยุคเกอร์เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมาจึงเป็นการปิดฉากปัญหาทางธุรกิจที่มี อยู่ทั้งหมดลง

จากการเดินทางในครั้งนั้นได้สรุปเป็นข้อตกลงว่าบริษัทเบอร์ลี่ยุคเกอร์และมอลลิเก้จะปิดการดำเนินงานของไทยแซ็นเซลล่าลงในวันที่ 31 สิงหาคม 2534 ตามข้อเสนอดังนี้คือที่ดินรวมทั้งโรงงานเก่า และใหม่จะถูกโอนไปยังบริษัทไทย คลินิโปร จำกัดตามมูลค่าบัญชี ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2534 (บริษัทไทยคลินิโปร จำกัดจดทะเบียนก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2533 จากการร่วมทุนระหว่างเบอร์ลี่ยุคเกอร์กับมอลลิเก้ เอบีแห่งสวีเดนในสัดส่วน 51:49 ด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท เพื่อผลิตเสื้อคลุมสำหรับใช้ในการผ่าตัดโดยได้รับการส่งเสริม การลงทุนเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2533 ส่วนของโรงงานเพิ่มเริ่มดำเนินการเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาโดยใช้งบในการลงทุนก่อสร้างประมาณ 30 ล้านบาท)

สำหรับอุปกรณ์โรงงานบางส่วนที่ไม่ได้โอนให้กับไทยคลิกนิโปรจะขายให้กับบริษัทในประเทส ส่นเครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิตรวมถึงชิ้นส่วนจะขายคืนให้กับมอลลิเก้ก่อนปลายปีนี้หรืออาจจะเร็วกว่านั้น

ผลขาดทุนจากการขายเครื่องจักรคาดกว่าจะมีมูลค่าประมาณ 21 ล้านบาทซึ่งเครื่องจักนี้จะยังคงอยู่ในรายการบัญชีของไทยแซ็นเซลล่าจนกว่าจะขายให้กับมอลลิเก้

เบอร์ลี่ยุคเกอร์และมอลลิเก้จะพยายามแบกภาระการขาดทุนไว้โดยไม่ให้มีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นรายอื่น

จากงบการเงินล่าสุด ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2534 อันเป็นวันสิ้นสุดของการดำเนินงานปรากฏว่าบริษัทไทยแซ็นเซลล่ามียอดสินทรัพย์รวมทั้งหมด 115 ล้านบาท ในขณะที่ยอดหนี้สินมี 113 ล้านบาทนอกจากนี้ยังมียอดขาดทุนสะสมรวมทั้งสิ้นอีก 84 ล้านบาท

ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจนมีผลทำให้ไทยแซ็นเซลล่าต้องปิดกิจการลงนั้นสาเหตุมีอยู่ด้วยกันหลายประการคือ

ประการแรกนั้นการนำเงินไปลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิต ซึ่งใช้เงินเป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะให้เป็นโรงงานผลิตผ้าอนามัยที่มาตรฐานที่สุดในโลกภาคพื้นเอเชีย ตามเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้ง จะเห็นได้จากมูลค่าของทรัพย์สินถาวร ที่ปรากฏในงบการเงินล่าสุดนั้น เป็นค่าที่ดิน 5 ล้านบาท ค่าก่อสร้างโรงงานเดิม 25 ล้านบาท ค่าก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ 35 ล้านบาทค่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ 66 ล้านบาท เมื่อรวมทรัพย์สินถาวรทั้งหมดแล้วจะมีมูลค่าถึง 133 ล้านบาท ที่สำคัยเงินที่ใช้ในการลงทุนครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเงินกู้จากสถาบันการเงินทั้งใน และต่างประเทศดังนั้นการแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนดอกเบี้ย จึงเป็นเรื่องที่บริษัทฯ ปฏิเสธไม่ได้ จะเห็นได้จากในปีที่ผ่านมาตัวเลขค่าใช้จ่ายที่มาจากดอกเบี้ยมีจำนวนถึง 14.4 ล้านบาท

ประการที่สองการเปิดตัวผ้าอนามัยลีเบรสที่ถือว่าเป็นน้องใหม่ด้วยการทุ่มงบประมาณทางการตลาดอย่างมากในช่วง 2 ปีแรกเพื่อให้สินค้าติดตลาดโดยเร็วจนส่งผลกระทบให้บริษัทฯ ประสบปัญหาการขาดทุนต่อเนื่องมาโดยตลอดรวมถึงการขาดเงินสดหมุนเวียนภายในอีกด้วย

และประการสำคัญ คือ ยอดขายสินค้า ที่ถือเป็นรายได้หลักของบริษัทฯ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้จากคาดหวังยอดขายในปีแรกน่าจะอยู่ในราวเดือนละ 1 หมื่นหีบ ปีที่สอง 1.5 หมื่นหีบต่อเดือนและปีที่สาม 2 หมื่นหีบต่อเดือน แต่ยอดขายจริงโดยถัวเฉลี่ยกลับได้เพียงครึ่งหนึ่งของที่ประมาณการไว้เท่านั้นคือประมาณเดือนละ 4-5 พันหีบต่อเดือน และถึงแม้ว่าจะนำผ้าอนามัยเซลล้อกซ์มาปัดฝุ่นเข้าตลาดใหม่ โดยหวังว่ายอดขายของเซลล็อกซ์มาปัดฝุ่นเข้าตลาดใหม่ โดยหวังว่ายอดขายของเซลล็อกซ์จะช่วยทำให้รายได้ของบริษัทฯ มากขึ้นก็ตามแต่ก็ไม่เป็นไปย่างที่คาดหวังไว้

จะเห็นได้ชัดเจนจากการประมาณการยอดขายในปี 2533 ที่ตั้งเป้าไว้ว่ายอดขายของลีเบรสในประเทศควรจะอยู่ในราว 45 ล้านบาทแต่ยอดขายที่แท้จริงกลับได้เพียง 38 ล้านบาทเช่นเดียวกับเซลล็อกซ์ทูเดย์ที่คาดว่ายอดขายควรจะอยู่ในราว 5 ล้านบาทแต่กลับได้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น

ซึ่งจากคำชี้แจงของกำพล คุปตะวนิชประธานบริหารของบริษัทไทยแซ็นเซลล่า ที่มีต่อผู้ถือหุ้นในเรื่องดังกล่าวว่า "เนื่องจากการแข่งขันของตลาดผ้าอนามัยในปี 2533 รุนแรงกว่าปี 2532 มากจะเห็นได้จากงบโฆษณาที่เพิ่มสูงขึ้นจาก 75.4 เป็น 136.1 ล้านบาททั้งนี้เป็นเพราะการเข้ามาของสินค้าใหม่ ๆ อย่างเช่นโซฟีเชเลคท์ของยูนิ ชาร์ม,วิสปอร์จากค่าย P&G และไนซ์เดย์ของค่ายคาโอ ทำให้ยี่ห้อเดิมในตลดาอย่างโมเดสต้องใช้งบทางด้านสื่อโฆษณาเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าเพื่อปกป้องการเป็นผู้นำ ในขณะที่น้องใหม่อย่างวิสเปอร์ใช้งบโฆษณาถึง 32 ล้านบาท กับการได้มาซึ่งส่วนแบ่งตลาดเมื่อปลายปี 6% ในขณะที่ปัจจุบันลีเบรสมีส่วนแบ่งอยู่ในตลาด 6% และมีแนวโน้มว่ายอดขายจะลดต่ำลงดดยสาเหตุหนึ่ง เป็นผลผลกระทบที่มาจากการแข่งขันในตลาด ที่นุรแงรขึ้นทุกขณะส่วนอีกสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะไม่มีการพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับคู่แข่งขันในตลาดตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา"

ผลกระทบที่ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ที่เองที่ทำให้ไทยแซ้นเซลล่าประสบปัยหาการขาดทุนโดยเฉพาะการมีต้นทุนการดำเนินงานสูงในขณะที่ยอดขายโดยรวมต่ำ

ถ้าดูจากความรับผิดชอบในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่แล้ว ทั้งเบอร์ลี่ยุคเกอรื และมอลลิเก้ดูเหมือนจะเจ็บตัวหนักจากความล้มเหลวของการร่วมทุนในไทยแซ็นเซลล่าครั้งนี้ แต่คนที่เจ็บตัวไม่แพ้กันเห็นจะเป็นประสิทธิ์ ณรงค์เดชเพราะการนำเอาบริษัทอนามัยภัณฑ์มาร่วมหัวจมท้ายในไทยแซ็นเซลล่าทำให้เงินจำนวน 15 ล้านบาทที่นำมาร่วมทุนในสมัยเริ่มก่อตั้งกิจการหายไปในพริบตา เป็นผลให้รอยร้าวระหว่างผู้ถือหุ้นของอนามัยภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมปรากฏชัดยิ่งขึ้น

การเข้าไปเซ็นสัญญาซื้อหุ้นของบริษัทเสตอร์ลิงค์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดจำนวน 1,920 หุ้นเมื่อต้นปี 2528 โดยไม่ได้ตั้งใจทำให้จุลินทร์ นฤปกรณ์กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บริษัทอนามัยภัณฑ์ตั้งแต่นั้นมา

บริษัทเสตอร์ลิงค์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งสหรัฐอเมริกาเข้ามาร่วมทุนกับอนามัยภัณฑ์ตั้งแต่ปี 2509 หลังจากเปิดดำเนินการได้เพียง 2 ปี โดยเข้ามาถือหุ้นจำนวน 50% ตามข้อตกลงที่ทำไว้ในขณะนั้น

เมื่อบริษัทเสตอร์ลิงค์ฯ ต้องการจะถอนตัวออกจากเมืองไทยด้วยการประกาศขายหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมดในบริษัทอนามัยภัณฑ์จำนวน 2,000 หุ้นมูลค่าหุ้นละ 1,000 บาท, บริษัทประสิทธิ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดจำนวน 2,000 หุ้นมูลค่าหุ้นละ 250 บาท,บริษัทบีดีเอฟอินทนิล จำกัดจำนวน 12,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 500 บาท

ประสิทธิ์ ณรงค์เดชในฐานะประธานกรรมการของบริษัทอนามัยภัณฑ์ในช่วงนั้น ได้มีการออกจดหมายลงวันที่ 4 มกราคม 2528 ถึงผู้ถือหุ้นเพื่อเสนอขายหุ้นจำนวนดังกล่าวในราคารวม 10 ล้านบาทให้แก่ผู้ถือหุ้นฝ่ายไทย โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องชำระมูลค่าหุ้นดังกล่าวเป็นเงินสดในวันที่ 20 มกราคม 2528 พร้อมทั้งขอให้ผู้ที่ประสงค์จะซื้อหุ้นได้แจ้งให้ทราบภายในวันที่ 18 มกราคม 2528

จนกระทั่งถึงกำหนดปรากฏว่าไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดแจ้งมา ดังนั้นในวันที่ 22 มกราคม 2528 จุลินทร์นฤปกรณ์ ในฐานะกรรมการผู้จัดการ จึงได้ทำหนังสือถึงผู้ถือหุ้น่ของอนามัยภัณฑ์อีกครั้งหนึ่ง โดยแจ้งว่าหากผู้ใดประสงค์จะซื้อหุ้นจำนวนดังกล่าวตามหนังสือของท่านประธาน โปรดแจ้งให้ทราบก่อนวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2528

เมื่อเลยวันเวลาดังกล่าวมาไม่มีผูส้ถือหุ้นรายใดแจ้งความจำนงที่จะซื้อ

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ถือหุ้นไม่สนใจที่จะซื้อหุ้นอนามัยภัณฑ์ คือจากสเตอร์ลิงค์ฯ เนื่องจากอนามัยภัณฑ์ขณะนั้นอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่เต็มที่ เนื่องจากบริษัทต้องจ่ายเงินชดเชย 6 เดือน ให้กับพนักงานที่ไม่ได้ถูกโอนไปอยู่ไทยแซ็นเซลล่า รวมทั้งขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราจาการลดค่าเงินบาทในปี 2527 นอกจากนี้ธุรกิจที่ทำอยู่คือแผนกใยสังเคราะห์ก็ประสบปัญหาการขาดทุนในปีนั้นด้วย และการที่ธนาคาร 2-3 แห่งถอนวงเงินสินเชื่อที่ให้กับบริษัทเป็นเรื่องที่ผู้ถือหุ้นทุกคนทราบเรื่องมาโดยตลอด

"ในสถานการณ์อย่างนั้นคงไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดกล้าเสี่ยงนำเงินลงทุนเพราะรู้อยู่แก่ใจว่ามันอาจจะสูญไปเลย" แหล่งข่าวในอนามัยภัณฑ์เล่าให้ฟัง

จุลินทร์แก้ไขปัญหาในขณะนั้นด้วยการทำสัญญากู้เงินจากธนาคารไทยทนุจำนวน 12 ล้านบาทเพื่อซื้อหุ้นอนามัยภัณฑ์คืนจากสเตอร์ลิงค์ฯ โดยมีหลักประกันเป็นใบหุ้นที่ซื้อทั้งหมด 1,920 หุ้นกับมีนิติบุคคลและบุคคลที่จะซื้อหุ้นค้ำประกัน แต่ธนาคารได้อนุมัติให้ภัณฑ์เป็นผู้ค้ำประกันแทนบุคคลและนิติบุคคลดังกล่าวเป็นการชั่วคราว

ตามข้อตกลงซื้อขายหุ้นที่ทั้ง 2 ฝ่ายทำต่อกันปรากฏว่าจุลินทร์ ต้องจ่ายเงินให้กับสเตอร์ลิงค์จำนวน 14,359,000 บาทจากจำนวนหุ้นทั้งหมด 1,920 หุ้น หรือในราคาหุ้นละ 7,478.65 บาทจากราคาพาร์ 1,000 บาท

ความบาดหมางระหว่างจุลินทร์ นฤปกรณ์กับประสิทธิ์ ณรงค์เดชเริ่มปะทุแบบเป็นรูปเป็นร่างขึ้นเมื่อประสิทธิ์ต้องการให้จุลินทร์นำหุ้นที่ซื้อจากสเตอร์ลิงค์มาแตกคืนให้กับผู้ถือห้นุเป็นรายบุคคลตามสัดส่วนที่ถูก้อง ภายหลังจากที่ตรวจพบว่าจุลินทร์กู้เงินในนามของบริษัทอนามัยภัณฑ์เพื่อนำไปชำระหนี้ที่ตนเองกู้มาจากธนาคารเมื่อครั้งที่ซื้อหุ้นจากสเตอร์ลิงค์ฯ

"หลังจากที่คุณจุลินทร์กู้เงินในนามส่วนตัวจากธนาคารไทยทนุมาซื้อหุ้นจากเสตอร์ลิงค ์เพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะนั้นก็ด้วยความหวังว่าจะมีคนมาขอแบ่งซื้อหุ้นจำนวนดังกล่าวในภายหลังตามที่ประสิทธิ์ได้รับปากไว้ แต่เมื่อไม่มีใครมาซื้อคุณจุลินทร์จึงตัองแบกรับไว้ทั้งหมด แต่เพื่อให้ความเสี่ยงที่จะมาถึงตัวลดน้อยลง คุณจุลินทร์จึงได้ทำเรื่องกู้เงินอีกจำนวนหนึ่งในนามของบริษัทอนามัยภัณฑ์ และนำเงินจำนวนดังกล่าวนี้ไปชำระหนี้เงินกู้ส่วนตัวคืนให้กับธนาคารเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2528 เป็นการสิ้นสุดหนี้ที่จุลินทร์มีต่อธนาคารไทยทนุ โดยผลักภาระการเป็นลูกหนี้ให้ตกเป็นของบริษัทอนามัยภัณฑ์ ในขณะที่คุณจุลินทร์ก็ทยอยจ่ายเงินคืนให้กับบริษัทฯ ไป" แหล่งข่าวที่รู้เรื่องดีในอนามัยภัณฑ์เล่าถึงที่มาของสาเหตุที่ทำให้ประสิทธิ์ไม่พอใจจุลินทร์

เงินทดรองที่บริษัทจ่ายเป็นเงินให้จุลินทร์กู้ยืมปรากฏว่ามีจำนวน 14,372,729.42 บาท ประสิทธ์นั้นมองว่าหุ้นที่ซื้อมาจากเสตอร์ลิงค์ฯ ควรจะถูกโอนให้กับผู้ถือหุ้นเดิมในสัดส่วนที่ควรจะเป็นในเมื่อเงินที่นำมาจ่ายค่าหุ้นนั้น เป็นเงินกู้ที่ทำในนามของบริษัทอนามัยภัณฑ์ ซึ่งต้องมาแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยแทน

แต่การทวงถามถึงเรื่องหุ้นจำนวนดังกล่าวจากจุลินทร์ก้ไม่ได้รับการสนองตอบอย่างที่ประสิทธิ์ต้องการจะให้เป็น เพราะจุลินทร์เองถือว่าถึงแม้จะมีการกู้เงินในนามของบริษัทอนามัยภัณฑ์แต่ตนเองก็ได้พยายามหาทางผ่อนชำระคืนเงินทดรองให้บริษัทไปบ้างแล้ว ดังนั้นหุ้นจำนวนดังกล่าว จึงเป็นสิทธิ์ที่ตนจะต้องได้

ความไม่พอใจของประสิทธิ์นี่เองที่ทำให้จุลินทร์ต้องเร่งหาเงินมาชำระคืนเงินทดรองให้กับบริษัทจะสังเกตได้จากตัวเลขในงบดุลของบริษัท ณ สิ้นปี 2531 ปรากฏว่าเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการและลูกจ้างมีจำนวน 10 ล้านบาทเศษ ในขณะที่สิ้นปี 2532 เหลืออยู่เกือบ 9 ล้านและยอด ตัวเลขดังกล่าวนี้ได้หายไปจากงบดุลเมื่อสิ้นปี 2533

แหล่งข่าวคนหนึ่งในอนามัยภัณฑ์เล่าให้ฟังว่า "เมื่อคุณจุลินทร์ไม่ยอมทำตามข้อเรียกร้องของคุณประสิทธิ์ จึงได้มีการยื่นข้อเสนอใหม่ให้คุณจุลินทร์ชดใช้ดอกเบี้ยคืนให้แก่บริษัทฯ ตามจำนวนที่บริษัทได้จ่ายล่วงหน้าไปตั้งแต่ปี 2528 ซึ่งคุณจุลินทร์ก็ยอมที่จะปฏิบัติตาม"

ดอกเบี้ยที่จุลินทร์จะต้องจ่ายตามที่กรรมการบริษัท เห็นสมควรก็คือ 471,665.61 บาท

เรื่องยังคงไม่จบเพียงเท่านี้

จุลินทร์ เป็นพี่ชายของเกษรี ณรงค์เดช ภรรยาของประสิทธิ์ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร ที่จะลินทร็จะเข้ามาเกี่ยวข้องในกิจการเกือบทุกแห่ง ที่ประสิทธิ์ริเริ่มขึ้นมาเช่นเดียวกับกิจการของครอบครัวอื่น ๆ ที่ผู้ถือหุ้นก็คือคนในครอบครัวนั่นเอง

จุลินทร์ถือหุ้นในยนามส่วนตัวรวมทั้งในนามของบริษัทที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นบริษัทอนามันภัณฑ์,บริษัทประสิทธิ์ อินเตอร์เนชั่นแนล,บริษัทกระดาษไทยสก็อต,บริษัทไทยแซ็นเซลล่า, บริษัทบีดีเอฟ อินทนิล แม้กระทั่งบริษัทกระดาษเซลล็อกซ์

ในบรรดานักธุรกิจที่พอมีชื่อของเมืองไทยปรากฏว่าชื่อของจุลินทร์แทบจะไม่มีใครรู้จักหรอืไม้ยินมากนักเมื่อเทียบกับชื่อของประสิทธิ์ นั่นอาจแสดงให้เห็นถึงนโยาบายทางด้านการบริหารงานที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

และความฉลาดาของประสิทธิ์ในหลาย ๆ เรื่องได้สร้างความไม่พอใจให้กับผู้ถือหุ้นบางคน โดยเฉพาะจุลินทร์ที่รับรู้เรื่องราวของธุรกิจในเครือข่ายมาพร้อม ๆ กันกับประสิทธิ์ ซึ่งความไม่พอใจที่ก่อตัวคุกรุ่นในใจมาตลอดเวลาหลายปีนี่เอง ที่เปรียบเสมือนระเบิดที่รอการประทุ ดังนั้นการที่ประสิทธิ์เรียกร้องหุ้นคืนจากจุลินทร์ จึงไม่ผิดอะไรกับการจุดชนวนระเบิด

การเข้ามาปรับปรุงโครงการสร้างการบริหารงานในอนามัยภัณฑ์ใหม่เมื่อปี 2528 ของประสิทธ์ พร้อมกับการดึงเอาผ้าอนามัยเซลล็อกซ์ ซึ่งเป็นสินค้าเก่าแก่คู่บุญของบริษัทอนามัยภัณฑืไปในช่วงที่มีการร่วมทุนกับริษัทไทยแซ็นเซลล่า ได้สร้างความไม่พอใจกับกับจุลินทร์ย่างมาก ถึงแม้ว่าขณะนั้นยอดขายของผ้าอนามัยเซลล็อกซ์จะตกลงแต่อย่างน้อยเม็ดเงินจากกำไรที่ได้รับแน่ ๆ ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทหากสินค้ายังคงอยู่กับบริษัท (รวมถึงกำไรจากการขายผ้าใยสังเคราะห์ให้กับแผนกนี้) ก็สามารถที่จะช่วยกู้สถานการณ์ที่ย่ำแน่ในช่วงนั้นได้บ้าง

ครั้งหนึ่งจุลินทร์เคยทำจดหมายถึงประสิทธิ์ เพื่อระบายความอัดอั้นตันใจในสิ่งที่ได้รับ่จากการกระทำของประสิทธิ์ซึ่งตอนหนึ่งได้มีการพูดถึงผ้าอนามัยเซลล็อกซ์ด้วยว่า "การเข้าไปร่วมทุน ในไทยแซ็นเซลล่านั้น ถือได้ว่าอนามัยภัณฑ์ ก็ยังมีส่วนในยี่ห้อเซลล็อกซ์ แม้ว่าเครื่องหมายการค้านี้จะจดทะเบียนเป็นชื่อของคุณ (หมายถึงประสิทธิ์) ก็ตามแต่อนามัยภัณฑ์ก็ได้ยายามรักษาสัดส่วนตลาดไว้ที่ 20-21% ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาด้วยค่าใช้จ่ายสูงมากทีเดียว และมาถึงตอนนี้มันน่าเศร้ามากที่เห็นสัดส่วนของเซลล็อกซ์เหลืออยู่เพียง 5% แม้ว่ายี่ห้อนี้จะเป็นของคุณ แต่เรารู้สึกเหมือนว่าเราได้ร่วมก่อสร้างมันขึ้นมา และตอนนี้มันได้สุญสลายไปแล้วหลังจากที่ร่วมกับไทยแซ็นเซลล่ามา 3 ปี"

เช่นเดียวกับการดึงเอาผลิตภัณฑ์นีเวียซึ่งอนามัยภัณฑ์เกี่ยวข้องในส่วนของการผลิตออกไปให้กับบริษัทไทยเฮเลีย จำกัดทำให้นอามัยภัณฑ์สูญเสียรายได้ที่ควรจะได้ไปอีกครั้งหนึ่ง ความไม่พอใจของจุลินทร์เพิ่มขึ้นมาอีกระดับหนึ่งแต่ยังไม่ปรากฏว่ามีการตอบโต้กลับต่อกรณีนี้

"อนามัยภัณฑ์เป็นผู้ผลิตสินค้าให้ทางนีเวียในช่วงแรกที่วางตลาด มาวันดีคืนดีคุณประสิทธ์ก็ดึง่สวนการผลิตสินค้าตัวนี้ไปให้กับบริษัทไทยเฮเลียซึ่งตั้งขึ้นมาในปี 2530 โดยที่คุณจุลินทรืไม่เคยได้ระแคะระคายเกี่ยวกับการก่อตั้งบริษัทใหม่นี้มาก่อนเลย (เป็นบริษัทเดียวในเครือข่ายการทำธุรกิจที่จุลินทร์ไม่ได้ถือหุ้นด้วย) และครั้งนี้มีการพูดกันว่าข้อแลกเปลี่ยนที่คุณประสิทธิ์เสนอไปยังผู้ร่วมก่อตั้งก็คือการขอถือหุ้นในไทยเฮเลีย 25%" แหล่งข่าวที่คุ้นเคยกับนีเวียเปิดเผยให้ฟัง

จากการค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมทะเบียนการค้าปรากฏว่าบริษัทไทยเฮเลียก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2530 ด้วยทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาทโดยมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นบริษัทต่างประเทศ 2 รายคือบริษัทโอเรียน จำกัดถือหุ้นจำนวน 75,000 หุ้นหรือ 25% และบริษัทเฮเลีย อูเบ็นฮัน เดลเกเซลชาฟท์เอ็มบีเอชซึ่งเป็นบริษัทในเยอรมนีถือจำนวน 224,993 หุ้นหรือ 74.9%

และบริษัทโอเรียนนี่เองที่น่าจะเป็นบริษัทเดียวกับบริษัทโอไรออน (ORION) ซึ่งประสิทธิ์เป็นหุ้นส่วนอยู่ด้วยเพราะการที่ปรากฏชื่อของมาร์ติน เจมส์ วอเตอร์ฟิลด์ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนสำคัญของ ประสิทธิ์ใน ORION ในตำแหน่งกรรมการของไทยเฮเลียน่าจะเป็นหลักฐานยืนยันถึงความคิดดังกล่าวข้างต้นได้เป็นอย่างดี

ตรงนี้เป็นความฉลาดของประสิทธิ์อย่างหนึ่งในการหาช่องทางขยายธุรกิจของประสิทธิ์ที่ฝ่ายตรงข้ามมองว่าเป็นซิกแซ็ก ซึ่งครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของประสิทธิ์เสียด้วย

จุลินทร์เองก็เคยรับรู้ถึงกลวิธีในการบริหารธุรกิจของประสิทธิ์ในช่วงที่ผ่านมาเป็นอย่างดี เพียงแต่ครั้งนี้จุลินทร์อาจนึกไม่ถึง หรือไม่ก็อาจเป้นเพราะรอยร้าวที่เริ่มปรากฏขึ้นในใจของทั้งคู่ก็เป็นไป

กรณีของบริษัทโอไรออนน่าจะเป็นสิ่งยืนยันได้เป็นอย่างดี

เมื่อครั้งที่เสตอร์ลิงค์ฯ ยังร่วมทุนอยู่กับอนามัยภัณฑ์ในช่วงแรกนั้น หน้าที่หลักในฐานะหุ้นส่วนก็คือการให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับเทคโนโลยีของเครื่องจักร ที่จะใช้ในการผลิตสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับบริษัทด้วยการเป็นตัวกลางประสานการติดต่อในกรณีที่บริษัทมีการสั่งซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ

ในช่วงที่อนามัยภัณฑ์เริ่มทำกิจการเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายผ้าใยสังเคราะห์หรือ NONWOVEN FABRIC (NWF) นั้นเสตอร์ลิงค์ฯ ได้ทำหน้าที่ด้วยการแนะนำให้ใช้เครื่องจักรผลิตผ้าใยสังเคราะห์ของ NWF INTERNATIONAL CO. ซึ่งมีเจ้าของผู้อกแบบเครื่องเป็นกรรมการผู้จัดการและมีเสตอร์ลิงค์ฯ เป็นหุ้นส่วนอยู่ด้วย ซึ่งตามสัญญาที่ตกลงกันครั้งนั้นอนามัยภัณฑ์จะต้องจ่ายค่า TECHNOLOGY SERVICE FEES ให้กับ NWFINT., ตั้งแต่ปี 2516/2517

จนกระทั่งสัญญาดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อปี 2521 2522 ทางเสตอร์ลิงค์ฯ จึงได้แนะนำให้ยกเลิก แบะชักชวนให้จ่ายค่า ROKYALTY ต่อไปโดยจ่ายให้แก่ ORION LTD. แทน

แหล่งข่าวที่ทราบเรื่องดีเล่าว่า "ORION เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในฮ่องกงโดยมีประสิทธิ์ ประธานกรรมการขณะนั้นกับมาติน เจมส์ วอเตอร์ฟิลด์ซึ่งเป็นตัวแทนของเสตอร์ลิงค์ฯ ร่วมกันก่อตั้งขึ้นโดยทุกครั้งที่อนามัยภัณฑืจะสั่งซื้อเครื่องจักรจะต้องสั่งผ่าน ORION พร้อมทั้งจ่ายค่าธรรมเนียมในการผลิตให้กับ ORION ซึ่งถือเป็นรายได้หลักของบริษัทนี้"

ตามข้อตกลงอนามัยภัณฑ์จะต้องจ่ายค่าธารรมเนียมการผลิตต่อปีในอัตราดังนี้คือ ในปี 2521 จะเสียในอัตรา 0.0020 เหรียญสหรัฐต่อตารางหลาของการผลิตสุทธิ และในปี 2522 และหลังจากนั้นจะเสียในอัตรา 0.0025 เหรียญสหรัฐต่อตารางหลาของการผลิตสุทธิ

การทำสัญญาดังกล่าวนั้นแม้จะเป็นผลดีในแง่ที่ทำให้อนามัยภัณฑ์ประหยัดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงแต่ก็มีผลเสียที่ทำให้บริษัทมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น ซึ่งประเด็นนี้เองที่จุลินทร์ต้องการที่จะยกเลิกสัญญาดังกล่าวกับ ORION แต่ไม่สามารถกระทำได้

การที่จุลินทร์ไม่ยอมชำระเงินจำนวนนี้ โดยการปล่อยให้หนี้ดังกล่าวพอกพูนขึ้นทุกปี อย่างเช่นที่ปรากฏอยู่ในงบดุล อาจจะเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ดีทีเดียว (หนี้จำนวนนี้ปรากฏอยู่ในหนี้อื่น ๆ ซึ่งงบดุลเมื่อสิ้นสุดปี 2533 มียอดประมาณ 13.5 ล้านบาท)

แหล่งข่าวในอนามัยภัณฑ์เล่าว่า "คุณจุลินทร์ไม่ยอมจ่ายเงินเป็นค่า ROYALTY ให้กับ ORION เพราะเห็นว่าเป็นการไม่ยุติธรรมที่เงินจำนวนนี้จะตกเป็นของประสิทธิ์เพียงคนเดียวจนกระทั่งหนี้จำนวนหนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ คุณประสิทธิ์เองก็ได้ทวงถามถึงหนี้ที่ติดค้าง ORION อยู่แต่ไม่เป็นผลจนกระทั่วปี 2528 จุลินทร์จึงยอมชำระหนี้บางส่วนให้กับ ORION แต่มีข้อแม้ว่าเงินจำนวนดังกล่าวนี้ ORION จะต้องนำกลับมาซื้อหุ้นของนามัยภัณฑ์ในส่วนที่คุณจุลินทร์ซื้อคืนมาจากสเตอร์ลิงค์ฯ เพื่อเป็นการผ่อนคลายภาระหนี้สินส่วนหนึ่งที่คุณจุลินทร์แบกรับอยู่"

ตามหลักฐานที่ปรากฏในปี 2528 จุลินทร์ขายหุ้นใหักับ ORION จำนวน 1,950 หุ้นในราคาหุ้นละ 779.10 บาทเป็นเงินทั้งหมด 1,519,563.54 บาท

เมื่อความไม่พอใจที่มีต่อกันปะทุหนักขึ้นประสิทธิ์ก็พยายามที่จะเร่งรัดและเรียกร้องค่า ROYALTY FEE ที่ทางอนามัยภัณฑ์ติดค้างอยู่ ในขณะที่จุลินทร์ก็ได้พยายามโต้กลับถึงความเสียหายของบริษัทที่เกิดขึ้นจากการที่เครื่องจักรผลิตผ้าใยสังเคราะห์เครื่องที่ 3 ที่สั่งซื้อตามคำแนะนำของ ORION ทำงานไม่ปกติซึ่งความสูญเสียที่บริษัทได้รับตั้งแต่ปี 2529-2531 รวมเป็นเงินทั้งหมด 25 ล้านบาท

ดังนั้นการเจรจาที่ต่างฝ่ายต่างยึดถือประโยชน์ของตนเป็นหลักจึงเป็นเรื่องที่จงไม่ง่ายนัก

การที่จุลินทร์อยู่ในสภาพตกกระไดพลอยโจนในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของอนามัยภัณฑืหลังจากการซื้อหุ้นใหญ่จากสเตอร์ลิงค์ในปี 2528 แล้วความพยายามที่จะกอบกู้สถานะของอนามัยภัณฑ์ให้กลับฟื้นขึ้นมาใหม่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับเวลาขณะนั้นที่ไม่มีแม้แต่เซล็อกซ์หรืออะไรที่เป็น GOOD WILL ของบริษัทเลยแต่จุลินทร์ทำได้สำเร็จ

จากสภาพการขาดทุนจำนวน 8 ล้านบาทเศษในปี 2528 มาเป็นกำไรสุทธิ (หลังหักภาษีและดอกเบี้ย) ในปี 2530 จำนวน 3.7 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาเป็นลำดับคือในปี 2531.48 ล้านบาท,ปี 25324.4 ล้านบาทและในปี 25335.9 ล้านบาท

แผนกที่ทำรายได้หลักให้กับอนามัยภัณฑ์คือผ้าใยสังเคราะห์ซึ่งขายให้กับบริษัทผู้ผลิตผ้าอนามัยเกือบทกยี่ห้อในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีแผนก MRD (MACHINE RESEARCH & DEBELOPMENT) ซึ่งผลิตเครื่องผลิตผ้าอนามัย,เครื่องห่อบรรจุกระดาษชำระหรือแพ็กเกจจิ้งอื่นๆ รวมถึงเครื่องทำผ้าเย็นด้วยเครื่องจักรที่ผลิตขึ้นจำนวน 70% จะส่งขายต่างประเทศส่วนที่เหลืออีก 30% จะขายตลาดภายในประเทศโดยตลาดใหญ่ในต่างประเทศจะอยู่ในแถบอินโดจีน

ในการประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2531 จุลินทร์ประธานที่ประชุม ได้กล่าวถึงยอดรายได้ที่เพิ่มขึ้นว่า "ในปี 2530 ยอดขายผ้าใยสังเคราะห์สูงถึง 87 ล้านบาทสูงขึ้นถึง 30% จากปี 2529 ยอดขายนี้ส่วนหนึ่งมาจากการขาย MRD ให้กับบริษัทไลอ้อนซึ่งเป็นผู้ผลิตผ้าอนามัยแอนเน่และ TKP ผลผลิตผ้าอนามัยออเดย์การที่ 2 ยี่ห้อนี้ขายได้ดีมากทำให้ยอดขายผ้าใยสังเคราะห์ดีตามด้วย รวมถึงบังกลาเทศที่สั่งผ้าใยสังเคราะห์และแผ่นกันซึมป้อนให้กับเครื่องจักรของ MRD ที่ขายไปเมื่อปีที่แล้วและในปี 2530 อนามัยภัณฑ์สามารถทำกำไรสุทธิได้ 3.7 ล้านบาทซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการที่มีการเปลี่ยนอัตราภาษีการค้าจากเดิม 5.5% เป็น 1.5% รวมถึงยอดขายในประเทศที่เพิ่มขึ้นด้วย"

ถ้าดูจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ณ สิ้นปี 2533 อนามัยภัณฑ์มีกำไรสะสมสูงถึง 17.3 ล้านบาทในขณะที่ทุนจดทะเบียนมีเพียง 4 ล้านบาท แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของบริษัทนี้ได้เป็นอย่างดี

ประสิทธิ์ได้ถอนตัวจากอนามัยภัณฑ์มาตั้งแต่ปี 2528 เมื่อครั้งที่มีการร่วมทุนกับมอลลิเก้ในการก่อตั้งบริษัทไทยแซ็นเซลล่าโดยทิ้งภาระการบริหารงานทั้งหมดในอนามัยภัณฑ์ให้กับจุลินทร์

ด้วยความตั้งใจที่จะพลิกฟื้นตลาดผ้าอนามัยที่ตนเองเคยทำสำเร็จมาในอดีต ทำให้ประสิทธิ์ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับบริษัทใหม่แห่งนี้ แต่ความตั้งใจของประสิทธิ์ดูเหมือนจะไร้ผลเมื่อไทยแซ็นเซลล่าต้องเผชิญกับปัญหาการขาดทุนอย่างหนัก และจุลินทร์ที่กลายมาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ก็ไม่เห็นด้วย กับการที่จะให้อนามัยภัณฑ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนของไทยแซ็นเซลล่าดังนั้นหุ้นส่วนใหญ่จึงตกไปเป็นของเบอร์บี่ยุคเกอร์กับมอลลิเก้บทบาทของประสิทธิ์ ในฐานะตัวแทนของอนามัยภัณฑ์จึงลดน้อยถอยลง และในที่สุดประสิทธิ์ก้ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการในไทยแซ็นแซลล่าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2532

เหตุบังเอิญที่เกิดขึ้นกับไทย-สก๊อตต์ช่วงปี 2530 จนกระทั่งมีผลให้ประสิทธิ์จำต้องขายหุ้นในบริษัทที่ตนเป็นผู้ก่อตั้งและแยกตัวออกจากไทย-สก๊อตต์มาร่วมทุนกับเบอร์ลี่ยุคเกอร์ในบริษัทกระดาษเซลล็อกซ์ตั้งแต่นั้นมา อาจะเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่หลายคนมองว่าประสิทธิ์ไม่ได้ทุ่มแทเวลาให้กับไทยแซ็นเซลล่ามากเท่าที่ควร

ดังนั้นการหันหลังให้กับไทยแซ้นแซลล่า เพื่อเอาเวลาทั้งหมดมาทุ่มเทให้กับกระดาษเซลล็อกซ์ซึ่งเปรียบเหมือนกับความหวังใหม่ของประสิทธิ์จึงเป็นเรื่องงที่ทุกคนเฝ้าจับตามอง

แต่ดูเมหือนประสิทธิ์จะโชคไม่ดีเอาเสียเลยเมื่อกิจการของกระดาษเซลล็อกซ์เริ่มทำท่าจะซ้ำรอยเดิมเข้าอีกแล้ว

จากตัวเลขการขาดทุนที่ปรากฏในงบการเงินปี 2532 ของบริษัทกระดาษเซลล็อกซ์ ซึ่งเป็นปีแรกของการดำเนินงานมีจำนวนถึง 49 ล้านบาทในขณะที่ยอดขาดทุนสะสมเท่ากับ 55 ล้านบาท ไม่รวมหนี้สินที่มีมากกว่า 400 ล้านบาทและในปี 2533 ผลการดำเนินงานก็ไม่ได้ดีไปกว่าเดิมมากนักคือมียอดขาดทุนในปีนั้นประมาณ 50 ล้านบาท

การยอมรับว่ายอดขายกระดาษชำระไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ของผู้บริหารที่เกี่ยวข้องในกระดาาเซลล้อกซ์เมื่อเร็ว ๆ นี้ เป็นสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจนัก

เช่นเดียวกับการเข้ามาในฐานะผู้ร่วมทุนของบริษัทเคย์เซอร์เบิก เอส เอ ซึ่งเป็นบริษัทผลิต กระดาษใช้ในครัวเรือนที่ใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศสด้วยเหตุผลที่ไม่แตกต่างอะไรกับการเข้ามาของสก๊อตต์เปเปอร์และมอลลิเก้ในอดีต

ประสิทธิ์ให้เหตุผลต่อการร่วมทุนในครั้งล่าสุดนี้ว่า "ผลดีของการร่วมทุนครั้งนี้มีหลายประการอย่างแรกการแข่งขันในตลาดทิชชูเมืองไทย เวลานี้เซลล็อกซ์กำลังสู้กับบริษัทระดับโลกอย่างสก๊อตต์เปเปอร ์และคลิมเบอร์ลี่คล้ากการที่เคย์เซอร์ เบิกเข้าร่วมทุนทำให้ฐานะของเซลล็อกซ์มีพลังสนับสนุนาที่เข้มแข็งไม่แพ้คู่แข่ง ประการที่สองผลิตภัณฑ์กระดาษชำระมีความจำเป็นที่ต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่เสมอโดยเฉพาะการวิจัยและพัมนา และประการที่สามคือการไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหารงาน เพียงแต่ขอมีที่นั่งในคณะกรรมการและตรวจสอบบัญชีประจำเดือนเท่านั้น"

ไม่มีใครรู้ว่าอนาคตจะมีอะไรเกิดขึ้นกับบริษัทกระดาษเซลล็อกซ์เหมือนดังที่เกิดขึ้นกับไทยสก๊อตต์ หรือไทยแซ็นเซลล่าหรือไม่แม้แต่ประสิทธ์เองก็ตาม

ดังนั้นความพยายามที่จะต่อสู้เพื่อกลับเข้ามามีบทบาทในบริษัทอนามัยภัณฑ์อีกครั้งหนึ่ง ของประสิทธ์ ทำให้หลายคนมองไปว่าเป็นการหาทางออกให้กับตัวเอง

ประสิทธืเคยพูดถึงการนำบริษัทอนามัยภัณฑ์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ยังเป็นไปไม่ได้ในขณะนั้น ประสิทธิ์จึงหันมาตั้งความหวังใหม่กับบริษัทกระดาษเซลล็อกซ์ ด้วยการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนในปี 2532 และคาดหวังว่าจะสามารถนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ภายในปี 2534 นี้ แต่เมื่อสถานการณ์ของกระดาษเซลล็อกซ์ไม่เป็นไปอย่างที่คาดคิด อนามัยภัณฑ์ซึ่งปัจจุบันอยู่ในจุดที่มีความพร้อมที่สุดจึงเป็นเป้าหมายที่จะทำให้ความฝันของประสิทธิ์เป็นจริงขึ้นมา

ซึ่งนั่นหมายถึงการต่อสู้ที่ประสิทธิ์จะต้องเป็นฝ่ายชนะเพียงอย่างเดียว

เฉกเช่นกรณีที่ประสิทธิ์ถูกฟ้องล้มละลายอย่างไม่ทันตั้งตัวจากเจ้าหนี้คือบงล.กรุงไทยเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ที่ผ่านมาด้วยเงินเพียง 3 ล้านบาทจากการเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ในฐานะกรรมการของบริษัทไทยไพโอเนียร์ให้กับสุวิทย์ ภู่พานิช พี่ชายสามีของน้องสาวประสิทธิ์ ได้กลายเป็นอุบัติเหตุทางธุรกิจที่น่าเศร้าสำหรับประสิทธิ์อีกเรื่องหนึ่ง เพราะเขาถือว่าเรื่องนี้มันไม่ใช่เรื่องเงินแต่มันเป็นศักดิ์ศรีและหน้าตาของตระกูลณรงค์เดช ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ยังไม่มีบทสรุป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us