เบตง : ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งศูนย์การนำของพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา (CPM)
ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นเมืองในหุบเขาที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจ คนขับแท็กซี่นายหนึ่งชื่อ
กาเดร์ อาหวัง ซึ่งเกิดและโตที่นี่ พูดถึงความแตกต่างของเบตงในทัศนะของเขาว่า
เดิมเมืองนี้ค่อนข้างสกปรก แต่เมื่อไม่มีกี่ปีมานี่เองที่เบตงกลายเป็นเมืองสะอาด
และสงบสุข อาคารใหม่ผุดขึ้นเกือบทุกหนทุกแห่ง นักท่องเที่ยวก็มากขึ้น ทำให้คนท้องถิ่นมีความตื่นตัวทางธุรกิจกันมากขึ้น
"แม้กระทั่ง จีน เป็ง (อดีตผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา) ก็ยังมีข่าวว่าจะทำโรงแรมระดับสี่ดาวที่นี่"
กาเดร์พูดพร้อมกับยักไหล่อย่างไม่ค่อยเชื่อข่าวนั้นเท่าใดนัก
จากเบตงใช้เวลาขับรถประมาณ 15 นาทีก็จะข้ามชายแดนไทย-มาเลเซียไปยังโกร๊ะ
สัญญาณสันติภาพระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา รัฐบาลไทยและรัฐ
บาลมาเลเซียในเดือนธันวาคม 2532 ทำให้โกร๊ะได้รับการปลดปล่อยจากความซบเซาทางธุรกิจ
ความรุ่งเรืองสองฝั่งชายแดนนั้นเกิดขึ้นในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นทางการค้าการท่องเที่ยวหรือการลักลอบขนของหนีภาษี
ด้วยถนนไฮเวย์ที่เชื่อมฝั่งตะวันตกกับตะวันออกของมาเลเซียเมื่อหลายปีก่อน
ทำให้การดินทางระหว่างสองฝั่งร่นเวลาไปได้ถึง 5 ชั่วโมง และด้วยเส้นทางนี้เองที่ทำให้มีการพัฒนามากขึ้นในพื้นที่ทางตอนเหนือของคาบสมุทร
ชาวมาเลเซียจากปีนัง เคดาห์ และเปรัค ปัจจุบันขับรถมาใช้เวลาในวันหยุดสุดสัปดาห์ผ่านโกร๊ะข้ามมายังเบตง
และมีบ้างที่ขับรถป่านเมืองรันตูข้ามแม่น้ำไปยังสุไหงโก-ลก
ไทยนั้นถือได้ว่าเป็นผู้กุมชัยชนะในการที่มีผู้มาเยือนชายแดน เงินมาเลเซียจำวนไม่น้อยที่ถูกใช้ไปในด้านการแสวงหาความสุขตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย
ในขณะที่ทางด้านมาเลเซียเองพยายามที่จะดึงดูดเงินไทยด้วยการตั้งร้านค้าปลอดภาษีขึ้น
ซึ่งพวกเครื่องไฟฟ้าและสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ นั้นเป็นที่นิยมของคนไทยอย่างมาก
ชายแดนไทย-มาเลเซียนั้นเป็นแนวยาวประมาณ 300 กิโลเมตร ซึ่งเมืองชายแดนที่มีกิจกรรมคึกคักอย่างเห็นได้ชัดนั้นก็คือ
ปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส
ปาดังเบซาร์ ซึ่งร้านส่วนใหญ่นั้นดูจะชำนาญการในเรื่องสินค้าที่ลักลอบข้ามแดน
โดยปาดังเบซาร์นั้นถูกแยกออกจากไทยด้วยกำแพงคอนกรีตสองชั้น ด้านหนึ่งนั้นสร้างโดยไทย
อีกด้านหนึ่งสร้างโดยมาเลเซีย ระหว่างกำแพงทั้งสองนั้นเองที่เรียกกันว่า
NO MAN'S LAND
ซึ่งบริเวณโน แมน'ส แลนด์ โดยร้านทั้ง 132 ร้านนี้จะถูกย้ายออกไป และกำแพงที่ทางมาเลเซียสร้างขึ้นนั้นจะถูกรื้อทิ้ง
จุดตรวจใหม่ของศุลกากรมาเลเซียนั้น จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการมูลค่าหลายล้านเหรียญมาเลย์เกี่ยวข้องทั้งทางการรถไฟมาลายัน
ศุลกากรและกองตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่การรถไฟมาลายันผู้หนึ่งกล่าวว่าโครงการที่ททางการรถไฟมาลายันรับเข้าดำเนินการนั้นมูลค่าประมาณ
19.6 ล้านเหรียญมาเลย์ โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ช่วงตอนด้วยกันและจะเสร็จสมบูรณ์ประมาณปลายปีหน้า
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า
พื้นที่ใช้ในการปฏิบัติงานแต่เดิม 6,9000 ตารางเมตรจะเพิ่มขึ้นเป็น 43,200
ตารางเมตร ซึ่งที่สถานีรถไฟปาดังเบซาร์ในขณะนี้นั้นมีเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายไทยและมาเลเซียร่วมกันทำงาน
โดยมีฝ่ายมาเลเซีย 25 คน และฝ่ายไทย 10 คน
"ความสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ของทั้งสองประเทศนั้นเป็นไปด้วยดี"
เจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งกล่าว
อีกส่วนหนึ่งของโครงการในปาดังเบซาร์นั้นเกี่ยวพันถึงการก่อสร้างอาคารสำหรับศุลกากรและกองตรวจคนเข้าเมือง
สำหรับร้านทั้ง 132 ร้านนั้นจะถูกย้ายไปรวมกันอยู่ในศูนย์การค้าใกล้เคียงกันนั่นเอง
ซึ่งเท่าที่ได้ยินมานั้นพวกร้านค้าเหล่านี้ไม่กระตือรือร้นที่จะย้ายออกไป
ทั้งนี้เนื่องมาจากผลประโยชน์ในเรื่องการค้าของลักลอบข้ามมายังฝั่งไทย
"ถึงจะทำให้บริเวณ โน แมน' ส แลนด์ หายไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้การลักลอบขนของเถื่อนจะหมดไปด้วยการย้ายร้านทั้ง
132 ร้านออกไป" เจ้าของร้านหนึ่งในจำนวนนั้นผู้ไม่ประสงค์ออกนามกล่าว
ซึ่งเขาอาจจะถูกก็ได้ แต่การที่ท้ายที่สุดไม่ปรากฏใน แมน' แลนด์ อีกต่อไปนั้น
เป็นการถอนตัวปัญหาที่สร้างความตึงเครียดระหว่างสองประเทศออกไป และโครงการของการรถไฟมาลายันนั้นถูกคาดหวังว่าจะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจของชายแดนทั้งสองประเทศ
เปงกาลัน กูบูร์ ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำโก-ลก เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่การพัฒนาเข้าไปถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว
เฟอร์รี่ใหม่-เสรี ตันจุง-มูลค่า 1.2 ล้านเหรียญมาเลย์ วิ่งระหว่างเปงกาลัน
กูบูรณ์กับตากใบตั้งเดือนสิงหาคม ปีกลาย โครงการลงทุนอื่น ๆ ก็ได้แก่ การสร้างท่าเทียบเฟอร์รี่แห่งใหม่
อาคารของกองตรวจคนเข้าเมือง ประภาคาร และเขตปลอดภาษี ซึ่งมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นมากกว่า
17 ล้านเหรียญมาเลย์ เขตปลอดภาษีนั้นมีร้านทั้งสิ้น 60 ร้านด้วยกันและเป็นที่นิยมของทั้งคนไทยและคนมาเลเซีย
อีกโครงการหนึ่งซึ่งถูกวางแผนไว้แล้วนั่นก็คือโครงการก่อสร้างเขื่อนกั้นคลื่น
2 เขื่อน ที่บริเวณปากแม่น้ำโก-ลกเขื่อนกั้นคลื่นนี้จะกว้าง 1.2 กิโลเมตรและสูง
5 เมตร ประเมินว่าประมาณ 40 ล้านเหรียญมาเลย์ โครงการนี้วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันน้ำท่วม
และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินเรือและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โครงการนี้คาดว่าจะเป็นโครงการร่วมระหว่างไทยและมาเลเซีย
แม้จะมีการประกาศในเดือนสิงหาคมปี 2532 ว่าโครงการนี้พับไปก็ตาม เป็นที่น่าเสียใจว่าไม่มีใครสักคนที่ตากใบและเปงกาลัน
กูบูร์จะรู้ถึงฐานะของโครงการนี้
ข่าวที่เป็นที่รับรู้กันนั้นกลายเป็นเรื่องการสร้างกำแพงคอนกรีตความยาว
104 กิโลเมตร ขึ้นที่บริเวณชายแดนระห่างกลันตันกับไทย ด้วยเหตุผลที่ว่าเพื่อป้องกัน
"การลักลอบค้าของเถื่อน" ตลอดแนวชายแดน กลันตันเป็นเพียงรัฐเดียวที่ไม่มีกำแพงคอนกรีตที่กั้นพรมแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย
เนื่องจากมีแม่น้ำโก-ลกเป็นแนวพรมแดนธรรมชาติอยู่แล้ว
กำแพงที่เป็นแนวรั้วเพื่อความมั่นคงปัจจุบันนั้นมีอยู่แล้วจากปาดังเบซาร์ถึงจังโหลน
ในรัฐเคดาห์ และตลอดแนวรัฐเปรัคกับไทย ทางเจ้าหน้าที่ของรัฐกลันตันกำลังสำรวจหาแนวที่ตั้งรั้วภายในปีนี้
ซึ่งยังไม่อาจทราบได้ว่าค่าก่อสร้างจะสูงเท่าใด ก่อนหน้านี้มีข่าวว่าจะมีการสร้างรั้วแบบนี้ขึ้นเหมือนกันแต่ไม่สามารถสร้างได้เพราะขาดงบประมาณ
การตัดสินใจสร้างรั้วคอนกรีตขึ้นนี้เกิดขึ้นหนึ่งเดือนให้หลัง จากการที่เจ้าหน้าที่
8 นายของหน่วยป่าไม้กลันตันถูกจับในข้อหาข้ามมาตัดไม้ในไทย ซึ่งกรณีดังกล่าวนั้นสร้างความตึงเครียดให้กับประเทศเพื่อนบ้านทั้งสองไม่น้อย