75 ปี เครือเจริญโภคภัณฑ์
บุ ก เ บิ ก
2464 เจี่ยเอ็กชอ เดินทางเข้ามาเมืองไทย ตั้งร้าน "เจียไต๋จึง"
จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผัก โดยนำเข้ามาจากจีนแผ่นดินใหญ่
จากช่วงนั้นมากิจการการค้าก็ไม่ราบรื่น และอยู่ในภาวะหยุดนิ่งกว่า 30 ปีจึงจะเริ่มต้นพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง
ทั้งนี้เนื่องมาจากโลกอยู่ในภาวะไม่ปกติ
สงครามโลกครั้งที่ 1 (2457-2461)
2460 ปฏิวัติรัสเชีย ส่งผลกระทบต่อจีน ทำให้เกิดและเติบโตของพรรคคอมมิวนิสต์ในจีน
ภายใต้สถานการณ์สงครามต่อต้านญี่ปุ่นและปัญหาความยากลำบากทางเศรษฐกิจในจีนแผ่นดินใหญ่
2472 ตลาดหุ้นวอลล์สตรีท สหรัฐฯ ตกต่ำอย่างรุนแรงส่งผลทั่วโลก เมืองไทยได้รับผลกระทบด้วย
ธุรกิจค้าขายส่งออกของชาวจีนล้มละลายจำนวนมาก
2475 เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร เป็นจุดเริ่มต้นของความไม่มั่นคงทางการเมืองในประเทศไทย
ระยะยาวนานทีเดียว
2482-88 สงครามโลกครั้งที่สอง
2492 พรรคคอมมิวนิสต์จีน เข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่
2493 สงครามเกาหลีระเบิดขึ้น ทำให้สินค้าโภคภัณฑ์ ประเทศไทยเป็นที่ต้องการในตลาดโลกมากขึ้น
ซึ่งถือเป็นยุคที่เศรษฐกิจกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง
ก่ อ ตั้ ง
2496 ร้านเจริญโภคภัณฑ์ เกิดขึ้น จำหน่ายเมล็ดพันธ์พืช ปุ๋ยยาปราบศัตรูพืช
อาหารสัตว์ โดยการนำเข้าจากฮ่องกง ขณะเดียวกันก็ส่งออกสินค้าเกษตรต่างๆ ตามสถานการณ์
รวมทั้งไก่ หมู ไปยังตลาดฮ่องกง
ช่วงเวลานั้นกลุ่มชาวจีนในไทยเริ่มเปิดศักราชของการก่อตั้งกิจการต่างๆ
มากมาย โดยเฉพาะกิจการธนาคาร ในระยะแรกร่วมมือกับผู้มีอำนาจในระยะสั้น ต่อมาก็ถือเป็นยุคเริ่มต้นของการเติบโตยุคใหม่ของธุรกิจครอบครัวชาวจีนในไทยอย่างแท้จริง
ในช่วงช่องว่างที่ธุรกิจตะวันตกประสบปัญหาจากสงครามที่ยาวนานช่วงนั้น ทำให้ถอนตัวจากประเทศไทย
2496 ชิน โสภณพนิช เข้าบริหารธนาคารกรุงเทพ
2496 เทียม โชควัฒนา พัฒนาร้านค้าสินค้าอุปโภคบริโภค "เฮียบเซ่งเชียง"
แบบเก่า มาเป็นสหพัฒนพิบูล
2499 เตียง จิราธิวัฒน์ เริ่มต้นเปิดห้างเซ็นทรัลแห่งแรกที่วังบูรพา ซึ่งถือเป็นต้นแบบห้างสรรพสินค้าในไทย
2500 สุกรี โพธิรัตนังกูร แห่งกลุ่มทีบีไอ เริ่มต้นอุตสาหกรรมสิ่งทอด้วยการเช่าโรงงานของทหาร
2502 สภาพัฒน์ ก่อตั้งขึ้นจากคำแนะนำและช่วยเหลือของธนาคารโลก พร้อมๆ กับบีโอไอ
ตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของไทย อันเป็นช่วงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของธนาคารโลกในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
และการช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐฯ มีมากขึ้น
2503 กฎหมายส่งเสริมการลงทุนประกาศใช้
2502 ตั้งกิจการเจริญโภคภัณฑ์ ขึ้นที่ฮ่องกง เป็นเครือข่าย ส่งออกสินค้าเกษตรจากประเทศไทย
ไปยังฮ่องกง, จีน และสิงคโปร์
2504-5 ธนินท์ เจียรวนนท์ เข้าบริหารแผนกค้าสัตว์ปีกของบริษัทสหสามัคคีค้าสัตว์
ซึ่งดำเนินกิจการผูกขาดการค้า ชำแหละ ส่งออกสุกร ในเขตกรุงเทพฯ และธนบุรี
และต่อมาก็สัตว์ปีก ธนินท์เข้าไปในช่วงที่สำคัญมากของสามัคคีค้าสัตว์ ในการพัฒนาการผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย
ซึ่งมีส่วนกระตุ้นการเลี้ยงสุกรและไก่อย่างการค้าเพิ่มขึ้นในวงกว้าง ขณะเดียวกันก็เป็นข้อต่อของนโยบายของรัฐที่จะลดการผูกขาดเหล่านี้ลง (รายงานบางชิ้นระบุ
เพราะเงินช่วยเหลือจากสหรัฐฯ มาสู่รัฐบาลไทย พร้อมกับคำแนะนำให้รัฐลดการผูกขาดโดยเปิดเสรีให้เอกชนทำมากขึ้น)
2506 ธนินท์ เจียรวนนท์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปของเจริญโภคภัณฑ์
2506 ตั้งโรงงานอาหารสัตว์ ซึ่งถือเป็นการเข้าสู่ภาคการผลิตอย่างจริงจังครั้งแรกของซีพี
และถือเป็นโรงงานอาหารสัตว์แห่งแรกในประเทศไทย นับเป็นจังหวะที่เหมาะมากในการรุกเข้าสู่ธุรกิจใหม่
2510 กลุ่มห่งเอี๊ยะเซ้ง ตั้งโรงงานอาหารสัตว์เบทราโก ซึ่งถือเป็นการเข้าสู่วงการแข่งขันกับซีพีโดยตรง
2516 กลุ่มแหลมทองสหการ ตั้งโรงงานอาหารสัตว์ครั้งแรก เป็นคู่แข่งอีกรายที่เริ่มต้นในช่วงนี้ในการเข้าสู่การแข่งขัน
ในขณะที่ซีพีตั้งโรงงานอาหารสัตว์แห่งที่สอง ถือว่าเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
ในปีเดียวกันนั้น
V e r t i c a l I n t e g r a t i o n
2512 ซีพีทดลองเลี้ยงไก่พันธ์ใหม่ Arber Acres จากสหรัฐฯ
2514 ตั้งบริษัทอาร์เบอร์ เอเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมทุนกับเจ้าของเทคโนโลยีพันธ์ไก่
และการจัดการการเลี้ยงไก่สมัยใหม่
2517 เปิดโครงการ Contract Farming เป็นความร่วมมือครั้งแรกระหว่างผู้เลี้ยงไก่ทั่วไปกับซีพี
ในการพัฒนาการเลี้ยงไก่ให้ทันสมัยมากขึ้น โดยซีพีรับประกันการซื้อ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า
ในช่วงนั้นถือกระแสการลงทุนจากตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ เข้ามาลงทุนโดยตรงในเมืองไทย
โดยมองว่าแปซิฟิกริมเป็นย่านความเจริญใหม่ทางเศรษฐกิจ ทั้งกลุ่มที่เคยมาลงทุนก่อนสงครามโลกครั้งที่สองก็หวนกลับมา
ก่อนหน้านี้ก็ขยายการลงทุนมากขึ้น เช่น IBM, Royal Dutch, Shell, Caltex,
Philips เป็นต้น
นอกจากนี้ก็คือกิจการใหญ่ในตะวันตกเริ่มเข้ามาลงทุนครั้งแรกเป็นระลอก เช่น
2511 ฟิล์ม Kodak ยางรถยนต์ Good year บริษัทยาและเคมีภัณฑ์ Monsanto เข้ามาตั้งกิจการของตนเองในเมืองไทย
2513 บริษัทผลิตอาหาร CPC เจ้าของสินค้าตรา bestfoods และ knor เข้ามาตั้งโรงงานที่เมืองไทย
2515 บริษัทกางเกงยีนส์ Levi's เข้ามาตั้งโรงงานผลิตในเมืองไทย
บางส่วนก็ร่วมมือกับนักธุรกิจท้องถิ่น โดยเฉพาะนักลงทุนจากญี่ปุ่น
2515 สยามกลการเริ่มลงทุนร่วมกับญี่ปุ่น (นิสสัน) ในหลายกิจการในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์
หลังจากเป็นผู้แทนจำหน่ายรถยนต์มาแล้วประมาณ 10 ปี เช่นเดียวกับกลุ่มทีบีไอของสุกรี
โพธิรัตนังกูร ก็ร่วมทุนกับญี่ปุ่น ผลิตวัตถุดิบพื้นฐานในการผลิตสิ่งทอซึ่งถือเป็นการขยายตัวในแนวดิ่งทางธุรกิจ
จากระยะก่อนหน้าเมื่อ 15 ปีที่แล้วได้ร่วมทุนการทอผ้าเท่านั้น
ข ย า ย ตั ว สู่ ภู มิ ภ า ค
2514 เริ่มกิจการนำเข้าอาหารสัตว์ที่ไต้หวัน จากนั้นนอีก 4 ปีก็ตั้งโรงงานอาหารสัตว์ขึ้น
ต่อมาก็ร่วมทุน Arbor Acres ตั้งกิจการขยายพันธุ์ไก่ และพัฒนาการเลี้ยงไก่ครบวงจร
2515 ตั้งโรงงานอาหารสัตว์ที่ อินโดนีเชีย จากนั้นอีก 2 ปีก็ตั้งกิจการผลิตและจำหน่ายพันธุ์ไก่
ต่อมาก็ร่วมทุนกับ Dekarb Agresearch (USA) ตั้งกิจการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสม
(2527)
2516 เริ่มตั้งการลงทุน (Holding Company)ที่ ฮ่องกง จากนั้นโรงงานอาหารสัตว์ที่ฮ่องกง
(ปี 2517) จากนั้นก็เพิ่มบทบาทเป็นศูนย์การเงินและการลงทุนด้วยการเปิดกิจการการเงิน
และประกันภัยขึ้น (2519)
2517 เริ่มกิจการเสี้ยงสัตวปีกที่มาเลเซีย ต่อมาอีก 5 ปีก็ร่วมทุนกับรัฐบาลตั้งโรงงานอาหารสัตว์
2518 เปิดกิจการตัวแทนการค้า และการลงทุนที่สหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นกิจการไทยแรกๆ
ที่เข้าถึงแหล่งเงินทุนในตลาดเงินนิวยอร์ก
2519 ตั้งโรงงานอาหารสัตว์ที่สิงคโปร์
ในช่วงนั้นธุรกิจใหญ่ของไทยไม่มีการเคลื่อนไหวในต่างประเทศอย่างจริงจังเลย
มีเพียงระยะก่อนหน้าธนาคารกรุงเทพโดยชิน โสภณพนิช (2501-2507) เนื่องด้วยปัญหาทางการเมือง
เขาจึงต้องไปปักหลักที่ฮ่องกง ทำให้เขาและธนาคารกรุงเทพมีความสัมพันธ์อันดีกับนักลงทุนระดับภูมิภาคเช่น
Robert Kwok แห่งมาเลเซีย Leim Sioe Liong แห่งอินโดนีเซีย และ Ng Teng Fong
แห่งฮ่องกง ชิน โสภณพนิช ได้เปิดกิจการครอบครัวของตนเองขึ้นที่ฮ่องกงเป็นส่วนใหญ่
โดยมุ่งไปที่กิจการการเงินและธนาคาร สำหรับธนาคารกรุงเทพก็เปิดสาขาในย่านนั้นหลายสาขาในช่วงเวลานั้น
2514 ธนาคารกรุงเทพเปิดสาขาที่นิวยอร์ก สหรัฐฯ อีก 2-3 ปีต่อมา ธนาคารกสิกรไทยจึงเปิดสาขาที่นั่นบ้าง
ซึ่งถือเป็นช่วงใกล้เคียงกับที่ซีพีเปิดกิจการตัวแทนขึ้นที่นิวยอร์ก
2514 วิกฤติการณ์น้ำมันโลกกระทบถึงไทย ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าไทยสูงขึ้น
รัฐบาลในช่วงนั้นต้องลดค่าเงินบาท
2516 เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม นักศึกษาเป็นผู้นำเคลื่อนไหวขับไล่ ถนอม-ประภาส
บรรยากาศประชาธิปไตยเกิดขึ้น มีขบวนการต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น และการเผยแพร่เอกสารวิจารณ์การผูกขาดของธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศไทย
2518 สงครามเวียดนามจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์ หลังจากนั้นการปกครองของลาวและกัมพูชา ก็ตกอยู่กับฝ่ายคอมมิวนิสต์
2519 เกิดเหตุการณ์นองเลือดในประเทศไทยเมื่อ 6 ตุลาคม เมื่อทางการทำร้ายนักศึกษา
ทำให้นักศึกษาส่วนหนึ่ง (นับหมื่นคน) เดินทางเข้าร่วมกับขบวนการคอมมิวนิสต์ในป่า
ทำให้การต่อสู้ระหว่างคอมมิวนิสต์และทางการไทยในเขตชนบทรุนแรงขึ้นตามลำดับ
สู่ แ ผ่ น ดิ น ใ ห ญ่
2522 ซีพีเข้าสู่ประเทศจีนอย่างจริงจัง โดยเริ่มด้วยโครงการเกษตรครบวงจร
ตามมณฑลสำคัญๆ ต่างๆ เป็นการยก "โมเดลธุรกิจ" ที่ประสบความสำเร็จอย่างดีในภูมิภาคไปใช้
และขยายตัวอย่างรวดเร็วในจีนแผ่นดินใหญ่ โดยใช้เวลาประมาณ 5 ปี ก็ขยายกิจการในลักษณะมีมาร์เก็ตแชร์ที่สูงในแผ่นดินใหญ่
ช่วงเวลาดังกล่าวซีพีมุ่งให้ความสำคัญในจีนแผ่นดินใหญ่ค่อนข้างมาก
ในเวลาเดียวกันก็ขยายกิจการไปยุโรปเป็นครั้งแรก เพื่อมุ่งเข้าสู่ตลาดยุโรปที่มีกำแพงการค้าหนาแน่น
2528 ตั้งโรงงานอาหารสัตว์ที่โปรตุเกสและตุรกี
2518 รัฐบาลม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เปิดความสัมพันธ์กับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน
2521 จัดตั้งคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทย-จีน
2521 เติ้งเสี่ยวผิง ขึ้นเป็นผู้นำของจีนแผ่นดินใหญ่ และประกาศนโยบายปฏิรูปทางเศรษฐกิจ
2522 เกิดวิกฤติการณ์ตลาดหุ้นในฮ่องกงและส่งผลกระทบไปทั่วภูมิภาค รวมทั้งตลาดหุ้นไทยด้วย
แ ส ว ง โ อ ก า ส ใ ห ม่
ขั้นที่ 1 เข้าตลาดหุ้น
2527 บริษัทแรก-กิจการการเกษตรครบวงจรได้จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยและจากนั้นในปี
2530 อีก 2 บริษัท หนึ่งในนั้นก็คือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) บริษัทหลักของกลุ่มอาหารในปัจจุบัน
และปี 2531 บริษัทที่ 4 ก็จดทะเบียน ทั้ง 4 บริษัทมีธุรกิจเหมือนกัน จะแตกต่างกันที่คุมพื้นที่ต่างกัน
การถือหุ้นก็ไขว้กันไปมาตามสไตล์คนเอเชีย ทำให้ราคาหุ้นของทั้งกลุ่ม เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2530 CP (Taiwan) เข้าตลาดหุ้นไต้หวัน
2531 CP.Pokpand กิจการลงทุนในจีนแผ่นดินใหญ่ ก็จดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง
และต่อมาอีก 2 ปีก็จดทะเบียนในตลาดหุ้นลอนดอน
นับเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของธุรกิจไทยที่ไม่มีใครทำมาก่อน โดยอาศัยตลาดเงินที่กว้างขวาง
เพื่อรองรับการขยายกิจการที่ต่อเนื่องเพื่อต้องการมาร์เก็ตแชร์ค่อนข้างมาก
ตามลักษณะธุรกิจของซีพี ขณะเดียวก็ถือเป็นการผ่องถ่ายสินทรัพย์ครั้งใหญ่ของตระกูลเจียรวนนท์
เพื่อเตรียมเงินลงทุนในกิจการใหม่ที่มีโอกาสมากขึ้น
"การตัดสินใจเข้าตลาดหลักทรัพย์ก็เพื่อที่จะได้แหล่งสนับสนุนเงินทุนสำหรับโครงการที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม
และเพื่อไม่ให้เจ้าของกิจการต้องมีภาระรับผิดชอบในลักษณะส่วนบุคคลเกี่ยวกับหนี้สินที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก"
(วีรวัฒน์ กาญจนดุล รองผู้จัดการใหญ่อาวุโสซีพี กล่าวไว้ในกรณีศึกษาของ Harvard
ปี 2535)
2 ลงทุนในกิจการใหม่ๆ
นับเป็นครั้งแรกที่ซีพีเริ่มสนใจลงทุนในกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแกนมาก่อน
โดยเฉพาะในประเทศไทย ทั้งนี้เนื่องมาจากบทเรียนความสำเร็จในการร่วมทุนกับรัฐบาลจีนในการผลิตมอเตอร์ไซค์ในปี
2528 ทำให้ซีพีมั่นใจการลงทุนใหม่ๆ มากขึ้น และก็ถือเป็นบทเรียนครั้งแรก
ที่ซีพีลงทุนด้วยการถือหุ้นข้างน้อยด้วย ดังนั้นการลงทุนจากโอกาสที่กว้างขึ้น
จึงมีทั้งการถือหุ้นข้างน้อย และกิจการหลักๆ ที่มุ่งไปด้วยการถือหุ้นใหญ่
และเป็นผู้บริหารโดยตรง
2531 ร่วมทุนกับยุโรปในการเข้าสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและธุรกิจค้าส่ง ด้วยการถือหุ้นข้างน้อยและไม่มีส่วนในการบริหารโดยตรง
นั่นคือ วีนิไทย และสยามแม็คโคร
2531 ซื้อแฟรนไชส์ค้าปลีก 7-Eleven จากสหรัฐฯ มาบริหารเองทั้งในเมืองไทยและต่อมาขยายสู่จีนแผ่นดินใหญ่
2533 ร่วมทุนกับ Bell Atlantic ตั้งบริษัทเทเลคอมเอเซีย เข้ารับสัมปทานดำเนินธุรกิจบริการโทรศัพท์พื้นฐาน
2 ล้านเลขหมายในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งซีพีมีความมุ่งมั่นในธุรกิจนี้มาก เข้าถือหุ้นใหญ่
ลงทุนขนาดใหญ่ และเป็นผู้บริหารโดยตรง
กิจการที่ยกมาข้างต้น เป็นเพียงกิจการหลักเท่านั้น ยังมีกิจการอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้กล่าวถึง
และความต้องการขยายตัวด้วยการลงทุนขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง นับเป็นยุคการลงทุนในกิจการใหม่ที่มีอิสระของกิจการเอง
ลงทุนขนาดใหญ่มากกว่ากิจการอาหารในอดีตทั้งหมด นี่คือแนวทางใหม่ ที่เป็นภาระหนักของซีพีในเวลาต่อมา
2527 รัฐบาลลดค่าเงินบาท รวมทั้งประกาศนโยบายใหม่ให้เงินบาทผูกกับดอลลาร์สหรัฐน้อยลง
มาผูกกับ "ระบบตะกร้า" ซึ่งเป็นสัญญาณว่าไทยกำลังหันเหยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้ามาสู่การส่งออกมากขึ้น
2529 บีโอไอ ประกาศนโยบายให้ต่างชาติถือหุ้นในกิจการส่งออกทั้งหมดได้ 100%
2531 อัตราการเจริญเติบโตเศรษฐกิจไทย (GNP) ทะยานขึ้นเป็นประวัติการณ์ถึง
13.2%
2533 ดัชนีตลาดหุ้นไทยทะยานขึ้นมาตั้งปี 2531 และทะลุ 1,000 จุดในปีนี้
เป็นปีที่มีบริษัทจดทะเบียนถึง 214 บริษัท มูลค่าการซื้อขายต่อวันโดยเฉลี่ย
2,500 ล้านบาท
2536 ดัชนีตลาดหุ้นไทยพุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์กว่า 1,500 จุดในขณะที่มีบริษัทจดทะเบียนมากที่สุดถึง
347 บริษัท มูลค่าการซื้อขายต่อวันมากถึงประมาณ 9,000 ล้านบาท จากนั้นมาตลาดหุ้นก็ตกต่ำลงมาตลอด
ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤติ
ป รั บ ค ว า ม คิ ด ใ ห ม่
ช่วงปี 2530-40 อุตสาหกรรมส่งออกของไทยเช่น สิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์การเกษตรอื่นนๆ
สูญเสียความสามารถในการแข่งขันเนื่องจากอัตราค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้น การขึ้นค่าเงินบาทของไทยเพื่อสู้เงินเยนญี่ปุ่น
ตลอดจนการแข่งขันเพื่อมุ่งสู่ตลาดโลกกับอินโดนีเซียและจีน แม้ว่าซีพีได้พยายามที่จะเปลี่ยนจากการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าต่ำ
มาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น (เช่น ปี 2529 ร่วมทุนกับ Oscar Meyer
ผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปชั้นนำของอเมริกา) แต่ก็เป็นการยากที่ไทยจะรักษาความสามารถในการแข่งขันในระดับสากลไว้ให้เหมือนแต่ก่อนได้
2540 รัฐบาลประกาศระบบแลกเปลี่ยนเงินบาทเป็นระบบลอยตัว ทำให้เงินบาทตกต่ำอย่างรุนแรง
ตามด้วยการปิดกิจการสถาบันการเงินและธนาคาร ธุรกิจทั่วไปประสบปัญหาอย่างหนัก
นับเป็นครั้งแรกที่ปัญหาเศรษฐกิจส่งผลกระทบไปในระดับภูมิภาค นับเป็นวิกฤติการณ์ที่รุนแรงที่สุดช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย
ซีพีได้ค้นพบตัวเองว่ากลุ่มสินค้าอาหาร ธุรกิจที่เป็นความชำนาญดั้งเดิมที่มีอำนาจต่อตลาดมากที่สุด มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยน
ขณะเดียวกันธุรกิจขนาดใหญ่ที่เพิ่งลงทุนและยังไม่ได้เก็บผลเป็นส่วนใหญ่ มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย
นี่คือที่มาของการปรับความคิดครั้งใหญ่