Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2534
"เจ๊เกี๊ยะ" - "เฮียซู้" กับของเถื่อนข้ามแดนไทย-มาเลย์ : ใครใคร่ค้า - ค้า             
โดย รุ่งอรุณ สุริยามณี
 

   
related stories

การเปลี่ยนแปลงที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย
ขบวนการค้าของเถื่อน : ฝ่าปาดังเบซาร์

   
search resources

สุวิทย์ แซ่ตึ้ง
คนึงนิจ ฉายารจิตพงศ์
Auditor and Taxation




บัญชีดำของนักค้าของเถื่อนไทย-มาเลย์นั้นมีอยู่ด้วยกันเป็นจำนวนหลายสิบชื่อทั่วทุกจังหวัดสำหรับรายใหญ่ และมีเป็นจำนวนนับร้อยนับพันสำหรับรายเล็กรายน้อย ตลอดแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ไม่ว่าจะเป็นด้านปาดังเบซาร์ สะเดา ลังกาวี เบตงหรือสุไหงโกลก แต่บัญชีดำก็ยังคงเป็นบัญชีดำ โดยเฉพาะเมื่อแรกเริ่มยุค รสช.นั้น บรรดาฝ่ายตรงขัามของนักค้าเถื่อนออกจะตื่นเต้นดีใจกับการเอาจริงเอาจังในการปราบคนทำผิดกฎหมาย แต่นานวันเข้าทุกอย่างก็ทำท่าเหมือนเดิม ไม่ว่าจะรสชงหรือไม่รสช. และสำหรับบัญชีดำของการค้าของเถื่อน ทางด้านปาดังเบซาร์นั้น 2 ชื่อนี้อยู่ในลำดับต้น ๆ ของบัญชีที่มีชื่อไล่เรียงไม่ต่ำกว่า 10 ชื่อ

"เกี๊ยะ ทุ่งลุง" และ "ซู้ ท่าข่อย"

ซึ่งต่อไปนี้คือคำให้การบางส่วนของเขาและเธอ

ซู้ ทำข่อย
เขาบังคับให้ผมค้า

หัวรุ่งของวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา โกลาหลกันหลายจุดในปาดังเบซาร์ เนื่องมาจากการบุกเข้าทำการกวาดล้าง "เส้นสาย" ของนักค้าของหนีภาษีชายแดนด้านนั้น โดยกำลังร่วมของหน่วยเฉพาะกิจทหารตำรวจ ซึ่งนำโดยพ.ต.ท.ถาวร ภูมิสิงหราช ตามคำสั่งของ พล.ต.ต.อัยรัช เวสสะโกศล รองผู้บัญชาการตำรวจภูธร 4 ฝ่ายกิจการพิเศษ-คนที่มีข่าวลือกัน บรรดานักค้าของเถื่อนทั้งหลายกำลัง "ลงขัน" ให้ถูกย้ายออกจากพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากพล.ต.ต.อัยรัชตั้งหน้าตั้งตาปราบนักค้าของเถื่อนอย่างหนัก

1. ในบรรดาผู้ที่ถูกกระทบในคืนรุกฆาตคืนนั้นคือ "ซู้ ท่าข่อย" นอกเหนือจากนักการเมืองท้องถิ่นที่โดนค้นบ้านพบปืนเถื่อน ซึ่งมีชื่อว่าพัวพันกับขบวนการค้าของเช่นกัน โดยทำหน้าที่คุมสายคุ้มกันขบวนในย่านนั้นทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม ภาพที่ได้ก็ไม่ชัดเจนเหมือนภาพของซู้

"ซู้ หรือ ซู ท่าข่อย" ที่บรรดานักปราบการค้าของหนีภาษีชายแดนไม่มีใครไม่รู้จักนั้นมีชื่อจริงว่า สุวิทย์ แซ่ตึ้ง ชื่อเดิมว่า ซู้ แซ่ตึ้ง เกิดปีมะแม ปัจจุบันอายุ 49 ปี พื้นเพเป็นลูกจีนจากอำเภอปากพยูน จังหวัดพัทลุง ชีวิตกดดันมาตั้งแต่วัยเด็ก ยากจนและรู้สึกว่าตนถูกกดขี่ เรียนหนังสือสูงสุดแค่ชั้นป.3 อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ไม่ว่าภาษีไหนทั้งนั้น แล้วพระเจ้าก็ลิขิตให้ซู้ระเหเร่ร่อนมาจนถึงปาดังเบซาร์

ซู้เริ่มต้นด้วยการรับจ้างทำงานก่อสร้าง และเช่นเดียวกับคนไทยเรือนหมื่นเรือนแสนตามแนวชายแดน ถ้ามีโอกาสก็ต้องหิ้วของข้ามแดน เพราะของอีกฝั่งนั้นมันถูกยั่วใจ เขาถูกจับจากการขนอิทผลัม ผลไม้จากตะวันออกกลางที่ราคาแพงสมัยนั้นเพียง 3 กิโลกรัมด้วยเหตุนั้นทำให้ชีวิตเขาหันมาค้าอย่างเอาจริงจัง ด้วยความที่อยู่ในวัยฉกรรจ์และฤทธิ์ที่ไม่ยอมใคร คนที่รู้จักเขามาไม่ต่ำกว่า 20 ปีบอกว่า

"ไอ้ซู้มันมุทะลุดุดัน สมัยหนุ่ม ๆ ใครพูดไม่ถูกหู มันต่อยเลย"

ซู้นั้นเรียกได้ว่าเป็นคนกว้างขวางอยู่ย่านท่าข่อย เพราะแต่งงานกับสาวแห่งครอบครัวที่คนนับหน้าถือตาของท่าข่อย - พธู และเลือกที่จะกลบฝังตัวเองอยู่ที่นี่

ท่าข่อยในอดีตนั้นถือได้ว่าเป็นพื้นที่สีแดง อยู่ภายใต้การคุ้มครองของโจรจีนคอมมิวนิสต์ ครอบครัวของภรรยาซู้นั้นตั้งรกรากอยู่ที่นี่นาน นานจนมีเสียกล่าวว่าโจรจีนก็ยังนับหน้าถือตา

ช่วงหนึ่งของชีวิตของซู้ ประมารปี 19 มีข่าวว่าเขาเข้าเป็นหัวดจกเข้าปล้นน้ำตาลที่ถูกจับไว้ที่โกดังของศุลกากรปาดังเบซาร์ จนเขาต้องหนีหายไปจากหมู่บ้านนานถึง 7 ปี ยุคนั้นข่าวของทางการปรากฏว่า "ซู้เข้าป่า" แต่เจ้าตัวบอกว่าแค่ระเหเร่ร่อน แต่แล้วก็กลับมามอบตัวสู้คดี-จนชนะ

ถนนลูกรังสายท่าข่อย-คลองรำที่ตัดผ่านหน้าบ้านเลขที่ 83/3 หมู่ที่ 3 ของซู้นั้นขึ้นขื่อว่าเป็นถนนสายสำคัญของนักค้าของหนีภาษี ซึ่งเขาภูมิใตนักว่าถนนนี้เขาสร้างมันมากับมือด้วยการระดมแรงจากชาวบ้านและมันกลายเป็นถนนเศรษฐกิจสายสำคัญ

เขายอมรับเองว่าเมื่อก่อนเขาก็ขนของเถื่อนเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ แต่ภายหลังจากถูกจับเรื่องขนเม็ดพลาสติกและสู้คดีชนะอีกครั้ง นับแต่นั้นเขาก็เริ่มพัฒนาตัวเองมาเสียภาษี เขาถือว่าเขาทำถูกกฎหมายแล้ว แม้ว่าจะมีเสียงว่านั่นคือสิ่งที่นักค้าเขาเรียกว่า "ภาษีหมุนเวียน" คือเสียภาษีบางส่วนและก็ใช้ใบเสียภาษีนั้นเวียนด้วยการร่วมมือของเจ้าหน้าที่รัฐว่าจะให้เวียนได้นานแค่ไหน เวียนนานมากผลกำไรก็มากจากการลงทุนเพียงครั้งเดียว

ซู้ได้รับความร่วมมือในเรื่องนี้อย่างดีทั้งจากนายทุนไทยและนายทุนมาเลย์

ซู้นั้นสนใจไปหมดตั้งแต่เครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องไฟฟ้า จนถึงเม็ดพลาสติก และไม่เพียงเส้นทางปาดังฯ-หาดใหญ่เท่านั้นซู้เดินทางไกลถึงกรุงเทพฯ หรือไกลกว่านั้น ก่อนหน้าถูกค้นบ้านที่ท่าข่อยครั้งนั้น ซู้เพิ่งโดนจับของที่สมุทรปราการเมื่อกลางเดือนมิถุนายน และของที่ถูกจับครั้งนี้เป็นของที่เพิ่งเคลียร์ลงมาได้จากด่านศุลกากรปาดังเบซ่าร์

ไม่ว่าเขาจะหันมาเสียภาษีทำตัวช่วยเหลือสังคม และชุมชนเพียงใดก็ตาม แต่ชื่อของซู้ก็ถูกประทับตราและขึ้นบัญชีดำไว้เรียบร้อยว่าเป็นนักค้าของหนีภาษี บาปนี้ของซู้ดูท่าจะล้างหมดยาก หลายคนที่จับตาดูซู้อยู่เชื่อว่าเขาจะต้องยกระดับขึ้นเป็นนักการเมืองท้องถิ่น แต่ว่าเป็นนักค้าของหนีภาษี บาปนี้ของซู้ดูท่าจะล้างหมดยาก แต่ซู้ปฏิเสธ "ผู้ใหญ่บ้านผมยังไม่ยอมเป็น" แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือซู้คบนักการเมือง หลายคนเรียกถนนหน้าบ้านซู้ว่า "ถนนไตรรงค์" ไตรรงค์ สุวรรณคีรี แห่งพรรคประชาธิปัตย์เคยเป็นส.ส.ในเขตนั้น

ซู้บินกลับจากกรุงเทพฯ ทันทีในคืนวันที่ 13 กรกฎาคม เพื่อประกันตัวภรรยาในวงเงิน 2 แสนบาทและชีวิตหลังจากวันนั้นของซู้คือเทียวไปมาระหว่างบ้านกับสถานีตำรวจตำบลปาดังเบซาร์ พยายามทุกทางที่จะพิสูจน์ให้ได้ว่าของราคาเรือนล้านของเขาที่ส่วนใหญ่เป็นเครื่องเล่นวิทยุและอะไหล่รถยนต์นั้นเสียภาษีถูกต้อง ท่าทางเขาเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า.....เรื่องของซู้ยังไม่จบ

เกี๊ยะ ทุ่งลุง
เขาหาว่าฉันเป็นเจ้าแม่

ในบรรดานักค้าของหนีภาษีบนเส้นทางปาดังเบซาร์ถึงหาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นรายเล้กหรือรายใหญ่ไม่มีใครไม่รู้จัก "เจ๊เกี๊ยะ" โดยเฉพาะบรรดาเจ้าหน้าที่ศุลกากรและตำรวจ แต่ให้ลึกลงไปกว่านั้นคนที่วางรากฐานให้กับเจ๊และโด่งดังยิ่งในอดีตคือ "โกฮิ้น"-บุญสิน ฉายารจิตพงศ์ สามีของเจ๊เกี๊ยะนั่นเอง

โกฮิ้นและเจ๊เกี๊ยะถือได้ว่าเป็นยุคบุคเบิกของการค้าของเถื่อนทางชายแดน่ด้านนี้อย่างเป็นล่ำเป็นสันก็ว่าได้ แต่ระยะหลังโกฮิ้นวางมือเพราะเบื่อหน่ายกับการเล่น "โปลิศจับขโมย" มาครึ่งค่อนชีวิต และปล่อยให้ศรีภรรยาเดินเครื่องแทน

เจ๊เกี๊ยะหรือคนึงกิจ ฉายารจิตพงศ์ เป็นคนชุมพรก่อนที่จะมาตั้งรกรากอยู่ที่สงขลาและแต่งงานกับฮิ้น ปัจจุบันอายุ 48 ปีและเกือบครึ่งชีวิตของเธอนั้น พัวพันอยู่กับการค้าของหนีภาษีกิตติศัพท์เกี่ยวกับเจ๊เกี๊ยะในทัศนะของนักปราบการค้าของเถื่อน ระบุว่าเธอเป็นรายใหญ่ทีมีส่วนแบ่งในตลาดหาดใหญ่ถึง 30% และ "ภาพ" ของเธอที่บอกเล่าต่อ ๆ กันมานั้นคือภาพของเจ้าแม่นักค้าของเถื่อนที่ดุร้าย

แต่ภาพที่ "ผู้จัดการ" ได้เห็นนั้นเป็นภาพของแม่บ้านที่ออกจะแต่งตัวจัดกว่าคนอื่น ๆ ในย่านเดียวกัน แต่เธอพูดน้อยแม้ว่าคนใกล้ชิดจะออกปากว่า "ไอ้นี่ปากร้าย" แต่เธอก็ขึ้นชื่อว่าเป็นคนใจถึงรักพวกรักพ้อง ใครเป็น "เด็ก" ของเธอ ๆ จะดูแลอย่างถึงที่สุด จากจุดนี้นี่เองอาจกล่าวได้ว่าเจ๊เกี๊ยะคือภาพ "นางมารร้าย" ในสายตาของนักปราบค้าของเถื่อนจำนวนหนึ่ง เพราะในการปราบปรามาบางครั้งสถานการณ์ได้พัดพาไปจนเกิดโศกนาฎกรรมขึ้น คือเกิดการสูญเสียถึงขั้นชีวิตของศุลกากร แม้ว่าทางนักค้าอ้างว่าไม่ต้องการให้สถานการณ์เลวร้านถึงขั้นนั้น แต่สถานการณ์ก็ไม่อาจหยุดยั้งได้ เมื่อมีการสูญเสียเจ้าหน้าที่ของรัฐ มันก็ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยอีกต่อไปและไม่จำกัดวงแค่ปัญหาอาชญากรรมทางเศรษฐกิจเท่านั้น มันกลายเป็นเรื่องฆาตกรรมหรือพยายาม"า....สิ่งเหล่านี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนปราบกับคนถูกปราบนับวันมีแต่จะร้อนแรงขึ้น

แม้จะไม่รู้จุดจบจะอยู่ที่ตรงไหน

เจ๊เกี๊ยะบอกว่าใจจริงนั้นอยากวางมือเช่นเดียวกับสามีแต่ภาะจำเป็นมันบังคับโดยเฉพาะลูกยังเรียนหนังสืออยู่ ครอบครัวนี้มีลูก 5 คน มีอีกบางคนที่เล็ก นี่คือเหตุผลที่ทำให้เจ๊เกี๊ยะเธอเลยวางมือยังไม่ได้ แถมคนที่อยู่เป็นมือเป็นเท้าให้กับเธอเล่าจะทอดทิ้งไปเฉย ๆ ได้อย่างไร คนกลุ่มนี้มีเป็นเรือนร้อยบนเส้นทางค้าปาดังฯ-หาดใหญ่ แม้ในช่วงที่มีการปราบหนักและการค้าด้านนี้ซบเซา แต่ก็ยังมีคนจำนวนหนึ่งที่เดินหน้ามาของานด้านนี้ทำ บ้างก็เคยเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาก่อน

"พวกเขาชอบหาว่าฉันเป็นเจ้าแม่" เธอบ่นแต่หน้าฉาบยิ้ม

ครอบครัวฉายารจิตพงศ์นั้นถือได้ว่าพื้นเพเป็นคนมีอันจะกินของทุ่งลุง-เขตรอบนอกของอำเภอหาดใหญ่ มีทั้งที่ดินและสวนซึ่งเป็นมรดาตกทอดมิใช่ได้มาด้วยการค้าของเหล่านี้ ซึ่งแม้ไม่ประกอบอาชีพเช่นนี้เป็นอยู่นี้ก็ไม่อาจเรียกได้ว่าไม่มีกิน แต่เมื่อก้าวล่วงเข้าสู่กลไกนี้เสียแล้วก็ยากที่จะสลัดหลุด หลายครั้งที่เคยคิดหนีไปประกอบธุรกิจอื่น แต่ความที่ธรรมชาติที่นี่คือเมืองชายแดนที่สินค้าหนีภาษีทะลักเข้ามาเหมือนสายน้ำไร้เขื่อน ธุรกิจใดในขอบเขตปริมณฑลนี้ก็อยากที่จะพ้นในเรื่องนี้ไปได้ ท้ายที่สุดก็เข้าตำรวจว่าหนีไม่พ้นยิ่งดิ้นรนยิ่งผูกมัด

เส้นทางการค้าของเจ๊เกี๊ยะนั้นเคยยาวถึงกรุงเทพเช่นกัน ในทุกเส้นทาง รวมทั้งการขนทาเรือขึ้นที่ประจวบคีรีขันธ์หรือชลบุรี โดยเฉพาะสมัยที่โกฮิ้นผู้สามียังคงเอาการเอางานในเรื่องนี้อยู่ แต่ปัจจุบันก็หดสั้นเหลือเพียงแต่ชายแดนถึงหาดใหญ่ เพราะ "สู้ค่าใช้จ่ายบนเส้นทาง" ไม่ไหวและเคยทำแบบปะปนแบบ "วัดครึ่งหนึ่งกรรมการครึ่งหนึ่ง" แบบที่ซู้กำลังเดินอยู่ขณะนี้เหมือนกัน แต่ก็สู้ไม่ไหวอีกนั่นแหละ เพราะโดนจับครั้งหนึ่งเสียหายมาก ท้ายที่สุดก็เดินหน้าแบบดิบ ๆ นี้เป็นดีที่สุด

กลางเดือนกรกฎาคมปีนี้ถือเป็น "ระยะพักร้อน" ของเจ๊เกี๊ยะและพวกด้วยความอนุเคราะห์ของหน่วยเฉพาะกิจที่ลุกขึ้นมาเอาจริงเอาจัง

แต่ไม่ว่าประโยคต่อไปนี้ใครจะคิดอย่างไร แต่มันออกจากปากของเธอเองว่า....

"ฉันอยากเลิก"

แต่ก็คงไม่ต่างจากที่แล้ว ๆ มานั่นก็คือยังเลิกไม่ได้ มันไม่ใช่เพียงลำพังตัวเธอเท่านั้นแต่มันเกี่ยวพันถึงคนอีกจำนวนไม่น้อยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่ใช่ลำพังฝั่งไทยเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงนายทุนมาเลเซียอีกด้วย

คำถามมีว่าแล้วเส้นทางอย่างของ "เกี๊ยะ" และ "ซู้" นี้จะไปจบสิ้นเอาเมื่อใด

คำตอบที่เหมือนกำปั้นทุบดินก็คือ เมื่อของฝั่งมาเลเซียไม่ถูกกว่าฝั่งไทย หรือมีความต่างกันเล็กน้อยไม่คุ้มค่าขน เมื่อนั้นขบวนการค้าของเถื่อนข้ามแดนก็จะจบไปโดยปริยาย เรื่องราวของเขาและเธอก็จะกลายเป็นเพียงตำนานที่เล่าขานกันรอบวงน้ำชาเท่านั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us